รายชื่อโปเกมอน (1–51)
แฟรนไชส์ โปเกมอน (ญี่ปุ่น: ポケモン) มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสมมุติที่เรียกว่าโปเกมอนทั้งหมด 1025 สายพันธุ์ (ตัวที่ 1025 คือ โมโมวาโร่ ) นี่คือรายชื่อโปเกมอน 51 สายพันธุ์ ที่พบในโปเกมอนภาคเรดและกรีน เรียงตามสมุดภาพโปเกมอนเนชัลแนลของซีรีส์เกมหลัก
สารบัญ
[แก้]
|
|
|
|
|
|
ฟุชิกิดาเนะ
[แก้]หมายเลข: 0001 | ชนิด: หญ้า/พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: ฟุชิกิโซ |
ฟุชิกิดาเนะ (ญี่ปุ่น: フシギダネ; ทับศัพท์: Fushigidane) หรือ บัลบาซอร์ (อังกฤษ: Bulbasaur) โปเกมอนเมล็ด เป็นโปเกมอนสัตว์เลื้อยคลานและกบตัวเล็กอ้วนเตี้ย เดินด้วยขาสี่ขา มีร่างกายสีเขียวอมฟ้าและมีจุดสีเขียวอมน้ำเงินตามลำตัว เมื่อฟุชิกิดาเนะพัฒนาร่างเป็นฟุชิกิโซ และจากนั้นพัฒนาเป็นฟุชิกิบานะ ดอกตูมบนหลังจะบานเป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ขึ้น[1] ในอนิเมะโปเกมอน ซาโตชิมีฟุชิกิดาเนะที่มีบุคลิกกล้าหาญแต่ดื้อรั้น ฟุชิกิดาเนะของเขาไม่ยอมพัฒนาร่างเป็นฟุชิกิโซ
ฟุชิกิโซ
[แก้]หมายเลข: 0002 | ชนิด: หญ้า/พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ฟุชิกิดาเนะ | วิวัฒนาการไปเป็น: ฟุชิกิบานะ |
ฟุชิกิโซ (ญี่ปุ่น: フシギソウ; โรมาจิ: Fushigisō; ทับศัพท์: Fushigisou) หรือ ไอวีซอร์ (อังกฤษ: Ivysaur) โปเกมอนเมล็ด เป็นร่างพัฒนาของฟุชิกิดาเนะ หนึ่งในโปเกมอนเริ่มต้นให้ผู้เล่นเลือกในโปเกมอนภาคเรดและบลู และเกมฉบับทำใหม่ ร่างพัฒนาสุดท้ายคือฟุชิกิบานะ นอกจากฟุชิกิโซจะตัวสูงกว่าและหนักกว่าฟุชิกิดาเนะ ดอกตูมบนหลังได้หลายเป็นช่อดอกไม้สีชมพู และใบไม้สี่ใบรองเป็นฐาน ขาของมันจะอ้วนขึ้น เพื่อให้รองรับดอกตูมบนหลังได้ แต่กลับทำให้ยืนด้วยขาหลังไม่ได้[2] ตาของฟุชิกิโซดูก้าวร้าวขึ้นและดุดันขึ้น เช่นเดียวกับฟุชิกิดาเนะ ฟุชิกิโซและดอกตูมของมันมีลักษณะเป็นภาวะพึ่งพากัน กล่าวคือ การอาบแสงแดดจะทำให้ทั้งคู่เจริญเติบโต[3] ท้ายที่สุด ช่อดอกไม้จะส่งกลิ่นหอม เป็นสัญญาณว่าดอกไม้จะบานในอีกไม่ช้า และตัวฟุชิกิโซจะพัฒนาร่าง ฟุชิกิโซจะใช้เวลาอาบแสงแดดนานขึ้นเพื่อพัฒนาร่าง[4]
ฟุชิกิบานะ
[แก้]หมายเลข: 0003 | ชนิด: หญ้า/พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ฟุชิกิโซ | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
ฟุชิกิบานะ (ญี่ปุ่น: フシギバナ; ทับศัพท์: Fushigibana) หรือ เวนูซอร์ (อังกฤษ: Venusaur) เป็นโปเกมอนเมล็ด ร่างพัฒนาร่างสุดท้ายของฟุชิงิดาเนะ ในที่สุดเมล็ดก็บานเป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ ดูคล้าย ๆ กับดอกรัฟเฟิลเซีย ดอกไม้จะดูดแสงแดดมาเป็นสารอาหารอยู่ตลอดเวลา มีสีสันสดใส และกลิ่นหอม และพลังที่จะมีมากในฤดูร้อน[5][6] ฟุชิกิบานะจะเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อดูดแสงแดดให้มากขึ้น แม้ว่าปกติมันจะอยู่นิ่ง ๆ เงียบ ๆ ขณะดูดแสง[7] หลังจากฝนตก กลิ่นหอมจะแรงขึ้นและดึงดูดโปเกมอนตัวอื่นได้[8]
- เมกาฟุชิกิบานะ
ฮิโตคาเงะ
[แก้]หมายเลข: 0004 | ชนิด: ไฟ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: ลิซาร์โดะ |
ฮิโตคาเงะ (ญี่ปุ่น: ヒトカゲ; ทับศัพท์: Hitokage) หรือ ชาร์แมนเดอร์ (อังกฤษ: Charmander) ปรากฏตัวครั้งแรกในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู และในภาคถัดมา ต่อมาปรากฏในสินค้าต่าง ๆ ในเกมภาคพิเศษ และการปรับประยุกต์ให้เป็นการ์ตูนและสิ่งพิมพ์ของแฟรนไชส์ ฮิโตคาเงะเป็นโปเกมอนกิ้งก่า มีลักษณะเหมือนกิ้งก่า มีขาสองขา ตัวเล็ก ส่วนมากมีตาสีฟ้า ผิวหนังสีแดงส้ม นิ้วเท้ามีเล็บแหลมสี่นิ้ว หน้าท้องสีเหลือง ฝ่าเท้าสีเหลือง ปลายหางเป็นเปลวไฟ และขนาดของเปลวไฟบ่งบองสุขภาพ[9] และอารมณ์ของแต่ละตัว[10] กล่าวกันว่า เมื่อฝนตก จะมีไอน้ำออกมาจากปลายหาง[11] ถ้าเปลวไฟดับ ฮิโตคาเงะจะตาย[12] เมื่อฮิโตคาเงะได้รับประสบการณ์มากพอ จะพัฒนาร่างเป็นลิซาร์โด และลิซาร์ดอน ในที่สุด
ลิซาร์โดะ
[แก้]หมายเลข: 0005 | ชนิด: ไฟ | วิวัฒนาการมาจาก: ฮิโตคาเงะ | วิวัฒนาการไปเป็น: ลิซาร์ดอน |
ลิซาร์โดะ (ญี่ปุ่น: リザード; โรมาจิ: Rizādo) หรือ ชาร์เมเลียน (อังกฤษ: Charmeleon) เป็นร่างที่วิวัฒนาการแล้วของฮิโตคาเงะ และเป็นร่างก่อนวิวัฒนาการของลิซาร์ดอน รู้จักกันว่าเป็นโปเกมอนไฟ ซึ่งมีลักษณะเป็นกิ้งก่าสองเท้า ท้องและฝ่าเท้ามีสีเหลือง มือและเท้ามีอย่างละ 3 เล็บ และเปลวไฟอยู่ที่ปลายหาง ลิซาร์โดะมีสีผิวหนังเข้มกว่าฮิโตคาเงะ มีเขาสำหรับชนอยู่บนหัว และมีรูปลักษณ์ที่ดุดันขึ้น โดยธรรมชาติ ลิซาร์โดะจะดุร้ายและอารมณ์ร้อน เป็นนักสู้ที่มีพละกำลังมาก เปลวไฟที่หางอาจไหม้เป็นสีขาวอมฟ้าหากมันกำลังตื่นเต้น และเมื่อหางโบกสะบัด จะทำให้อุณหภูมิรอบ ๆ ขึ้นสูง ลิซาร์โดะปรากฏครั้งแรกในโปเกมอนภาคเรดและบลู
ลิซาร์ดอน
[แก้]หมายเลข: 0006 | ชนิด: ไฟ/บินได้ หรือ มังกร (เมกาลิซาร์ดอน X) | วิวัฒนาการมาจาก: ลิซาร์โดะ | วิวัฒนาการไปเป็น: เมกาลิซาร์ดอน X / เมกาลิซาร์ดอน Y |
ลิซาร์ดอน (ญี่ปุ่น: リザードン; โรมาจิ: Rizadon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ชาริซาร์ด (อังกฤษ: Charizard) เป็นร่างพัฒนาของลิซาร์โด ซึ่งพัฒนามาจากฮิโตะคาเงะอีกต่อหนึ่ง ขณะที่ร่างก่อนพัฒนาต่างก็เป็นสัตว์คล้ายกิ้งก่าบก ลิซาร์ดอนกลับดูคล้ายมังกรยุโรปชนิดหนึ่ง[13] แม้ว่าจะคล้ายมังกร แต่เห็นได้ชัดว่าลิซาร์ดอนเป็นโปเกมอนประเภทไฟและบิน ไม่ใช่ประเภทมังกร[14] ลิซาร์ดอนมีปีกสีฟ้าสองปีก ขณะที่หลังมีสีส้มเหมือนกับสีของลำตัว หน้าท้องและฝ่าเท้ามีสีครีม ขณะที่ตามีสีฟ้าอ่อน ในวิดีโอเกมบรรยายว่าลิซาร์ดอนมีปีกที่สามารถบินได้ถึงความสูง 4,600 ฟุต[15] บินโฉบทั่วฟ้าและคอยหาศัตรูที่เก่งกาจต่อสู้อยู่ตลอด[16] ลิซาร์ดอนสามารถหายใจออกมาเป็นเปลวไฟร้อนระอุที่สามารถหลอมละลายสสารใด ๆ ก็ได้ แต่จะไม่ทำให้ศัตรูที่อ่อนแอกว่าลุกไหม้[17] ถ้าลิซาร์ดอนโกรธ เปลวไฟที่ปลายหางจะลุกเป็นสีขาวอมฟ้า[18] และเนื่องจากเป็นโปเกมอนที่สะเพร่า ลิซาร์ดอนมักจะก่อให้เกิดไฟป่าอย่างไม่ตั้งใจ[19]
- เมกาลิซาร์ดอน X (メガリザードンX)
- ร่างพัฒนาเมกาของลิซาร์ดอน ที่ใช้กับหินลิซาร์ดอนไนต์ X ทำให้มีลักษณะเปลี่ยนไปคือสีของลำตัวและไฟเปลี่ยนเป็นสีดำและสีฟ้าและประเภทเปลี่ยนเป็น ไฟ-มังกรแทน มีความสามารถพิเศษคือกรงเล็บแกร่ง (Tough Claws) โดยเฉพาะพลังทั้งสามอย่างคือ โจมตี ป้องกัน และโจมตีพิเศษโดยค่าพลังโจมตีและโจมตีพิเศษมีค่าเท่ากันและนอกจากนี้ท่าที่เพิ่มพลังโจมตีทางกายภาพอย่าง ระบำมังกร และ ระบำดาบ ซึ่งเป็นท่าที่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ต่อสู้ด้วย
- เมกาลิซาร์ดอน Y (メガリザードンY)
- ร่างพัฒนาเมกาของลิซาร์ดอน ที่ใช้กับหินลิซาร์ดอนไนต์ Y โดยสีลำตัวจะเหมือนกับแบบปกติแต่มีรูปร่างแตกต่างกับลิซาร์ดอนปกติคือส่วนหัวเพิ่มเขาขนาดใหญ่ไว้ ส่วนแขนเพิ่มปีกขึ้นและส่วนปีกและหางเปลี่ยนรูปร่างให้แหลมและใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ปีกขนาดใหญ่ยังสามารถบินได้ถึง 10 กิโลเมตรต่อเที่ยวบิน ซึ่งจะแตกต่างกับลิซาร์ดอนที่บินได้เพียง 7 ครั้ง ความสามารถพิเศษคือทำให้สภาพอาการแล้ง (Drought) โดยการเรียกนั้นจะเป็นการเรียกแสงแดดจากท้องฟ้า โดยค่าพลังที่เน้นหลัก ๆ คือค่าพลังโจมตีพิเศษซึ่งมีค่าพลังสูงสุดในข้อมูล โดยท่าที่ใช้เหมาะสมคือท่าโซลาร์บีมที่เหมาะควบคู่กับความสามารถอย่างสภาพอากาศแล้ง
- ผู้พากย์เสียงลิซาร์ดอนของซาโตชิในอนิเมะ คือ ชินอิจิโร่ มิกิ
เซนิกาเมะ
[แก้]หมายเลข: 0007 | ชนิด: น้ำ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: คาเมล |
เซนิกาเมะ (ญี่ปุ่น: ゼニガメ; ทับศัพท์: Zenigame) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ สเควิร์ตเทิล (อังกฤษ: Squirtle) เป็นโปเกมอนเต่าตัวเล็ก เซนิกาเมะเป็นเต่าหน้าตาน่ารัก สามารถเดินได้สองขาหรือทั้งสี่ขา ผิวหนังของเซนิกาเมะเป็นสีฟ้าอ่อน มีหางม้วนและยาว เมื่อถูกคุกคาม เซนิกาเมะจะหดแขนขาไว้ในกระดองสีน้ำตาลส้ม และพ่นน้ำจากปากด้วยพลังมหาศาล เพื่อโจมตีศัตรูหรือข่มขู่[20] ถ้าถูกโจมตี กระดองจะยืดหยุ่น และป้องกันตัวได้ดีเยี่ยม เซนิกาเมะจะหลบภัยในกระดอง และโจมตีกลับด้วยน้ำในทุก ๆ โอกาส[21] กระดองมีรูปร่างกลมและร่องบนผิวหนังช่วยลดแรงต้านทานในน้ำ ทำให้เซนิกาเมะว่ายน้ำได้ด้วยความเร็วสูง[22]
คาเมล
[แก้]หมายเลข: 0008 | ชนิด: น้ำ | วิวัฒนาการมาจาก: เซนิกาเมะ | วิวัฒนาการไปเป็น: คาเม็กซ์ |
คาเมล (ญี่ปุ่น: カメール; โรมาจิ: Kamēru; ทับศัพท์: Kameil) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า วอร์เทอร์เทิล (อังกฤษ: Wartortle) เป็นโปเกมอนเต่า และเป็นร่างพัฒนาของเซนิกาเมะ มันมีลักษณะที่ดูน่ากลัวขึ้นเล็กน้อย นอกเหนือจากความสูงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแล้ว มันยังมีสีที่คล้ำขึ้น มีนัยน์ตาที่เล็กลง และมีเขี้ยวเล็กๆอยู่ที่ปาก กระดองของมันอาจจะมีร่องรอยจากการต่อสู้ ซึ่งคาเมลมักเสาะหาอย่างเต็มใจ[23] คาเมลยังมีหูที่ดูเหมือนขนนกหนึ่งคู่ และหางมีสีขาว ปุยนุ่ม และยาวเกินที่จะหดอยู่ในกระดองได้[24] รยางค์นี้ช่วยให้คาเมลว่ายน้ำได้อย่างมาก โดยทำหน้าที่เหมือนครีบหรือไม้พาย[25] หางของคาเมลดูจะเป็นของสะสมมูลค่าสูง เป็นเหตุให้คนล่ามัน ทำให้จำนวนประชากรลดลง สาเหตุของการ รุกล้ำนี้อาจเกิดจากหางของคาเมลเป็นสัญลักษณ์ของความอายุยืนในโลกโปเกมอน ว่ากันว่าทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ได้หลายพันปี[26]
คาเม็กซ์
[แก้]หมายเลข: 0009 | ชนิด: น้ำ | วิวัฒนาการมาจาก: คาเมล | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
คาเม็กซ์ (ญี่ปุ่น: カメックス; โรมาจิ: Kamekkusu; ทับศัพท์: Kamex) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า บลาสทัส หรือ บลาสทอยซ์ (อังกฤษ: Blastoise) โปเกมอนหอย เป็นร่างพัฒนาร่างสุดท้ายของเซนิกาเมะ มีรูปร่างแตกต่างจากร่างก่อนหน้าอย่างสุดโต่ง การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุดคือปืนใหญ่สองกระบอกบนกระดองที่ยิงผ่านเหล็กหนา คาเม็กซ์มีลำตัวกว้างกว่าและโอ่อ่า ศีรษะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แขนขาอวบอ้วนและแบ่งเป็นส่วน ๆ มองเห็นกรงเล็บชัดเจน และหางสั้นและดูอ้วน ปืนใหญ่เป็นการปรับเปลี่ยนที่โดดเด่น ทำให้คาเม็กซ์ยิงปืนน้ำด้วยพลังมหาศาลและแม่นยำ น้ำจากปืนใหญ่สามารถทลายเหล็กหนาได้[27] ขณะที่กระสุนปืนสามารถยิงกระป๋องในระยะมากกว่า 160 ฟุตได้อย่างแม่นยำ[28] ปืนใหญ่ยังช่วยให้คาเม็กซ์พุ่งชนด้วยความเร็วสูง[29] แม้ว่าคาเม็กซ์จะตัวใหญ่และหนัก แต่มันสามารถเดินสองขาหรือสี่ขาได้ดี คาเม็กซ์สามารถพบได้บนชายหาดของเกาะติดกับมหาสมุทร แต่มันชอบอาศัยในบ่อหรือทะเลสาบน้ำจืดมากกว่า
- เมกาคาเม็กซ์
คาเตอร์ปี
[แก้]หมายเลข: 0010 | ชนิด: แมลง | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: ทรานเซล |
คาเตอร์ปี (ญี่ปุ่น: キャタピー; โรมาจิ: Kyatapī) เป็นโปเกมอนหนอน[30] ออกแบบโดยเคน ซูกิโมริ[31] ซาโตชิ ทาจิริ ผู้สร้างโปเกมอน ได้แรงบันดาลใจจากงานอดิเรกสมัยเด็กนำไปสู่การสร้างโปเกมอนสายพันธุ์ต่าง ๆ[32] คาเตอร์ปีถูกออกแบบตามหนอนผีเสื้อหางติ่ง (swallowtail)[33] ชื่อของคาเตอร์ปีก็มาจากคำว่า caterpillar เช่นกัน[34] คาเตอร์ปีมีผิวหนังสีเขียวและมีสีเหลืองใต้ท้อง มีจุดสีเหลือง และออสมีทีเรียมสีแดงขนาดใหญ่ยื่นออกมาจากหน้าผาก[35] ร่างกายสีเขียวใช้อำพรางตัวในใบไม้ได้[36] ดวงตาเป็นลายเพื่อทำให้นักล่ากลัว[37] เท้ายึดเกาะพื้นผิวใด ๆ ก็ได้[38] ออสมีทีเรียมบนหัวจะส่งกลิ่นเหม็นเพื่อขับไล่นักล่า[39] คาเตอร์ปีเป็นโปเกมอนร่างดั้งเดิมที่ตัวเล็กที่สุด[40] และเจริญเติบโตโดยการลอกคราบ[30] คาเตอร์ปีพัฒนาร่างเป็นทรานเซว และเป็นบัตเตอร์ฟรีในที่สุด[41] คาเตอร์ปีเรียนรู้ได้เพียงสองท่า ได้แก่ พุ่งชน (Tackle) และ พ่นใย (String Shot) และมีความสามารถจำกัดจนกว่ามันจะพัฒนาร่าง[35] แม้กระนั้น ในเกมทุกเกมตั้งแต่โปเกมอนภาคแพลตินัมเป็นต้นไป คาเตอร์ปีสามารถเรียนท่า นอนกรน (Snore) และ แมลงกัด (Bug Bite) ได้
