ยาระบายอย่างอ่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยาระบายอย่างอ่อน (อังกฤษ: laxative) หรือ ยาระบาย เป็นยาเพื่อลดความแน่นตัวของอุจจาระ[1] และช่วยให้ถ่าย โดยสามารถใช้รักษาหรือป้องกันอาการท้องผูก ยาระบายต่าง ๆ ทำงานต่างกันและมีผลข้างเคียงต่างกัน ยาระบายแบบกระตุ้น (stimulant) แบบหล่อลื่น (lubricant) และแบบน้ำเกลืออาจใช้ชำระลำไส้ใหญ่ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจไส้ตรงและลำไส้ใหญ่ โดยอาจใช้ร่วมกับการสวนทวารในบางกรณี การทานยาระบายเป็นจำนวนมากอาจทำให้ท้องร่วง ยาบางอย่างอาจมีสารออกฤทธิ์มากกว่าตัวเดียว อาจใช้ทานหรือใช้เหน็บ

ประเภท[แก้]

เพิ่มปริมาณอุจจาระ (Bulk-forming agents)[แก้]

ยาระบายชนิดสร้างเนื้ออุจจาระมีองค์ประกอบที่เพิ่มเนื้อและน้ำในอุจจาระ เพื่อให้สามารถผ่านลำไส้ไปได้ง่ายขึ้น องค์ประกอบรวมทั้งใยอาหารและสารดูดน้ำ (hydrophilic agent)[2]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 12–72 ชม.
  • ตัวอย่าง: ใยอาหาร, ซิลเลียม (psyllium) เช่นยี่ห้อ Metamucil, methylcellulose เช่นยี่ห้อ Citrucel, polycarbophil เช่นยี่ห้อ FiberCon[3]

ยาเพิ่มเนื้อจะดูดน้ำ ดังนั้นจึงควรทานพร้อมกับน้ำมาก ๆ[3] เป็นยาเบาที่สุดในบรรดายาระบาย[1] และสามารถใช้ป้องกันรักษาการขับถ่ายในระยะยาว

ใยอาหาร[แก้]

อาหารที่ช่วยระบายก็คือที่มีใยอาหารสูง ทั้งแบบละลายน้ำไม่ได้และละลายได้ เช่น[4]

ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม (emollient agents, stool softeners)[แก้]

ยาระบายแบบทำอุจจาระให้นุ่มและชุ่มชื้น เป็นสารลดแรงตึงผิวแบบแอนไออน (anionic surfactant) ซึ่งช่วยให้น้ำและไขมันรวมเข้าในอุจจาระมากขึ้น แล้วทำให้ผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น

คุณสมบัติ

ยาระบายแบบทำให้นุ่มและชุ่มชื้นควรทานพร้อมกับน้ำมาก ๆ เป็นยาที่ช่วยป้องกันท้องผูกมากกว่าเป็นยารักษาท้องผูกในระยะยาว[3]

หล่อลื่น (Lubricant agents)[แก้]

ยาระบายแบบหล่อลื่นช่วยเคลือบอุจจาระด้วยลิพิดลื่น ๆ และหน่วงการดูดซึมน้ำจากอุจจาระของลำไส้ใหญ่ จึงทำให้มันผ่านไปได้ง่ายกว่า อนึ่ง มันยังช่วยเพิ่มน้ำหนักและลดระยะเวลาที่ดำเนินผ่านลำไส้[3]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 6–8 ชม.
  • ตัวอย่าง: น้ำมันแร่ (mineral oil)[3]

น้ำมันแร่เป็นสารหล่อลื่นอย่างเดียวที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่ก็อาจลดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน (เช่น เอ ดี อี และเค) และแร่ธาตุบางอย่างเข้าร่างกาย[3] และอาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารเหล่านี้ได้

Hyperosmotic agents[แก้]

ยาระบายแบบ hyperosmotic หมายถึงสารที่ทำให้ลำไส้เก็บน้ำไว้ภายในมากกว่าแล้วสร้างภาวะออสโมซิสที่ช่วยกระตุ้นให้ถ่าย[3]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 12–72 ชม. (ทาน) 0.25–1 ชม. (เหน็บทางทวารหนัก)
  • ตัวอย่าง: ยาเหน็บแบบ glycerin ยี่ห้อ Hallens, ซอร์บิทอล, แล็กทูโลส, และ macrogol/polyethylene glycol (PEG) ยี่ห้อ Colyte, MiraLax[3]

