สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | พลังเอ็ม | |||
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2514[1] (ในนาม สโมสรโอสถสภา) พ.ศ. 2553 (ในนามสโมสรโอสถสภา เอ็ม 150 - สระบุรี) พ.ศ. 2559 (ในนามสโมสรซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ) | |||
ยุบ | 2560 (เป็น จัมปาศรี ยูไนเต็ด) | |||
สนาม | สนามกีฬา กกท. บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ | |||
ความจุ | 4,100 คน | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอนคนสุดท้าย | สุขสันต์ คุณสุทธิ์ | |||
ฤดูกาลสุดท้าย 2560 | อันดับที่ 18 (ตกชั้นจาก ไทยลีก) | |||
|
สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ เป็นอดีตสโมสรฟุตบอลในจังหวัดสมุทรปราการ เคยลงเล่นในระดับ ไทยลีก และเคยได้สิทธิ์ทำการแข่งขัน เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2544/45 และปี พ.ศ. 2550 ในการแข่งขัน เอเอฟซีคัพ และเป็นทีมที่มีผลการแข่งขันแพ้ต่อเนื่องมากที่สุดในไทยลีกนานถึง 27 นัด เมื่อฤดูกาล 2560[2]
ประวัติสโมสร
[แก้]เริ่มก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี พ.ศ. 2514 ในนาม สโมสรโอสถสภา โดยก่อตั้งพร้อมกับสโมสรกีฬาต่างๆ ของ บริษัท โอสถสภา จำกัด[3] โดยเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของพนักงานของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักกีฬาฟุตบอลทีมชาติไทยที่ทำงานอยู่ โดยสามารถคว้าแชมป์การแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ควีนสคัพ ได้ 3 ติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2547 และชนะเลิศการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 2 สมัย
ต่อมาสโมสรฟุตบอลโอสถสภาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม-150 โดยมีผู้สนับสนุนอย่าง เครื่องดื่มเอ็ม-150 เป็นผู้สนับสนุนหลัก ต่อมาทางสโมสรฯก็ได้พยายามสร้างฐานแฟนบอลใหม่ในเขตนอกกรุงเทพมหานคร เช่น ร่วมมือกับทาง อบจ. สระบุรี[4] ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2556 และพร้อมกับเปลื่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม-150 สระบุรี ต่อมา ในปี พ.ศ. 2557 จึงย้ายสนามมาเล่นใน ราชมังคลากีฬาสถาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2559 สโมสรได้ย้ายที่ตั้งและสนามเหย้ามาที่ สนามกีฬาการกีฬาแห่งประเทศไทย บางพลี[5] และได้ร่วมมือกับทาง อบจ.สมุทรปราการ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทีมอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านบุคลากร และด้านการบริหาร เพื่อยกระดับทีม ให้ก้าวสู่มาตรฐานการแข่งขันฟุตบอลระดับสากล ตามกระแสความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ทางโอสถสภาได้โอนสิทธิ์การทำทีมให้กับทาง บริษัทซุปเปอร์พาวเวอร์และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการ โดยทางโอสถสภาจะเป็นเพียงสปอนเซอร์ให้กับทีมเท่านั้น
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ทีมจัมปาศรี ยูไนเต็ด ได้ซื้อสิทธิ์การทำทีมมาจาก ซุปเปอร์ พาวเวอร์ สมุทรปราการ และได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคาม[6] แต่สโมสรไม่ผ่านคลับไลเซนซิ่งจึงไม่สามารถลงเล่นในไทยลีก 2 ฤดูกาล 2561 ได้
สัญลักษณ์สโมสร
[แก้]-
ก่อตั้งสโมสร
-
ประมาณฤดูกาล 2542 - 2546
-
ฤดูกาล 2559 - 2560
สนามเหย้า
[แก้]สโมสรฟุตบอลเอ็มพาวเวอร์ สมุทรปราการ มีสนามเหย้าใหม่คือ เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม ย้ายมาจาก สนามราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าแทบทั้งฤดูกาล เนื่องจาก สโมสรฟุตบอลสระบุรี ได้เลื่อนชั้นขึ้นมา และตามกฎห้ามทีมในระดับไทยพรีเมียร์ลีกใช้สนามเหย้าร่วมกัน