ทรานเซล
[แก้]หมายเลข: 0011 | ชนิด: แมลง | วิวัฒนาการมาจาก: คาเตอร์ปี | วิวัฒนาการไปเป็น: บัตเตอร์ฟรี |
ทรานเซล (ญี่ปุ่น: トランセル; โรมาจิ: Toranseru; ทับศัพท์: Transel) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เมตาพอด (อังกฤษ: Metapod) เป็นโปเกมอนดักแด้ พบในป่าแห่งแรก ๆ ในเขตคันโตและโจโต เป็นร่างดักแด้ของคาเตอร์ปี โปเกมอนหนอน ทรานเซลสามารถพัฒนาร่างเป็นบัตเตอร์ฟรี โปเกมอนผีเสื้อ[42] ขณะที่ทรานเซลถูกจัดให้เป็นโปเกมอนดักแด้ แต่มันดูคล้ายกับแดกแด้มากกว่า รูปร่างภายนอกของทรานเซลจะหุ้มเกราะเพื่อปกป้องร่างกายอ่อนนุ่มภายในขณะกำลังเปลี่ยนสัณฐานเป็นบัตเตอร์ฟรี และเพื่อเก็บสะสมพลังงานสำหรับการพัฒนา ทำให้ทรานเซลเคลื่อนที่แทบไม่ได้[43] ว่ากันว่ากระดองของทรานเซลแข็งอย่างเหล็ก แต่การกระทบกระทั่งอย่างหนักอย่างกะทันหันอาจก่อให้ร่างกายที่เปราะบางเป็นอันตราย[44]
บัตเตอร์ฟรี
[แก้]หมายเลข: 0012 | ชนิด: แมลง/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ทรานเซล | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
บัตเตอร์ฟรี (ญี่ปุ่น: バタフリー; โรมาจิ: Batafurī) เป็นโปเกมอนผีเสื้อโตเต็มวัยที่ฟักตัวจากทรานเซล ขณะที่โปเกมอนหลาย ๆ ตัวจะพัฒนาเป็นร่างสุดท้ายที่ระดับสูง ๆ บัตเตอร์ฟรีกลายเป็นโปเกมอนที่แข็งแรงสำหรับโปเกมอนเทรนเนอร์ที่เพิ่งเริ่มออกเดินทาง บัตเตอร์ฟรีดูคล้ายกับผีเสื้อมานุษยรูป บัตเตอร์ฟรีมีขาสี่ขา สีฟ้าอ่อน แตกต่างจากแมลงจริง ๆ มีอวัยวะคล้ายจมูกที่มีสีคล้ายกัน สีร่างกายเป็นสีม่วงฟ้าเข้ม บัตเตอร์ฟรีมีปีกสีขาวดำลายเส้น ลายดังกล่าวช่วยแยกแยะเพศ มีตารวม (compound eye) สีแดง บัตเตอร์ฟรีกินน้ำหวานจากดอกไม้ และดูดน้ำหวานบนเส้นขนบนขาเพื่อส่งน้ำหวานกลับไปที่รัง[45] เช่นเดียวกับวงศ์ Lepidoptera ปีกของบัตเตอร์ฟรีปกคลุมด้วยเกล็ดเรียบ ๆ ที่ทนน้ำ และทำให้มันบินฝ่าฝนได้[46] ซึ่งเป็นสิ่งที่โปเกมอนแมลงอื่น ๆ หลายตัวทำไม่ได้ เช่น อาเมมอธ แต่ปีกของบัตเตอร์ฟรียังเคลือบฝุ่นละอองพิษ ซึ่งสามารถยิงละอองพิษใส่ศัตรูในการต่อสู้จากการกระพือปีก[47]
บีเดิล
[แก้]หมายเลข: 0013 | ชนิด: แมลง/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: โคคูน |
บีเดิล (ญี่ปุ่น: ビードル; โรมาจิ: Bīdoru; ทับศัพท์: Beedle) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า วีเดิล (อังกฤษ: Weedle) เป็นโปเกมอนแมลงมีขน เป็นหนอนที่พบในป่าแห่งแรกในเขตคันโตและโจโตะ บีเดิลเป็นโปเกมอนอ่อนแอที่ถูกจับเพียงเพื่อพัฒนาร่างเป็นโคคูน ร่างดักแด้ และเป็นสเปียร์ โปเกมอนแตนในที่สุด บีเดิลมีเท้าเล็ก ๆ สีชมพู และจมูกกลม ๆ สีชมพู ปกติจะเจอบีเดิลในป่าและทุ่งหญ้า กินใบไม้ บีเดิลจะป้องกันตัวเองจากนักล่าอย่างดีโดยใช้หนามขนาดสองนิ้วบนหัวที่สามารถหลั่งสารพิษแรงออกมาได้[48] และมีเหล็กในอีกอันอยู่ด้านหลัง บีเดิลใช้ประสาทสัมผัสการดมกลิ่นด้วยจะงอยเพื่อหาชนิดของใบไม้ที่มันกิน[49] เนื่องจากบีเดิลมักอาศัยในป่าและทุ่งหญ้า[50] มันจึงกินใบไม้ได้ทุกวัน[51]
โคคูน
[แก้]หมายเลข: 0014 | ชนิด: แมลง/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: บีเดิล | วิวัฒนาการไปเป็น: สเปียร์ |
โคคูน (ญี่ปุ่น: コクーン; โรมาจิ: Kokūn; ทับศัพท์: Cocoon) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า คาคูนา (อังกฤษ: Kakuna) เป็นโปเกมอนดักแด้ พบได้ในป่าแห่งแรกในเขตคันโตและโจโตะ ตัวอ่อนของโคคูนของบีเดิล โปเกมอนหนอน โคคูนสามารถพัฒนาร่างเป็นสเปียร์ โปเกมอนแตนได้ โคคูนเป็นดักแด้สีเหลือง รูปทรงข้าวโพด มีหัวเป็นรูปโดมและตารูปสามเหลี่ยมสีดำ ในกระดอง โคคูนจะเตรียมตัวเพื่อพัฒนาไปสู่ร่างเต็มวัย และปริมาณพลังงานจากกระบวนการนี้จะทำให้กระดองค่อนข้างร้อน หากสัมผัสโดน[52] โคคูนมักพบใกล้ ๆ หรือบนต้นไม้ และเนื่องจากขอบเขตการเคลื่อนที่ถูกจำกัด มักมีผู้เข้าใจผิดว่ามันตายแล้ว การเข้าถึงตัวโคคูนแบบไม่ระมัดระวังในขั้นนี้จะดูไม่ฉลาดนักเพราะมันสามารถยืนเหล็กในออกมาป้องกันภัยคุกคามได้[53]
สเปียร์
[แก้]หมายเลข: 0015 | ชนิด: แมลง/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: โคคูน | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
สเปียร์ (ญี่ปุ่น: スピアー; โรมาจิ: Supiā; ทับศัพท์: Spear) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า บีดริล (อังกฤษ: Beedrill) เป็นโปเกมอนผึ้งมีพิษ เป็นโปเกมอนเหมือนแตนที่โตเต็มที่ซึ่งฟักจากโคคูน ร่างดักแด้ แม้ว่ามันจะเหมือนแตน แต่สเปียร์มีขาแค่สี่ขา ขาคู่แรกมีเหล็กในยาวติดอยู่ มีปีกเป็นลาย และมีเหล็กในอีกอันอยู่ที่ท้อง ถือว่าเป็นพิษที่แรงที่สุด[54] สเปียร์เป็นโปเกมอนที่หวงถิ่น และระมัดระวังไม่ให้สิ่งอื่น ๆ เข้าใกล้[55] เมื่อมันโกรธ สเปียร์จะโจมตีเป็นฝูง และนำพิษจากปลายแหลมเหล็กในและในท้องมาใช้ด้วย[56]
ในการเปรียบเทียบระหว่างสเปียร์กับบัตเตอร์ฟรี เบร็ตต์ เอลสตัน แย้งว่าทั้งสองตัวมีไว้สาธิตการพัฒนาร่างให้กับผู้เล่นใหม่ และเสริมว่าสเปียร์จะโจมตีได้มากกว่าบัตเตอร์ฟรี เขายังกล่าวว่าสเปียร์จะถูกแทนที่ด้วยโปเกมอนที่เก่งกว่า[57] เช่นเดียวกับบัตเตอร์ฟรี นิตยสารบอยส์ไลฟ์เรียกสเปียร์ว่าเป็นโปเกมอนที่ "เจ๋งที่สุด" อันดับสามจากห้าอันดับจากโปเกมอนภาคไฟร์เรดและลีฟกรีน[58]
- เมกาสเปียร์
ป็อปโปะ
[แก้]หมายเลข: 0016 | ชนิด: ปกติ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: พิเจียน |
ป็อปโปะ (ญี่ปุ่น: ポッポ; ทับศัพท์: Poppo) หรือ พิดจี (อังกฤษ: Pidgey) เป็นโปเกมอนนกตัวเล็ก เป็นนกรูปร่างท้วมตัวเล็ก มีสีน้ำตาล บริเวณคอและหน้าท้องมีสีอ่อนกว่า ที่ปลายปีกมีสีครีม เท้าสองข้างและจะงอยเป็นสีเทาอมชมพู ขนนกดูไม่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับพีเจียนและพีจ็อต ร่างพัฒนา ป็อปโปะมีแต้มสีดำรอบตาและมีหงอนเล็ก ๆ สีน้ำตาลและครีมเหนือดวงตา ป็อปโปะมีนิสัยเชื่องและมักเลี่ยงความขัดแย้ง แต่ถ้าถูกรบกวน มันจะจู่โจมกลับด้วยความโกรธ[59] และจัใช้ปีกคุ้ยทรายเกิดเป็นฝุ่นเพื่อพยายามทำให้ศัตรูไขว้เขวและหนีไป[7] ป็อปโปะยังใช้เทคนิคนี้ล่อให้แมลงเล็ก ๆ ด้วย[60] ป็อปโปะจะมีประสาทสัมผัสรับรู้แม่เหล็ก เนื่องจากมันสามารถบินกลับรังได้จากทุกที่โดยไม่เคยหลงทาง[61]
ลอเรดานา ลิปเปรีนี นักเขียนหนังสือ เจเนราซีโอเน โปเกมอน: อี บัมบีนี เอ อินวาซีโอเน พลาเนตาเรีย เด นูโอวี ให้ความเห็นว่าขณะที่ชื่อของป็อปโปะ (Pidgey) มาจากคำว่า pigeon (นกพิราบ) แต่มันกลับดูคล้ายนกกระจอกมากกว่า[62] บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน มองความเป็นที่นิยมป็อปโปะมาจากการที่พบได้ทั่วไปในอนิเมะ รวมถึงเป็นโปเกมอนที่ไว้ใจได้[63] หนังสือพิมพ์ ดิอินดีเพ็นเดนต์ บรรยายถึงป็อปโปะว่าเป็น "สัตว์ประหลาดหน้าตาน่ารัก" และเป็น "นกพิราบที่โกรธอย่างพอประมาณ"[64]
พีเจียน
[แก้]หมายเลข: 0017 | ชนิด: ปกติ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ป็อปโปะ | วิวัฒนาการไปเป็น: พีเจียต |
พีเจียน (ญี่ปุ่น: ピジョン; โรมาจิ: Pijon; ทับศัพท์: Pigeon) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า พีจีออตโต (อังกฤษ: Pigeotto) เป็นโปเกมอนนก เป็นร่างตัวใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าป็อปโปะ ที่ป็อปโปะจะได้รับหากได้รับประสบการณ์เพียงพอ พีเจียนเป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่ พีเจียนมีสีหลัก ๆ เป็นสีน้ำตาล แต่มีขนนกที่ละเอียดซับซ้อนกว่าป็อปโปะ หงอนที่ศีรษะของพีเจียนจะยาวกว่าป็อปโปะและมีสีออกแดง ขนหางค่อนข้างมีสีสัน สีแดงสลับกับสีเหลือง นอกจากขนที่มีสีสันแล้ว สีตัวพื้นฐานจะคล้ายกับป็อปโปะ มีเท้าสีเทาอมชมพู และแต้มสีดำรอบตา พีเจียนมีนิสัยหวงบริเวณของตน โดยทั่วไปจะครองพื้นที่ขนาดใหญ่ที่มีรังอยู่ตรงกลาง พีเจียนจะแสดงอาการหวงบริเวณตลอดเวลา และจะจู่โจมผู้บุกรุกอย่างไม่ปราณี พวกมันจะบินเป็นวงกลมขณะล่าเหยื่อ และสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของเหยื่อบนดินไม่ว่ามันจะบินสูงเพียงใด[65] พีเจียนโจมตีด้วยกรงเล็บแหลมและหิ้วเหยื่อ อย่างเช่น ทามะทามะ และคอยคิง กลับไปที่รังจากระยะทาง 60 ไมล์หรือมากกว่า[66] พีเจียนปรากฏในอนิเมะโปเกมอนเป็นหนึ่งในโปเกมอนตัวแรก ๆ ของซาโตชิ และพัฒนาร่างเป็นพีเจียตในที่สุด
พีเจียต
[แก้]หมายเลข: 0018 | ชนิด: ปกติ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: พีเจียน | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
พีเจียต (ญี่ปุ่น: ピジョット; โรมาจิ: Pijotto; ทับศัพท์: Pigeot) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า พีจีออต (อังกฤษ: Pigeot) เป็นโปเกมอนนก เป็นร่างพัฒนาขั้นสุดท้ายในสายวิวัฒนาการของป็อปโปะ พีเจียตตัวขนาดใหญ่กว่าพีเจียนอย่างเห็นได้ชัด ขนนกใหญ่กว่าและเป็นมันวาว ขนที่หงอนบนหัวยาวเกือบเท่าตัวของมัน และเป็นสีเหลืองและแดง ขนที่หางเป็นสีแดง ใต้ท้องเป็นสีแทน และมีแต้มสีดำรอบตา เช่นเดียวกับร่างก่อนหน้า เนื่องจากมีกล้ามเนื้อที่อกแข็งแรง พีเจียตสามารถกระพือปีกเร็วพอที่จะเปลี่ยนกระแสลมเป็นพายุทอร์นาโดได้[67] พีเจียตสามารถบินขึ้นถึงที่ความสูง 3300 ฟุต[68] และทำความเร็วได้ถึงมัค 2[69] พีเจียต เช่นเดียวกับ พีเจียน กินคอยคิงโดยบินโฉบจากฟ้าและจับมันด้วยกรงเล็บขึ้นจากน้ำ[68] พีเจียตคล้ายพีเจียนมากจนมักมีการเข้าใจผิดกัน แม้แต่ในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ[70]
ลอเรดานา ลิปเพรินี ผู้เขียนหนังสือ Generazione Pókemon: i bambini e l'invasione planetaria dei nuovi บรรยายถึงพีเจียตว่าเป็นนักล่าตัวด้วง เหมือนกับนกจริง ๆ[62]
- เมกาพิเจียต
โครัตตา
[แก้]หมายเลข: 0019 | ชนิด: ปกติ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: รัตตา |
โครัตตา (ญี่ปุ่น: コラッタ; ทับศัพท์: Koratta) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แรตตาตา (อังกฤษ: Rattata) เป็นโปเกมอนหนู โครัตตาดูคล้ายหนูตัวเล็กสีม่วง มีตาขนาดใหญ่สีแดง หน้าท้องสีครีม ฝ่าเท้าเป็นอุ้ง และมีเขี้ยวคู่ โครัตตามีหางม้วนสีม่วง ยาวเล็กน้อย โครัตตามีฟันตัดขนาดใหญ่และหนวดยาวสองข้างที่อาจขาดได้หากโดนแทะ โครัตตามีอุ้งเท้า 3 นิ้ว มีสีเดียวกับหน้าท้อง พวกมันเดินด้วยขาสี่ขา โครัตตามีฟันขนาดใหญ่ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อจะได้แทะของแข็งจนสึกกร่อน โครัตตาเป็นโปเกมอนตัวแรก ๆ ที่ผู้เล่นสามารถจับได้ มีมากเสียจนว่ากันว่าหากปรากฏโครัตตาหนึ่งตัว หมายความว่าจะปรากฏโครัตตาอีกกว่า 40 ตัวในบริเวณนั้น[71] พวกมันทำรังไว้เกือบทุกที่[72] และกินทุกอย่างที่มันคุ้ยได้[73] เขี้ยวของโครัตตาจะใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดอายุขัย ดังนั้นมันจึงต้องเหลาเขี้ยวออกโดยแทะวัตถุแข็ง เพื่อให้ขนาดพอเหมาะกับตัวมัน[74] ท่าที่เป็นที่รู้จักดีคือ ความเร็วแสง (Quick Attack) ซึ่งมันจะโจมตีก่อน แม้ว่าจะยังไม่ถึงตาของมันก็ตาม
บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เรย์มอนด์ พาดิลลา วิจารณ์การออกแบบโครัตตาและรัตตาเรื่องแรงบันดาลใจคล้ายกันเกินไป และบรรยายว่าเป็น "หนูสกปรก" (filthy rodent)[75] นักเขียน ลอเรดานา ลิปเพรินี เขียนว่าทั้ง ๆ ที่มีเขี้ยวคมดั่งมีด โครัตตากลับแบ่งพื้นที่กับป็อปโปะได้อย่างสันติ[76] คริส สกัลเลียน จากนิตยสารออฟฟิเชียลนินเทนโดแมกกาซีน วิจารณ์เรื่องที่พบโครัตตาได้บ่อยและบรรยายว่าเป็น "ขยะ" (rubbish)[77] คอลัมน์ "Pokémon Chick" ของไอจีเอ็น เขียนว่าใครก็ตามที่ไม่เคยเจอโครัตตา เขาคนนั้นไม่เคยเล่นเกมโปเกมอน เธอเสริมว่าเนื่องจากความไม่น่าประทับใจ มันจึงมักถูกเก็บไว้ในกล่องฝากโปเกมอนในคอมพิวเตอร์[78] จอห์น ฟังก์ จากนิตยสารดิเอสคาพิสต์ เรียกโครัตตาว่า "ใบหน้าที่คุ้นเคย" (familiar face)[79]
รัตตา
[แก้]หมายเลข: 0020 | ชนิด: ปกติ | วิวัฒนาการมาจาก: โครัตตา | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