แล็กทูโลสออกฤทธิ์โดยกระบวนการออสโมซิส ซึ่งเก็บน้ำไว้ในลำไส้ใหญ่ เพิ่มความเป็นกรดโดยผ่านกระบวนการหมักกลายเป็นกรดแล็กติก กรดฟอร์มิก และกรดน้ำส้ม แล้วเพิ่มการบีบตัว (peristalsis) ของลำไส้ใหญ่ ยาเหน็บคือ glycerin ออกฤทธิ์แบบ hyperosmotic คือเพิ่มปริมาณน้ำแล้วเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ โดยยา sodium stearate ที่ผสมอยู่ด้วยกันก็จะระคายลำไส้ใหญ่ด้วย

สารละลายที่ประกอบด้วย polyethylene glycol และอิเล็กโทรไลต์ต่าง ๆ (รวมทั้งโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต โพแทสเซียมคลอไรด์ และบางครั้ง โซเดียมซัลเฟต) สามารถให้ทางปากหรือหลอดอาหาร (ที่สอดลงทางจมูกไปถึงกระเพาะ) เพื่อใช้ล้างทางเดินอาหารทั้งหมด เป็นวิธีการที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมผ่าตัดลำไส้ หรือเพื่อเตรียมส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) และเพื่อรักษาการได้รับพิษบางชนิด ตราสินค้าของสารละลายเหล่านี้รวมถึง GoLytely, GlycoLax, CoLyte, Miralax, Movicol, NuLytely, Suprep, และ Fortrans สารละลายของซอร์บิทอล (ยี่ห้อ SoftLax) ก็มีผลเช่นเดียวกัน

ยาระบายแบบน้ำเกลือ[แก้]

ยาระบายแบบน้ำเกลือเป็นสารออสโมซิสที่ดูดซึมไม่ได้แต่สามารถดูดและเก็บน้ำให้อยู่ในช่องลำไส้ ซึ่งเพิ่มแรงดันในช่องและกระตุ้นให้ถ่าย สารที่ประกอบด้วยแมกนีเซียมยังเป็นเหตุให้หลั่งฮอร์โมนเพปไทด์ คือ cholecystokinin ซึ่งเพิ่มการบีบตัวของลำไส้และการหลั่งน้ำ[3] แต่ยาระบายชนิดนี้อาจเปลี่ยนความสมดุลเกี่ยวกับน้ำและอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายของผู้ใช้

คุณสมบัติ

ยาชนิดนี้ควรทานกับน้ำมาก ๆ

ยาระบายแบบกระตุ้น (stimulant laxative)[แก้]

ยาระบายแบบกระตุ้นเป็นสารที่ออกฤทธิ์ที่เยื่อเมือกหรือข่ายประสาท (nerve plexus) ของลำไส้ เปลี่ยนแปลงการหลั่งน้ำและอิเล็กโทรไลต์[9] และยังกระตุ้นการบีบตัว (peristaltic) ของลำไส้ แต่อาจเป็นอันตรายภายใต้สถานการณ์บางอย่าง เช่นใช้เป็นระยะยาวซึ่งทำให้ปล้องลำไส้ (haustra) เปลี่ยนแปลงไปโดยคาดว่า เกิดความเสียหายต่อเซลล์ประสาทหรือกล้ามเนื้อ[10]

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 6–10 ชม.
  • ตัวอย่าง: senna, bisacodyl[3]

นี่เป็นยาระบายที่มีฤทธิ์มากที่สุดและควรใช้อย่างระมัดระวัง การใช้ยาระบายแบบกระตุ้นนาน ๆ อาจทำให้ติดยาเพราะทำปล้องลำไส้ใหญ่ (haustral fold) ให้เสียหาย ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนอุจจาระไปโดยไม่ใช้ยา งานศึกษาหนึ่งในคนไข้ที่ท้องผูกเรื้อรังพบว่า ผู้ใช้ยาระบายแบบกระตุ้น 28% จะเสียปล้องลำไส้ไปในระยะเวลา 1 ปี ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่เสีย[11]

