| เนื้อหาในบทความนี้ ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดู หน้าอภิปรายประกอบ |
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร |
---|
 |
ข้อมูลทั่วไป |
---|
ชื่อ | วัดพระบรมธาตุ หรือ วัดพระมหาธาตุ |
---|
ที่ตั้ง | ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
---|
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร |
---|
นิกาย | เถรวาท |
---|
พระประธาน | พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช |
---|
พระพุทธรูปสำคัญ | พระเจ้าศรีธรรมโศกราช(ปางมารวิชัย), พระเหมชาลา(ปางห้ามญาติ), พระทนทกุมาร(ปางประทานอภัย) |
---|
พระอารามหลวงชั้นเอก |
กิจกรรม | นมัสการพระบรมธาตุ โบราณสถานคู่เมืองภาคใต้ ขอพรองค์ท้าวจตุคามรามเทพ เทพารักษ์ผู้เฝ้าองค์พระมหาธาตุ |
---|
|
วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร หรือ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1]
ประวัติ[แก้]
กรมศิลปากร ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และคณะกรรมการมรดกโลก มีมติในการประชุมคณะกรรมการสมัยที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 รับรองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเข้าสู่บัญชีเบื้องต้นก่อนเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลก[ต้องการอ้างอิง]
สถานที่สำคัญ[แก้]
- พระวิหารหลวง (พระอุโบสถ)
- วิหารพระมหาภิเนษกรณ์ หรือวิหารพระทรงม้า
- วิหารเขียน หรือวิหารพระเขียน
- วิหารโพธิ์ลังกา และ ต้นศรีมหาโพธิ์
- วิหารพระกัจจายนะ หรือวิหารพระแอด
- วิหารพระปัญญา
- พระเจดีย์ราย รอบพระบรมธาตุ
- พระบรมธาตุเจดีย์
- วิหารสามจอม หรือวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
- วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียงตีนธาตุ
- วิหารพระระเบียง หรือวิหารคด
- วิหารธรรมศาลา
- วิหารโพธิ์พระเดิม
- มณฑปพระพุทธบาทจำลอง
- อนุสาวรีย์พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทันทกุมาร
- อนุสาวรีย์พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
- อนุสาวรีย์แม่เจ้าอยู่หัว (พระนางเลือดขาวแม่เจ้าอยู่หัว)
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ[แก้]
ขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์
ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน
ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้
ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]
ลำดับเจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ มีดังนี้[2]
พิกัดแผนที่[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
พิกัดภูมิศาสตร์: 8°24′40″N 99°57′58″E / 8.410985°N 99.966147°E / 8.410985; 99.966147
อ้างอิง[แก้]
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]
- อิทธิกร ทองแกมแก้ว. "มองพระปานผ่านวัดพระมหาธาตุเมืองนครศรีธรรมราช." ใน จุดนัดพบ การข้ามแดน และไข้พื้นที่ในภาคใต้ของไทย เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยาภาคใต้ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. น. 78-93. ภูเก็ต: พีพี บุคส์ แอนด์ คอม, 2561.
- กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ประวัติพระอารามหลวง เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2548. 622 หน้า. หน้า 313-314.
พระอารามหลวงชั้นเอก |
---|
| ชนิดราชวรมหาวิหาร | | |
---|
| ชนิดราชวรวิหาร | |
---|
| ชนิดวรมหาวิหาร | |
---|
|
|
---|
| ทางวัฒนธรรม | | |
---|
| ทางธรรมชาติ | |
---|
| กำลังพิจารณา | |
---|
| |
|