เมลานิน
เมลานิน (อังกฤษ: Melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์
เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 1 ชนิด
- ยูเมลานิน (Eumelanin) เป็นเซลล์เม็ดสีเข้ม เพราะมีเมลานินบรรจุอยู่ในแคปซูลมาก
ฉะนั้นคนผิวขาว ผมแดง จึงมีฟีโอเมลานินมาก ส่วนคนผิวเข้ม ผมดำ จึงมียูเมลานินมาก ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนผิวดำแตกต่างจากคนผิวขาว ผิวเหลือง คือคนผิวเข้มจะมีการสร้างเมลาโนโซมขนาดใหญ่กว่า มีจำนวนมากกว่า จึงทำให้สร้างเมลานินได้มากกว่า รวมถึงเมลาโนโซมถูกทำลายช้ากว่าคนผิวขาวด้วย
แต่สีผิวของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับเมลานินเพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับเส้นเลือดและสารบางชนิด เช่น [บีตา-แคโรทีน]ที่ทำให้ผิวเหลือง นอกจากนี้ผิวหนังทั่วร่างกายของเราก็ยังมีการกระจายตัวของเม็ดสีไม่สม่ำเสมอ อาทิ พบเซลล์เม็ดสีมากบริเวณหน้า หัวนม อวัยวะเพศ
หน้าที่ของเมลานิน
[แก้]เมลานินมีกลไกออกฤทธิ์ป้องกันแสงหลายประการ ได้แก่
- ทำหน้าที่เหมือนแผ่นกรองแสง
- ช่วยกระจายแสง เช่น แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นอย่างแสงสีม่วงฟ้าที่เมื่อกระทบผิวหนังจะถูกหักเหออกไป
- ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตและแสงที่เห็นด้วยตาเปล่า แล้วกระจายออกเป็นความร้อน
- ทำหน้าที่จับอนุมูลอิสระ
สาเหตุความผิดปกติ
[แก้]สาเหตุของความผิดปกติของเม็ดสีมีหลายปัจจัย เช่น
- โรคจากพันธุกรรม
- การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน
- การโดนแสงแดดจัด
- การกินยาคุมกำเนิดที่มีเอสโทรเจนปริมาณสูงและยาประเภทฮอร์โมนอื่นๆ
- โรคผิวหนังบางชนิด เช่น กลาก เกลื้อน โรคด่างขาว ไฝและขี้แมลงวัน กระ ฝ้า
- การได้รับสารเคมี
- การขาดวิตามิน
การป้องกัน
[แก้]- หลีกเลี่ยงแสงแดดด้วยเสื้อผ้า หรือครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป
- ผ่อนคลายความเครียดและความกังวลใจ
- ใช้สมุนไพร
- วุ้นว่านหางจระเข้สดถูที่ผิว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วล้างออก ก่อนนำมาใช้ต้องล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด
- น้ำมะเฟืองคั้นสดทาบริเวณฝ้า ทิ้งให้แห้งแล้วล้างออก เพราะในมะเฟืองมีความเป็นกรดสูง เวลาใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจาง แล้วทดสอบกับผิวบริเวณอื่นก่อนนำมาทาหน้า
- การบริโภคผักและผลไม้สดที่มี วิตามินเอ ซี ดี และอี ในปริมาณที่พอเหมาะ
อ้างอิง
[แก้]- นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2550