รัตตา (ญี่ปุ่น: ラッタ; ทับศัพท์: Ratta) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แรติเคต (อังกฤษ: Raticate) เป็นโปเกมอนหนู มีรูปร่างใหญ่และแข็งแรงกว่าโครัตตา หลังจากได้รับประสบการณ์มากพอขณะที่ยังเป็นโครัตตา รัตตาดูตล้ายหนูสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขนาดใหญ่ มีตาเล็ก ๆ สีดำ ท้องสีเหลือง หางขนาดใหญ่สีครีม และสามารถยืนด้วยขาหลังได้ รัตตามีสีน้ำตาลอมเหลืองมีสีครีมข้างใต้ ในเกมโปเกมอน จะได้รัตตาเมื่อโครัตตาได้รับประสบการณ์ถึงระดับ 20 และพัฒนาร่างเป็นรัตตา เมือเปรียบเทียบกับโครัตตาแล้ว รัตตาเป็นนักล่าเหยื่อมากกว่า และร่างกายของมันถูกปรับตัวให้เป็นนักล่า หนวดของมันให้ความสมดุล และหากหนวดถูกตัดออก มันจะเคลื่อนไหวช้าลง[80] รัตตาเพศเมียมีหนวดสั้นกว่า เท้าของมันมีพังผืดทำให้ว่ายน้ำได้ขณะล่าเหยื่อ[81] และเขี้ยวของมันแข็งพอที่จะแทะอาคารปูนให้โค่นลงได้[82]
บนเรือเซนต์แอนน์ ซาโตชิแลกเปลี่ยนบัตเตอร์ฟรีของเขากับรัตตาตัวหนึ่ง และแลกเปลี่ยนกลับในท้ายตอน ยามาโตะมีรัตตาตัวหนึ่งซึ่งมีบทบาทในคติพจน์ (motto) ของเธอและโคซาบุโร เช่นเดียวกับเนียซที่มีบทบาทในคติพจน์ของมุซาชิและโคจิโร ในตอน ดวลเดือด! โปเกมอนยิม! รัตตาเป็นหนึ่งในโปเกมอนของหนึ่งในเทรนเนอร์ใน Kas Gym ตัวละครชื่อมิกะมีรัตตาตัวหนึ่ง เธอใช้ในรอบ appeal round ในการประกวดโปเกมอนในตอน อันดับที่ 1 ฮารุกะ ปะทะ ทาเคชิ โคซาบุโร จากแก๊งร็อกเก็ตใช้รัตตาในตอน แก๊งร็อกเก็ตสลาย มุ่งสู่เส้นทางของตนเอง ในมังงะโปเกมอนสเปเชียล โครัตตาเป็นโปเกมอนตัวแรกของเยลโลว์ ต่อมามันพัฒนาร่างเป็นรัตตา
บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน ยกย่องรัตตาว่าเป็นโปเกมอนที่เก่งในช่วงแรกของเกม แต่ติว่าไม่มีประโยชน์เมื่อพ้นช่วงแรกของเกมไป[83] เมื่อเธอพบว่ามันเป็นโปเกมอนที่เลี้ยงยาก คอลัมน์ "Pokémon of the Day Chick" ของไอจีเอ็น เรียกรัตตาว่าเป็น "เซอร์ไพรส์น่าคลื่นไส้" (nasty surprise) ต่อคู่ต่อสู้[78] เธอเรียกรัตตาว่าเป็น "หนึ่งในโปเกมอนที่ถูกประเมินต่ำที่สุด"[78] ไมเคิล วรีแลนด์ จากเว็บไซต์วันอัป.คอม ออกความเห็นว่า ท่า "เขี้ยวความเกลียดชัง" (Super Fang) ของรัตตาเป็นท่าที่ผู้เล่นรู้สึกน่ารำคาญ เมื่อเทรนเนอร์คนอื่นใช้ท่านี้กับโปเกมอนของเขา[84] ไอจีเอ็นเขียนว่า ขณะที่มันมีปัญหาเดียวกับโครัตตา แต่มันมีพลังโจมตีสูง[85]
โอนิสึซึเมะ
[แก้]หมายเลข: 0021 | ชนิด: ปกติ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: โอนิดริล |
โอนิสึซึเมะ (ญี่ปุ่น: オニスズメ; ทับศัพท์: Onisuzume) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า สเปียโรว์ (อังกฤษ: Spearow) เป็นโปเกมอนนกเล็ก ชื่อภาษาอังกฤษมาจากคำว่า "spear" และ "sparrow" เมื่อพวกมันถูกฝึกบ่อย ๆ มันจะพัฒนาร่างเป็นโอนิดริล โอนิสึซึเมะเป็นนกตัวเล็กมีขนหยาบ มีรูปร่างจะงอยคล้ายจะงอยของแร็ปเตอร์ เท้าทั้งสองข้างสีชมพูมาสามกรงเล็บ เป็นที่จดจำกันว่าโอนิสึซึเมะอ่อนแอ มักจะชดเชยตรงนั้นด้วยท่า เลียนเสียงนกแก้ว (Mirror Move)[86] พวกมันกินแมลงในทุ่งหญ้าโดยทำให้ตกใจและใช้จะงอยดึงเข้าปาก[87] ปีกของโอนิสึซึเมะบินได้ไม่ไกลและไม่สูงนัก[88] แต่สามารถบินเร็วโดยกระพือปีกอย่างเร็ว[89] โอนิสึซึเมะหวงอาณาเขต จะส่งเสียงหึ่งตลอดเวลาและส่งเรียกร้องดัง ๆ ได้ยินไกลจากระยะทางครึ่งไมล์ เสียงร้องนี้ทำให้นักล่ากลัวได้และใช้สื่อสารกับโอนิสึซึเมะตัวอื่นเป็นเสียงแจ้งเตือนฉุกเฉิน[90]
ในตอนแรก ๆ ของอนิเมะโปเกมอน (ตอน โปเกมอน! ฉันเลือกนายนี่แหละ!) ตัวเอก ซาโตชิ พยายามจับโอนิสึซึเมะตัวหนึ่งที่นอกเมืองมาซาระ บ้านเกิดของเขา โดยที่พิคาชูของเขาไม่ยอมช่วย เขาทำได้เพียงขว้างก้อนกรวดไปที่โอนิสึซึเมะ ทำให้มันโกรธ โอนิสึซึเมะเรียกฝูงพวกมันออกมา ไล่ตามซาโตชิและพิคาชู ในที่พิคาชูก็โจมตีด้วยท่าฟ้าผ่า (Thunder) ทำให้ฝูงหนีไปได้ โดยซาโตชิยอมเอาชีวิตตนเองเข้าเสี่ยงเพื่อให้พิคาชูปลอดภัย[91] ซาโตชิต้องกลับมารับมือกับฝูงเดิมอีกครั้งเมื่อเขากลับมาเมืองมาซาระ และพบว่าโอนิสึซึเมะที่เขาเคยพยายามจะจับได้กลายเป็นโอนิดริลแล้ว[92] ฝูงดังกล่าวปรากฏอีกครั้งในภาพนึก ซึ่งซาโตชินึกถึงในตอน มิวและอัศวินคลื่นพลัง ศาสตราจารย์โอคิโดะเคยมีโอนิสุซุเมะหนึ่งตัวในมังงะโปเกมอนสเปเชียล เขาใช้มันต่อสู้กับกรีนในโปเกมอนลีก จากนั้นมันก็พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล
โอนิดริล
[แก้]หมายเลข: 0022 | ชนิด: ปกติ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: โอนิสุซุเมะ | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
โอนิดริล (ญี่ปุ่น: オニドリル; โรมาจิ: Onidoriru; ทับศัพท์: Onidrill) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เฟียโรว์ (อังกฤษ: Fearow) เป็นโปเกมอนจะงอย เป็นนกที่พัฒนาร่างจากโอนิสึซึเมะที่ระดับ 20 โอนิดริลเป็นนกสีน้ำตาลขนาดใหญ่ มีคอคล้ายแร้ง มีจะงอยแหลม ยาว และใหญ่ และหนามสีแดงคล้ายมงกุฎบนหัว มีปีกขนาดใหญ่ ลักษณะพิเศษนี้แตกต่างจากโอนิสึซึเมะที่มีปีกสั้น และจะงอยเล็ก โอนิดริลใช้ปีกจับกระแสลม[93] และถลาไปตามระยะทางไกลโดยไม่ต้องลงพื้นหรือพักผ่อนและแทบไม่ต้องพยายาม[94] มันบินขึ้นฟ้าสูงและโฉบล่าเหยื่อ[95] สามารถเอื้อมถึงเหยื่อได้ง่าย สามารถบินโฉบจับแมลงบนพื้นหรือเหยื่อจากดินหรือน้ำ[96] ถ้ามันสัมผัสอันตรายได้ หากเป็นไปได้ มันจะหลบไป
ในซีรีส์อนิเมะ โอนิดริลที่โดดเด่นที่สุดคือหัวหน้าฝูงโอนิสึซึเมะในเมืองมาซาระ และพยายามจะขับไล่ป็อปโปะทุกตัวออกไปจากพื้นที่ ซาโตชิยืนหยัดสู้กับโอนิดริลและตระหนักว่ามันสะสมความแค้นต่อเขาไว้ มันคือโอนิสึซึเมะตัวที่ซาโตชิพยายามจะจับในตอนแรก ๆ พีเจียนของซาโตชิต่อสู้กับโอนิดริลจนชนะ และพัฒนาร่างเป็นพิเจียต[92] ในมังงะเรื่อง Electric Tale of Pikachu โอนิดริลเป็นโปเกมอนตัวแรกที่ซาโตชิจับได้ คล้ายกับตอนแรกในอนิเมะ ซาโตชิและพิคาชูหนีจากฝูงโอนิสึซึเมะที่กำลังโกรธ และเมื่อซาโตชิปกป้องพิคาชูจากอันตราย พิคาชูโจมตีใส่ฝูงจนฝูงหนีไป ซาโตชิตัดสินใจถือโอกาสและจับหัวหน้าฝูงไว้ ศาสตราจารย์โอคิโดะมีโอนิสึซึเมะตัวหนึ่งในมังงะ โปเกมอนสเปเชียล ต่อมาได้พัฒนาร่างเป็นโอนิดริล
บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน กล่าวว่าขณะที่โอนิดริลไม่ได้เป็นที่กล่าวถึงมากเท่าพิเจียต แต่มันกลับแข็งแรงและว่องไวกว่า[97]
อาร์โบ
[แก้]หมายเลข: 0023 | ชนิด: พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: อาร์บ็อก |
อาร์โบ (ญี่ปุ่น: アーボ; โรมาจิ: Ābo; ทับศัพท์: Arbo) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เอกเกนส์ (อังกฤษ: Ekans) เป็นโปเกมอนงูหางกระดิ่ง โปเกมอนสัตว์เลื้อยคลานนี้มีกระดิ่งที่ปลายหาง และลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีม่วง ขณะที่ใต้ท้อง ตา กระดิ่ง และ "แถบ" บนกระดิ่งเป็นสีเหลือง พวกมันกลืนไข่โปเกมอนนกเล็ก เช่น ป็อปโปะ หรือโอนิสุซุเมะ[98] ทั้งใบ อาร์โบสามารถถอดฟันเพื่อกลืนเหยื่อตัวใหญ่ได้ แม้ว่าจะทำให้ตัวมันหนักขึ้น[99] เขี้ยวพิษของมันทำให้ป่าดูอันตราย เนื่องจากมันจะเลื้อยในพงหญ้าและโจมตีทีเผลอได้[100] อาร์โบมีลักษณะพิเศษหลายอย่างเหมือนกับงูทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้ลิ้นแลบออกมาเพื่อตรวจหาเหยื่อจากอากาศ[101] และการลอกคราบ
ยูจีโอเน็ตเวิกส์ นำอาร์โบและอาร์บ็อกมาเป็นส่วนหนึ่งของ "สัปดาห์งู" (Snake Week) และแสดงความเบิกบานใจว่าโปเกมอนต้องมี "โปเกมอนงูอย่างน้อยหนึ่งตัว" พวกเขาเรียกอาร์โบว่าเป็น "โปเกมอนนักฆ่า" และ "งูม่วงที่โปรดปรานการเอาชนะ" พวกเขาเสริมว่า "ในฐานะรางวัลสำหรับความน่าเบื่อแบบคงเส้นคงวา อาร์โบสามารถพัฒนาร่างเป็นอาร์บ็อก ตัวใหญ่ขึ้น ชั่วร้ายขึ้น และสีม่วงเข้มขึ้นกว่าที่เคย" และว่าอาร์บ็อก "ไม่ได้แตกต่างจากร่างก่อนหน้ามากนักเมื่ออยู่ในสนามต่อสู้ แต่มันดูน่ารักเมื่อโปเกมอนที่เป็นฮีโร่กว่ากำจัดมันได้ราบคาบ"[102] นักเขียน ลอเรดานา ลิปเพรินี บรรยายอาร์โบว่า "จอมทรยศ" (treacherous)[103]
อาร์บ็อก
[แก้]หมายเลข: 0024 | ชนิด: พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: อาร์โบ | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
อาร์บ็อก (ญี่ปุ่น: アーボック; โรมาจิ: Ābokku) เป็นโปเกมอนงูเห่า มีรูปร่างขนาดใหญ่ขึ้นและแข็งแรงขึ้นเมื่ออาร์โบได้รับประสบการณ์มากพอ ในเกมโปเกมอน อาร์บ็อกจะได้มาเฉพาะเมื่อพัฒนาร่างอาร์โบเท่านั้น อาร์บ็อกเป็นสัตว์เลื่อยคลานมีเกล็ดสีม่วงเกือบทั่วร่างกาย กระดิ่งที่หางของมันขณะที่เป็นอาร์โบได้หายไป อาร์บ็อก เหมือนงูเห่า สามารถแผ่ซี่โครงไว้ในแผงคอได้ แผงคอของมันถูกออกแบบให้ดูเหมือนใบหน้าเกรี้ยวโกรธ มีการศึกษาเกี่ยวกับลวดลายน่ากลัวที่แผงคอยืนยันว่ามี 6 แบบ[104] แต่ละแบบจะอยู่คนละท้องที่[105] หากมันกัดมันจะปลอดพิษถึงตาย เนื่องจากมันแข็งแรงอย่างร้ายกาจ มันสามารถบดร่างคู่ต่อสู้ได้โดยรัดตัวคู่ต่อสู้และบีบ มันสามารถทำให้เหล็กน้ำมันแบนได้[106] เนื่องจากค่อนข้างดุร้าย มันจึงหวงที่ ถ้ามันเผชิญกับศัตรู มันจะชูหัว ขู่คู่ต่อสู้ด้วยลวดลายน่ากลัว แล้วใช้เขี้ยวพิษกระแทกผู้บุกรุกอย่างแรง[107] ด้วยธรรมชาติที่ต้องการแก้แค้น เมื่อมันเล็งเหยื่อไว้ มันวิ่งไล่เหยื่อหรือคู่ต่อสู่อย่างไม่ยอมแพ้ ไม่ว่าจะไกลเพียงใด[108]
โปเกมอนชิก จากไอจีเอ็น เขียนว่าอาร์บ็อกเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ผู้เล่น เนื่องจากเป็นศัตรูกับพิกะจูและซาโตชิในอนิเมะ เธอกล่าวว่าอาร์บ็อกมี "นิสัยชอบสงวน และสามารถเพิ่มสีสันและความแปลกใหม่ให้กับทีมใด ๆ ก็ตาม" เธอยังเขียนว่ามันเป็น "โปเกมอนประเภทพิษตัวหนึ่งที่ไม่ใช่มวลเนื้อเยื่อน่าเกลียด" และอ้างอิงเป็นเบโตะเบตอน และมาตาโดกัส เป็นตัวอย่าง[109] เธอเรียกอาร์บ็อกว่าเป็น "ที่รัก" ของเธอ[110] เธอเขียนว่า ขณะที่เธอชอบฮาบุเน็กเพราะมันเป็นงู เธอจะ "รักอาร์บอกง่ายกว่าเล็กน้อยเพราะมีคนแนะนำฉันและฉันได้รู้จักมันก่อน"[111] โปเกมอนออฟเดอะเดย์ของไอจีเอ็น เรียกมันว่าเป็น โปเกมอนพองตัวแรก" และเปรียบเทียบกับหัวหน้าเทวทัณฑ์ในตู้เกมคิว*เบิร์ต[112] ยูจีโอเน็ตเวิกส์ นำอาร์โบและอาร์บ็อกเป็นส่วนหนึ่งของ "สัปดาห์งู" (Snake Week) และแสดงความเบิกบานใจว่าโปเกมอนต้องมี "โปเกมอนงูอย่างน้อยหนึ่งตัว" พวกเขาเรียกอาร์บ็อกว่า "โปเกมอนนักฆ่า" และ "งูม่วงที่โปรดปรานการเอาชนะ" พวกเขาเสริมว่า "ในฐานะรางวัลสำหรับความน่าเบื่อแบบคงเส้นคงวา อาร์โบสามารถพัฒนาร่างเป็นอาร์บ็อก ตัวใหญ่ขึ้น ชั่วร้ายขึ้น และสีม่วงเข้มขึ้นกว่าที่เคย" และว่าอาร์บ็อก "ไม่ได้แตกต่างจากร่างก่อนหน้ามากนักเมื่ออยู่ในสนามต่อสู้ แต่มันดูน่ารักเมื่อโปเกมอนที่เป็นฮีโร่กว่ากำจัดมันได้ราบคาบ"[102]
พิคาชู
[แก้]หมายเลข: 0025 | ชนิด: ไฟฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: พิชู (ความสุข) | วิวัฒนาการไปเป็น: ไรชู |
พิคาชู (ญี่ปุ่น: ピカチュウ; โรมาจิ: Pikachū) เป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนู และเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[113] พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูที่มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลอยู่ที่หลังและส่วนหนึ่งบนหางรูปสายฟ้า พิคาชูมีแต้มสีดำที่ปลายหูแหลม และวงกลมสีแดงบนแก้ม สามารถเกิดประกายไฟฟ้าได้[114] ในโปเกมอนภาคไดมอนด์และเพิร์ล มีความแตกต่างระหว่างเพศของโปเกมอน พิคาชูเพศเมียจะมีรอยบากที่ปลายหางดูเป็นรูปหัวใจ พิคาชูโจมตีด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้าจากร่างกายออกไปยังศัตรู ในบริบทของแฟรนไชส์ พิคาชูสามารถพัฒนาร่างเป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า ในเกมภาคต่อมาได้เปิดเผยร่างพัฒนาก่อนหน้าชื่อ "พิชู" ซึ่งจะพัฒนาร่างเป็นพิคาชูหลังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์
ไรชู
[แก้]หมายเลข: 0026 | ชนิด: ไฟฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: พิคาชู | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