อื่น ๆ[แก้]

น้ำมันละหุ่งเป็น glyceride ที่เอนไซม์จากตับอ่อนคือ pancreatic lipase จะสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) ให้เป็นกรด ricinoleic ซึ่งมีฤทธิ์ระบายโดยยังไม่ทราบกลไก

คุณสมบัติ

  • ตำแหน่งออกฤทธิ์: ลำไส้ใหญ่
  • เวลาเริ่มออกฤทธิ์: 2–6 ชม.
  • ตัวอย่าง: น้ำมันละหุ่ง[3]

การใช้น้ำมันละหุ่งในระยะยาวอาจทำให้เสียน้ำ อิเล็กโทรไลต์ และสารอาหาร[3]

ตัวทำการต่อหน่วยรับเซโรโทนิน (serotonin agonist)[แก้]

มีสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้โดยก่อสภาพกัมมันต์ของหน่วยรับเซโรโทนิน (5-HT4 receptor) ของระบบประสาทลำไส้ (enteric nervous system) ภายในทางเดินอาหาร แต่บางชนิดก็ได้เลิกใช้หรือจำกัดการใช้ เพราะโอกาสทำอันตรายต่อหัวใจหลอดเลือดโดยเป็นผลข้างเคียง tegaserod (ชื่อการค้า Zelnorm) ได้เลิกวางขายในตลาดทั่วไปในสหรัฐและแคนาดาในปี 2007 เนื่องจากมีรายงานว่าเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายและเส้นเลือดอุดตันในสมอง แต่ก็ยังมีให้แพทย์ใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือจำเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาล[12]

prucalopride (ยี่ห้อ Resolor) เป็นยาที่ปัจจุบันอนุมัติให้ใช้ในสหภาพยุโรปปลายปี ค.ศ. 2009[13] และในแคนาดา (ยี่ห้อ Resotran) ปลายปี ค.ศ. 2011[14] แต่ก็ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้ในสหรัฐอเมริกา โดยยังอยู่ใต้การพัฒนาของบริษัท Shire plc[15]

สารก่อกัมมันต์ช่องคลอไรด์ (chloride channel activators)[แก้]

lubiprostone เป็นยาที่ใช้รักษาท้องผูกเรื้อรังซึ่งไม่ทราบสาเหตุ (CIC) และกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) โดยมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้หลั่งน้ำที่สมบูรณ์ด้วยคลอไรด์ซึ่งทำอุจจาระให้นิ่ม เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ และโปรโหมตการขับถ่ายอุจจาระแบบเกิดเอง (SBM)

การเปรียบเทียบยาต่าง ๆ[แก้]

ยาระบายสามัญ[16][17]
ยา/สูตร กลุ่ม ตำแหน่งออกฤทธิ์ เวลาเริ่มออกฤทธิ์
สมุนไพร Rhamnus purshiana (cascara) (ตัวยา casanthranol) Anthraquinone ลำไส้ใหญ่ 6–8 ชม.
สมุนไพรสกุล Rhamnus (Buckthorn) Anthraquinone ลำไส้ใหญ่ 6–8 ชม.
สมุนไพรสกุลขี้เหล็ก Senna (ตัวยา senna glycoside) Anthraquinone ลำไส้ใหญ่ 6–8 ชม.
สมุนไพรว่านหางจระเข้ (ตัวยา aloin) Anthraquinone ลำไส้เล็ก 8–10 ชม.
phenolphthalein Triphenylmethane ลำไส้เล็ก 8 ชม.
bisacodyl (ยาทาน) Triphenylmethane ลำไส้เล็ก 6–12 ชม.
bisacodyl (ยาเหน็บ) Triphenylmethane ลำไส้เล็ก 60 นาที
น้ำมันละหุ่ง กรด ricinoleic ลำไส้เล็ก 2–6 ชม.

