โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม
ด้านหลังการ์ดโปเกมอน.jpg
ด้านหลังการ์ดโปเกมอนที่ใช้กันในทั่วโลก ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น
ผู้จัดทำญี่ปุ่น:
ครีเซอร์ส
มีเดียแฟคตอรี
(ตุลาคม 2539 – กันยายน 2556)
บริษัท โปเกมอน จำกัด
(ตุลาคม 2556 – ปัจจุบัน)
สหรัฐอเมริกา:
ครีเซอร์ส
วิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ (ฮาสโบร)
(ธันวาคม 2541 – กรกฎาคม 2546)
บริษัท โปเกมอน สากล จำกัด
(กรกฎาคม 2546 – ปัจจุบัน)
จำนวนผู้เล่น2
ระยะเวลาติดตั้ง18–40 วินาที
ระยะเวลาเล่น2–120 นาที
ทักษะที่จำเป็นเกมไพ่
คณิตศาสตร์
ความสามารถในการอ่านขั้นพื้นฐาน
การ์ดคอลเลกชัน โปเกมอน และ ยูกิโอ

โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม (อังกฤษ: Pokémon Trading Card Game) โดยทั่วไปเรียกชื่อย่อว่า PTCG หรือ โปเกมอน TCG ส่วนในประเทศญี่ปุ่นโดยทั่วไปเรียกชื่อว่า โปเกมอน การ์ดเกม (ญี่ปุ่น: ポケモンカードゲームโรมาจิPokemon Kādo Gēmu, "Pokémon Card Game") เป็นเกมการ์ดสะสม (collectible card game) ของแฟรนไชส์โปเกมอน วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) โดยบริษัท ครีเซอร์ส ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์ครั้งแรกโดยบริษัท วิซาร์ดออฟเดอะโคสต์ อย่างไนก็ดีบริษัท เดอะโปเกมอนคอมพานี อินเตอร์เนชั่นแนล ก็เข้ามาทำหน้าที่ตีพิมพ์แล้วเผยแพร่การ์ดเกมโปเกมอนเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)[1] ส่วนในการ์ดเกมออไลน์ชื่อว่า โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ออนไลน์ (อังกฤษ: Pokémon Trading Card Game Online)

ประวัติ[แก้]

โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม เป็นการ์ดเกมที่จำลองการต่อสู้ของโปเกมอน อย่างไรก็ตามไม่ได้อิงจากเกมโดยตรง จึงมีรูปแบบการเล่นที่แตกต่างกัน

ข้อมูล[แก้]

การเล่นเบื้องต้น[แก้]

วิธีการเล่น[แก้]


ประเภทของโปเกมอน[แก้]

สี ประเภท TCG ประเภทจากเกม
สีเขียว พืช (草) พืช, แมลง, พิษ (1996 - 2019)
สีแดง เพลิง (炎) ไฟ
น้ำเงิน น้ำ (水) น้ำ, น้ำแข็ง
สีเหลือง สายฟ้า (雷) ไฟฟ้า
สีม่วง สุดยอด (超) พลังจิต, ผี, พิษ (1996 - 2019), แฟรี่ (2019 - ปัจจุบัน)
สีน้ำตาล ต่อสู้ (闘) ต่อสู้, หิน, ดิน
สีดำ มืด (悪) ความมืด, พิษ (2019 - ปัจจุบัน)
สีเงิน เหล็ก (鋼) เหล็ก
สีทอง มังกร มังกร (2012 - ปัจจุบัน)
สีชมพูบานเย็น แฟรี่ แฟรี่ (2014 - 2019)
สีขาว ไร้สี นอร์มอล, มังกร (1996 - 2012), บิน
ประเภทหญ้า (草タイプ)
ประเภทเพลิง (炎タイプ)
ประเภทน้ำ (水タイプ)
ประเภทสายฟ้า (雷タイプ)
ประเภทสุดยอด (超タイプ)
ประเภทต่อสู้ (闘タイプ)
ประเภทไร้สี (無色タイプ)
ประเภทความมืด (悪タイプ)
ประเภทเหล็ก (鋼タイプ)
ประเภทแฟรี่ (フェアリータイプ)
ประเภทมังกร (ドラゴンタイプ)