ไรชู (ญี่ปุ่น: ライチュウ; โรมาจิ: Raichū) เป็นโปเกมอนหนูไฟฟ้า ตัวสูงกว่าพิคาชูเมื่อพิคาชูประสบกับหินสายฟ้า ไรชูเป็นหนูเดินสองขาตัวค่อนข้างเล็ก สามารถวิ่งได้ด้วยขาสี่ขา ไรชูมีหูและขายาว และขาแขนใหญ่ เหมือนพิคาชู ทั้งสองสายพันธุ์ยังมีลายแนวนอนสีน้ำตาลอยู่ที่หลังสองเส้น หางยาวและเรียวมีปลายรูปสายฟ้า ซึ่งในเพศเมียจะเล็กกว่าและทื่อ ไรชูมีตัวสีส้ม หน้าท้องสีขาว อุ้งเท้าสีน้ำตาล เช่นเดียวกับนิ้วเท้า ขณะที่ฝ่าเท้ามีสีแทน หูสองแฉกด้านนอกมีสีน้ำตาลและด้านในมีสีเหลือง และที่ปลายหูด้านล่างสุดโค้งเป็นลอน ถุงที่แก้มเป็นสีเหลือง แตกต่างจากพิคาชูที่มีแก้มสีแดง ไรชูมีนิสัยก้าวร้าวถ้ามีไฟฟ้าในตัวมากเกินไป และสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ถึง 100,000 โวลต์
ในอนิเมะ ผู้หมวดมาชิสุ หัวหน้ายิมของเมืองคุชิบะ มีไรชูหนึ่งตัวที่เอาชนะพิคาชูของซาโตชิได้ด้วยพลังรุนแรง หลังจากพูดคุยกันเรื่องวิวัฒนาการเพื่อให้พลังของพิคาชูเทียบเท่ากับไรชูได้ (พิคาชูไม่ยอมพัฒนาร่าง) ซาโตชิใช้กลยุทธ์ยึดจากความเร็วของพิคาชูจนเอาชนะไรชูในวันถัดมา[115] ตั้งแต่นั้นมา ไรชูเริ่มนับถือพิคาชูมากขึ้น ไรชูยังปรากฏตัวเป็นผู้สร้างปัญหาให้พิคาชูและเพื่อน ๆ ในภาพยนตร์สั้นเรื่อง Pikachu's Summer Vacation ร่วมกับมาริล บลู และคาระคาระ
ในโปเกมอนสเปเชียล ผู้หมวดมาชิสุ ก็มีไรชูหนึ่งตัว เห็นได้ครั้งแรกในบริษัทซิลฟ์ แต่ไม่เคยเข้าแข่งขันจนกระทั่งได้ต่อสู้กับชายสวมหน้ากาก (Masked Man) ในหลุมหลบภัยโชจิ โดยไรชูช่วยผู้หมวดบุกรุกและต้อนผู้บงการให้จนมุม จนกระทั่งเดลวิลของเขาเรียกฝูงเดลวิลมาขัดขวางผู้หมวดเสียเอง
ตั้งแต่ไรชูปรากฏตัวในซีรีส์โปเกมอน ไรชูได้รับการตอบรับอย่างดี มันปรากฏเป็นสินค้าหลายชิ้น เช่น ตุ๊กตา จุลประติมากรรม และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม ไรชูยังเป็นส่วนหนึ่งของชุดมื้ออาหารบิกคิดส์มีล ของเบอร์เกอร์คิงด้วย[116] หนังสือพิมพ์ชิคาโกซันไทม์ เรียกพิคาชูว่า "ของโปรดตัวเก่า" (old favorite)[117] ลอเรดานา ลิปเปรีนี ผู้เขียนหนังสือ เจเนราซีโอเน โปเกมอน: อี บัมบีนี เอ อินวาซีโอเน พลาเนตาเรีย เด นูโอวี ' ให้ความเห็นว่าไรชูไม่ได้มีชื่อเสียงยิ่งใหญ่เท่าพิคาชู[118] ไรอัน โอเมกา ผู้เขียนหนังสือ Anime trivia quizbook: from easy to otaku obscure, episode 1 ให้ความเห็นว่าไรชู "ไม่ได้น่ารักขนาดนั้น" และนี่คือสาเหตุที่ซาโตชิไม่ต้องการให้พิคาชูของเขาพัฒนาร่าง[119] ปิแอร์ บรูโน ผู้เขียนหนังสือ ลา คูจัวร์ เดอ อ็องฟอนซ์ อา เออ เดอ ลา มงดีอาลีซาซียง (ฝรั่งเศส: La culture de l'enfance à l'heure de la mondialisation; อังกฤษ: The culture of childhood in the era of globalization) เปรียบเทียบการต่อสู้ระหว่างไรชูของผู้หมวดมาชิสุและพิคาชูของซาโตชิ กับเรื่อง David and Goliath[120] บรรณาธิการจากไอจีเอ็น ในคอลัมน์ "Pokémon of the Day Chick" ชี้ว่าไรชู "เป็นที่รักของคนหลายคน และเป็นที่รังเกียจของคนอีกหลายคน" แม้เธอจะให้ความกระจ่างว่า ความเกลียดที่มีต่อไรชูนั้นต่างจากความเกลียดที่มีต่อพิคาชูมาก เธอยังบรรยายไรชูอีกว่า "ดูโง่" (stupid-looking)[121] บรรณาธิการเว็บไซต์เกมส์เรดาร์ เบร็ตต์ เอลสตัน ให้ความเห็นว่าเนื่องจากมีการพูดถึงพิคาชูเป็นจำนวนมาก ทำให้ "ลืมว่ามีไรชูอยู่จริงได้ง่าย ๆ"[122]
แซนด์
[แก้]หมายเลข: 0027 | ชนิด: พื้นดิน | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: แซนด์แพน |
แซนด์ (ญี่ปุ่น: サンド; โรมาจิ: Sando; ทับศัพท์: Sand) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แซนด์ชรู (อังกฤษ: Sandshrew) เป็นโปเกมอนหนู เป็นหนูที่มีผิวหนังลายอิฐ พบได้ในหลายท้องที่ในโลกโปเกมอน ทั้ง ๆ ที่ชื่อภาษาอังกฤษเป็นเช่นนี้ ร่างกายของแซนด์ดูเหมือนอาร์มาดิลโลหรือลิ่นมากกว่าหนูผี (shrew) การป้องกันตัวโดยหลัก ๆ เมื่อถูกคุกคามคือการม้วนตัวให้เป็นลูกบอล เหลือไว้เพียงผิวหนังที่แข็งกระด้าง เมื่อมันม้วนเช่นนี้ แซนด์จะรับมือการโจมตีได้หลายอย่าง เช่นเดียวกับการตกจากที่สูง (คล้ายกับตัวเฮดจ์ฮอก) สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาจิของแซนด์จะอยู่ในทรายในที่แห้งแล้ง ความชื้นต่ำ เช่น ทะเลทราย มันจะเลือกที่อยู่อาศัยสำหรับซ่อนตัวในที่ที่แห้งและทนทาน ขณะที่ทรายจะเป็นที่อำพรางตัวได้ดี
เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะทางร่างกายของแซนด์ ในวิดีโอเกม แซนด์มีพลังป้องกันสูง แต่พลังความเร็วต่ำ ตั้งแต่ภาครูบีและแซฟไฟร์เป็นต้นไป แซนด์มีความสามารถพิเศษคือ หลบในทราย (Sand Veil) ซึ่งจะเพิ่มพลังหลบหลีกท่ามกลางพายุทราย แซนด์ยังปรากฏในเกมโปเกมอนสแน็ปด้วย ในเกมโปเกมอนสเตเดียม แซนด์ปรากฏในมินิเกม "ดิก! ดิก! ดิก!" ซึ่งผู้เล่นต้องขุดลงใต้ดินก่อนได้ตัวอื่น ๆ
แซนด์ตัวหนึ่งเป็นโปเกมอนของอะคิระ ในอนิเมะตอนที่แปด "เส้นทางสู่โปเกมอนลีก" (The Path to the Pokémon League) มันมีลักษณะโดดเด่นมากมาย เช่น ความสามารถทนน้ำและสามารถใช้ท่า สร้างรอยแยก (Fissure) ซึ่งมันใช้กำจัดแก๊งร็อกเก็ต และแซนด์ของเขาปรากฏเป็นฉากนึกย้อนในโปเกมอนภาคเยลโลว์
แซนด์แพน
[แก้]หมายเลข: 0028 | ชนิด: ดิน | วิวัฒนาการมาจาก: แซนด์ | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
แซนด์แพน (ญี่ปุ่น: サンドパン; โรมาจิ: Sandopan; ทับศัพท์: Sandpan) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า แซนด์สแลช (อังกฤษ: Sandslash) เป็นโปเกมอนหนู ตัวใหญ่และแข็งแรงกว่าแซนด์ เมื่อแซนด์ได้รับประสบการณ์ถึงระดับ 22 พวกมันจะเป็นเฮดจ์ฮอกเดินสองขาขนาดค่อนข้างใหญ่ หรือเป็นสัตว์คล้ายลิ่น มีผิวหนังสีเหลือง กรงเล็บยาว และหลังเต็มไปด้วยหนามสีน้ำตาลขนาดใหญ่กระจุกกันอยู่ หนามเหล่านี้เป็นส่วนแข็งในหนังของแซนด์แพนที่ผุดขึ้น เพื่อสร้างพลังป้องกันตนเองโดยธรรมชาติ เมื่อแซนด์แพนม้วนตัวเป็นลูกบอล หนามแต่ละอันจะอยู่บนตัวแซนด์แพนนานหนึ่งปี หลังจากนั้นมันจะร่วงลงและจะมีหนามใหม่ผุดขึ้นมาแทน ซันโดบันพบได้ในทะเลทราย โดยเฉพาะแห่งที่อยู่ใกล้ป่าไม้เขตร้อน หนามของแซนด์แพนมีจุดประสงค์ช่วยรับมือกับสิ่งแวดล้อม เช่น ร่มเงาป้องกันแสงอาทิตย์และลมแดด หรือใช้จู่โจมนักล่าหรือเหยื่อ แซนแพนใช้กรงเล็บปีนต้นไม้ ตัดอาหารและขุดดิน การขุดดินอาจทำให้กรงเล็บหักได้หากมันขุดเร็วเกินไป แซนแพนวิ่งได้ไม่เร็วมาก
นิโดรัน (เพศเมีย)
[แก้]หมายเลข: 0029 | ชนิด: พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: นิโดรินา |
นิโดรัน (เพศเมีย) (ญี่ปุ่น: ニドラン♀; โรมาจิ: Nidoran Mesu) เป็นโปเกมอนหนูพิษ พบได้ในภูมิภาคคันโต โจโต ซินโน และคาลอส ในโลกโปเกมอน นิโดรันเพศผู้เป็นสายพันธุ์ที่แยกจากเพศเมียเนื่องจากความแตกต่างทางร่างกายระหว่างเพศ เช่น เพศเมียตัวสีฟ้า แทนที่สีม่วง และมีเขาขนาดเล็กกว่าเพศผู้ นิโดรันเป็นโปเกมอนตัวแรกที่มีเพศก่อนเกมโปเกมอนภาคโกลด์และซิลเวอร์ออกจำหน่าย แม้ว่าจนทุกวันนี้จะยังแยกเป็นคนละสายพันธุ์อยู่ นิโดรันป้องกันตนเองด้วยเหล็กในพิษ นิโดรันเพศเมียตอนเกิดจะเหมือนกับเพศชาย 15 เท่า แต่อย่างไรก็ตาม นิโดรันเพศเมียและเพศผู้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันในเกม กฎเดียวกันนี้ยังใช้กับโปเกมอนในสายวิวัฒนาการเดียวกันด้วย นิโดรันพบได้ง่ายในคันโต และโจโต แต่ในซินโนะ ต้องใช้เครื่องตามรอยโปเกมอน หรือ โปเกเรดาร์ (PokéRadar) เพื่อหามัน และในคาลอส พวกมันปรากฏบนถนนสาย 11 ระหว่างต่อสู้กันเป็นฝูง
นิโดรินา
[แก้]หมายเลข: 0030 | ชนิด: พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: นีโดรัน (เพศเมีย) | วิวัฒนาการไปเป็น: นิโดควีน |
นิโดรินา (ญี่ปุ่น: ニドリーナ; โรมาจิ: Nidorīna) โปเกมอนเข็มพิษ มีขนาดใหญ่กว่านิโดรันอย่างมาก แม้ว่ามันจะไม่มีเขาที่หน้าผาก หนวด และฟันหน้าแล้ว นิโดรินามีสีน้ำเงินเทอร์ควอยซ์ (turquoise) ข้างใต้มีสีซีด หนามพิษของนิโดรินามีขนาดใหญ่ และจะหดได้เมื่อมันรู้สึกผ่อนคลาย[123] นิโดรินายืนได้ด้วยขาหลัง นิโดรินาเป็นคู่เหมือนของนิโดริโน สังเกตได้จากชื่อที่ลงท้ายด้วย a แทน o ในชื่อนิโดริโน A เป็นเสียงสระในภาษาอังกฤษที่ระบุเพศเมีย โดยเฉพาะในท้ายชื่อ
นิโดรินาดูเชื่องและสบาย ๆ กว่านิโดริโน[124] มันเป็นแม่ที่เอาใจใส่ เคี้ยวอาหารให้ลูกของมัน[125] แม้ว่ามันไม่ชอบต่อสู้นัก เมื่อมันต่อสู้ มันจะใช้กรงเล็บและกัด[126] นิโดรินาแสดงความผูกพันกับนิโดรินาและสายพันธุ์เดียวกัน และมันจะหงุดหงิดเมื่อถูกแยก[127] อย่างไรก็ตาม เมื่อมันโกรธ นิโดรินาจะเป็นศัตรูที่น่ากลัว สามารถกรีดร้องเป็นเสียงคลื่นความถี่สูง (ultrasonic) เพื่อให้คู่ต่อสู้สับสน[128] นิโดรินาอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาและที่ราบอากาศร้อน อาศัยร่วมกับนิโดริโน พวกมันพบได้ง่ายในคันโต แต่หายากในซินโน
นิโดรินาของเอมิลี ชื่อเล่นว่า แมรี พัฒนาร่างเป็นนิโดรินาหลังจากสู้กับแก๊งร็อกเก็ต และจูบนิโดรันเพศผู้ของราล์ฟ ชื่อเล่นว่า จอห์น ในตอน เรื่องราวความรักของนิโดรัน หัวหน้ายิมชื่อ อาคาเนะ มีนิโดรินาตัวหนึ่ง ที่ฮิโนอาราชิของซาโตชิสู้ชนะได้อย่างง่ายดาย กรีนเคยมีนิโดรันเพศเมีย ในโปเกมอนสเปเชียล ต่อมาพัฒนาร่างเป็นนิโดรินา และนิโดควีนในเวลาต่อมา
นิโดควีน
[แก้]หมายเลข: 0031 | ชนิด: พิษ/พื้นดิน | วิวัฒนาการมาจาก: นิโดรินา | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
นิโดควีน (ญี่ปุ่น: ニドクイン; โรมาจิ: Nidokuin) เป็นโปเกมอนสว่าน เป็นสายพันธุ์ที่โตเต็มวัย รูปร่างคล้ายตัวพอสซัม ในซีรีส์โปเกมอน นิโดควีนได้มาจากนิโดรินาประสบกับหินแสงจันทร์ (Moon Stone) นิโดควีนเป็นสิ่งมีชีวิตกินเนื้อและกินพืช มันจะกินพุ่มไม้และผลไม้ แต่มันอาจกินโปเกมอนตัวเล็ก ๆ เป็นโปรตีนได้ นิโดควีนดูตื่นตัวน้อยกว่านิโดคิง และจะเข้ากับพวกเดียวกันได้ดีกว่า นิโดควีนดูอ่อนแอกว่าเล็กน้อย แต่ฉลาดกว่านิโดคิงอย่างมาก
หนึ่งในนิโดควีนที่โดดเด่นในเกมโปเกมอนคือ นิโดควีนของซาคากิ หัวหน้าแก๊งร็อกเก็ต ในโปเกมอนภาคเรดและบลู และภาคทำใหม่ ไฟร์เรดและลีฟกรีน อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ใช้นิโดควีนจนกระทั่งเขาต่อสู้ในอาคารบริษัทซิลฟ์ ในเมืองยามาบุกิ
นิโดรัน (เพศผู้)
[แก้]หมายเลข: 0032 | ชนิด: พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: นิโดริโน |
นิโดรัน (เพศผู้) (ญี่ปุ่น: ニドラン♂; โรมาจิ: Nidoran Osu) เป็นโปเกมอนเข็มพิษ รูปร่างคล้ายกระต่าย พบได้ในภูมิภาคคันโต โจโต ซินโน และคาลอส ในโลกโปเกมอน นิโดรันเพศเมียจะแตกต่างจากโปเกมอนส่วนใหญ่ โดยมันจะถูกแบ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับเพศผู้เนื่องจากความแตกต่างทางร่างกายในเรื่องเพศ เช่น เพศผู้มีเขาขนาดใหญ่กว่า และมีสีแตกต่างจากเพศเมียโดยสิ้นเชิง นิโดรันเพศผู้มีสีม่วง เขาของมันหลั่งสารพิษทรงพลังออกมาได้ ขนาดของเขากำหนดศักยภาพของพิษ หูของนิโดรันจะแข็งตัวเพื่อประสบอันตราย นิโดรันเพศผู้เกิดขึ้นน้อยกว่า ดังนั้นมันจะคอยปกป้องพวกเดียวกับจากอันตราย นิโดรันพบได้ง่ายในคันโตและโจโต แต่หายากในคาลอส เนื่องจากมันจะปรากฏเฉพาะเมื่อเผชิญเป็นฝูงเท่านั้น
นิโดริโน
[แก้]หมายเลข: 0033 | ชนิด: Poison | วิวัฒนาการมาจาก: นิโดรัน (เพศผู้) | วิวัฒนาการไปเป็น: นิโดคิง |
นิโดริโน (ญี่ปุ่น: ニドリーノ; โรมาจิ: Nidorīno) เป็นโปเกมอนเข็มพิษ มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่านิโดรันเพศผู้หลังจากมันได้รับประสบการณ์เพียงพอ นิโดริโนดูเหมือนแรดและกระต่ายมีเข็มและเขาอยู่บนร่างกาย นิโดริโนมีนิสัยก้าวร้าวกว่านิโดรันเพศผู้ และจะโจมตีอย่างรวดเร็วเมื่อสังเกตเห็นภัยคุกคาม โดยใบหูขนาดใหญ่จะคอยสังเกตการณ์ เขาที่แข็งดั่งเพชรบนหัวจะหลั่งพิษทรงพลังออกมาได้ และเมื่อโจมตีศัตรู พิษจะไหลออกมาด้วย ถ้ามันสัมผัสว่าศัตรูมาใกล้ เข็มที่หลังจะลุกขึ้น นิโดริโนเป็นคู่ต่างเพศของนิโดรินา
