การรถไฟมาลายา
![]() | |
ภาพรวม | |
---|---|
สํานักงานใหญ่ | กัวลาลัมเปอร์ |
สัญลักษณ์ | KTM |
ที่ตั้ง | มาเลเซียตะวันตก |
วันที่ให้บริการ | ค.ศ.1885(พ.ศ. 2428)–ปัจจุบัน |
ข้อมูลเทคนิค | |
ช่วงกว้างราง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีเตอร์เกจ |
ความยาว | 1,677 กิโลเมตร |

การรถไฟมาลายา หรือ เกอเรตาปีตานะฮ์เมอลายู (มลายู: كريتاڤي تانه ملايو برحد, อักษรโรมัน: Keretapi Tanah Melayu) มีตัวย่อว่า เคทีเอ็ม (KTM) เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดูแลระบบขนส่งแบบรางในมาเลเซีย เดิมถูกใช้เพื่อขนส่งแร่ดีบุก ก่อนถูกพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระบบการคมนาคมที่โยงใยไปทั่วประเทศ
ปัจจุบันมีรถไฟให้บริการด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภทคือ เคทีเอ็มคอมมูเตอร์ (KTM Komuter) สกายพาร์กลิงก์(Skypark Link) รถไฟระหว่างเมือง (KTM Intercity) รถไฟฟ้าระหว่างเมือง (ETS Train) รถไฟสินค้า (KTM Kargo)
โครงข่ายรถไฟ[แก้]
การรถไฟมาลายาให้บริการเส้นทางรถไฟเฉพาะมาเลเซียตะวันตกเท่านั้น ใช้รางขนาด 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีสายหลัก 2 สายใหญ่ ได้แก่
สายชายฝั่งทะเลตะวันตก[แก้]

สายชายฝั่งทะเลตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส (บนพรมแดนไทย-มาเลเซีย) มุ่งหน้าลงใต้สิ้นสุดที่จุดผ่านรถไฟวุดแลนส์ ประเทศสิงคโปร์ สถานีรถไฟรายทางที่สำคัญได้แก่ สถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ กัวลาลัมเปอร์ กับสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธ รัฐปีนัง ปัจจุบันติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว เสร็จสิ้นแล้วและเป็นทางคู่
สายชายฝั่งทะเลตะวันออก[แก้]

สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ระบบรถไฟยังไม่ทันสมัยเหมือนฝั่งตะวันตก วิ่งจากสถานีรถไฟเกอมัซ รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน ไปยังสถานีรถไฟตุมปัต รัฐกลันตัน แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะลัดเลาะเข้าไปในป่า จึงได้ฉายาว่า ทางรถไฟสายป่ารก ส่วนรัฐตรังกานู เป็นเพียงรัฐเดียวในมาเลเซียตะวันตกที่ไม่มีรถไฟผ่าน
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
รถไฟเคทีเอ็มมีระยะทางเดิมรวมทั้งหมด 1,699 กิโลเมตร แต่เนื่องจากการปิดทางรถไฟช่วงตันจงปาการ์-กรันจี เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 จึงทำให้ระยะทางเหลือเพียง 1,677 กิโลเมตร ทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นทางเดี่ยวและทางคู่
เส้นทางอื่น ๆ[แก้]
มีสายรถไฟอื่น ๆ ในประเทศมาเลเซียที่มิได้ดำเนินการโดยเคทีเอ็ม ได้แก่ การรถไฟรัฐซาบะฮ์ ในรัฐซาบะฮ์ มาเลเซียตะวันออก และรถไฟไต่เขาปีนัง บนเกาะปีนัง
เส้นทางย่อย[แก้]
นอกจากสายชายฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออกแล้ว ยังมีสายรถไฟแยกย่อยอีกมากมาย ดังนี้
ใช้งาน[แก้]
รถไฟระหว่างเมือง-รถสินค้า[แก้]
- บูกิตเมอร์ตาจัม - บัตเตอร์เวิร์ท
รถไฟชานเมือง-รถสินค้า[แก้]
- กัวลาลัมเปอร์ - พอร์ตกลัง (ส่วนหนึ่งของรถไฟชานเมืองสายพอร์ตกลัง)
- กัวลาลัมเปอร์ - บาตูเคฟส์
รถสินค้า[แก้]
- พอร์ตกลัง - ปูเลาอินดะฮ์
- เกิมปัซ - ตันจงเปอเลปัซ
- เกิมปัซ - ปาซีร์กูดัง
