พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร (දන්ත කුමරු - හේමමාලා කුමරිය) | |
---|---|
จิตรกรรมแบบประเพณีลังกา ของพระนางเหมชาลา พระทันทกุมารขณะลอบนำพระเขี้ยวแก้วลี้ภัยสงครามมาสถิตยังนครลงกา ณ วัดกัลณียาราชมหาวิหาร นครโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา | |
เกิด | ไม่ปรากฏ นครปุรี รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย (ตามตำนานฝั่งลังกา) นครทันตะปุระ ประเทศอินเดีย (ไม่ปรากฏที่ตั้งตามตำนานฝั่งไทย) |
เสียชีวิต | ไม่ปรากฏ นครลงกา ประเทศศรีลังกา |
สัญชาติ | ชมพูทวีป |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมายังนครลงกา ประเทศศรีลังกาและพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและวัดจะทิ้งพระ ประเทศไทย |
บิดามารดา |
พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร หรือ เจ้าหญิงเหมชาลา เจ้าชายทันทกุมาร บางครั้งนิยมออกนามว่า พระแม่เหมชาลา พระฑันทกุมาร ในภาษาไทย และ เหมามาลี ฑันทกุมาร ในภาษาสิงหล ภาษาทมิฬ และภาษาอังกฤษ (สิงหล: දන්ත කුමරු හේමමාලා කුමරිය, ทมิฬ: இளவரசி ஹேமமாலா இளவரசர் தந்தா, อังกฤษ: Princess Hemamali Prince Dantha)[1] เป็นบุคคลที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ศรีลังกา[2][3] และในเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นทางภาคใต้ของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะปูชนียบุคคลผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมายังนครลงกา ประเทศศรีลังกาและพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร[4] และวัดจะทิ้งพระ[5] ประเทศไทย
บทบาทตามประวัติศาสตร์
[แก้]พระนางเหมชาลาและพระฑันทกุมารปรากฏตามประวัติศาสตร์ศรีลังกาและเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นทางภาคใต้ของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะปูชนียบุคคลผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมายังนครลงกา ประเทศศรีลังกา[6] และพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร[7] และวัดจะทิ้งพระ ประเทศไทย โดยมีบทบาทเรื่องราวเหมือนกันคือ ทรงลี้ภัยจากแผ่นดินมาตุภูมิเดิมจากภัยสงครามโดยลอบนำพระเขี้ยวแก้วและพระบรมสารีริกธาตุติดพระองค์มาด้วย ก่อนจะประดิษฐานในที่ต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในปัจจุบัน แต่แตกต่างตามรายละเอียดเล็กน้อย เช่น แผ่นดินมาตุภูมิที่มาของทั้งสองพระองค์เดิม ซึ่งตามตำนานฝั่งลังกากล่าวว่า คือ นครปุรี รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย แต่ในตำนานตามฝั่งไทย คือ นครทันตะปุระ ประเทศอินเดีย ไม่ปรากฏที่ตั้งในปัจจุบัน[8] หรือ ฐานะของทั้งสองพระองค์ คือ ตามตำนานฝั่งลังกากล่าวว่า ทรงเป็นคู่สามีภริยา แต่ในตำนานตามฝั่งไทย กล่าวว่าทรงเป็นพี่น้องกัน[9] เป็นต้น
อนุสรณ์สถาน
[แก้]ด้วยบทบาทและคุณุปการของพระนางและพระราชกุมารที่มีต่อศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกาและได้ทรงนำพระเขี้ยวแก้วมาสถิตยังนครลงกา[10] ทรงได้รับประดิษฐานพระสาทิสลักษณ์และพระราชานุสาวรีย์โดยทั่วไปในพุทธศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา โดยจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงที่สุดคือจิตรกรรมแบบศิลปะเพณีศรีลังกาในชุดเหตุการณ์สำคัญของศาสนาพุทธในประเทศศรีลังการ่วมกับจิตรกรรมแบบศิลปะเพณีศรีลังกาของพระพุทธประวัติและชาดกจากมหานิบาตชาดกของอุโบสถวัดกัลณียาราชมหาวิหาร (หรือบางที่มักออกนาม ว่า วัดคงคาราม) นครโคลัมโบ[11][12][13] ซึ่งบูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2431 โดยนางเฮเลนา