ในซีรีส์โปเกมอน นิโดริโนสามารถพบได้ในภูมิภาคคันโตและโจโตในโลกโปเกมอน และจะได้มาเมื่อนิโดรันเพศผู้ถึงระดับ 16 และพัฒนาร่างเป็นนิโดริโน เป็นที่โดดเด่นเนื่องจากเป็นหนึ่งในโปเกมอนสองตัวแรกที่เห็นในอนิเมะและฉากเข้าเกมโปเกมอนภาคเรด
นิโดคิง
[แก้]หมายเลข: 0034 | ชนิด: พิษ/พื้นดิน | วิวัฒนาการมาจาก: นีโดรีโน | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
นิโดคิง (ญี่ปุ่น: ニドキング; โรมาจิ: Nidokingu) เป็นโปเกมอนสว่าน สายพันธุ์โตเต็มวัยและร่างสุดท้ายของนิโดรันเพศผู้ รูปร่างคล้ายพอสซัม เขาของมันแข็งพอที่จะทะลุเพชรและบรรจุพิษอยู่ ทำให้เป็นอาวุธแทงเหยื่อและโปเกมอน นิโดคิงมีพละกำลังส่วนบนของร่างกายอย่างแข็งแรง สามารถทำลายเสาโทรศัพท์ให้เป็นเศษเล็ก ๆ ได้ นิโดคิงใช้หางทุ่มศัตรู จากนั้นรัดตัวเพื่อให้กระดูกหัก หางหนา ๆ มีพลังทำลายมหาศาลสามารถล้มหอคอยสื่อสารที่สร้างจากเหล็กได้ เมื่อนิโดคิงพิโรธ ไม่มีสิ่งใดหยุดมันได้ ในอนิเมะจะพบนิโดคิงน้อยกว่านิโดควีน มันมักจะเป็นหัวหน้าฝูง โดยมีเพื่อนนิโดควีนอยู่ข้าง ๆ อีกหลายตัว
ในซีรีส์โปเกมอน ผู้เล่นจะได้นิโดคิงเมื่อใช้หินแสงจันทร์กับนิโดริโน นิโดคิงเป็นเพศผู้ของนิโดควีน นิโดคิงจะสู้กับนิโดคิงตัวอื่น ๆ เพื่อแย่งพื้นที่และอาหาร (หรือนิโดควีนในฤดูผสมพันธุ์) นิโดคิงตัวที่โดดเด่นในเกมคือนิโดคิงของซาคากิ หัวหน้าแก๊งร็อกเก็ตในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู และภาคทำใหม่ ไฟร์เรดและลีฟกรีน อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ใช้นิโดคิงจนเขาต่อสู้ในยิมของเมืองโทคิวะ
ในผลสำรวจที่จัดโดยไอจีเอ็น นิโดคิงได้รับโหวตเป็นอันดับที่ 42 ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุที่นิโดคิงไม่ได้ครองมงกุฎ พวกเขายังกล่าวต่อไปว่า "บางทีในเจนเนอเรชัน 6 เขาจะได้เป็นราชาจริง ๆ เสียที"[129]
ปิปปี
[แก้]หมายเลข: 0035 | ชนิด: นางฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: ปี (โปเกมอน) | วิวัฒนาการไปเป็น: พิกซี |
ปิปปี (ญี่ปุ่น: ピッピ; ทับศัพท์: Pippi) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เคลเฟรี (อังกฤษ: Clefairy) เป็นโปเกมอนสองขาตัวเล็ก ตัวสีชมพู มีแขนขาม่อต้อ และร่างกายกลมทำให้ดูอ้วนท้วน มันยังมีหูที่ไวต่อเสียง ปลายหูมีสีน้ำตาล ปิปปีมีปีกเล็ก ๆ แต่บินไม่ได้ แต่ทำให้มันกระโดดตัวสูงได้ และเมื่อมันเก็บแสงจันทร์ไว้ในปีก จะทำให้ลอยกลางอากาศได้[130] ปิปปีเคยถูกเลือกให้เป็นโปเกมอนตัวหลักในโปเกมอนฉบับหนังสือการ์ตูนเพื่อให้ดึงดูดผู้อ่านมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พิคาชูได้รับเลือกให้เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ในอนิเมะ และกลายเป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของซีรีส์โปเกมอนทั้งซีรีส์ เพื่อดึงดูดผู้อ่านหญิงสาวและแม่ของพวกเขา ปิปปีพัฒนาร่างเป็นปิคซีเมื่อมันประสบกับหินแสงจันทร์[131] ตระกูลปิปปีแต่เดิมเป็นโปเกมอนรูปแบบปกติ แต่ในเจนเนอเรชันที่ 6 พวกมันเปลี่ยนเป็นรูปแบบภูติล้วนแทน เช่นเดียวกับตระกูลของบลู อย่างไรก็ตาม ตระกูลของปิปปียังมีท่าโจมตีเป็นรูปแบบปกติจำนวนมาก ปิปปีปรากฏในโปเกมอนภาคหลักทุกภาค และยังปรากฏในภาคพิเศษ เช่น โปเกมอนสเตเดียม และเกมหลายเกมในชุดซูเปอร์สแมชบราเธอร์
ปิปปีปรากฏในอนิเมะครั้งแรกในตอน ปิปปีกับหินพระจันทร์ ซาโตชิและเพื่อน ๆ พบกับกลุ่มของปิปปีที่ภูเขาโอสึคิมิที่กำลังบูชาหินแสงจันทร์อยู่[132] มันยังปรากฏในอีกหลาย ๆ ตอนถัดมา ปิปปียังปรากฏในมังงะโปเกมอน ปิปปีตัวหนึ่งนิสัยขี้อายและขี้ขลาดเป็นตัวละครหลักในมังงะเรื่อง พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ ปีปีปี ★ แอดเวนเจอร์ (Pocket Monsters PiPiPi ★ Adventures)
บรรณาธิการส่วน "โปเกมอนออฟเดอะเดย์ชิก" ของไอจีเอ็น เรียกปิปปีเป็น "โปเกมอนที่โด่งดัง" แม้ว่าไม่มากนักในสหรัฐอเมริกาหากเทียบกับญี่ปุ่น เธอยังเสริมว่าเธอเขียนบทความเกี่ยวกับปิปปีเท่านั้นเพราะเธอไม่ชอบปิคซี แต่เธอก็ว่ามัน "เจ๋งดี" (cool enough)[133] บรรณาธิการเกมส์เรดาร์ แครอลิน กัดมันด์สัน เทียบปิปปีกับพูริน แล้วกล่าวว่า มันใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ปิปปีเกือบจะได้เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ของซีรีส์ เธอยังเสริมว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบโปเกมอนเกินจำเป็น "เจ้าก้อนเนื้อสีชมพูน่ากอด" (huggable pink blob)[134]
ปิคซี
[แก้]หมายเลข: 0036 | ชนิด: นางฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: ปิปปี | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
ปิคซี (ญี่ปุ่น: ピクシー; โรมาจิ: Pikushī; ทับศัพท์: Pixy) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า เคลฟาเบิล (อังกฤษ: Clefable) เป็นโปเกมอนภูติ รูปร่างคล้ายปิปปี ตัวใหญ่กว่า มีหูและปีกหยัก ๆ ที่โดดเด่น พิกซีอาศัยอยู่บริเวณภูเขาที่ห่างไกล และสภาพแวดล้อมใด ๆ ที่มีเสียงล้อมรอบไม่ดังนัก ปิคซีมีประสาทสัมผัสไวต่อการได้ยินอย่างมาก กล่าวกันว่า มันสามารถได้ยินเสียงเข็มหมุดที่ตกลงจากที่สูง 1,100 หลา (1,000 เมตร) ได้ ดังนั้นมันจึงเลี่ยงที่อยู่ที่มีมลพิษทางเสียง
ปิคซีมีนิสียขี้ขลาด และหาในป่าได้ยาก พวกมันจะหลีกเลี่ยงการติดต่อกับคนนอก แม้แต่การสัมผัสได้ว่ามีคนแปลกหน้าเข้ามาในพื้นที่ (ซึ่งค่อนข้างง่ายเนื่องจากการได้ยินที่ยอดเยี่ยม) จะทำให้ปิคซีวิ่งหนีและหลบซ่อนทันที แต่พวกมันจะกลับมาในที่เปิดโล่งในคืนเงียบ ๆ เพื่อเดินเล่นที่ทะเลสาบ
ปีกของปิคซีไม่อาจใช้บินได้จริง แต่สามารถใช้กระโดดเด้งราวกับมันเดินอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ พวกมันสามารถเดินข้ามผิวน้ำได้ด้วยวิธีนี้ ดังนั้นเมื่อมันเดินเล่นที่ทะเลสาบดังที่กล่าวมา หมายความว่ามันเดินบนทะเลสาบจริง ๆ ปีกขอพิกซี การเดินแบบเหาะ ความขี้ขลาดและความว่องไวทำให้มันถูกจัดเป็นโปเกมอนรูปแบบภูติชนิดหนึ่ง
โรคอน
[แก้]หมายเลข: 0037 | ชนิด: ไฟ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: คิวคอน |
โรคอน (ญี่ปุ่น: Vulpix; โรมาจิ: ロコン; Rokon ฉหรือชื่อภาษาอังกฤษคือ วัลพิกซ์ (อังกฤษ: Vulpix) โปเกมอนสุนัขจิ้งจอก รูปร่างเหมือนสุนัขจิ้งจอกมีหางม้วนหกหาง ออกแบบจากสุนัขจิ้งจอกในตำนานญี่ปุ่น คิสึเนะ ตั้งแต่เกิด โรคอนเริ่มมีหางเดียวสีขาว ต่อมาหางแยกออกจากกันเมื่อหางเปล่งแสงและกลายเป็นสีแดง[135][136] ส่วนใหญ่โรคอนเป็นเพศเมีย ว่ากันว่ามีหางและขนสวยงาม[137] โรคอนมีเปลวไฟในร่างกาย เมื่ออุณหภูมิภายนอกเพิ่มขึ้น พวกมันจะปล่อยไฟออกจากปากเพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิในร่างกายร้อนเกินไป[138] พวกมันสามารถควบคุมไฟ และทำให้ไฟลอยขึ้นเหมือนกับลูกไฟผี (will-o-wisp)[139] ในป่า โรคอนจะแกล้งเจ็บเพื่อหนีจากนักล่าที่เก่งกาจ[140] นินเท็นโดมักกำหนด "ชื่อที่ฉลาดและบรรยาย" ให้โปเกมอนหลายชนิดให้สอดคล้องกับร่างกายหรือคุณสมบัติ เมื่อแปลเกมให้กับผู้ชมฝั่งตะวันตกเพื่อให้ตัวละครเข้าถึงเด็กอเมริกันได้ง่าย[141] เดิมทีชื่อภาษาอังกฤษของโรคอนคือ Foxfire จนกระทั่งนินเท็นโดอเมริกาเปลี่ยนเป็น Vulpix มาจากคำว่า "vulpus" คำภาษาละตินแปลว่าสุนัขจิ้งจอก[142]
คิวคอน
[แก้]หมายเลข: 0038 | ชนิด: ไฟ | วิวัฒนาการมาจาก: โรคอน | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
คิวคอน (ญี่ปุ่น: キュウコン; โรมาจิ: Kyūkon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ไนน์เทลส์ (อังกฤษ: Ninetales) โปเกมอนสุนัขจิ้งจอก เป็นสุนัขจิ้งจอกเก้าหางสีขาวออกทอง ออกแบบตามตำนานสุนัขจิ้งจอกญี่ปุ่น คิสึเนะ[143] แรงบันดาลใจหลักในการสร้างตัวคิวคอน มาจากคีวบิ (ญี่ปุ่น: Kyūbi; โรมาจิ: 九尾) ที่มีพลังคล้าย ๆ กัน เช่น การเปลี่ยนรูปร่าง (shapeshifting) ชื่อของคิวคอนมาจากจำนวนเก้าหาง และข้อเท็จจริงที่ว่า แนวคิดสร้างคิวคอนมาจากตำนานปรัมปราญี่ปุ่น[143] โปเกมอนตัวนี้ปกคลุมด้วยขนหนา สีขาวออกทอง มีหงอนนุ่มบนหัว และแผงคอรอบคอ คิวคอนมีตาสีแดง ว่ากันว่าทำให้มันมีพลังควบคุมจิตใจ[144] หางเก้าหางครอบครองพลังงานจักรวาลแปลกประหลาด[145][146] ที่ทำให้มันอายุยืนถึง 1,000 ปี[147] คิวคอนเป็นโปเกมอนที่ฉลาดมาก เข้าใจคำพูดของมนุษย์[148] พวกมันมีความอาฆาตแค้นและว่ากันว่ามันจะสาปแช่งผู้ที่เลี้ยงมันในทางผิด ๆ เป็นเวลา 1,000 ปี[149][150] โปเกมอนตัวนี้มีตำนานบอกเล่ามากมาย หนึ่งในนั้นกล่าวว่า คิวคอนถือกำเนิดเมื่อมีนักบุญเก้าคนรวมตัวกันและกลับมาเกิดใหม่เป็นคิวคอน[151]
พูริน
[แก้]หมายเลข: 0039 | ชนิด: ปกติ/นางฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: พูพูริน (ค่าความเชื่อง) | วิวัฒนาการไปเป็น: พูคูริน |
พูริน (ญี่ปุ่น: プリン; ทับศัพท์: Purin) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ จิกกลีพัฟฟ์ (อังกฤษ: Jigglypuff) โปเกมอนลูกโป่ง มีรูปร่างคล้ายลูกบอล ผิวหนังสีชมพู ตาขนาดใหญ่สีเขียวหรือฟ้า หูเหมือนแมว และมีปอยขนบนหน้าผาก ผิวหนังของมันลื่นและยืดหยุ่นได้ พูรินสามารถพองตัวเหมือนลูกโป่ง (มักทำเช่นนี้เมื่อมันโกรธ และมักมาพร้อมกับเสียง "แตร") หรือสามารถทำตัวแบนเหมือนตัวละครของนินเท็นโด ชื่อ เคอร์บี ขนาดตัวของมันจะเติบโตไดัถึงเพียงใดนั้นไม่เป็นที่ทราบ พูรินมีลักษณะพิเศษที่การร้องเพลงกล่อมเด็กที่ทำให้ศัตรูหลับ[152] ก่อนพูรินร้องเพลง พวกมันจะสะกดจิตศัตรูด้วยตาที่อ่อนโยน และถ้าพวกมันพองตัว พวกมันสามารถร้องเพลงได้นาน[152][153] พวกมันสามารถปรับคลื่นความยาวของเสียงให้เข้ากับคลื่นสมองของคนที่หลับได้ ทำให้ท่วงทำนองชวนผู้ฟังให้ผล็อยหลับ[154] พวกมันร้องเพลงโดยไม่หยุดหายใจ ดังนั้นถ้าศัตรูสามารถต้านการทำให้หลับได้ พวกมันจะไม่มีอากาศหายใจ[155] พนักงานของเกมฟรีกกล่าวว่าพูรินเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่พวกเขาและสาธารณชนโปรดปราน ทั้งในวิดีโอเกมและอนิเมะ[156]
พูคูริน
[แก้]หมายเลข: 0040 | ชนิด: ปกติ/นางฟ้า | วิวัฒนาการมาจาก: พูริน | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
พูคูริน (ญี่ปุ่น: プクリン; ทับศัพท์: Pukurin) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ วิกกลีทัฟฟ์ (อังกฤษ: Wigglytuff) โปเกมอนกระต่ายร้องเพลง เป็นโปเกมอนขนาดใหญ่ สีชมพู คล้ายลูกโป่ง มีหน้าท้องสีขาว ตาเหมือทารกสีฟ้าขนาดใหญ่ มีหูกระต่ายขนาดใหญ่ และปอยขนบนหน้าผาก พูคูรินพัฒนาร่างจากพูรินด้วยหินพระจันทร์ ความจริงแล้ว มันดูคล้ายกับร่างก่อนหน้า เว้นแต่มีหูขนาดใหญ่ขึ้นและมีรูปร่าง "วงรี" ตาของพูคูรินปกคลุมด้วยน้ำตาหลายชั้น เพื่อว่าถ้าฝุ่นเข้าตา น้ำตาจะชะล้างออก ในเกม ขนของพูคูรินถูกบรรยายว่า "เลอเลิศ" มากจนหากพูคูรินสองตัวมาใกล้ชิดกัน พวกมันจะแยกทางกันยาก
ในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน: เอกซ์พลอเรอส์ออฟไทม์ และ เอกซ์พลอเรอส์ออฟดาร์กเนส พูคูรินเป็นหัวหน้ากลุ่มที่ตัวละครหลักเป็นสมาชิกอยู่
คอลัมน์โปเกมอนออฟเดอะเดย์กายของไอจีเอ็นเขียนว่าพูคูรินทั้ง "นุ่มและน่ากอด"[157] คอลัมน์โปเกมอนชิกของไอจีเอ็นเรียกพุคุรินว่า "โปเกมอนสีชมพูที่ว่องไว" และว่าขณะที่ความนิยมของพูรินนั้น "ยากที่จะเข้าใจ" เมื่อมันพัฒนาร่างเป็นพูคูริน มัน "มีแนวโน้มที่จะแอบเข้ากับพื้นหลังอย่างเงียบ ๆ" เธอเสริมว่ามัน "น่าสงสาร" เพราะ "กำลังพลตากลมนี่จริง ๆ แล้วค่อนข้างเจ๋งดี"[158] โทมัส อีสต์ จากนิตยสารออฟฟิเชียลนินเท็นโดแม็กกาซีน เขียนว่าชื่อของพุคุริน (Wigglytuff) น่าขบขัน และอาจเป็นหนึ่งในห้าชื่อโปเกมอนที่ดีที่สุดของเขา[159] แอชลีย์ เดวิส จากดิสทรักทอยด์เขียนว่า ร่างวิวัฒนาการที่น่ารักอย่างพูคูรินดูไม่มีประโยชน์เท่ากับโปเกมอนที่ดูแข็งแกร่งกว่า[160] นักเขียน โจเซฟ เจย์ โทบิน เขียนว่า พูคูรินเป็นที่นิยมในกลุ่มเด็กผู้หญิง[161] เอมิลี บาลิสเทรียรี จากนิตยสารเกมโปร เรียกตัวตนของพูคูรินในเกมภาคเอกซ์พลอเรอส์ออฟไทม์ และ เอกซ์พลอเรอส์ออฟดาร์กเนส ว่าเป็น "โปเกมอนที่แปลกสุด ๆ"[162]
ซูแบท
[แก้]หมายเลข: 0041 | ชนิด: พิษ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: โกลแบท |