- บัตเตอร์เวิร์ท - นอร์ทบัตเตอร์เวิร์ทเทอร์มินัล
สายย่อยเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง[แก้]
- อีโปะฮ์ - ฟาลิม (ไม่ได้ใช้งาน)
- บาตูกาจะฮ์ - ศูนย์ซ่อมบำรุงหลักบาตูกาจะฮ์
ไม่ได้ใช้งาน[แก้]
- ปาซีร์มัส - รันเตาปันจัง - หาดใหญ่ (ส่วนหนึ่งของสายชายฝั่งทะเลตะวันออก และช่วงสุไหงโก-ลก-หาดใหญ่ ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย)
- ซูบังจายา - ศรีซูบัง (สนามบินซูบังเก่า) (อยู่ในระหว่างการฟื้นฟู)
- วุดแลนส์ - ตันจงปาการ์ (รางโดนรื้อออก)
- เซอเริมบัน - พอร์ตดิกสัน (ไม่ได้ใช้งาน)
รื้อถอนทางแล้ว[แก้]
- ฟาลิม - เตอโรโนะฮ์
- กวง - บาตูอารัง - บาตังเบอร์จุนไต
- ตัมปิน - มะละกา
- ไตปิง - พอร์ตเวลด์
- บูกิตกูดา - เจอรัม - กัวลาเซอลาโงร์
- บาเฮา - กัวลาปีละฮ์
- ตาปะฮ์โรด - เตอลุก์อินตัน - เตอลุก์อินตันวอร์ฟ
- ซาละก์เซอลาตัน - ชุมทางอัมปัง - ถนนสุลต่าน (ปัจจุบันคือรถไฟฟ้าสายอัมปัง)
- ชุมทางอัมปัง - อัมปัง (ปัจจุบันคือรถไฟฟ้าสายอัมปัง)
- จุดผ่านรถไฟวุดแลนส์ - บูกิตตีมะฮ์ - ตันจงปาการ์ (รางโดนรื้อบางส่วน)
ระบบรถไฟ[แก้]
หลังจากการควบรวมกิจการรถไฟในมาเลเซีย การรถไฟมาลายา (ในขณะนั้น) ได้สั่งซื้อรถจักรไอน้ำจากสหราชอาณาจักร เพื่อนำมาใช้งานในประเทศ ส่วนรถจักรดีเซลคันแรก คือ ชันเตอร์คลาส 15 ได้มาในปี ค.ศ. 1948 ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้รถจักรดีเซลทั้งระบบในช่วงปี ค.ศ. 1950-1970 ส่งผลให้รถจักรไอน้ำถูกปลดประจำการทั้งหมดในปี ค.ศ. 1972 เคทีเอ็มได้สั่งซื้อรถจักรดีเซลจากหลาย ๆ ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ, ญี่ปุ่น, แคนาดา, อินเดีย, เยอรมนี และจีน
รถไฟฟ้าเริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 เพื่อใช้งานในรถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม โดยใน 1 ชุดจะมี 3 คัน
รถจักร[แก้]
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Class 15 | ![]() |
Vulcan Foundry | 1948(2491) | 20 | 15101-15120 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
Class16 | ![]() |
North British Locomotive | 1955(2498) | 6 | 16101-16106 | ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน |
Class 17 | ![]() |
Kisha Seizo | 1964(2507) | 15 | 17101-17105 | ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน |
Class 18 | ![]() |
Brush HMA | 1978(2521) | 10 | 18101-18110 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
Class 19 | ![]() |
Hitachi | 1983(2526) | 10 | 19101-19110 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Class 20 | ![]() |
Vulcan Foundry | 1957(2500) | 26 | 20101-20126 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
Class 21 | ![]() |
Kisha Seizo | 1965-1968 (2508-2511) | 25 | 21101-21115
21201-21210 |
ดีเซลไฮดรอลิค | เลิกใช้งาน |
Class 22 | ![]() |
English Electric | 1971(2514) | 40 | 22101-22140 | ดีเซลไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
Class 23 | ![]() |
Hitachi | 1983(2526) | 15 | 23101-23115 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
Class 24 | ![]() |
