โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์
โปเกมอน โกลด์ โปเกมอน ซิลเวอร์ | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เกมฟรีก |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ | ซาโตชิ ทาจิริ |
อำนวยการผลิต | ทาเกฮิโระ อิซูซิ ทาเคชิ คาวากุจิ สึเนคาซึ อิชิฮาระ |
ศิลปิน | เค็น ซูงิโมริ |
เขียนบท | โทชิโนบุ มัตสึมิยะ เค็นจิ มัตสึชิมะ |
แต่งเพลง | จุนอิจิ มาสึดะ โก อิจิโนเซะ โมริคาซุ อาโอกิ(ภาคคริสตัล) |
ชุด | โปเกมอน |
เครื่องเล่น | เกมบอย, เกมบอยคัลเลอร์ (รองรับซูเปอร์เกมบอย; ไม่รองรับเกมบอยและซูเปอร์เกมบอยในเกาหลีใต้ |
วางจำหน่าย | |
แนว | วิดีโอเกมเล่นตามบทบาท |
รูปแบบ | ผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน |
โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ (อังกฤษ: Pokémon Gold Version and Silver Version[a]) เป็นเกมโปเกมอนรุ่นที่สองของซีรีส์โปเกมอน พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และวางจำหน่ายโดยนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นเกมบอย ต่อมาเกมได้ปรับปรุงและทำการตลาดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์ วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 โดยแบ่งเป็น 2 เวอร์ชันประกอบไปด้วย พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีทอง[b] และ พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีเงิน[c] ต่อมาได้ถูกวางจำหน่ายในภาษาต่างประเทศทั้งอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย และทวีปยุโรป โดยออสเตรเลียวางขายเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2000 ตามด้วยทวีปอเมริกาเหนือ วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2000 และทวีปยุโรป วันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2001
และในปีต่อมาได้เพื่มเวอร์ชันเสริมที่มีชื่อว่า พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน[d] วางจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2000
ต่อมาได้ถูกนำมาทำใหม่สำหรับเครื่องนินเท็นโด ดีเอส ในชื่อ โปเกมอน ฮาร์ตโกลด์ และ โซลซิลเวอร์
นอกจากนี้ได้ถูกวางจำหน่ายในรูปแบบเวอร์ชวลคอนโซลบนเครื่องนินเท็นโด 3ดีเอส เมื่อวันที่ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561
ประวัติ
[แก้]โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ เป็นเกมโปเกมอนชุดใหม่ของซีรีส์เกมโปเกมอน ชุดที่ 2 หลังจากที่ได้รับความนิยมจากเกมก่อนหน้านี้อย่างพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ปกของเกมนี้ใช้โปเกมอนในตำนานประจำเขตโตโจ ประกอบไปด้วย โฮโอ (โกลด์) และ ลูเกีย (ซิลเวอร์)
เกมนำเสนอโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ 100 ชนิด และผู้เล่นได้ควบคุมตัวละคร โดยที่ผู้เล่นสามารถเลือกตั้งชื่อเองได้ ภารกิจคือเป็นยอดนักต่อสู้โปเกมอน เกมทั้งสองภาคเป็นอิสระต่อกันแต่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกัน ขณะที่เกมทั้งสองภาคสามารถเล่นแยกกันได้ แต่จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนระหว่างภาคและภาคก่อนหน้าเพื่อเติมเต็มโปเกเดกซ์ เนื้อเรื่องอนิเมะภาคโจโตซากายึดตามภูมิภาคในเกม
โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ยังคงประสบความสำเร็จมหาศาลต่อจากพ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู เนื่องจากโปเกมอนเริ่มทำรายได้ได้ถึงหลักพันล้าน เกมทำรายได้เกือบเท่ากับยอดขายของ โปเกมอนเกมชุดแรก และยังคงขายได้รวมหลายล้านหน่วยทั่วโลก ในปี ค.ศ. 2010 ยอดขาย โกลด์ และ ซิลเวอร์ ที่มีการบันทึกไว้คือ 23 ล้านหน่วย
เกมโปเกมอนภาคนี้เป็นเกมโปเกมอนเกมเดียวที่ออกจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้ก่อนก่อตั้งสำนักงานย่อยของนินเท็นโด และบริษัท โปเกมอนโคเรีย จำกัด เมื่อ ค.ศ. 2006 และจำหน่ายเกมโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ลที่นั่น โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ออกจำหน่ายในประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2002 สำหรับเครื่องเล่นเกมบอยคัลเลอร์เช่นเดียวกับ โปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน
ระบบเกม
[แก้]พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ตัวโปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ มีมุมมองการเล่นจากด้านบนหรือเรียกว่าบุคคลที่สาม โดยสามารถใช้ผู้เล่นเดินทางไปได้ทั่วโลกของเกม และสามารถสนทนากับวัตถุและตัวละครอื่นได้ ในการสำรวจโลกของเกมก็จะมีภูมิประเทศที่แตกต่างกันออกไป เช่นทุ่งหญ้า, ป่า, ถ้ำและทะเล ซึ่งก็จะมีโปเกมอนที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันอยู่ เมื่อเราเดินสุ่มแล้วเจอกับโปเกมอนเหล่านี้หน้าจอจะสลับไปที่"ฉากต่อสู้"ซึ่งจำเป็นต้องใช้โปเกมอนของเราเข้าสู้[3]
ตัวเกมมีเป้าหมายหลักสองประการคือ: ต้องผ่านเนื้อเรื่องหลักของเกม และต้องเอาชนะสี่จตุรเทพและแชมป์เปียน เพื่อที่เราจะได้เป็นเป็นแชมป์คนใหม่[4] และเอาชนะเรด ซึ่งเราจะต้องเติมเต็มโปเกเด็กซ์ด้วยการจับและพัฒนา ให้ได้โปเกมอนครบ251ชนิด ส่วนสำคัญจะพัฒนาและเพิ่มโปเกมอนของผู้เล่นคือ โดยผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่นซึ่งสามารถพบได้ในป่า หรือโปเกมอนที่มีเจ้าของฝึกอบรมอื่นๆ ก็จะมีระบบค่าประสบการณ์(EXP) และเลเวล ลักษณะพบได้ทั่วไปในวิดีโอเกมโปเกมอนทุกภาค ซึ่งก็จะทำให้โปเกมอนเกิดการพัฒนาร่างจากการต่อสู้และได้เรียนรู้ท่าต่างๆ[5]
ระบบใหม่
[แก้]โปเกมอน ภาคโกลด์และซิลเวอร์ยังคงรักษากลไกพื้นฐานอย่างการควบคุม,การต่อสู้และการพัฒนาร่าง คุณสมบัติใหม่ที่ถูกเพิ่มขึ้นในเกมนี้คือระบบเวลา ซึ่งใช้ระบบเวลาจริงๆที่เป็นวัน,สัปดาห์ รวมทั้งยังมีการบันทึกเหตุการณ์บางอย่าง เช่นการปรากฏตัวของโปเกมอนใหม่ๆ ซึ่งก็ส่งผลต่อเกมนี้[3] และมีการเพิ่มไอเทมใหม่เพื่อที่ผู้เล่นจะได้นำมาใช้ประโยชน์: มีไอเทมฟื้นฟูสำหรับโปเกมอนดังนี้[6] มีไอเทมใหม่ซึ่งก็คือเบอร์รี่ ซึ่งสามารถฟื้นฟูพลังชีวิตหรือรักษาผลแทรกซ้อนอื่นๆให้กับโปเกมอนในระหว่างการต่อสู้ ได้มีการเพิ่มเติมชนิดของโปเกบอล และก็ทำให้จับโปเกมอนได้ง่ายขึ้นได้ง่ายในบางสถานการณ์[7] ซึ่งไดมีไอเทมใหม่ที่มีชื่อว่า โปเกเกียร์ (อังกฤษ: Pokégear; ญี่ปุ่น: ポケギア; โรมาจิ: Pokegia) ซึ่งมีหน้าที่เป็นนาฬิกา, แผนที่, วิทยุ, โทรศัพท์, ช่วยให้ผู้เล่นสามารถคุยกับตัวละครอื่นๆได้ รวมทั้งยังมีหมายเลขโทรศัพท์ของตนเอง และผู้อื่น และตัวละครอื่นก็สมารถโทรบอกเรื่องที่เกี่ยวกับโปเกมอนหายากที่สามารถจับได้ในบางพื้นที่[8]
เกมนี้ได้แนะนำไรโค, เอ็นเทย์ และ ซุยคุน โปเกมอนในตำนานชนิดใหม่ ที่จะเดินไปรอบๆ เขตโจโตและจะเปลี่ยนสถานที่บ่อย[9] สามารถติดตามได้ด้วยสมุดภาพโปเกมอน ซึ่งต้องเคยเจอและมักจะพยายามหนี แต่พลังชีวิตก็ยังถือว่าน้อย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะพบกับโปเกมอนที่มีสีแตกต่างจากโปเกมอนตามปกติ แต่ก็ปรากฏน้อยมาก[10] นอกนี้ได้มีการเพื่มโปเกมอนประเภทใหม่ 2 ชนิดคือ ประเภทเหล็กและประเภทปีศาจ[11] ประเภทเหล็กจะเป็นโปเกมอนที่มีการป้องกันสูงมาก และไม่ก่อการเกิดปฏิกิริยาอื่นๆ ในขณะที่ประเภทปีศาจเป็นโปเกมอนประเภทมีภูมิคุ้มกันต่อท่าพลังจิตและชนะทางต่อโปเกมอนประเภทพลังจิต รวมทั้งยังมีจุดอ่อนน้อย[5] ในเวอร์ชัน โกลด์ และ ซิลเวอร์ สามารถที่จะแลกเปลี่ยนโปเกมอนได้ แต่ไม่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนโปเกมอนที่อยู่ในภาคก่อนได้ วิธีแก้ปัญหานี้จึงต้องย้ายระบบลบที่รู้จัก จึงจะสามารถลบหรือย้ายโปเกมอนได้ ที่สำคัญอีกคือการเปลี่ยนแปลงสถานะพิเศษในการโจมตีท่าพิเศษและการป้องกันท่าพิเศษที่เพิ่มขึ้นสำหรับต่อสู้[5]
มีการแนะนำเพศของโปเกมอนสายพันธุ์เดียวกันเป็นครั้งแรกในเกม โปเกมอนที่นำไปเก็บไว้ในโปเกมอนเดย์แคร์ พวกมันอาจจะฟักไข่ออกมาเป็นโปเกมอนตัวใหม่[12] โปเกมอนตัวลูกจะสืบสายพันธุ์ทางฝั่งแม่ แต่ย้ายมาจากพ่อ อย่างไรก็ตาม โปเกมอนในตำนานบางชนิดไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์ได้[13]
โครงเรื่อง
[แก้]ฉากท้องเรื่อง
[แก้]โปเกมอน ภาคโกลด์และซิลเวอร์ตั้งอยู่ในภูมิภาคโจโตซึ่งอยู่ติดทางตะวันตกของเขตคันโตซึ่งตั้งอยู่ในภาคเรดและบลู สามปีหลังจากบทสรุปของเกมภาคก่อน การออกแบบโจโตได้แรงบันดาลใจมาจากภูมิภาคคันไซ, โทไกและเกาะชิโกกุตะวันออกที่ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น วัดจากภูมิภาคนี้มีความงดงามอย่างมาก จึงได้ถูกใส่ไว้ในเขตโจโต[ต้องการอ้างอิง]
เนื้อเรื่อง
[แก้]เช่นเดียวกับเกมภาคก่อนๆ ตัวละครของผู้เล่น(เฉพาะเด็กผู้ชายในภาคโกลด์และซิลเวอร์,สามารถเลือกเล่นตัวละครเด็กผู้หญิงได้ในภาคคริสตัล) และจะต้องเลือกโปเกมอนเริ่มต้น ต้องเลือกชิโคริตา,ฮิโนอาราชิ และวานิโนโกะซึ่งเป็นโปเกมอนเขตท้องถิ่นตัวใดตัวหนึ่ง จากศาสตราจารย์อุสึกิ หลังจากนั้นก็เริ่มต้นเดินทาง และต้องเอาชนะโรงยิมแปดยิมในเขตโจโต และเอาชนะสี่จตุรเทพเพื่อเป็นโปเกมอนมาสเตอร์[11] ฝ่ายคู่แข่งของเรา จะเป็นคู่แข่งลึกลับ ที่จะขโมยโปเกมอนจากศูนย์วิจัยของศาสตราจารย์อุสึกิ และจะเป็นผู้ท้าแข่งเรา[8] ผู้เล่นยังได้พบกับแก็งค์ร็อกเก็ตผู้ชั่วร้าย ได้รวมตัวกันขึ้นมาใหม่เพื่อค้นหาหัวหน้าแก็งก์ซาคากิ และจะได้ก่อตั้งแก็งก์ใหม่อีกรอบ[7] หลังจากผู้เล่นเอาชนะแก็งก์ร็อคเก็ตได้ทั้งหมด,สี่จตุรเทพและแชมป์ของโปเกมอนคันโตลีก ผู้เล่นจะสามารถเดินทางไปยังเขตคันโตจากเกมภาคก่อน และสมารถท้าประลองผู้นำยิมได้ มีการเปลี่ยนแปลงในเขต ซึ่งเกิดขึ้น3ปีหลังจากเหตุการณ์ในภาคเรด และ ภาคบลู หลังจากเอาชนะผู้นำยิมในเขตคันโต ผู้เล่นจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นไปยังภูเขาซิลเวอร์ได้ ในเขตนี้จะมีโปเกมอนที่แข็งแกร่งมากกว่าปกติ และลึกเข้าไปภายในถ้ำภูเขาซิลเวอร์ จะได้พบกับเรดตัวเอกของภาคเรดและภาคบลูที่ผู้เล่นสามารถท้าแข่งได้ ซึ่งเป็นคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในเกม[14]