ประสิทธิผล[แก้]

สำหรับผู้ใหญ่ งานทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมหนึ่งพบว่า polyethylene glycol (PEG) ยี่ห้อ MiraLax หรือ GlycoLax 17 กรัมวันละครั้งมีผลดีกว่า tegaserod 6 มก. 2 ครั้งต่อวัน[18] อีกงานหนึ่งพบว่า PEG สองถุง (26 กรัม) มีผลดีกว่าแล็กทูโลสสองถุง (20 กรัม)[19] การใช้ PEG วันละ 17 กรัมพบว่ามีประสิทธิผลและปลอดภัยในการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเป็นเวลา 6 เดือน[20] อีกงานหนึ่งพบว่า ซอร์บิทอลไม่มีผลต่างกับแล็กทูโลส[21]

สำหรับเด็ก PEG พบว่ามีประสิทธิผลดีกว่าแล็กทูโลส[22]

ปัญหาการใช้[แก้]

การใช้ในทางที่ผิด[แก้]

การใช้ยาระบายในทางที่ผิดมีผลลบต่าง ๆ ผลแบบเบารวมทั้งภาวะขาดน้ำ ความดันต่ำ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะในบางอิริยาบถ (postural dizziness) และหมดสติชั่วคราว[23] ผลแบบหนักที่อาจทำให้ถึงเสียชีวิตรวมทั้งการเสียดุลของความเป็นกรดด่างและของอิเล็กโทรไลต์[23] ยกตัวอย่างเช่น มีการสัมพันธ์ภาวะโพแทสเซียมต่ำในเลือดอย่างรุนแรงกับ distal renal tubular acidosis (ภาวะกระเดียดกรดเหตุหลอดไตฝอยส่วนปลาย) ที่เนื่องกับการใช้ยาระบายในทางที่ผิด[23] โดยภาวะแอลคาโลซิสเนื่องกับเมแทบอลิซึม (metabolic alkalosis) เป็นภาวะไม่สมดุลของกรด-ด่างที่พบมากที่สุด[23] ผลไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอื่น ๆ รวมทั้ง rhabdomyolysis (ภาวะกล้ามเนื้อโครงร่างที่เสียหายสลายตัวเร็วเกิน)[23] ภาวะไขมันเกินในอุจจาระ (steatorrhoea)[23] เยื่อเมือกลำไส้ใหญ่อักเสบหรือเกิดแผล[23] ตับอ่อนอักเสบ[23][24], ไตวาย[23][25][26], คนไข้แกล้งมีท้องร่วง (factitious diarrhea)[23][27] และปัญหาอื่น ๆ[23]

แม้คนไข้ที่มีความผิดปกติในการรับประทาน เช่น โรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) และโรคทานแล้วขับออก (bulimia nervosa) บ่อยครั้งจะใช้ยาระบายในทางที่ผิดเพื่อพยายามลดน้ำหนัก แต่ยาระบายก็เพียงแต่เพิ่มความเร็วที่อุจจาระดำเนินผ่านลำไส้ใหญ่ ซึ่งเกิดหลังการดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก ดังนั้น งานศึกษาต่าง ๆ จึงได้แสดงว่า น้ำหนักที่ลดลงเพราะใช้ยาในทางที่ผิด โดยหลักมาจากการเสียน้ำจากร่างกายเพียงชั่วคราว ไม่ได้ลดพลังงานที่ดูดซึมเข้าร่างกายจริง ๆ[23][28][29]

การชินต่อยาระบาย[แก้]

แพทย์เตือนไม่ให้ใช้ยาระบายแบบกระตุ้นเป็นประจำ เนื่องจากปัญหาว่า อาจเป็นเหตุให้เนื้อเยื่อในลำไส้ใหญ่ทรุดโทรม แล้วทำให้ไม่สามารถขับอุจจาระได้เองเนื่องจากถูกกระตุ้นเป็นเวลานาน[30] สิ่งสามัญที่พบในคนไข้ที่ใช้ยาระบายแบบกระตุ้นก็คือ ตะกอนสีน้ำตาลซึ่งสะสมที่เนื้อเยื้อลำไส้ ซึ่งเรียกว่า melanosis coli[A][31]

การใช้ในประวัติศาสตร์เป็นต้น[แก้]