ซูแบท (ญี่ปุ่น: ズバット; โรมาจิ: Zubatto) โปเกมอนค้างคาว เป็นโปเกมอนคล้ายค้างคาว สีฟ้า ขนาดเล็ก มีขายาวผอมสองขา ใบหน้าของซูแบทไม่มีตาและจมูก ในหูของซูแบทและข้าง ๆ ปีกของมันมีสีม่วง ปีกของซูแบตรองรับด้วย 'นิ้ว' ที่ยื่นออกมา และมองเห็นฟันสี่ซี่ในปากชัดเจน เป็นฟันบนสองซี่ และฟันล่างสองซี่ เพศเมียมีเขี้ยวขนาดเล็กกว่า ซูแบทอยู่ร่วมกันเป็นฝูงในถ้ำ และใช้คลื่นอัลตราโซนิกระบุและเข้าหาเป้าหมาย[163] คลื่นดังกล่าวเป็นเสมือนระโซนาร์ที่ใช้ตรวจหาวัตถุ[164] ในตอนกลางวัน มันจะรวมตัวกับตัวอื่น ๆ และห้อยหัวจากเพดานในที่มืด[165] เนื่องจากหากมันโดนแสงแดดจะทำให้ร่างกายของมันไหม้เป็นบางส่วน[166] เมื่ออาศัยในถ้ำมืด ตาของมันจะปิดและมองไม่เห็น[167]
ตั้งแต่ซูแบทปรากฏตัวในซีรีส์โปเกมอน ซูแบทได้รับการตอบรับแบบคละกัน โปเกมอนชิกจากไอจีเอ็น เรียกสายวิวัฒนาการของซูแบทว่าเป็นโปเกมอนสองประเภทที่เธอชื่นชอบ[168] แจ็ก เดอวรีส์ คริสตีน สไตเมอร์ และนิก โนแลน จากไอจีเอ็น ตำหนิที่ซูแบทและอิชิซึบูเตะมีมากเกินไป ทำให้โปเกมอนในถ้ำขาดความหลากหลาย พวกเขาเสริมว่า นั่นเป็นเพราะว่าซูแบทที่ออกแบบง่ายนั่นสามารถหาโปเกมอนมาแทนได้ง่าย[169] สื่อหลายแหล่งเปรียบเทียบซูแบทกับวูแบต และถือว่าให้นำมาแทนกันได้[170][171][172][173][174][175]
โกลแบต
[แก้]หมายเลข: 0042 | ชนิด: พิษ/บินได้ | วิวัฒนาการมาจาก: ซูแบท | วิวัฒนาการไปเป็น: โครแบท (ความสุข) |
โกลแบท (ญี่ปุ่น: ゴルバット; โรมาจิ: Gorubatto) ร่างพัฒนาแล้วของซูแบท เป็นโปเกมอนดุร้ายที่ออกหากินในเวลากลางคืน โกลแบท ต่างจากซูแบท มันมีตา และปากใหญ่กว่ามาก มันอาศัยอยู่ในถ้ำส่วนที่มืด และจะตื่นตัวในเวลากลางคืน โดยเฉพาะเมื่อพระจันทร์เข้าข้างแรม[176] โกลแบทเป็นที่รู้จักในวงกว้างว่าชอบดูดเลือดสดของสิ่งมีชีวิต เมื่อมันพบเหยื่อมีชีวิตอยู่ มันจะซุ่มโจมตี มักจะโจมตีจากด้านหลังโดยไม่เตือนใด ๆ[177] มันจะกัดเหยื่อด้วยเขี้ยวแหลมคมสี่เขี้ยว แข็งแกร่งพอที่จะเจาะหนังของโปเกมอนสัตว์ทุกชนิด แม้ว่าหนังจะแข็งแรงเพียงใด[178] มันจะดื่มเลือด 10 ออนซ์ให้หมดในทันที[179] โกลแบทชอบเลือดมากจนมันอาจไม่ควบคุมการกิน เมื่อมันกินเลือดมากเกินไปจนน้ำหนักเกิน มันจะบินอย่างงุ่มง่าม[179] เมื่อมันโจมตี มันจะไม่หยุดดูดพลังจากเหยื่อแม้ว่ามันจะตัวหนักเกินที่จะบินได้[180] เขี้ยวของโกลแบทตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้ เช่นเดียวกับซูแบท
โปเกมอนชิกของไอจีเอ็นเขียนว่า โกลแบท "น่าเกลียดอย่างไม่น่าให้อภัย" ในภาคเรดและบลู แต่ก็มีคนชื่นชอบ[168] ต่อมาเธอใช้โกลแบทเป็นตัวอย่างของโปเกมอนกลางสายวิวัฒนาการที่น่าเกลียด[181] อีริก โฮล์ม จากหนังสือพิมพ์นิวส์เดย์ เรียกมันเป็นตัวละครยอดนิยมของโปเกมอน[182] จิม สเตอร์ลิง จากดิสทรักทอยด์ เรียกโกลแบตว่า "ตลกอย่างสิ้นเชิง" และมัน "ดูไม่เหมาะที่จะเป็นค้างคาว" เขาเสริมว่า เขาไม่ได้ชอบซูแบทหรือโกลแบท "จากมุมมองศิลปะ หรือมุมมองของระบบเกม"[183]
นาโซโนะคุสะ
[แก้]หมายเลข: 0043 | ชนิด: หญ้า/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: คุไซฮานะ |
นาโซโนะคุสะ (ญี่ปุ่น: ナゾノクサ; ทับศัพท์: Nazonokusa) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ออดดิช (อังกฤษ: Oddish) เป็นโปเกมอนคล้ายวัชพืชที่ดูเหมือนหัวไชเท้ารูปร่างกลม ร่างกายมีสีน้ำเงินหรือม่วง มีขาเล็ก ๆ สองขาและตาสีแดง บนหัวมีกลุ่มใบไม้แหลม 5 ใบ นาโซโนะคุสะเป็นโปเกมอนที่ออกหากินตอนกลางคืน สังเคราะห์แสงโดยใช้แสงจันทร์แทนแสงอาทิตย์ ในตอนกลางวัน นาโซโนะคุสะหนีความร้อนและความสว่างจากดวงอาทิตย์โดยมุดตัวลงดิน โผล่ไว้เพียงใบไม้บนหัว มันใช้วิธีนี้ปลอมตัวเป็นต้นพืชต้นหนึ่ง ล่อนักล่าเหยื่อกินพืชตอนกลางวันให้ไปทางอื่น ในตอนกลางคืน มันจะวิ่งวนไปมาและหว่าน "เมล็ดพันธุ์" เมื่อถูกฝังดิน นาโซโนะคุสะจะบำรุงตนเองโดยดูดซึมสารอาหารจากดินโดยใช้เท้า ซึ่งกล่าวกันว่าจะเปลี่ยนเป็นรากชั่วคราวเพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ เป็นที่รู้กันว่านาโซโนะคุสะใช้ใบไม้เป็นมือ เช่น บางตัวใช้ใบไม้ไต่เชือกตาข่ายและพยายามบินให้เหมือนฮาเน็กโกะ ถ้าใครก็ตามดึงใบไม้ของนาโซโนะคุสะและพยายามถอนมัน นาโซโนะคุสะจะโต้ตอบโดยกรีดร้องเสียงแหลมสูง นี่แสดงให้เห็นพฤติกรรมของต้นแมนเดรกในตำนานในสถานการณ์คล้ายกัน แม้ว่าดูเหมือนว่าเสียงของนาโซโนะคุสะจะไม่มีผลสืบเนื่องเลวร้ายเหมือนกับเสียงของแมนเดรก
คุไซฮานะ
[แก้]หมายเลข: 0044 | ชนิด: หญ้า/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: นาโซโนะคุสะ | วิวัฒนาการไปเป็น: รัฟเฟรเซีย/คิเรอิฮานะ (หินแสงอาทิตย์) |
คุไซฮานะ (ญี่ปุ่น: クサイハナ; ทับศัพท์: Kusaihana) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ กลูม (อังกฤษ: Gloom) โปเกมอนเหมือนดอกไม้ มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่านาโซโนะคุสะ คุไซฮานะพบได้ในบริเวณหญ้าในภูมิภาคส่วนใหญ่ ของเหลวที่พ่นออกมาจากปากนั้นไม่ใช่น้ำลาย แต่เป็นน้ำต้อยที่ใช้ล่อเหยื่อ เมื่อเหยื่อหลงใหลกับน้ำต้อย น้ำต้อยจะตัวติดกับเหยื่อ น้ำต้อยมักจะล่อเหยื่อที่ไม่มีประสาทดมกลิ่น เนื่องจากน้ำต้อยมีกลิ่นเหม็นมากจนเหยื่อที่ดมมันจะสูญเสียความทรงจำ นอกจากน้ำต้อยแล้ว เกสรตัวเมียในดอกไม้ของคุไซฮานะกลิ่นเหม็นอย่างเหลือเชื่อ มักถูกบรรยายว่าเป็นกลิ่นรองเท้ากีฬา ขยะ และไข่เน่าเหม็นเหมือนสกังก์ และแรงพอที่จะได้กลิ่นจากระยะไกลเป็นไมล์ พบว่า 1 ใน 1,000 คนชอบกลิ่นที่คุไซฮานะปล่อยออกมา คนที่ไม่ชอบกลิ่นจะหมดสติทันทีที่ได้กลิ่น เมื่อคุไซฮานะประสบอันตราย กลิ่นเหม็นจะเหม็นยิ่งขึ้น ถ้ามันรู้สึกใจเย็นหรือปลอดภัย มันจะไม่ปล่อยกลิ่นเหม็นเช่นนี้ออกมา กล่าวกันว่ามันจะร่ายท่าโจมตีเช่น ละอองเหน็บชา ละอองพิษ และละอองหลับใหล จะทำให้ศัตรูเกิดสถานะผิดปกติ คุไซฮานะมีร่างพัฒนาสองร่าง (ตั้งแต่เจเนอเรชันที่สองเป็นต้นไป) ได้แก่ รัฟเฟรเซีย และคิเรฮานะ คุไซฮานะจะไม่พัฒนาร่างด้วยการเพิ่มเลเวลเหมือนตัวอื่น ๆ แต่มันจะพัฒนาเมื่อโดนหินวิวัฒนาการ นั่นคือ หินใบไม้ จะทำให้เป็นรัฟเฟรเซีย และหินพระอาทิตย์จะทำให้เป็นคิเรฮานะ
รัฟเฟรเซีย
[แก้]หมายเลข: 0045 | ชนิด: หญ้า/มีพิษ | วิวัฒนาการมาจาก: คุไซฮานะ | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
รัฟเฟรเซีย (ญี่ปุ่น: ラフレシア; โรมาจิ: Rafureshia; ทับศัพท์: Ruffresia) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ไวเลพลูม (อังกฤษ: Vileplume) เป็นโปเกมอนเหมือนดอกไม้ขนาดใหญ่ที่มีขนาดใหญ่กว่าและแข็งแกร่งกว่าคุไซฮานะ รัฟเฟรเซียได้มาจากการใช้หินใบไม้กับคุไซฺฮานะ รัฟเฟรเซียมีกลิ่นเหม็นมาจากดอกไม้สีแดงขนาดใหญ่ รัฟเฟรเซียใช้กลิ่นเหม็นต่อสู้ โดยทำให้ศัตรูเสียการควบคุมตอนที่มันถอยหนีกลิ่นเหม็น อย่างไรก็ตาม ดอกไม้ของรัฟเฟรเซียสามารถเป็นอุปสรรคในการต่อสู้ได้เนื่องจากมันหนักและเทอะทะ ด้วยน้ำหนักของมัน ทำให้รัฟเฟรเซียเดินช้ามาก และมักใช้มือประคองดอกไม้บ่อย ๆ รัฟเฟรเซียพบได้ในป่าและชอบลดตัวลงติดพื้น เมื่อพวกมันหลับ กลีบดอกไม้ขนาดใหญ่จะเหี่ยวและพรางตัวกับต้นพืชรอบ ๆ พวกมันยังปล่อยละอองเรณูพิษหนาแน่นสู่อากาศที่ตรงนั้นเพื่อไม่ให้สัตว์เข้าใกล้มัน ในตอนกลางคืน บางครั้งพวกมันจะรวมตัวกันแสดงพิธีกรรมแปลก ๆ โดยมันจะปล่อยละอองเรณูพิษเพื่อป้องกันผู้บุกรุก แต้มสีขาวบนดอกไม้ของรัฟเฟรเซียตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้
ตั้งแต่รัฟเฟรเซียปรากฏในซีรีส์โปเกมอน สายวิวัฒนาการของนาโซโนะคุสะได้รับการตอบรับด้านบวก พบพวกมันในสินค้าหลายรูปแบบ เช่น หุ่น ตุ๊กตากำมะหยี่ และโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม รัฟเฟรเซียยังปรากฏในรูปพวงกุญแจในโปรโมชันหนึ่งของเบอร์เกอร์คิงด้วย[184] การ์ดรัฟเฟรเซียรุ่นแรกมีราคาถึง 75 ดอลลาร์สหรัฐ[185] การ์ดรัฟเฟรเซียใบหนึ่งวางจำหน่ายโดยมีความผิดพลาดด้านการพิมพ์[186]
พารัส
[แก้]หมายเลข: 0046 | ชนิด: แมลง/หญ้า | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: พาราเซ็คท์ |
พารัส (ญี่ปุ่น: パラス; โรมาจิ: Parasu) เป็นโปเกมอนคล้ายปรสิตมีเห็ดสองตัวอยู่บนหลัง พบได้ในถ้ำและซาฟารีโซนในภูมิภาคคันโต และในป่าอุบะเมะ (Ilex Forest) และการประกวดจับโปเกมอนแมลงในภูมิภาคโจโต
พารัสเกิดมาโดยมีสปอร์เล็ก ๆ สองหน่อปกคลุมร่างกาย ซึ่งเติบโตเป็นเห็ดถั่งเช่าให้โปเกมอนกิน มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างพารัสและเห็ดเป็นความสัมพันธ์แบบภาวะอยู่ร่วมกัน เห็ดจะดูดพลังงานจากพารัส ทำให้พารัสมุดตัวลงใต้ดินในป่าตลอดเวลาเพื่อแทะราก เนื่องจากเห็ดถั่งเช่าจะดูดพลังงานได้จากราก ในทางกลับกัน เห็ดจะป้องกันพารัสโดยพ่นสปอร์พิษไปยังศัตรู เห็ดสามารถเยียวยาตนเองได้ และมีไว้ยืดอายุของตน
พาราเซ็คท์
[แก้]หมายเลข: 0047 | ชนิด: แมลง/หญ้า | วิวัฒนาการมาจาก: พารัส | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
พาราเซ็คท์ (ญี่ปุ่น: パラセクト; โรมาจิ: Parasekuto) เป็นร่างพัฒนาของพารัสที่ใหญ่ขึ้นและแข็งแกร่งขึ้น มีเห็ดขนาดใหญ่บนหลัง เห็ดใช้พื้นที่บนตัวแมลงเกือบทั้งหมด พาราเซ็คท์อาศัยอยู่ในที่มืดและชื้น ซึ่งเป็นสถานที่ที่เห็ดชอบ ไม่ใช่ตัวแมลง เห็ดมีคุณสมบัติทางยามากมาย พาราเซ็คท์ได้มาเมื่อพารัสถึงเลเวล 24 พาราเซ็คท์พบได้ในถ้ำฮะนะดะและซาฟารีโซนในภูมิภาคคันโต และภูเขาชิโระงะเนะ ในภาคคริสตัล ชื่อภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษเป็นการเล่นคำภาษาอังฤษ "parasite" และ "insect" มีความเกี่ยวข้องกับเห็ดบนหลัง พาราเซ็กต์เป็นที่อยู่อาศัยของเห็ด ที่ตรงนั้น เห็ดมีสปอร์ที่ทำให้ศัตรูที่สัมผัสโดนรู้สึกเหน็บชาได้
ไอจีเอ็น จัดให้พาราเซ็คท์เป็นโปเกมอนแมลงที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง ร่วมกับสไตรค์ โดยพวกเขายกย่องความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ พวกเขาบ่นเกี่ยวกับท่าโจมตีประเภทแมลงที่แทบจะไม่มี หากไม่นับท่าดูดเลือด (Leech Life)[187]
คองปัง
[แก้]หมายเลข: 0048 | ชนิด: แมลง/พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: มอร์ฟอน |
คองปัง (ญี่ปุ่น: コンパン; โรมาจิ: Konpan) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ เวโนนัท (อังกฤษ: Venonat) มีพิษไหลซึมออกจากทั่วร่างกาย พอตกค่ำจะไปจับโปเกมอนแมลงตัวเล็ก ๆ ที่มารวมตัวกันตามแสงไฟ[188] ดวงตาทำหน้าที่เป็นเรดาร์เลยเคลื่อนไหวในความมืดได้ สามารถยิงลำแสงจากตาได้[188]
มอร์ฟอน
[แก้]หมายเลข: 0049 | ชนิด: แมลง/พิษ | วิวัฒนาการมาจาก: คองปัง | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
มอร์ฟอน (ญี่ปุ่น: モルフォン; โรมาจิ: Morufon) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ เวโนมอด (อังกฤษ: Venomoth) มีเกล็ดติดอยู่บนปีก และทุกครั้งที่กระพือปีกจะโปรยผงพิษรุนแรงไปทั่ว[189] ตอนต่อสู้จะกระพือปีกขนาดใหญ่อย่างรุนแรงเพื่อโปรยผงพิษ[189]
ดิกดา
[แก้]หมายเลข: 0050 | ชนิด: พื้นดิน | วิวัฒนาการมาจาก: ไม่มี | วิวัฒนาการไปเป็น: ดักทริโอ |
ดิกดา (ญี่ปุ่น: ディグダ; โรมาจิ: Diguda) หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ ดิกเลตต์ (อังกฤษ: Diglett) ขุดโพรงในดินลึกประมาณ 1 เมตร ใช้ชีวิตโดยการกัดกินรากไม้ นาน ๆ ทีจะโผล่ขึ้นมาเหนือดิน[190] ผิวหนังบางมาก หากโดนแสงเข้าเลือดจะอุ่นขึ้นและอ่อนแอลง[190]
ดักทริโอ
[แก้]หมายเลข: 0051 | ชนิด: พื้นดิน | วิวัฒนาการมาจาก: ดิกดา | วิวัฒนาการไปเป็น: ไม่มี |
ดักทริโอ (ญี่ปุ่น: ダグトリオ; โรมาจิ: Dagutorio) ทั้ง 3 หัวจะสลับกันเคลื่อนไหวเพื่อให้ดินรอบ ๆ นิ่มลงและขุดง่ายขึ้น[191] ขุดแล้วเคลื่อนไหวไปมาอยู่ใต้ดินและโจมตีฝ่ายตรงข้ามที่กำลังเผลอจากจุดอื่น[191]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "pokemon.com Pokédex". Nintendo/Gamefreak. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-30. สืบค้นเมื่อ September 15, 2008.
