ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี

(ทองเจือ จินฺตากโร)
ส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2452 (99 ปี)
มรณภาพ19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 6 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท2 มิถุนายน พ.ศ. 2472
พรรษา79
ตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม
เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี นามเดิม ทองเจือ สายเมือง ฉายา จินฺตากโร (2 มีนาคม พ.ศ. 2451 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองงานพระธรรมทูต สังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การเผยแผ่ เป็นต้น

ประวัติ

[แก้]

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี มีนามเดิมว่า ทองเจือ สายเมือง เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2452 (พุทธศักราชแบบใหม่) ตรงกับวันอังคารขึ้น 11 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ณ ปากคลองบางเขน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

อุปสมบท

[แก้]

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระศาสนโศภน (ภา ภาณโก) เป็นพระศีลาจารย์

ต่อมาได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยมุนี (แปลก วุฑฺฒิญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระจุลคณิศร (จรัส สุตธโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

วิทยฐานะ

[แก้]

นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค

ลำดับสมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2477 - เป็นพระครูฐานานุกรมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ที่ พระครูวิจิตรธรรมคุณ
  • พ.ศ. 2489 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระจินดากรมุนี[1]
  • พ.ศ. 2495 - เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2498 - เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2501 - เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมจินดาภรณ์ สุนทรธรรมกถิกบัณฑิต ศาสนกิจอุปายโกศล นฤมลคณานุนายก ตรีปิฎกญาณวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • พ.ศ. 2515 - เป็นพระราชาคณะเทียบชั้นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระมหารัชมังคลาจารย์ ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูสิต วิจิตรพุทธปฏิมาพิมพการี พรหมจารีพรตวินิฏฐ์ พุทธศาสนกฤตยาทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2516 - เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพุทธพจนวราภรณ์ อดิศรวุฒิโสภณ วิมลศีลาจารวัตร สุทธิธรรมปฏิบัติวินยานุวาท พุทธศาสน์คณาธิกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2532 - เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏที่ สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี ศรีชินวรสิริวัฒนางกูร วิบูลคุณวิจิตรปริยัติธาดา สีลสมาจารวัตร วิสุทธิพัฒนพิริยคุณ อดุลธรรมกถาปสาทกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[5]

งานการปกครอง

[แก้]

มรณภาพ

[แก้]

สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช อาคาร 84 ปี ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551 รวม 95 วัน ด้วยอาการสมอง ไข้ เหนื่อยหอบ ทรุดตัวลง และได้มรณภาพด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 11:05 น.[9] สิริอายุได้ 99 ปี พรรษา 79 มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๖๓, ตอนที่ ๑๕ ง, ๑๙ มีนาคม ๒๔๘๙, หน้า ๓๕๘
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๗๕, ตอนที่ ๑๐๙, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑, หน้า ๓๑๓๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๘๙, ตอนที่ ๒๐๒ ฉบับพิเศษ, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕, หน้า ๑
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๙๐, ตอนที่ ๑๗๗ ฉบับพิเศษ, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๖, หน้า ๔-๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๗, ตอนที่ ๑๓๘ ฉบับพิเศษ, ๖ สิงหาคม ๒๕๓๓, หน้า ๑-๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งสังฆมนตรี, เล่ม ๗๗, ตอนที่ ๔๑, ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๐๓, หน้า ๑๔๓๗-๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๑๑๕, ตอนพิเศษ ๓๒ ง, ๒๗ เมษายน ๒๕๔๑, หน้า ๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช, เล่ม ๑๑๖, ตอนพิเศษ ๒๗ ง, ๖ เมษายน ๒๕๔๒, หน้า ๓๔
  9. "สมเด็จพระพุทธปาพจนบดีถึงมรณภาพ" (PDF). มหาเถรสมาคม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)