การพัฒนา
[แก้]ข้อมูลของภาคโกลด์และซิลเวอร์ออกแสดงครั้งแรก ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ เอ็กซ์โปในญี่ปุ่นปีค.ศ.1997 ซึ่งเป็นงานจัดแสดงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของทั้งหมด และแตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้านี้อย่างโปเกมอน ภาคเยลโลว์ มีการตั้งชื่อภาคใหม่ให้ดูดีกว่า"โปเกมอน ภาคเรดและบลู" และทางทีมงานก็ได้แต่งเนื้อเรื่องในเกมขึ้นใหม่ ในทวีปใหม่ และโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ ภาคโกลด์และซิลเวอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับเล่นในเครื่องเกมบอยคัลเลอร์ ทำให้พวกเขาให้การสนับสนุนในการใส่สีลงในเกมอย่างเต็มรูปแบบ และรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆเพิ่มเติมในสไปรต์ ซึ่งรวมถึงสีของโปเกมอนแต่ละสายพันธุ์ ไอเทมใหม่ของเกมได้ใช้ระบบเกมแกดเจ็ต มีชื่อว่าโปเกเกียร์ ซึ่งได้เลียนแบบระบบจริงๆของนาฬิกาและสามารถใช้ได้ร่วมกันกับระบบของภาคก่อนๆได้[15]
ในระหว่างการสัมภาษณ์สึเนะคาสุ อิชิฮาระประธานบริษัทเครียเจอร์ จำกัดโดยเอบีซี นิวส์ เขาได้ให้ข้อมูลเชิงลึกในการกพัฒนาโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ๆเขาอธิบายว่า" ความคิดของมอนสเตอร์แต่ละตัวนี้ล้วนมาจากจินตนาการของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเกมฟรีก พวกเขานำความคิดนี้มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของพวกเขา ทั้งจากการอ่านมังงะ,ชื่อหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น,ประสบการณ์ที่ไม่ดอนพวกเขายังเป็นเด็ก,การจับแมลง และอื่นๆ ดังนั้น จากประสบการณ์เหล่านี้ในวัยเด็ก ความคิดเหล่านี้จึงได้สร้างสรรค์โปเกมอนชนิดต่างๆออกมา"[16] ในขณะเดียวกันโปเกมอน ภาคเรดและบลูจะมีมิว และมีโปเกมอนเซเลบีในภาคโกลด์และซิลเวอร์ แต่ก็จะได้มาจากการเข้าโปรโมตเกมในงาน เหตุการณ์แรกอย่างเป็นทางการในการได้เซเลบีมา ในงานนินเท็นโด สเปซเวิลด์ ปีค.ศ.2000 ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม100,000คนจะได้รับโปเกมอนตัวนี้ ในการที่จะได้มา ผู้เล่นต้องส่งโปสการ์ดใส่สลาก100,000ใบรับรองเซเลบี ช่วยให้สามารถเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับมัน[17]
ดนตรี
[แก้]จุนอิจิ มาสึดะแต่งเพลงของเขาด้วยอะมิกา คอมพิวเตอร์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเพลงนี้แก้ไขให้ใช้กับMIDI ซึ่งข้อมูลนี้ก็ถูกนำไปใช้กับเกมบอยคัลเลอร์[18]
พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน
[แก้]พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน | |
---|---|
ผู้พัฒนา | เกมฟรีก |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ | จุนอิจิ มาสึดะ |
อำนวยการผลิต | ซาโตรุ อิวาตะ ซาโตชิ ยามาโมโตะ ชิเงรุ มิยาโมโตะ สึเนคาซึ อิชิฮาระ |
ศิลปิน | เค็น ซุงิโมริ |
เขียนบท | จุนอิจิ มาสึดะ โคติ นิชิโนะ โทชิโนบุ มัตสึมิยะ เคนจิ มัตสึชิมะ |
แต่งเพลง | จุนอิจิ มาสึดะ โมริคาชุ อาโอกิ โก อิจิโนเซะ |
ชุด | โปเกมอน |
เครื่องเล่น | เกมบอยคัลเลอร์ |
วางจำหน่าย | |
แนว | วิดีโอเกมสวมบทบาท |
รูปแบบ | เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน |
พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คริสตัลเวอร์ชัน (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター クリスタルバージョン; โรมาจิ: Poketto Monsutā Kurisutaru Bājon) หรือ โปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน (อังกฤษ: Pokémon Crystal Version) เป็นเวอร์ชันที่ปรับปรุงจากภาคหลัก (สีเงิน และ สีทอง) และเป็นส่วนหนึ่งของรุ่นที่สองในโปเกมอนซีรีส์ ปกเกมโปเกมอนที่ปรากฏตัวคือ ซุยคุน ตัวเกมมีจุดแตกต่างกับ สีเงิน และ สีทอง ประกอบไปด้วยอัตราการปรากฏตัวของโปเกมอนที่แตกต่างกัน, ประเภทของโปเกมอนที่ปรากฏในเวอร์ชัน และข้อความในสมุดภาพโปเกมอน แต่ก็มีจุดเพิ่มเติมของเกมคือรายละเอียดภาพของเกมที่ปรับปรุงทั้งแก้จุดบกพร่องและเพิ่มแอนิเมชันให้โปเกมอนสไปรต์ , รูปโปเกมอนที่แตกต่างจากเกมก่อนหน้านี้, ภาพเปิดเกมที่แก้ไขใหม่ และเป็นครั้งแรกที่มีการนำตัวละครเอกเป็นผู้หญิงมาให้เล่น รวมทั้งสามารถรองรับการใช้ โมบายล์แดปเตอร์ GB ในเกมนี้อีกด้วย
จุดเพิ่มเติม
[แก้]- เป็นเกมซีรีส์แรกที่ได้มีตัวละครหลักหญิงเป็นครั้งแรก
- สามารถเชื่อมต่อไปยัง โมบายล์แดปเตอร์ GB และสื่อสารได้ผ่านโทรศัพท์มือถือเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
- โมบายล์แดปเตอร์ GB เป็นตัวช่วยในการใช้ในส่วนแบทเทิลทาวเวอร์ที่ใช้ในครั้งแรก
- เพิ่มส่วนไอคอนที่แสดงผลว่าจับโปเกมอนได้แล้วรวมถึงระบุเพศของโปเกมอนได้
- กราฟิกในส่วนของโปเกมอนถูกเพิ่มเติมให้มีความเคลื่อนไหว ทั้งเรียกจากโปเกมอนเทรนเนอร์, ปรากฏจากป่า รวมถึงแสดงสถานะที่ผิดปกติได้ชัดเจน
- ซีรีส์นี้เพิ่มดนตรีให้กับฉากสู้โปเกมอนในตำนานทั้ง 3 ทั้งไรโค, เอ็นเต้ และซุยคุน
- เพิ่มส่วน NPC ในส่วนการสอนท่าไม้ตาย
- ในส่วนเรื่องเล่าของภูมิภาคโจโตได้เล่าลึกยิ่งขึ้นโดยมีความเกี่ยวข้องความสัมพันธ์ระหว่างโปเกมอนในตำนาน ไรโค, เอ็นเต้, ซุยคุน และ โฮโอ
ระบบการเล่น
[แก้]ระบบการเล่นจะคล้ายกับ โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ แต่จะปรับปรุงเนื้อหาหรือรูปแบบการเล่นให้ดีขึ้นอย่างเช่น แก้จุดบกพร่องที่อยู่ในภาคโกลดและซิลเวอร์, เพิ่มแอนิเมชันให้โปเกมอนสไปรต์, เป็นต้น และเป็นเกมแรกที่ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครเพศหญิงที่สามารถเล่นได้โดยมีชื่อว่า คริส
การตอบรับ
[แก้]การตอบรับ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
การตอบรับ | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องต่อจากเกมรุ่นแรก โดยเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนโปเกมอนให้เป็นแฟรนไซส์มูลค่าหลายพ้นล้านดอลลาร์[25] ในวันเดือน เมษายน ปี ค.ศ. 2000 ประมาณ 6.5 ล้านตลับของเกมได้ถูกขายในประเทศญี่ปุ่น ซิลเวอร์ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นภาคที่ได้รับความนิยมมากกว่า โกลด์ กว่า 100,000 ตลับ[26] ในสัปดาห์แรกของการวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกาเกมบดบังยอดการขายของ โปเกมอน พิคาชู ยอดขายในสัปดาห์แรกของพิคาชูมีกว่า 600,000 ตลับ ยอดขายรวมของภาคโกลด์และซิลเวอร์มีมากกว่า 1.4 ล้านตลับทำให้เป็นเกมที่ขายเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมา[27][28]