ยาระบาย ซึ่งเคยเรียกในภาษาอังกฤษว่า physicks หรือ purgatives เป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางก่อนการแพทย์ปัจจุบันเพื่อรักษาภาวะต่าง ๆ ภาวะซึ่งในปัจจุบันพิจารณาว่าเป็นยาที่ไม่ได้ผลตามเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน[32] ในนัยเดียวกัน ยาระบาย (โดยบางครั้งเรียกว่า การล้างลำไส้) ก็ยังได้การโปรโหมตจากแพทย์ทางเลือกในการรักษาภาวะต่าง ๆ รวมทั้งที่การแพทย์ปัจจุบันไม่ยอมรับ เช่น เพื่อกำจัดคราบ/ตะกอนอุจจาระในลำไส้ (mucoid plaque)[33]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. melanosis coli หรือ pseudomelanosis coli เป็นความผิดปกติของสีผนังลำไส้ใหญ่ บ่อยครั้งจะเห็นเมื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เป็นภาวะไม่ร้าย และอาจไม่สัมพันธ์กับโรคใด ๆ สารสีน้ำตาลเป็น lipofuscin ใน macrophage ไม่ใช่เมลานิน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Constipation" (PDF). www.digestive.niddk.nih.gov. National Digestive Diseases Information Clearinghouse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.
  2. "Bulk-forming agent". NCI Dictionary of Cancer Terms. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2015.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 Berardi M, Tietze KJ, Shimp LA, Rollins CJ, Popovich NG (2006). Handbook of Nonprescription Drugs (15th ed.). Washington, D.C.: American Pharmaceutical Association. ISBN 1582120749.
  4. 4.0 4.1 4.2 "The Facts About Fiber" (PDF). www.aicr.org. American Institute for Cancer Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014.
  5. Das, JL (2010). "Medicinal and nutritional values of banana cv. NENDRAN". Asian Journal of Horticulture. 8: 11–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2018.
  6. "15 Foods That Cause Constipation (Caffeine, Chocolate, Alcohol)". MedicineNet (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2017.
  7. Rush EC, Patel M, Plank LD, Ferguson LR (2002). "Kiwifruit promotes laxation in the elderly". Asia Pac J Clin Nutr. 11 (2): 164–8. doi:10.1046/j.1440-6047.2002.00287.x. PMID 12074185.
  8. Stacewicz-Sapuntzakis M, Bowen PE, Hussain EA, Damayanti-Wood BI, Farnsworth NR (2001). "Chemical composition and potential health effects of prunes: a functional food?". Critical reviews in food science and nutrition. 41 (4): 251–86. doi:10.1080/20014091091814. PMID 11401245.
  9. "Laxative (Oral Route)". Mayo clinic. 2012-11-01.
  10. Joo JS, Ehrenpreis ED, Gonzalez L, Kaye M, Breno S, Wexner SD, Zaitman D, Secrest K (1998). "Alterations in colonic anatomy induced by chronic stimulant laxatives: the cathartic colon revisited". J Clin Gastroenterol. 26 (4): 283–6. doi:10.1097/00004836-199806000-00014. PMID 9649012.
  11. Joo, Jae Sik; และคณะ (มิถุนายน 1998). "Alterations in Colonic Anatomy Induced by Chronic Stimulant Laxatives: The Cathartic Colon Revisited". Journal of Clinical Gastroenterology. 26 (4): 283–286.
  12. "Tegaserod, FDA Zelnorm (tegaserod maleate) Information". FDA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2018.
  13. "European Medicines Agency EPAR summary for the public" (PDF). European Medicines Agency. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2018.
  14. "Health Canada, Notice of Decision for Resotran". Health Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤษภาคม 2016.
  15. "U.S. FDA Accepts New Drug Application for Prucalopride (SHP555) for Chronic Idiopathic Constipation". GlobeNewswire. 5 มีนาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กันยายน 2018.
  16. Dharmananda, Subhuti. "SAFETY ISSUES AFFECTING HERBS: How Long can Stimulant Laxatives be Used?". Institute for Traditional Medicine. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2010.
  17. "Stimulant Laxatives". Family Practice Notebook, LLC. 26 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2010.