- ↑ Pokédex: As the bulb on its back grows larger, it appears to lose the ability to stand on its hind legs Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Exposure to sunlight adds to its strength. Sunlight also makes the bud on its back grow larger. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: If the bud on its back starts to smell sweet, it is evidence that the large flower will soon bloom. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It is able to convert sunlight into energy. As a result, it is more powerful in the summertime. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: There is a large flower on VENUSAUR's back. The flower is said to take on vivid colors if it gets plenty of nutrition and sunlight. The flower's aroma soothes the emotions of people. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ 7.0 7.1 Pokédex: A common sight in forests and woods. It flaps its wings and ground level to kick up blinding sand. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon Leaf Green (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: The plant blooms when it is absorbing solar energy. It stays on the move to seek sunlight. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond and Pearl (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Charmander are obedient Pokémon. The flame on its tail indicates Chamander's life force. If it is healthy, the flame burns brightly. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: The flame that burns at the tip of its tail is an indication of its emotions. The flame wavers when CHARMANDER is enjoying itself. If the POKéMON becomes enraged, the flame burns fiercely. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Obviously prefers hot places. When it rains, steam is said to spout from the tip of its tail. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: From the time it is born, a flame burns at the tip of its tail. Its life would end if the flame were to go out. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon Fire Red (Game Boy). Nintendo.
- ↑ DeKirk, Ash; Oberon Zell-Ravenheart (2006). Dragonlore:From the Archives of the Grey School of Wizardry. Career Press. p. 125. ISBN 1-56414-868-8.
- ↑ "Charizard :: Best Pokémon". makefive.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ May 22, 2009.
- ↑ Game Freak (2004-09-07). Pokémon FireRed (Game Boy Advance). Nintendo.
Its wings can carry this Pokémon close to an altitude of 4,600 feet (152 m). It blows out fire at very high temperatures.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Ruby (Game Boy Advance). Nintendo.
Charizard flies around the sky in search of powerful opponents. It breathes fire of such great heat that it melts anything. However, it never turns its fiery breath on any opponent weaker than itself.
- ↑ Game Freak (2005-05-01). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
A Charizard flies about in search of strong opponents. It breathes intense flames that can melt any material. However, it will never torch a weaker foe.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
If Charizard becomes furious, the flame at the tip of its tail flare up in a whitish-blue color.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
It spits fire that is hot enough to melt boulders. Known to cause forest fires unintentionally.
- ↑ Pokédex: Shoots water at prey while in the water. Withdraws into its shell when in danger. Game Freak (October 19, 1999). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It shelters itself in its shell, then strikes back with spouts of water at every opportunity. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond and Pearl (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Squirtle's shell is not merely used for protection. The shell's rounded shape and the grooves on its surface help minimize resistance in water, enabling this Pokémon to swim at high speeds. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: The tail becomes increasingly deeper in color as Wartortle ages. The scratches on its shell are evidence of this Pokémon's toughness as a fighter. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: When trapped, this Pokémon will pull in its head, but its tail will still stick out a little bit. Game Freak (October 19, 1999). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It cleverly controls its furry ears and tail to maintain its balance while swimming. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It is said to live 10,000 years. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Game Freak (2007-04-22). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
The jets of water it spouts from the rocket cannons on its shell can punch through thick steel.
- ↑ Pokédex: The waterspouts that protrude from its shell are highly accurate. Their bullets of water can precisely nail tin cans from a distance of over 165 feet. Game Freak (May 1, 2005). Pokémon Emerald (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: A brutal Pokémon with pressurized water jets on its shell. They are used for high speed tackles. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ 30.0 30.1 Silvestri, Cris (2008). Pokémon Ultimate Handbook. New York City: Scholastic Corporation. p. 35. ISBN 0-545-07886-5. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ Stuart Bishop (May 30, 2003). "Game Freak on Pokémon!". CVG. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ February 7, 2008.
- ↑ Larimer, Tim (November 22, 1999). "The Ultimate Game Freak". Time. New York City: Time Inc. 154 (20). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ January 27, 2010.
- ↑ Coogan, Carl (July 28, 2008). "Backyard Naturalist". Times Union. New York: Hearst Corporation. p. C2.
- ↑ "#010 Caterpie". IGN. News Corporation. January 4, 2001. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ 35.0 35.1 "Pokemon of the Day: Caterpie (#10)". IGN. News Corporation. February 18, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ Pokédex: It crawls into foliage where it camouflages itself among leaves that are the same color as its body. Game Freak (July 29, 2001). Pokémon Crystal (Game Boy Color). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It has large, eye-like patterns on its head as protection. They are used to frighten off enemies. Game Freak (March 6, 2000). Pokémon Stadium (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its short feet are tipped with suction pads that enable it to tirelessly climb slopes and walls. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: For protection, it releases a horrible stench from the antenna on its head to drive away enemies. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Lipperini, Loredana (2000). Generazione Pókemon (ภาษาอิตาลี). Castelvecch. p. 222. ISBN 88-8210-249-1. สืบค้นเมื่อ March 1, 2010.
- ↑ Nilsen, Alleen Pace; Don L.F. Nilsen (October 2000). "Pokémon as Interactive Literature". Semiotic Review of Books. Thunder Bay: Lakehead University. 11 (2): 2.
- ↑ Pokédex: It prepares for evolution by hardening its shell as much as possible to protect its soft body. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Inside the shell, it is soft and weak as it prepares to evolve. It stays motionless in the shell. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Hardens its shell to protect itself. However, a large impact may cause it to pop out of its shell. Game Freak (October 19, 1999). Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It collects honey every day. It rubs honey onto the hairs on its legs to carry it back to its nest. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Water-repellent powder on its wings enables it to collect honey, even in the heaviest of rains. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: In battle, it flaps its wings at high speeds to release highly toxic dust into the air. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It attacks using a two-inch poison barb on its head. It can usually be found under the leaves it eats. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: WEEDLE has an extremely acute sense of smell. It is capable of distinguishing its favorite kinds of leaves from those it dislikes just by sniffing with its big red proboscis (nose). Game Freak (April 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Often found in forests and grasslands. It has a sharp, toxic barb of around two inches on top of its head. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon Leaf Green (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It eats its weight in leaves every day. It fends off attackers with the needle on its head. It evolves at level seven. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond and Pearl (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It remains virtually immobile while it clings to a tree. However, on the inside, it busily prepares for evolution. This is evident from how hot its shell becomes. Game Freak (May 1, 2005). Pokémon Emerald (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Although it is a cocoon, it can move a little. It can extend its poison barb if it is attacked. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It has three poison barbs. The barb on its tail secretes the most powerful poison. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Beedrill is extremely territorial. No one should ever approach its nest — this is for their own safety. If angered, they will attack in a furious swarm. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It can take down any opponent with its powerful poison stingers. It sometimes attacks in swarms. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Brett Elston. "The complete Pokemon RBY pokedex, part 2, Pokemon Diamond / Pearl DS Features". GamesRadar. p. 4.
- ↑ "The List: Coolest Pokémon from FireRed and LeafGreen". Boys' Life. Boy Scouts of America. 95 (2): 45. February 2005. ISSN 0006-8608.