ส่วนโปเกมอน คริสตัลเวอร์ชัน ได้รับการตอบรับโดยร่วมในระดับดี ถึงแม้ว่าบทวิจารณ์ในแง่บวกจะน้อยกว่า โกลด์ และ ซิลเวอร์ โดยเกมแรงกิงส์ให้คะแนน 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่าที่ให้ โปเกมอน โกลด์ และ ซิลเวอร์ ถึง 10 เปอร์เซ็นต์[19] และเป็นเกมที่ขายดีเป็นอันดับสองของเครื่องเกมบอยคัลเลอร์ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมียอดขายถึง 1,871,307 ชุด[29]
เวอร์ชวลคอนโซล
[แก้]เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 2017 นินเท็นโดประกาศในการนำเสนอนินเท็นโดไดเรกต์ว่าเกมโปเกมอน โกลด์, ซิลเวอร์ และ คริสตัลเวอร์ชัน ได้วางจำหน่ายในบริการเวอร์ชวลคอนโซล (Virtual Console) ของนินเท็นโด 3ดีเอส โดยได้ประกาศดาวน์โหลดล่วงหน้าในวันที่ 14 กันยายน ปีเดียวกัน และได้วางขายเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2017 สำหรับเวอร์ชัน สีเงิน และ สีทอง
ในส่วนตัวหน้าจอของเกมเป็นรูปแบบเกมบอยคัลเลอร์ทั้งหมด และในส่วนตัวเกมสามารถแลกเปลี่ยนหรือต่อสู้จากเวอร์ชวลคอนโซล ได้ทั้งเวอร์ชัน สีเงิน และ สีทอง และ เวอร์ชวลคอนโซล โปเกมอน สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, พิคาชู ได้
เกมรุ่นนี้สามารถย้ายโปเกมอนไปยังเกมหลักตั้งแต่ โปเกมอน ซัน และ มูน, โปเกมอน อัลตร้าซัน และ อัลตร้ามูน ผ่านทางโปรแกรมประยุกต์ โปเกมอนแบงค์ได้ด้วย
ในส่วนคริสตัลเวอร์ชันได้ออกวางขายเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2018
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ เป็นที่รู้จักในชื่อภาษาญี่ปุ่นคือ ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金・銀; โรมาจิ: Poketto Monsutā Kin & Gin; ทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คิน และ งิน
- ↑ ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金; โรมาจิ: Poketto Monsutā Kin; ทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ คิน
- ↑ ญี่ปุ่น: ポケットモンスター 金・銀; โรมาจิ: Poketto Monsutā Gin; ทับศัพท์: พ็อกเก็ตมอนสเตอร์ งิน
- ↑ ญี่ปุ่น: ポケットモンスター クリスタルバージョン; โรมาจิ: Poketto Monsutā Kurisutaru Bājon
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Game Boy Color Games on Official Nintendo Co., Ltd. Website". Nintendo Co., Ltd. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Pokemon Gold for Game Boy". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-25. สืบค้นเมื่อ 2009-08-09.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Harris, Craig (2000-10-16). "Pokemon Gold Version Review". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
- ↑ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 10)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide basics". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
- ↑ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide items". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
- ↑ 7.0 7.1 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 3)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
- ↑ 8.0 8.1 "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 1)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
