สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ตั้งแต่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559
การเรียกขานท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จวนพระอารามหลวงหรือวัดราษฎร์
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระตลอดชีพ
ผู้ประเดิมตำแหน่งพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค)

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นราชทินนามของสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง ปัจจุบันพระราชทานเฉพาะแก่พระภิกษุฝ่ายมหานิกาย

ประวัติ[แก้]

พระพุทธโฆสะเป็นพระคันถรจนาจารย์เถระชาวอินเดียใต้ ได้รับยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ฝ่ายเถรวาท ได้ประพันธ์วรรณกรรมบาลีไว้หลายเล่ม เช่น วิสุทธิมรรค สมันตปาสาทิกา เป็นต้น ในสุวรรณภูมิจึงมีการใช้นามของท่านเป็นราชทินนามสำหรับพระเถระผู้ทรงเกียรติคุณสูงสุดในด้านคันถธุระ[1]

ในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเขารังแร้ง ว่าเป็นพระอรหันต์ผู้ห้ามทัพพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกรุงเชียงแสนไม่ให้ตีเมืองศรีสัชนาลัย ส่วนสมัยอาณาจักรศรีอยุธยาก็มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอโยธยา ได้แต่ง "ราโชวาทชาดก" ถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[2] และสมัยสมเด็จพระเพทราชามีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อยู่วัดพุทไธศวรรย์

ในทำเนียบ "ตำแหน่งพระราชาคณะในกรุงนอกกรุง ครั้งกรุงเก่า" ปรากฏชื่อพระพุทธโฆษา วัดพุทไธศวรรย์ เป็นพระราชาคณะในคณะคามวาสีฝ่ายขวา[3] ถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ (บางรูปเป็นเจ้าคณะกลาง) ตอนแรกมีสมณศักดิ์ระหว่างชั้นธรรมกับเจ้าคณะรอง ต่อมายกขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะจวบจนปัจจุบัน

ฐานานุกรม[แก้]

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 10 รูป ดังนี้

  • พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ ญาณธาดามหาสังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต

ผู้ได้รับสมณศักดิ์[แก้]

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีพระเถระได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้

ลำดับที่ รายนาม วัด ปีที่รับสมณศักดิ์
1 พระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ?
2 พระพุทธโฆษาจารย์ (ศรี) วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ?
3 พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ?
4 พระพุทธโฆษาจารย์ (คง) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2362
5 พระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน)
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ?
6 พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร
ย้ายไปวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2375
พ.ศ. 2394
7 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่ อินฺทสโร) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2400
8 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2422
9 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปญฺญาทีโป) วัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2437
10 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2448
11 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2464
12 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2471
13 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (อยู่ ญาโณทโย) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2496
14 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2506
15 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
16 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (พุฒ สุวฑฺฒโน) วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2539
17 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553
18 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2559

อ้างอิง[แก้]

  1. วิเชียร อากาศฤกษ์ และสุนทร สุภูตะโยธิน, ประวัติสมณศักดิ์และพัดยศ , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศรีอนันต์, 2528, หน้า 29
  2. "วัดอโยธยา". สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 290. ISBN 974-417-530-3