Toshiba | 1987(2527) | 26 | 24101-24126 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
Class 25 | ![]() |
Electro-Motive Diesel | 1990-2002(2533-2545) | 17 | 25101-25112
25201-25205 |
ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
Class 26 | ![]() |
Adtranz | 2003(2546) | 20 | 26101-26120 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
Class 29 | ![]() |
Dalian Locomotive | 2005(2548) | 20 | 29101-29120 | ดีเซลไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
Class YDM4 | ![]() |
Diesel Locomotive | 1996(2539) | 33 | 6333-6897 | ดีเซลไฟฟ้า | หมดสัญญาเช่า |
Class EL | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2015(2558) | 2 | EL001-EL002 | ไฟฟ้า | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | ประเภท | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|
Class 27 | ![]() |
Commonwealth Engineering | 1960(2503) | ดีเซลรางไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
Class 28 | ![]() |
Hitachi | 1966(2509) | ดีเซลรางไฟฟ้า | เลิกใช้งาน |
รถราง | ![]() |
Ganz Mavag | 1988(2531) | รถรางดีเซล | เลิกใช้งาน |
Class 61 | ![]() |
CRRC Zhuzhou Locomotive | 2019(2562) | ดีเซลรางไฟฟ้าแบบชุด | ทดลองใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
Class 81 | ![]() |
Jenbacher | 1994(2537) | 18 | EMU 01-EMU 18 | ยังใช้งาน |
Class 82 | ![]() |
Union Carriage & Wagon | 1996(2539) | 22 | EMU 41-EMU 62 | เลิกใช้งาน |
Class 83 | ![]() |
Hyundai Rotem | 1996(2539) | 22 | EMU 19-EMU 40 | ยังใช้งาน |
Class 92 | CRRC Zhuzhou Locomotive | 2012(2555) | 38 | SCS 01-SCS 38 | ยังใช้งาน |
รุ่น | ภาพ | ผู้ผลิต | เริ่มใช้งาน | จำนวน | เลข | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|
Class 91 | Hyundai Rotem | 2009(2552) | 5 | ETS 01-ETS 05 | ยังใช้งาน | |
Class 93 | ![]() |
CRRC Zhuzhou Locomotive | 2015(2558)
2019(2562) |
19 | ETS 201- ETS 219 | ยังใช้งาน |
โรงงานรถจักร รถไฟฟ้า รถโดยสาร และรถสินค้า[แก้]
- โรงงานกลางบาตูกาจะฮ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงกลัง (สำหรับรถจักรเคทีเอ็ม คลาส 26 และ 29)
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถจักร รถโดยสาร รถสินค้า[แก้]
- ศูนย์ซ่อมบำรุงกลางกัวลาลัมเปอร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบาตูกาจะฮ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบูกิตเตองะอ์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบูกิตเมอร์ตาจัม
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเกอมัซ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงตุมปัต
- ศูนย์ซ่อมบำรุงพอร์ตกลัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงสิงคโปร์ (ปิดตัวลงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011)
- ศูนย์ซ่อมบำรุงกัวมูซัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงปาดังเบอซาร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเกิมปัซ (กำลังก่อสร้างเพื่อใช้แทนศูนย์สิงคโปร์)
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าระหว่างเมือง[แก้]