- ↑ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 5)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
- ↑ Gudmundson, Carolyn. "Shiny Pokemon Guide". GamesRadar. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Povo, Frank (2000-02-03). "Pokemon Gold for Game Boy Color Review (page 1)". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
- ↑ Povo, Frank (2000-02-03). "Pokemon Gold for Game Boy Color Review (page 2)". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-30.
- ↑ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide breeding". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
- ↑ "Pokemon Gold and Silver Strategy Guide (page 14)". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-06-28.
- ↑ IGN Staff (1999-08-27). "Eye on Pokemon Gold and Silver". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
- ↑ IGN Staff (2000-02-09). "ABC News Pokémon Chat Transcript". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-07-26.
- ↑ IGN Staff (2000-06-16). "Serebii, I Choose You!". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
- ↑ http://www.gamefreak.co.jp/blog/dir_english/?p=185
- ↑ 19.0 19.1 19.2 "Pokemon Gold Reviews". Game Rankings. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ ゲームボーイ - ポケットモンスター 金・銀. Weekly Famitsu. No.915 Pt.2. Pg.109. 30 June 2006.
- ↑ "Pokemon Crystal Version". GameRankings. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
- ↑ Povo, Frank (2001-07-30). "Pokemon Crystal for Game Boy Color Review". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05 (คริสตัล).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อIGNCrystal
- ↑ Joshi, Arjun (2018-01-26). "Pokémon Crystal Version Review". Nintendo Life. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
- ↑ "Pokemon Franchise Approaches 150 Million Games Sold". Nintendo. PR Newswire. 4 October 2005.
- ↑ IGN Staff (2000-04-03). "The Poke-Phenomenon Continues". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-02.
- ↑ IGN Staff (2000-10-23). "Pokémon Goes Platinum". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2009-08-08.
- ↑ "Latest Pokemon Games Surpass One Million Sales in First Week; Pokemon Gold And Silver Sales For Game Boy Color Break U.S. Video Game Sales Record". bNET. 2000-10-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-12-27. สืบค้นเมื่อ 2008-07-05.
- ↑ "【GBC20周年企画(2)】いちばん売れたゲームボーイカラー専用ソフトは『遊☆戯☆王DM4』! では2位は? GBC専用ソフト販売ランキングTOP10!". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Enterbrain. 2018-10-21. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2018-10-21.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โปเกมอน โกลด์และซิลเวอร์ – นินเท็นโดญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (ญี่ปุ่น)
- โปเกมอน คริสตัล – นินเท็นโดญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ (อังกฤษ)