นกล่าเหยื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหยี่ยว เป็นนกล่าเหยื่อประเภทหนึ่ง

นกล่าเหยื่อ (อังกฤษ: Bird of prey, Raptor-มาจากภาษาละตินคำว่า rapere หมายถึง "บังคับด้วยกำลัง"[1]) เป็นชื่อสามัญเรียกโดยรวมของนกกลุ่มที่หากินในเวลากลางวัน และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร รวมถึงอาจกินซากเป็นอาหารด้วย

นกล่าเหยื่อจะมีหลักการบินโดยใช้ความรู้สึกกระตือรือร้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองเห็น นกกลุ่มนี้เป็นนกที่ล่าสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่รวมทั้งนกด้วยกันจำพวกอื่น ๆ โดยมีกรงเล็บและจะงอยปากที่ค่อนข้างใหญ่และประสิทธิภาพและเหมาะสำหรับการฉีกขาดเนื้อ ส่วนใหญ่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร[1]

มีหลายชนิดที่จัดเป็นนกล่าเหยื่อ แต่ในทางปักษีวิทยาได้จำแบกประเภทของนกล่าเหยื่อ ไว้ดังนี้

ภาพวาดแสดงถึงความกว้างของปีกของนกล่าเหยื่อประเภทต่าง ๆ

การจำแนก[แก้]

และอาจรวมถึงกลุ่มนกที่หากินในเวลากลางคืนด้วย ได้แก่ นกในอันดับ Strigiformes

ในประเทศไทยและการอพยพย้ายถิ่น[แก้]

ในประเทศไทย มีนกล่าเหยื่อทั้งหมดจำนวน 55 ชนิด มากกว่า 32 ชนิดเป็นนกอพยพย้ายถิ่นในฤดูหนาว หรือ นกอพยพจากแถบประเทศทางซีกโลกเหนือ เช่น มองโกเลีย, จีน, ธิเบต, ไซบีเรีย, เกาหลี, ญี่ปุ่น ผ่านประเทศไทยไปประเทศอื่นในคาบสมุทรมลายู เพื่อหลบหนีความหนาวไปทางซีกโลกทางใต้ที่อากาศอบอุ่นกว่าและอาหารการกินอุดมสมบูรณ์กว่า โดยสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการบินของนกล่าเหยื่ออพยพ คือ มวลอากาศร้อนและกระแสลม มวลอากาศร้อนเป็นสิ่งสำคัญต่อการบินอพยพของนก เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในระหว่างการบินอพยพเมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงส่งความร้อนมายังพื้นผิวโลก มีการดูดซับพลังงานความร้อนไว้แล้วค่อย ๆ ลอยตัวสูงขึ้นรวมตัวกันจนมีความหนาแน่นมาก เรียกว่า มวลอากาศ ซึ่งอาจเกิดในที่โล่งหรือแนวเทือกเขาก็ได้ เมื่อมีกระแสลมพัดเอามวลอากาศร้อนที่อยู่ตามทุ่งไปปะทะกับภูเขาซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงกั้น ทำให้มวลอากาศร้อนรวมกันเป็นก้อนใหญ่ลอยสูงขึ้นสู่ฟ้า นกล่าเหยื่อที่บินอพยพจะมองเห็นและใช้มวลอากาศร้อนพยุงตัวไปข้างหน้า ซึ่งในแต่ละวันเมื่อถึงเวลาเย็นนกล่าเหยื่อจะหาที่พักผ่อนในเวลากลางคืน เพื่อเตรียมอพยพในวันรุ่งขึ้น เป็นอย่างนี้ทุกวันจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่จะอาศัยอยู่ตลอดช่วงฤดูหนาว บริเวณประเทศแถบใกล้เส้นศูนย์สูตรในประเทศไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นประเทศหลัก โดยเมื่อเวลาผ่านไปถึงช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป นกล่าเหยื่อเหล่านี้จะบินอพยพกลับไปถิ่นฐานเดิมเพื่อรังวางไข่อีกครั้ง[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Brown, Leslie (1997). Birds of Prey. Chancellor Press. ISBN 1-85152-732-X.
  2. Burton, Philip (1989). Birds of Prey. illustrated by Boyer, Trevor; Ellis, Malcolm; Thelwell, David. Gallery Books. p. 8. ISBN 0-8317-6381-7.
  3. Perrins, Christopher, M; Middleton, Alex, L. A., eds. (1984). The Encyclopaedia of Birds. Guild Publishing. p. 102.
  4. เรียนรู้วิถีนกล่าเหยื่ออพยพข้ามถิ่น ประเทศไทยคือเส้นทางหลัก!! จากเดลินิวส์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]