ประเภทของการ์ด[แก้]

การ์ดโปเกมอน[แก้]

ประเภทของการ์ดโปเกมอน มีดังนี้

โปเกมอนทั่วไป[แก้]

โปเกมอนพื้นฐาน (たねポケモン, Basic Pokémon)
โปเกมอนร่างพัฒนา (進化ポケモン, Evolved Pokémon)

โปเกมอนรูปแบบพิเศษ[แก้]

โปเกมอน GX (ポケモンGX)
TAG TEAM
อัลตร้าบีสต์ (ウルトラビースト)
ปรืซึมสตาร์โปเกมอน (プリズムスターのポケモン)
โปเกมอน V (ポケモンV)
โปเกมอน V MAX (ポケモンVMAX)
โปเกมอน V Star (ポケモンVStar)
โปเกมอน ex (ポケモンex)

โปเกมอนรูปแบบพิเศษในอดีต[แก้]

โปเกมอนชั่วร้าย (わるいポケモン, Dark Pokémon)
ปรากฏครั้งแรกในชุดที่ 4 แก๊งร็อกเก็ต ของ โปเกมอนการ์ดเกมรุ่นแรก มีการ์ดทุกระดับตั้งแต่ พื้นฐาน, ร่างขั้นที่ 1, ร่างขั้นที่ 2 ส่วนชื่อการ์ดโปเกมอนจะถูกกำกับว่า ...ชั่วร้าย (わるい○○) ในเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรกและรุ่น neo ค่า HP มีจำนวนที่ต่ำกว่า แต่ท่าโจมตีมีค่าที่สูงกว่า ในกรณีที่ใช้วิวัฒนาการโปเกมอนชั่วร้ายจาก ร่างขั้นที่ 1 ไปสู่ ร่างขั้นที่ 2 ต้องวิวัฒนาการการ์ดโปเกมอนชั่วร้ายเหมือนกัน
โปเกมอนที่มีเจ้าของ (名前の前に「〜の」がつくポケモン, Owner's Pokémon)
ปรากฏครั้งแรกในชุดครึ่งหลัง โปเกมอนยิม ของ โปเกมอนการ์ดเกมรุ่นแรก เป็นการ์ดโปเกมอนที่เป็นเจ้าของ โดยชื่อการ์ดจะถูกกำกับว่า (ชื่อโปเกมอน)ของ(เจ้าของโปเกมอนที่ครอบครอง) ยกตัวอย่างเช่น อิชิซึบุเตะของทาเคชิ (タケシのイシツブテ), กอนเบของลารูส (ラルースのゴンベ)
โปเกมอนเด็ก (ベイビィポケモン, Baby Pokémon)
ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 1
โปเกมอนใจดี (やさしいポケモン, Light Pokémon)
ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 4
โปเกมอนสีแตกต่าง (ひかるポケモン, Shining Pokémon)
ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ชุดที่ 4
อันโนน (アンノーン)
ปรากฏครั้งแรกในรุ่น neo ลักษณะเด่นของการ์ดจะเป็นตัวอักษรทั้ง 26 แบบ ไม่ซ้ำกัน และ "!" และ "?" เช่น อันโนน [A], อันโนน [B] โดย อันโนนสามารถจำกัดใส่สำรับได้ 4 ใบ ต่อตัวอักษร โดยมีกฏอันโนนเข้ามา นอกจากนี้ หากคำอธิบายของการ์ดระบุว่า อันโนน ก็ควรจะรวมกับ อันโนน ทั้งหมดนอกเหนือจากตัวอักษร อันโนน
ในรุ่น DP ตัวอักษรและสัญลักษณ์ ไม่มีข้อจำกัดพิเศษเกี่ยวกับจำนวนจำกัดใส่สำรับการ์ดแบบรุ่น neo
โปเกมอน ex (ポケモンex, โปเกมอนเอ็กตร้า)
โปเกมอน 2 ประเภท (2つのタイプを持つポケモン, Dual-type Pokémon)
โปเกมอนสตาร์ (ポケモン☆, Pokémon ☆)
โฮรอนโปเกมอน (ホロンのポケモン, Holon Pokémon)
เดลต้าไทป์ (δ-デルタ種, δ Delta Species)
โปเกมอน เลเวล X (ポケモンLV.X)
โปเกมอนเปลี่ยนฟอร์ม (フォルム違いのポケモン)
SP โปเกมอน (SPポケモン, สเปเชียลโปเกมอน)
อาร์เซอุส (アルセウス)
โปเกมอนในตำนาน (伝説ポケモン, Pokémon LEGEND)
เกรทโปเกมอน (グレートポケモン, Pokémon Prime)
โปเกมอนฟื้นฟู (復元ポケモン, Restored Pokémon)
โปเกมอน EX (ポケモンEX, โปเกมอนอีเอ็กซ์)
โปเกมอน วิวัฒนาการร่าง M (M進化のポケモン, โปเกมอนวิวัฒนาการร่างเมก้า)
โปเกมอนของแก๊งพลาสม่า (プラズマ団のポケモン)
โปเกมอนวิวัฒนาการ BREAK (BREAK進化ポケモン, Pokémon BREAK)