- ศูนย์ซ่อมบำรุงบาตูกาจะฮ์
ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า[แก้]
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ากลางกัวลาลัมเปอร์
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าราวัง
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเซอเริมบัน
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าพอร์ตกลัง
หน่วยงานย่อย[แก้]
รถไฟระหว่างเมืองและอีทีเอส[แก้]
รถไฟระหว่างเมือง (มลายู: KTM Antarabandar) ดำเนินการโดยการรถไฟมาลายา วิ่งระหว่างหาดใหญ่-เซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์-วุดแลนส์ ทุกขบวนใช้รถจักรดีเซลลากจูง ประเภทขบวนรถ ได้แก่ รถธรรมดา และรถด่วน โดยขบวนรถชายฝั่งตะวันตกจะมีความทันสมัย และมีเฉพาะรถด่วน ส่วนขบวนรถชายฝั่งตะวันออก ยังไม่ค่อยทันสมัยมาก และมีทั้งรถด่วนและรถธรรมดา
รถไฟชานเมือง[แก้]

รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เปิดให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1995 เพื่อรองรับการขนส่งในกัวลาลัมเปอร์และปริมณฑล ปัจจุบันมีจำนวนรถไฟ 248 เที่ยวต่อวัน จำนวนสถานี 45 สถานี (ในทุก ๆ สถานีจะมีที่จอดรถ) ระยะทาง 175 กิโลเมตร มีสองสายหลักได้แก่ สายเซอเริมบัน (มีสายย่อยคือสายตันหยงมาลิม ความถี่ทุก ๆ 30 นาที) และสายพอร์ตกลัง ความถี่ทุก 15 นาทีในชั้วโมงเร่งด่วน ทุก 20 นาทีในชั่วโมงปกติ ทุกคันเป็นรถปรับอากาศ ใช้รถรุ่นเคทีเอ็ม คลาส 81, 82, 82 และ 92 รถไฟชานเมืองมีประโยชน์ต่อเดินทางจากชานเมืองเข้าสู่กัวลาลัมเปอร์เป็นอย่างมาก โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ สถิติปี ค.ศ. 2010 ผู้โดยสารทั้งหมด 50 ล้านคนต่อปี
รถไฟชานเมืองเคทีเอ็ม เป็นระบบรถไฟที่ทำกำไรสูงที่สุดถึง 100 ล้านริงกิต สูงกว่ารถไฟระหว่างเมืองซึ่งทำกำไรได้เพียง 70.94 ล้านริงกิต
รถไฟสินค้า[แก้]
เคทีเอ็มทีรถไฟสินค้าวิ่ง 37 เที่ยวต่อวัน ส่วนใหญ่จะพ่วงตู้คอนเทนเนอร์ สถิติปี ค.ศ. 2006 ทำรายได้ 113 ล้านริงกิต มากขึ้นกว่าปีก่อน 5.2%[1]
หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รถไฟ[แก้]
- การขนส่งสินค้ารูปแบบอื่น
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1988 และจดลิขสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1991 บริษัทมีรถขนส่ง 225 คัน และรถพ่วง 1,300 คัน ใช้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือ[2]
- ที่จอดรถ
ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 มีลูกจ้าง 70 คน และที่จอดรถ 16 แห่ง ปัจจุบันมีแผนจะสร้างที่จอดรถที่สถานีรถไฟเซอเริมบันและสุไหงบูโลห์[3]
การปรับให้ทันสมัย[แก้]

การพัฒนาให้ทันสมัยยังคงดำเนินการอยู่เรื่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1989 ได้เริ่มลงมือสร้างทางคู่และติดตั้งกระแสไฟฟ้าระหว่างสถานีราวัง-เซอเริมบัน, ชุมทางบาตู-เซ็นทัล, กัวลาลัมเปอร์-พอร์ตกลัง ซึ่งต่อมาก็คือรถไฟชานเมืองเคทีเอ็มนั่นเอง[4] โครงการต่อมาก็คือ การติดตั้งการจ่ายไฟฟ้าระหว่างสถานีราวัง-อีโปะฮ์ ซึ่งเริ่มในปี ค.ศ. 2000 และเสร็จในปี ค.ศ. 2010 และมีแผนจะเปิดรถไฟระหว่างเมือง 16 ขบวนต่อวัน ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[5]
การพัฒนา[แก้]
