สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระญาณวโรดม

(ประยูร สนฺตงฺกุโร)
สมเด็จพระญาณวโรดม ประยูร001.jpg
ส่วนบุคคล
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2459 (93 ปี)
เสียชีวิต18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
นักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท5 พฤษภาคม พ.ศ. 2480
พรรษา72 พรรษา
ตำแหน่งอดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
อดีตอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ประวัติ[แก้]

สมเด็จพระญาณวโรดม มีนามเดิมว่าประยูร นามสกุล พยุงธรรม (9 มีนาคม พ.ศ. 2459 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552) บิดาชื่อ ธูป มารดาชื่อ ทองหยิบ เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2459 ที่บ้านท่าเรือ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นบุตรคนสุดท้อง มีพี่ 7 คน ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก 3 คน เหลือเพียง 4 คน

ได้มาพำนักที่วัดเทพศิรินทราวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดมศีลคุณ (อินทร อคฺคิทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวินัยธรเพ็ชร ปภงฺกโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีหม่อมเจ้าหญิงกรณิกา จิตรพงศ์ ทรงเป็นเจ้าภาพบวช ณ พัทธสีมา วัดเทพศิรินทราวาส ได้ฉายาว่า "สนฺตงฺกุโร" ซึ่งแปลว่า หน่อหรือเชื้อสายหรือทายาทของผู้สงบ (ฉายานี้ได้มาตั้งแต่เป็นสามเณรพรรษาแรก) และได้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาสตลอดมา มิได้ไปจำพรรษาที่อื่นเลย

สมเด็จพระญาณวโรดมได้เริ่มศึกษาเมื่ออายุราว 6 ขวบโดยมีบิดาเป็นผู้สอน ต่อมาได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอประจันตคาม เมื่อ พ.ศ. 2468 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2472 ครั้งนั้นชั้น ป. 5 เป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาในอำเภอนั้น เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วได้ศึกษาด้านปริยัติศึกษาแผนกธรรม ได้นักธรรมชั้นเอก และแผนกบาลี ได้ ป.ธ. 9 สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เคยศึกษากับนาคะประทีบ ร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นกันคืออาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และสมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร) จนแตกฉานในวรรณคดีสันสกฤต

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2495 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิญาณ[1]
  • พ.ศ. 2500 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสุมนต์มุนี ตรีปิฎกลังการ อุดมสิกขภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[2]
  • พ.ศ. 2505 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพกวี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2515 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมธัชมุนี ปริยัติภาณีวราทร เตปิฎกาธิกรโกศล ปรหิตโสภณสังฆภูสิต ธรรมคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2528 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระญาณวโรดม วราคมธรรมาภิรัต วัฒนศาสนกิจวิศาล คันถรจนาจารย์บัณฑิต วิเทศโกวิทสังฆเลขาธิกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2546 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณวโรดม สุตาคมวิสุต พุทธธรรมานุสิฐ นิวิฐศีลาจารปสาทกร สุนทรพิพิธธรรมจารี ตรีปิฏกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[6]

การปกครอง[แก้]

  • เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
  • เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม (มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย)
  • เป็นประธานกรรมการวัดเทพศิรินทราวาส
  • เป็นสมาชิกสังฆสภา
  • เป็นพระอุปัชฌาย์
  • เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
  • เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
  • เป็นกรรมการบริหารคณะธรรมยุต
  • เป็นเลขาธิการคณะธรรมยุติ
  • เป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นเลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เป็นกรรมการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • เป็นกรรมการมูลนิธิสิรินธร ฯลฯ

ผลงานทางวิชาการ[แก้]

มรณภาพ[แก้]

ในช่วงเช้าวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สมเด็จพระญาณวโรดม มีอาการไอและมีเสมหะ โดยไอเพียง 2 ครั้ง ก็หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ศิษยานุศิษย์จึงรีบพาส่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่แพทย์ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน ได้ถึงมรณภาพด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เวลา 07:17 น. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์[7]

ศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากวีนิรมิต (ศาลากลางน้ำ) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเปิดให้ประชาชนถวายน้ำสรงศพเวลา 13:00 น. โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน และพระราชทานโกศไม้สิบสอง ซึ่งเป็นโกศตามยศสมณศักดิ์สมเด็จพระราชาคณะ และในเวลา 17:43 น.พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 69, ตอนที่ 72 ง, 9 ธันวาคม 2495, หน้า 4624
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 74, ตอนที่ 107 ง, 17 ธันวาคม 2500, หน้า 2950
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอนที่ 3 ง ฉบับพิเศษ, 4 มกราคม 2506, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 89, ตอนที่ 202 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2515, หน้า 2
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 103, ตอนที่ 165 ฉบับพิเศษ, 25 กันยายน 2529, หน้า 6-9
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 121, ตอนที่ 3 ข, 29 กุมภาพันธ์ 2547, หน้า 3-7
  7. "สมเด็จพระญาณวโรดม ถึงมรณภาพ" (PDF). มหาเถรสมาคม. 20 พฤศจิกายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)


ก่อนหน้า สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) ถัดไป
สมเด็จพระวันรัต (นิรันตร์ นิรนฺตโร) 2leftarrow.png ธรรมยุตินิกาย.gif
เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร
(พ.ศ. 2546–2552)
2rightarrow.png สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)
พระศรีวิสุทธิญาณ (สุชีพ สุชีโว) 2leftarrow.png Mahamakut Buddhist University logo.jpg
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
(ลำดับที่ 2)
2rightarrow.png สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร)