พระครูสัญญาบัตร
ส่วนหนึ่งของ | |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา | |
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคมศาสนาพุทธ | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |

พระครูสัญญาบัตรจัดเป็นสมณศักดิ์สัญญาบัตรชั้นแรก เป็นพระครูมีราชทินนาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยเรียกว่า"ปู่ครู" ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้เปลี่ยนคำนำหน้าจากปู่ครูเป็นพระครู และโปรดให้มีราชทินนามสืบมาจนถึงปัจจุบัน พระครูสัญญาบัตรเป็นชื่อประเภทสมณศักดิ์ เครื่องหมายสมณศักดิ์ใช้คำว่าพระครูนำหน้าราชทินนาม แต่ในสัญญาบัตรมิได้กำหนดว่าเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นใดหรือตำแหน่งใด ก็จะมีพัดยศเป็นเครื่องแสดงชั้นหรือตำแหน่งนั้นๆ เมื่อได้เลื่อนตำแหน่ง จะไม่เปลี่ยนสัญญาบัตร คงเปลี่ยนเฉพาะพัดยศ และมีประกาศมหาเถรสมาคมแสดงความเป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งใดและชั้นใด ในปัจจุบันผู้ที่จะได้รับพระราชทานตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรต้องเป็นพระสังฆาธิการเท่านั้น เมื่อจะทรงแต่งตั้งครั้งแรกจัดชั้นและตำแหน่งให้เหมาะสมในการปกครอง หรือเหมาะสมกับวิทยฐานะ
พระครูสัญญาบัตรจัดโดยชั้นมี 4 ชั้น คือ
- ชั้นพิเศษ (ชพ.)
- ชั้นเอก (ชอ.)
- ชั้นโท (ชท.)
- ชั้นตรี (ชต.)
และแยกแยะชนิดของแต่ละชั้นตามความเหมาะสมในตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ ในปัจจุบันพอกำหนดได้ดังนี้
พระครูสัญญาบัตร ชั้นพิเศษ | พระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก | พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท | พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี | พระครูสัญญาบัตร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ | อื่นๆ |
---|---|---|---|---|---|
|
|
|
|
|
|
บทความที่เกี่ยวข้อง[แก้]
|