- ปรับปรุงทาง 327 กิโลเมตร จากปาโละฮ์-สิงคโปร์, สายหลักเซอเริมบัน (ค.ศ. 1988–1994) (70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางคู่ในช่วงสถานีราวัง-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1990–1994) (62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางคู่ในช่วงสถานีกัวลาลัมเปอร์-พอร์ตกลัง (ค.ศ. 1991–1994) (66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- ขยายอุโมงค์รถไฟบริเวณสถานีเซอเริมบัน (ค.ศ. 1994–1995) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางรถไฟเชื่อมพอร์ตกลัง-ปูเลาอินดะฮ์ (ค.ศ. 1997–1999) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสะพานรถไฟ, สะพานถนนข้ามทางรถไฟ ช่วงระหว่างสถานีราวัง-กาจัง (ค.ศ. 1991–1994) (6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสะพานรถไฟ, สะพานถนนข้ามทางรถไฟ ช่วงระหว่างสถานีกาจัง-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1991–1994) (16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างท่อระบายน้ำข้างทางรถไฟระหว่างสถานีนีไล-เซอเริมบัน (ค.ศ. 1994–1995) (4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างทางรถไฟเชื่อมท่าเรือในโจโฮร์บะฮ์รู (ค.ศ. 1999–2002) (121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
- สร้างสถานีรถไฟเซ็นทรัลกัวลาลัมเปอร์ (ค.ศ. 1999–2001) (14.3 ล้านริงกิต)
โครงการในอนาคต[แก้]
- สร้างทางรถไฟสายวงกลมในเขตหุบเขากลัง[6]
- สร้างทางรถไฟสายซูบังจายา - ซูไงบูโละฮ์ เพื่อใช้ขนส่งสินค้า การก่อสร้างจะแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่ 1 จากสถานีซูบังจายา - สนามบินซูบัง ระยะที่ 2 จากสถานีสนามบินซูบัง - ซูไงบูโละฮ์
- สถานีรถไฟปีนังเซ็นทรัล
- ส่วนต่อขยายสายปูเลาเซอบัง-มะละกา
- เพิ่มขบวนรถไฟชานเมืองอีก 20 ขบวนในปี ค.ศ. 2015 และอีก 27 ขบวนในปี ค.ศ. 2017
- เพิ่มขบวนรถไฟอีทีเอส คลาส 93 (10 ขบวน) และคลาส 94 (22 ขบวน) ในปี ค.ศ. 2015
- ส่วนต่อขยายสายอีทีเอสไปยังกัวลากังซาร์, บัตเตอร์เวิร์ท, ปาดังเบซาร์, โจโฮร์บะฮ์รู
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Nathan, Darshini M (6 October 2007). "Back on track: KTMB upgrades to be competitive". Bizweek, The Star.
- ↑ "Multimodal Freight Sdn. Bhd. Company Info". KTM berhad.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "KTMB Car Park Company Info". KTM Berhad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 2015-05-10.
- ↑ "KTM projects introduction". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-26. สืบค้นเมื่อ 14 June 2007.
- ↑ "Electrified Double Track Project Between Rawang and Ipoh". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-15. สืบค้นเมื่อ 14 June 2007.
- ↑ "Commuter line for suburbs". The Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-21. สืบค้นเมื่อ 17 April 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- เว็บไซต์ทางการ
- เว็บไซต์สำหรับแฟนคลับ เก็บถาวร 2009-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- โครงการรถไฟทางคู่ อีโปะฮ์-ปาดังเบซาร์ เก็บถาวร 2021-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน