ข้ามไปเนื้อหา

นิโคตินิล แอลกอฮอล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิโคตินิล แอลกอฮอล์
ข้อมูลทางคลินิก
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • ยังไม่มีการศึกษาทั้งในมนุษย์และสัตว์ทดลอง
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
ตัวบ่งชี้
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
ChemSpider
ECHA InfoCard100.002.604
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC6H7NO
มวลต่อโมล109.126 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • OCc1cccnc1
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

นิโคตินิล แอลกอฮอล์ (อังกฤษ: Nicotinyl alcohol หรือ pyridylcarbinol) (ชื่อการค้า: Roniacol)[1] เป็นยาลดไขมันในกระแสเลือดที่เป็นอนุพันนธ์ของไนอะซิน (niacin derivative) นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง (flushing) หรือความดันโลหิตลดลงได้[2] ในปัจจุบัน ไม่มีการผลิตยานี้เพื่อจำหน่ายในเชิงการค้าแล้ว มีเพียงการใช้ในการศึกษาทดลองเท่านั้น[3]

คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา

[แก้]

นิโคตินิล แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์ลดระดับคอเลสเตอรอลรวมของร่างกาย (total cholesterol), ไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำและชนิดความหนาแน่นต่ำมาก (LDL- และ VLDL-cholesterol), และไตรกลีเซอร์ (Triglyceride) ในกระแสเลือด นิโคตินิลแอลกอฮอล์จะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับโดยปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation) ให้กลายเป็นกรดนิโคทินิค (วิตามินบี 3) ซึ่งร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

คุณสมบัติทางเคมี

[แก้]
คุณสมบัติ ค่า
จำนวนตัวรับโปรตอน 2
จำนานตัวให้โปรตอน 1
จำนวนไครอลคาร์บอน 1
ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายตัว[4] 0.1
ค่าการละลาย[5] -0.8
สภาพมีขั้วของโมเลกุล[6] 33.1

การใช้ยาในกลุ่มประชากรพิเศษ

[แก้]

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษามากพอเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้นิโคตินิล แอลกอฮอล์ในกลุ่มประชากรพิเศษ ดังรายละเอียดต่อไปนี้:[1]

  1. หญิงตั้งครรภ์: ยังขาดข้อมูลจากการศึกษาที่ศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของนิโคตินิล แอลกอฮอล์ในหญิงตั้งครรภ์ ทั้งการศึกษาในมุนษย์, สัตว์ทดลอง หรือหลอดทดลอง
  2. หญิงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลว่านิโคตินิล แอลกอฮอล์สามารถถูกขับออกทางน้ำนมได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่า ไม่พบความผิดปกติของทารกที่ดื่มนมแม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการใช้นิโคตินิล แอลกอฮอล์
  3. เด็กและผู้สูงอายุ: ยังขาดข้อมูลการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้นิโคตินิล แอลกอฮอล์กับช่วงอายุที่ต่างกันของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่า การใช้นิโคตินิล แอลกอฮอล์ในผุ้สูงอายุจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่าปกติจากการเหนี่ยวนำของนิโคตินิล แอลกอฮอล์ (nicotinyl alcohol–induced hypothermia) ได้

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Nicotinyl Alcohol (Systemic)" (ภาษาอังกฤษ). 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ December 15, 2015. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Author= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. "Ronicol Retard". Medical Dictionary Online (ภาษาอังกฤษ). 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-14. สืบค้นเมื่อ July 27, 2012.
  3. Biblioteca Virtual em Saúde. "Niceritrol" (ภาษาโปรตุเกส). สืบค้นเมื่อ December 15, 2010.
  4. Ghose, A.K., Viswanadhan V.N., and Wendoloski, J.J. (1998). "Prediction of Hydrophobic (Lipophilic) Properties of Small Organic Molecules Using Fragment Methods: An Analysis of AlogP and CLogP Methods". J. Phys. Chem. A (ภาษาอังกฤษ). 102: 3762–72. doi:10.1021/jp980230o. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-22. สืบค้นเมื่อ 2015-12-15.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Tetko IV, Tanchuk VY, Kasheva TN, Villa AE. (2001). "Estimation of Aqueous Solubility of Chemical Compounds Using E-State Indices". Chem Inf. Comput. Sci. (ภาษาอังกฤษ). 41: 1488–93. doi:10.1021/ci000392t. PMID 11749573.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Ertl P., Rohde B., Selzer P. (2000). "Fast calculation of molecular polar surface area as a sum of fragment based contributions and its application to the prediction of drug transport properties". J. Med. Chem. (ภาษาอังกฤษ). 43: 3714–3717. doi:10.1021/jm000942e. PMID 11020286.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]