กรดฟอร์มิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรดฟอร์มิก
Skeletal structure of formic acid
3D model of formic acid
ชื่อตาม IUPAC Methanoic acid
ชื่ออื่น Hydrogen carboxylic acid
Formylic acid
Aminic acid
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [64-18-6][CAS]
RTECS number LQ4900000
SMILES
 
ChemSpider ID 278
คุณสมบัติ
สูตรเคมี CH2O2
HCOOH
มวลต่อหนึ่งโมล 46.0254 g/mol
ลักษณะทางกายภาพ ของเหลวไม่มีสี มีควันออกมาจากของเหลว
ความหนาแน่น 1.22 g/mL, liquid
จุดหลอมเหลว

8.4 องศาเซลเซียส (47.1 องศาฟาเรนไฮต์)

จุดเดือด

101 องศาเซลเซียส (213.8 องศาฟาเรนไฮต์)

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ Miscible
pKa 3.744
ความหนืด 1.57 cP at 26 °C
โครงสร้าง
รูปร่างโมเลกุล Planar
Dipole moment 1.41 D(gas)
ความอันตราย
MSDS ScienceLab.com
อันตรายหลัก Corrosive; irritant;
sensitizer.
NFPA 704
NFPA 704.svg
2
3
1
 
R-phrases R10, R35
S-phrases (S1/2), S23, S26, S45
จุดวาบไฟ 69 °C (156 °F)
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

กรดฟอร์มิก หรือกรดมด (อังกฤษ: Formic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน มีสูตรโมเลกุลว่า CH2O2 และเรียกตามระบบ IUPAC ว่า กรดเมทาโนอิก (Methanoic acid), พบตามธรรมชาติในสัตว์จำพวกมดและผึ้ง ซึ่งมีไว้สำหรับป้องกันตัวจากศัตรู, โดยคำว่า "formic" ได้มาจากคำในภาษาละตินว่า formica ซึ่งแปลว่ามด

ประวัติการค้นพบ[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2214 จอห์น เรย์ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ เป็นบุคคลแรกที่ทราบถึงการสกัดกรดฟอร์มิก โดยการกลั่นมดจำนวนมาก ต่อมาโฌแซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ซัก นักเคมีชาวฝรั่งเศส ได้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์กรดฟอร์มิกจากกรดไซยานิก และต่อมา Marcellin Berthelot นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ค้นพบวิธีสังเคราะห์จากคาร์บอนมอนอกไซด์ และใช้วิธีนี้มาจนปัจจุบัน