การ์ดพลังงาน[แก้]

พลังงานพื้นฐาน (基本エネルギー)
ประเภทของการ์ดพลังงาน มีอยู่ 9 ประเภทคือ พืช, ไฟ, น้ำ, สายฟ้า, สุดยอด, ต่อสู้, ความมืด, เหล็ก และ แฟรี่
การ์ดพลังงานพิเศษ (特殊エネルギーカード)
ดับเบิลพลังงานไร้สี (ダブル無色エネルギー) / พลังงานคู่ (ツインエネルギー)
พลังงานออโรร่า (オーロラエネルギー) / พลังงานสีรุ้ง (レインボーエネルギー)
พลังงานยูนิต (ユニットエネルギー)

การ์ดเทรนเนอร์[แก้]

การ์ดที่ช่วยเหลือในการต่อสู้ มี 3 ประเภทประกอบไปด้วย ไอเท็ม, ซัพพอร์ต และ สเตเดียม

ไอเท็ม[แก้]

การ์ดไอเท็มสามารถใช้ได้ทุกครั้งต่อเทิร์นที่ใช้

ซัพพอร์ต[แก้]

สเตเดียม[แก้]

โปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม ประเทศไทย[แก้]

ก่อนปี พ.ศ. 2562 ไม่มีผู้แทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการสำหรับโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกมในประเทศไทย ร้านการ์ดบางแห่งนำเข้าการ์ดจากต่างประเทศ โดยปกติจะเป็นการ์ดภาษาอังกฤษนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันการ์ดเกมโปเกมอนในประเทศไทย ได้มีลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว ในเดือน มกราคม พ.ศ. 2562 ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท โปเกมอน จำกัด นำเข้าโดยบริษัท ดี ซูพรีม จำกัด ผู้จัดจำหน่ายโดยบริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด วางจำหน่ายครั้งแรกที่งานเปิดตัวการ์ดเกมโปเกมอน PokemonTCG 1st Impact Challenge ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562[2] ส่วนวางจำหน่ายร้านการ์ดทั่วประเทศ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[3] และร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นใกล้บ้าน ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kaufeld, John; Smith, Jeremy (2006). Trading Card Games For Dummies. For Dummies. John Wiley & Sons. ISBN 0470044071. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  2. "งานเปิดตัวโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม PokémonTCG 1st Impact Challenge".
  3. "1 ก.พ. 62 วางจำหน่ายที่ร้านการ์ดทั่วประเทศ".
  4. "7 ก.พ. 62 วางจำหน่ายที่ 7-Eleven สาขาใกล้บ้าน".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]