วิเจวาร์เดนา (Mrs. Helena Wijewardena) เศรษฐีนีแห่งกรุงโคลัมโบ ผลงานของนายโสริอัส เมนดิส (Solius Mendis) ศิลปินชื่อดังของศรีลังกาที่ได้อุทิศเวลากว่า 20 ปีในการรังสรรค์ภาพจิตรกรรมที่งดงามดังกล่าว[14] ส่วนพระราชานุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ พระรูปด้านหน้าวัดพระเขี้ยวแก้ว นครกัณฏิ ประเทศศรีลังกา[15][16][17][18] พระราชานุสาวรีย์อันสถิตย์ในวัดลังกาปัตนะ สมุทรคีรีวิหาร (สิงหล: ලංකාපටුන සමුද්රගිරි විහාරය, อังกฤษ: Lankapatuna Samuddragiri Viharaya temple) เขตตรินโคมาลี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา ซึ่งเป็นท่าเรือขึ้นฝั่งระหว่างของอินเดียและลังกาแต่โบราณ[19]และ วัดรณะวนาราชมหาวิหาร (สิงหล: රණවන පුරාණ විහාරය, පිළිමතලාව, อังกฤษ: Ranawana Royal Temple Pilimathalawa) แขวงปิลิมาธาลาวาชานเมืองของนครกัณฏิ เป็นต้น
เนื่องด้วยพระนางและพระราชกุมารมีความความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับตำนานพื้นเมืองท้องถิ่นทางภาคใต้ของไทยโดยเฉพาะอย่างกับเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองสทิงพระรวมถึงศาสนาพุทธในประเทศไทยแบบเถรวาทด้วยอิทธิพลของศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทรงได้รับการสักการะบูชาในฐานะปูชนียบุคคล และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในมเหศักดิ์ (มเหสักข์) และอารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองเดิมท้องถิ่นของไทยร่วมกับเทพารักษ์ พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง อารักษ์เสื้อวัด และเทพบรรพชนโดยทั่วไปของท้องถิ่นภาคใต้ (เช่นเดียวกับคติครามเทวตาและกุลเทวดาในศาสนาพราหมณ์ ฮินดูพื้นเมืองเดิมท้องถิ่นของอินเดียภาคใต้หรือสิงหล) นามของพระนางและพระราชกุมารยังได้รับสถาปนาเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์อุทิศถวาย ณ วิหารธรรมศาลา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารซึ่งกำหนดอายุทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้ในศิลปะไทยสกุลช่างท้องถิ่นสมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลายประมาณตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลงมา[20][21] และยังมีพระราชานุสาวรีย์ของพระนางและพระราชกุมารในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและวัดจะทิ้งพระ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อุทิศถวายแด่ทั้งสองพระองค์ในฐานะพระพุทธรูปประธานของอุโบสถร่วมกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ณ วัดหนองคุย อำเภอแกลง จังหวัดระยองอีกด้วย
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]เรื่องราวและบทบาทของพระนางในฐานะปูชนียบุคคลของประวัติศาสตร์ศรีลังกา ประวัติศาสตร์ไทยภาคใต้และมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกาและศาสนาพุทธในประเทศไทยและมีความผูกผันกับตำนานท้องถิ่นของเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองสทิงพระ ในประเทศศรีลังกาได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ ในปีพุทธศักราช 2557 ชื่อ Siri Daladagamanaya (สิงหล: සිරි දළදාගමනය)[22] ซึ่งพระนางเหมชาลา รับบทโดย ปเสนทิ สามารกูล (Prasadi Samarakoon) และพระฑันฑกุมาร รับบทโดย หรรษ มณุลา (Heshan Manula) นักแสดงชาวสิงหล นอกจากนี้พระนางและพระราชกุมารมักได้รับการจำลองตัวแทนสมมุติในขบวนแห่ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นของประเทศศรีลังกาเช่นกัน