เอ็มพาวเวอร์สเตเดียม เป็นสนามของการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ โดยทางโอสถสภาได้ร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อทำสนามใหม่ และพัฒนาเมืองสมุทรปราการให้เป็นเมืองกีฬา[7]
หลังจากที่ซุปเปอร์ พาวเวอร์ยุบทีมไป เอ็มพาวเวอร์สเตเดียมก็ได้ถูกใช้งานเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสมุทรปราการ ซิตี้ โดยเปลี่ยนชื่อสนามเป็น “สมุทรปราการสเตเดียม”
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดสุดท้ายของสโมสร
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอน
[แก้]- ชัชชัย พหลแพทย์ (2539 – 2549)
- อาจหาญ ทรงงามทรัพย์ (2550 – 2552)
- ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก (2553 – พฤษภาคม 2556)
- เฉลิมวุฒิ สง่าพล (มิถุนายน 2556 – มิถุนายน 2557)
- สเตฟาโน คูกูรา (2557 – 2558)
- กฤษดา เพี้ยนดิษฐ์ (2558)
- สมชาย ทรัพย์เพิ่ม (2558 – 2559)
- ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก (2559)
- เฉลิมวุฒิ สง่าพล (ธันวาคม 2559 – มีนาคม 2560)
- เจสัน วิธ (มีนาคม 2560 – พฤษภาคม 2560)
- อภิสิทธิ์ ไข่แก้ว (พฤษภาคม 2560 – กันยายน 2560)
- สุขสันต์ คุณสุทธิ์ (กันยายน 2560 – พฤศจิกายน 2560)
ผลงาน
[แก้]ทีมชุดใหญ่
[แก้]- ไทยลีก - สูงสุดอันดับ 2 - 2544/45, 2549
- ไทยลีกคัพ - ชนะเลิศ 1 ครั้ง - 2533 (ในนามทีมกรุงเทพมหานคร)
- ควีนส์คัพ - ชนะเลิศ 3 ครั้ง - 2545, 2546, 2547
- ถ้วย ก - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2544, 2549
ทีมชุดเยาวชน
[แก้]- เยาวชนควีนส์คัพ - ชนะเลิศ 2 ครั้ง - 2543, 2545[8]
ผลงานที่ดีสุดในระดับเอเชีย
[แก้]- เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก - รอบแรก (ฤดูกาล 2002/03)
- เอเอฟซีคัพ - รอบแรก (ฤดูกาล 2007)
ผลงานในลีก
[แก้]- 2541 - ไทยลีก - อันดับ 10
- 2542 - ไทยลีก - อันดับ 4
- 2543 - ไทยลีก - อันดับ 8
- 2544/45 - ไทยลีก - อันดับ 2
- 2545/46 - ไทยลีก - อันดับ 6
- 2546/47 - ไทยลีก - อันดับ 3
- 2547/48 - ไทยลีก - อันดับ 3
- 2549 - ไทยลีก - อันดับ 2
- 2550 - ไทยลีก - อันดับ 9
- 2551 - ไทยลีก - อันดับ 4
- 2552 - ไทยลีก - อันดับ 5
- 2553 - ไทยลีก - อันดับ 7
- 2554 - ไทยลีก - อันดับ 6
- 2555 - ไทยลีก - อันดับ 5
- 2556 - ไทยลีก - อันดับ 8
- 2557 - ไทยลีก - อันดับ 11
- 2558 - ไทยลีก - อันดับ 11
- 2559 - ไทยลีก - อันดับ 15
- 2560 - ไทยลีก - อันดับ 18 (ตกชั้นสู่ไทยลีก 2)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://web.archive.org/web/20030803202531/http://www.siamsport.com/thaileague/team_osotsapa.html Thai League 2002-03 สโมสรโอสถสภา - สยามกีฬา
- ↑ Finally a win for Super Power - Bangkok Post
- ↑ https://web.archive.org/web/20030803202531/http://www.siamsport.com/thaileague/team_osotsapa.html Thai League 2002-03 สโมสรโอสถสภา - สยามกีฬา
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
- ↑ เปิดตำนาน!!พลังเอ็มกับสนามบางพลี หยุดสักทีกับชีวิตพเนจร - SMMSPORT[ลิงก์เสีย]
- ↑ 9 ปี 4 จังหวัด ตำนานโอสถสภา ย้ายถิ่นสู่สารคาม
- ↑ ""พลังเอ็ม" เตรียมใช้ "เทพหัสดิน" เป็นรังเหย้าปีหน้า". ผู้จัดการออนไลน์. 7 November 2014. สืบค้นเมื่อ 9 November 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://web.archive.org/web/20040123004800/http://ofc.osotspa.co.th/ เว็บไซต์เก่าสโมสรโอสถสภา