- ↑ Pokédex: It is docile and prefers to avoid conflict. If disturbed, however, it can ferociously strike back. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond and Pearl (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It rapidly flaps its wings in the grass, stirring up a dust cloud that drives insect prey out into the open. Game Freak (July 29, 2001). Pokémon Crystal (Game Boy Color). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Pidgey has an extremely sharp sense of direction. It is capable of unerringly returning home to its nest, however far it may be removed from its familiar surroundings. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby and Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ 62.0 62.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpidgey
- ↑ Brett Elston. "The complete Pokemon RBY pokedex, part 2, Pokemon Diamond / Pearl DS Features". GamesRadar. p. 5.
- ↑ "This never happened with space hoppers - Life & Style". The Independent. November 21, 1999. สืบค้นเมื่อ September 27, 2010.
- ↑ Pokédex: It has outstanding vision. However high it flies, it is able to distinguish the movements of its prey. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It immobilizes its prey using well-developed claws, then carries the prey more than 60 miles to its nest. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its well-developed chest muscles make it strong enough to whip up a gusty windstorm with just a few flaps. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ 68.0 68.1 Pokédex: Its outstanding vision allows it to spot Magikarp, even while flying at 3300 feet. Game Freak (July 29, 2001). Pokémon Crystal (Game Boy Color). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It spreads its beautiful wings wide to frighten its enemies. It can fly at Mach 2 speed. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Michael Haigney and Kunihiko Yuyama (Directors) (1999). Pokémon: The First Movie (DVD). United States: Kids WB!.
- ↑ Pokédex: Will chew on anything with its fangs. If you see one, it is certain that 40 more live in the area. Game Freak (October 1, 1999). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It eats anything. Wherever food is available, it will settle down and produce offspring continuously. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Bites anything when it attacks. Small and very quick, it is a common sight in many places. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its fangs are long and very sharp. They grow continuously, so it gnaws on hard things to whittle them down. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon FireRed (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Raymond Padilla. "Pokemusings, week 18, Pokemon Battle Revolution Wii Features". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ Loredana Lipperini (2000). Generazione Pokémon: i bambini e l ... - Google Books. Castelvecchi. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ "ONM Blog: The Perfect Pokémon Game". Official Nintendo Magazine. May 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-03. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ 78.0 78.1 78.2 Pokémon of the Day Chick (2002-12-03). "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Rattata (#19) - IGN FAQs". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-09. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ "The Escapist : Review: Pokémon Black & White Versions". Escapistmagazine.com. March 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-10. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ Pokédex: It uses its whiskers to maintain its balance. It apparently slows down if they are cut off. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon LeafGreen (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its hind feet are webbed. They act as flippers, so it can swim in rivers and hunt for prey. Game Freak (October 19, 1999). Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Gnaws on anything with its tough fangs. It can even topple concrete buildings by gnawing on them. Game Freak (October 15, 2000). Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Brett Elston. "The complete Pokemon RBY pokedex, part 2, Pokemon Diamond / Pearl DS Features". GamesRadar. p. 9.
- ↑ "1UP's RPG Blog : Gotta Blog 'Em All #10: Come To Unova Again For the First Time!". 1up.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-11. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ "Pokemon Strategy Guide - IGNguides". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-02-04. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ Pokédex: It busily flits around here and there. Even if it is frail, it can be a tough foe that uses Mirror Move. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon FireRed (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It flaps its short wings to flush out insects from tall grass. It then plucks them with its stubby beak. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its wings are short, so it can't fly a long distance. If it's not eating, it darts around in a hurry. Game Freak (March 6, 2000). Pokémon Stadium (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Very protective of its territory, it flaps its short wings busily to dart around at high speed. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its loud cry can be heard over half a mile away. If its high, keening cry is heard echoing all around, it is a sign that they are warning each other of danger. Game Freak (May 1, 2005). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Takeshi Shudō (writer) (September 8, 1998). "Pokémon - I Choose You!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 01. Various.
- ↑ 92.0 92.1 Hideki Sonoda (writer) (December 4, 1999). "Pallet Party Panic". Pokémon. ฤดูกาล 2. ตอน 1. Various.
- ↑ Pokédex: A Pokémon that enjoys flying. It uses its broad wings to adroitly catch the wind to soar elegantly into the sky. Game Freak (March 6, 2000). Pokémon Stadium (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ Pokédex: With its huge and magnificent wings, it can keep aloft without ever having to land for rest. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon LeafGreen (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It shoots itself suddenly high into the sky, then plummets down in one fell swoop to strike its prey. Game Freak (March 26, 2001). Pokémon Stadium (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Its long neck and elongated beak are ideal for catching prey in soil or water. It deftly moves this extended and skinny beak to pluck prey. Game Freak (May 1, 2005). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ "The complete Pokemon RBY pokedex, part 2, Pokemon Diamond/Pearl DS Features". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ August 5, 2010.
- ↑ Pokédex: Moving silently and stealthily, it eats the eggs of birds, such as Pidgey and Spearow, whole. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon LeafGreen (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It can freely detach its jaw to swallow large prey whole. It can become too heavy to move, however. Game Freak (March 26, 2001). Pokémon Stadium (Nintendo 64). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It sneaks through grass without making a sound and strikes unsuspecting prey from behind. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It flutters the tip of its tongue to seek out the scent of prey, then swallows the prey whole. Game Freak (July 29, 2001). Pokémon Crystal (Game Boy Color). Nintendo.
- ↑ 102.0 102.1 "Movie Reviews, News, Spoilers, Stills and Trailers". UGO.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ Generazione Pokémon: i bambini e l ... – Loredana Lipperini – Google Books. Google Books. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ Pokédex: The frightening patterns on its belly have been studied. Six variations have been confirmed. Game Freak (October 19, 1999). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It is rumored that the ferocious warning markings on its belly differ from area to region. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: This Pokémon has a terrifically strong constricting power. It can even flatten steel oil drums. Once it wraps its body around its foe, escaping is impossible. Game Freak (May 1, 2005). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Transfixing prey with the face-like pattern on its belly, it binds and poisons the frightened victim. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: With a very vengeful nature, it won't give up the chase, no matter how far, once it targets its prey. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Silver (Game Boy). Nintendo.
- ↑ "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Arbok (#24) – IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ "Pokemon Ruby Version Pokemon of the Day: Dunsparce – IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-02. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ "Pokemon Ruby Version Pokemon of the Day: Seviper (#336) – IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ Pokemon of the Day Guy. "Pokemon of the Day – GBA News at IGN". Gameboy.ign.com. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 『ポケットモンスター』スタッフインタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.
- ↑ Pokédex: It lives in forests with others. It stores electricity in the pouches on its cheeks. Game Freak (April 22, 2007). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
- ↑ Atsuhiro Tomioka (writer) (September 25, 1998). "Electric Shock Showdown". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 14. Various.
- ↑ "Pok¿Monday - GBA Feature at IGN". Gameboy.ign.com. December 20, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ Skertic, Annie (April 23, 2000). "New Pokemon to hit TV". Chicago Sun-Times.
- ↑ Generazione Pókemon: i bambini e l ... - Google Books. Books.google.com. 2000. ISBN 9788882102494. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ Anime trivia quizbook: from easy to ... - Google Books. Books.google.com. 2000. ISBN 9781880656440. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ La culture de l'enfance ŕ l'heure de ... - Google Books. Books.google.com. 2002. ISBN 9782912404909. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Raichu (#26) - IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-07. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ "The complete Pokemon RBY pokedex, part 3, Pokemon Diamond/Pearl DS Features". GamesRadar. September 21, 2010. สืบค้นเมื่อ September 25, 2010.
- ↑ Game Freak (1999-10-19). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
When resting deep in its burrow, its thorns always retract. This is proof that it is relaxed.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Silver (Game Boy Color). Nintendo.
It has a calm and caring nature. Because its horn grows slowly it prefers not to fight.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
When feeding its young, it first chews and tenderizes the food, then spits it out for the offspring.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
The female's horn develops slowly. Prefers physical attacks such as clawing and biting.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Ruby (Game Boy Advance). Nintendo.
When Nidorina are with their friends or family, they keep their barbs tucked away to prevent hurting each other. This Pokémon appears to become nervous if separated from the others.
- ↑ Game Freak (2004-09-07). Pokémon FireRed (Game Boy Advance). Nintendo.
The female has a gentle temperament. It emits ultrasonic cries that have the power to befuddle foes.
- ↑ Audrey. "Nidoking - #42 Top Pokémon - IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ May 5, 2011.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
The moonlight that it stores in the wings on its back apparently gives it the ability to float in midair.
- ↑ Tobin, Joseph (February 5, 2004). Pikachu's global adventure: the rise ... - Google Books. ISBN 0822332876. สืบค้นเมื่อ August 5, 2010.
- ↑ Atsuhiro Tomioka (writer) (September 15, 1998). "Clefairy and the Moon Stone". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 6. Various.
- ↑ "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Clefairy (#35) - IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ August 5, 2010.
- ↑ "The most overused Pokemon designs". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ August 5, 2010.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
At the time of birth, it has just one tail. The tail splits from its tip as it grows older.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
As it develops, its single white tail gains color and splits into six. It is quite warm and cuddly.
- ↑ Game Freak (1999-10-19). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
Both its fur and its tails are beautiful. As it grows, the tails split and form more tails.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
Inside Vulpix's body burns a flame that never goes out. During the daytime, when the temperatures rise, this Pokémon releases flames from its mouth to prevent its body from growing too hot.
- ↑ Game Freak (2005-05-01). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
It can freely control fire, making fiery orbs fly like will-o'-the-wisps. Just before evolution, its six tails grow hot as if on fire.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Silver (Game Boy Color). Nintendo.
If it is attacked by an enemy that is stronger than itself, it feigns injury to fool the enemy and escapes.
- ↑ Chua-Euan, Howard (November 22, 1999). "PokéMania". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ September 15, 2008.
- ↑ "Video Games, Wikis, Cheats, Walkthroughs, Reviews, News & Videos - IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ February 28, 2015.
- ↑ 143.0 143.1 "#038 Ninetails". IGN. News Corporation. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-15. สืบค้นเมื่อ March 4, 2010.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Ruby (Game Boy Advance). Nintendo.
Ninetales casts a sinister light from its bright red eyes to gain total control over its foe's mind. This Pokémon is said to live for a thousand years.
- ↑ Silvestri, Cris (2008). Pokémon Ultimate Handbook. New York City: Scholastic Corporation. p. 178. ISBN 0-545-07886-5. สืบค้นเมื่อ March 4, 2010.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
Some legends claim that each of its nine tails has its own unique type of special mystic power.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Silver (Game Boy Color). Nintendo.
Its nine beautiful tails are filled with a wondrous energy that could keep it alive for 1,000 years.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
Legend has it that Ninetales came into being when nine wizards possessing sacred powers merged into one. This Pokémon is highly intelligent - it can understand human speech.
- ↑ Raabe, Nancy (November 10, 1999). "The Poke List from 1 to 151, Here's Your Who's Who of All the Pocket Monsters". The Birmingham News. Vol. 112. Birmingham, Alabama: Advance Publications. pp. 8–G.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
Very smart and very vengeful. Grabbing one of its many tails could result in a 1000-year curse.
- ↑ Game Freak (1999-10-19). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
According to an enduring legend, 9 noble saints were united and reincarnated as this Pokémon.
- ↑ 152.0 152.1 Pokédex: If it inflates to SING a lullaby, it can perform longer and cause sure drowsiness in its audience. Game Freak (October 15, 2000). Pokémon Gold (Game Boy). Nintendo.
- ↑ Pokédex: It captivates foes with its huge, round eyes, then lulls them to sleep by singing a soothing melody. Game Freak (September 9, 2004). Pokémon Firered (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: Jigglypuff's vocal cords can freely adjust the wavelength of its voice. This Pokémon uses the ability to sing at precisely the right wavelength to make its foes most drowsy. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Ruby (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ Pokédex: When this Pokémon sings, it never pauses to breathe. If it is in a battle against an opponent that does not easily fall asleep, Jigglypuff cannot breathe, endangering its life. Game Freak (March 17, 2003). Pokémon Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
- ↑ "Pokémon interview" (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-15. สืบค้นเมื่อ June 10, 2009.
- ↑ Pokemon of the Day Guy (June 15, 2000). "Pokemon of the Day – GBA News at IGN". Gameboy.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Wigglytuff (#40) – IGN FAQs". Faqs.ign.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ "ONM Blog: Best and worst Pokémon names". Official Nintendo Magazine. November 22, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-01. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ "Nothing is Sacred: Cute characters suck". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ Pikachu's global adventure: the rise ... – Joseph Jay Tobin – Google Books. Google Books. January 20, 2010. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ post a comment. "Pokemon Mystery Dungeon: Explorers of Time Review from". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2010. สืบค้นเมื่อ October 17, 2011.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
Forms colonies in perpetually dark places. Uses ultrasonic waves to identify and approach targets.
- ↑ Game Freak (1999-10-19). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
Emits ultrasonic cries while it flies. They act as a sonar used to check for objects in its way.
- ↑ Game Freak (2001-07-29). Pokémon Crystal (Game Boy Color). Nintendo.
During the day, it gathers with others and hangs from the ceilings of old buildings and caves.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Ruby (Game Boy Advance). Nintendo.
Zubat remains quietly unmoving in a dark spot during the bright daylight hours. It does so because prolonged exposure to the sun causes its body to become slightly burned.
- ↑ Game Freak (2005-05-01). Pokémon Emerald (Game Boy Advance). Nintendo.
While living in pitch-black caverns, their eyes gradually grew shut and deprived them of vision. They use ultrasonic waves to detect obstacles.
- ↑ 168.0 168.1 Pokémon of the Day Chick (January 13, 2003). "Pokemon Crystal Version Pokemon of the Day: Golbat (#42) - IGN FAQs". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ Jack DeVries; Kristine Steimer & Nick Kolan (April 28, 2010). "What We Want: Pokemon Black & White - Nintendo DS Feature at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-30. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ Edge Staff (March 11, 2011). "Pokemon Black / White Review | Edge Magazine". Edge. Future Publishing Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ Jack DeVries (July 13, 2010). "Even More Pokemon Revealed - Nintendo DS News at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ April 7, 2011.
- ↑ Jack DeVries (July 13, 2010). "Why We're Excited for Pokemon Black/White - Nintendo DS Feature at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ April 7, 2011.
- ↑ Kat Bailey (March 14, 2011). "Pokemon Black/White Review for DS from". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-24. สืบค้นเมื่อ April 7, 2011.
- ↑ Michael Vreeland (October 22, 2010). "1UP's RPG Blog : Gotta Blog 'Em All #5: Poktoberfest Continues!". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-28. สืบค้นเมื่อ April 7, 2011.
- ↑ Zivalich, Nikole (March 25, 2011). "Pokemon Black Version for Nintendo DS - Preview - Pokemon Black and White". G4tv.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ April 7, 2011.
- ↑ Game Freak (2003-03-17). Pokémon Sapphire (Game Boy Advance). Nintendo.
Golbat bites down on prey with its four fangs and drinks the victim's blood. It becomes active on inky dark moonless nights, flying around to attack people and Pokémon.
- ↑ Game Freak (1999-10-19). Pokémon Yellow (Game Boy). Nintendo.
It attacks in a stealthy manner, without warning. Its sharp fangs are used to bite and suck blood.
- ↑ Game Freak (2000-10-15). Pokémon Gold (Game Boy Color). Nintendo.
However hard its victim's hide may be, it punctures with sharp fangs and gorges itself with blood.
- ↑ 179.0 179.1 Game Freak (2000-10-15). Pokémon Silver (Game Boy Color). Nintendo.
It can drink more than 10 ounces of blood at once. If it has too much, it gets heavy and flies clumsily.
- ↑ Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red (Game Boy). Nintendo.
Once it strikes, it will not stop draining energy from the victim even if it gets too heavy to fly.
- ↑ Pokémon of the Day Chick (October 10, 2002). "Pokemon Crystal Version Pok�mon of the Day: Skiploom (#188) - IGN FAQs". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-06. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ Erik Holm (December 10, 1999). "Pokmon, Minus Manji Symbol / Swastika-like sign pulled after U.S. uproar". newsday.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ Jim Sterling (June 26, 2008). "Thirty rubbish Pokemon: Red/Blue edition". Destructoid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-27. สืบค้นเมื่อ April 20, 2011.
- ↑ "PokéMonday – GBA Feature at IGN". Gameboy.ign.com. March 13, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-07. สืบค้นเมื่อ November 11, 2011.
- ↑ Cowherd, Kevin. "I'll trade you a Pikachu for Oddish -- oh, never mind".
- ↑ Skertic, Annie (July 2, 2000). "For some, movie is renewing enthusiasm". Chicago Sun-Times.
- ↑ "Pokémon Stadium 2: Basics". archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-08-06. สืบค้นเมื่อ February 28, 2015.
- ↑ 188.0 188.1 "คองปัง | โปเกเด็กซ์". The official Pokémon Website in Thailand.
- ↑ 189.0 189.1 "มอร์ฟอน | โปเกเด็กซ์". The official Pokémon Website in Thailand.
- ↑ 190.0 190.1 "ดิกดา | โปเกเด็กซ์". The official Pokémon Website in Thailand.
- ↑ 191.0 191.1 "ดักทริโอ | โปเกเด็กซ์". The official Pokémon Website in Thailand.