สำหรับในประเทศไทย พระนางเหมชาลาได้รับการสร้างสรรค์ในนาฏศิลป์ไทยในชุดการแสดง เหมชาลาทรงเครื่อง โดยวิทยาลัยนาฏศิลปจังหวัดนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยได้สร้างสรรค์ขึ้นในปีพุทธศักราช 2565[23] ส่วนในทางภาคใต้ได้มีการนำเรื่องราวของพระนางเหมชลาและพระฑันฑกุมาร มาแต่งเป็นนิยายหนังตะลุง มีชื่อเรื่องว่า "ตำนานพระธาตุเมืองคอน" แสดงโดยหนังปฐม อ้ายลูกหมี
นอกจากนี้พระนางและพระราชกุมารมักได้รับการจำลองตัวแทนสมมุติในขบวนแห่ของเทศกาลต่าง ๆ ในท้องถิ่นของภาคใต้ในประเทศไทยอันที่มีชื่อต่าง ๆ เป็นที่กล่าวถึงในวงกว้าง เช่น ประเพณีแห่นางดาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีชักพระ ประเพณีตรุษไทย ประเพณีสารทไทย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทงเป็นต้น
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระเขี้ยวแก้ว
- วัดพระเขี้ยวแก้ว
- ศิลปะศรีวิชัย
- ประวัติศาสตร์ศรีลังกา
- ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
- วัดจะทิ้งพระ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.budusarana.lk/budusarana/2019/08/14/tmp.asp?ID=fea03
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
- ↑ https://srilankatravelpages.com/ta/list-of-world-heritage-sites-in-sri-lanka/
- ↑ https://www.hatyaitaxi.com/wat-phra-mahathat-woramahawihan/
- ↑ https://www.hatyaifocus.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/372-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99-%26%2334%3B%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%26%2334%3B/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
- ↑ https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/e8f57532
- ↑ https://nakhonsistation.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
- ↑ https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/126782
- ↑ https://www.budusarana.lk/budusarana/2018/07/12/tmp.asp?ID=fea15
- ↑ http://roshographs.blogspot.com/2010/09/ancient-kelaniya-temple-sri-lanka.html
- ↑ https://www.thaipost.net/columnist-people/141719/
- ↑ https://colombo.thaiembassy.org/th/content/27883-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3?cate=5d7cff7115e39c0cf80058d2
- ↑ https://www.bridgemanimages.com/de/noartistknown/title/notechnique/asset/2561332
- ↑ https://www.thehistoryhub.com/temple-of-the-tooth-facts-pictures.htm/prince-dantha-and-princess-hemamali-statue
- ↑ https://www.nakhononline.com/2088/
- ↑ http://thaprajan.blogspot.com/2016/02/blog-post_22.html
- ↑ https://www.attractionsinsrilanka.com/travel-directory/lankapatuna-samudragiri-viharaya/
- ↑ mkWEEvn3VRqL
- ↑ https://finearts.go.th/main/view/19611--%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2--%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8-%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A?type1=6
- ↑ "Siri Daladagamanaya earned more than 70 crores". Sarasaviya. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 20 October 2017.
- ↑ https://culture.bsru.ac.th/wp-content/uploads/2022/06/08-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-21-%E0%B8%891-%E0%B8%9B%E0%B8%B565-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87.pdf
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระนางเหมชาลา พระทันทกุมาร
- ↑ หนังปฐม อ้ายลูกหมี เรื่อง...ประวัติตำนานพระธาตุนคร (เต็มเรื่อง), สืบค้นเมื่อ 2024-05-10