  18. Di Palma JA, Cleveland MV, McGowan J, Herrera JL (2007). "A randomized, multicenter comparison of polyethylene glycol laxative and tegaserod in treatment of patients with chronic constipation". Am. J. Gastroenterol. 102 (9): 1964–71. doi:10.1111/j.1572-0241.2007.01365.x. PMID 17573794.
  19. Attar A, Lémann M, Ferguson A, Halphen M, Boutron MC, Flourié B, Alix E, Salmeron M, Guillemot F, Chaussade S, Ménard AM, Moreau J, Naudin G, Barthet M (1999). "Comparison of a low dose polyethylene glycol electrolyte solution with lactulose for treatment of chronic constipation". Gut. 44 (2): 226–30. doi:10.1136/gut.44.2.226. PMC 1727381. PMID 9895382.
  20. Dipalma JA, Cleveland MV, McGowan J, Herrera JL (2007). "A randomized, multicenter, placebo-controlled trial of polyethylene glycol laxative for chronic treatment of chronic constipation". Am. J. Gastroenterol. 102 (7): 1436–41. doi:10.1111/j.1572-0241.2007.01199.x. PMID 17403074.
  21. Lederle FA, Busch DL, Mattox KM, West MJ, Aske DM (1990). "Cost-effective treatment of constipation in the elderly: a randomized double-blind comparison of sorbitol and lactulose". Am J Med. 89 (5): 597–601. doi:10.1016/0002-9343(90)90177-F. PMID 2122724.
  22. "BestBETs: Is polyethylene glycol safe and effective for chro..." สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2007.
  23. 23.00 23.01 23.02 23.03 23.04 23.05 23.06 23.07 23.08 23.09 23.10 23.11 Roerig JL, Steffen KJ, Mitchell JE, Zunker C (2010). "Laxative abuse: epidemiology, diagnosis and management". Drugs. 70 (12): 1487–1503. doi:10.2165/11898640-000000000-00000. PMID 20687617.
  24. Brown NW, Treasure JL, Campbell IC (2001). "Evidence for long-term pancreatic damage caused by laxative abuse in subjects recovered from anorexia nervosa". International Journal of Eating Disorders. 29 (2): 236–238. doi:10.1002/1098-108X(200103)29:2<236::AID-EAT1014>3.0.CO;2-G. PMID 11429987.
  25. Copeland, PM; Molina, H.; Ohye, Ch.; MacIas, R.; Alaminos, A.; Alvarez, L.; Teijeiro, J.; Muñoz, J.; Ortega, I. (1994). "Renal failure associated with laxative abuse". Psychother Psychosom. 62 (3–4): 200–2. doi:10.1159/000098619. PMID 7531354.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Wright LF, DuVal JW (1987). "Renal injury associated with laxative abuse". South Med J. 80 (10): 1304–6. doi:10.1097/00007611-198710000-00024. PMID 3660046.
  27. Oster JR, Materson BJ, Rogers AI (November 1980). "Laxative abuse syndrome". Am. J. Gastroenterol. 74 (5): 451–8. PMID 7234824.
  28. Lacey JH, Gibson E (1985). "Controlling weight by purgation and vomiting: A comparative study of bulimics". Journal of Psychiatric Research. 19 (2–3): 337–341. doi:10.1016/0022-3956(85)90037-8. PMID 3862833.
  29. "Acid-base and electrolyte abnormalities with diarrhea". www.uptodate.com. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2017.
  30. Joo JS, Ehrenpreis ED, Gonzalez L, Kaye M, Breno S, Wexner SD, Zaitman D, Secrest K (มิถุนายน 1998). "Alterations in colonic anatomy induced by chronic stimulant laxatives: the cathartic colon revisited". Journal of Clinical Gastroenterology. 26 (4): 283–6. doi:10.1097/00004836-199806000-00014. PMID 9649012.
  31. Zeid Nesheiwat; Yasser Al Nasser (มกราคม 2021). "Melanosis Coli". StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. PMID 29630198.
  32. Stolberg, Michael (2003). "The miraculous effects of taking laxatives. Success and failure of pre-modern medical treatment from the patients' perspective". Wurzburger Medizinhistorische Mitteilungen. 22: 167–177. ISSN 0177-5227. PMID 15641192.
  33. Kapoor AK, Raju SM. Illustrated medical pharmacology. ISBN 9789350906552. OCLC 870530462.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]