จาค็อบ ซูมา
จาค็อบ ซูมา | |
---|---|
ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ คนที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | กคาลิมา มุตลาอึนแท |
ถัดไป | ไซริล รามาโฟซา |
ประธานพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2485 อินคันดลา ประเทศแอฟริกาใต้ |
คู่สมรส | Gertrude Sizakele Khumalo (สมรส พ.ศ. 2516) Kate Mantsho (สมรส พ.ศ. 2519; เสียชีวิต พ.ศ. 2543)[1] Nkosazana Dlamini (สมรส พ.ศ. 2525; หย่า พ.ศ. 2541) Nompumelelo Ntuli (สมรส พ.ศ. 2551) Thobeka Mabhija (สมรส พ.ศ. 2553)[2] Gloria Bongekile Ngema (สมรส พ.ศ. 2555)[3] |
บุตร | 20 (ประมาณ)[4] เช่น Gugulethu, Thuthukile และ Duduzane |
อาชีพ | นักการเมือง, นักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว |
จาค็อบ เกดเลยีห์เลคีซา ซูมา (อักษรโรมัน: Jacob Gedleyihlekisa Zuma; [geɮʱejiɬeˈkisa ˈzʱuma]; เกิด 12 เมษายน ค.ศ. 1942) เป็นนักการเมืองชาวแอฟริกาใต้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแอฟริกาใต้คนที่สี่จากปี ค.ศ. 2009 ถึง 2018[5] นอกจากนี้เขายังถูกเรียกด้วยชื่อย่อ เจเซ็ด (JZ) และชื่อชนเผ่า อึมโชโลซี (Msholozi )[6][7][8]
ซูมาเคยดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005[9][10] แต่ต่อมาถูกบังคับออกจากตำแหน่งโดย ทาบอ อึมแบกี ในปี ค.ศ. 2005 หลังที่ปรึกษาด้านการเงินของซูมา Schabir Shaik ถูกตัดสินความผิดฐานรับเงินใต้โต๊ะ ซูมาได้รับเลือกตั้งขึ้นเป็นประธานของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา (ANC) เมื่อ 18 ธันวาคม ค.ศ. 2007 หลังพ่ายแพ้ให้กับอึมแบกี ในการประชุมของพรรค ANC ในเมือง Polokwane ต่อมาในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2008 อึมแบกีประกาศออกจากตำแหน่งหลังถูกคณะกรรมการฝ่ายบริหารแห่งชาติ (ANC) เรียกร้องให้เขาออกจากตำแหน่ง[11] ภายหลังผู้พิพากษาของศาลสูง Christopher Nicholson ตัดสินว่าอึมแบกีได้แทรกแซงการดำเนินงานขององค์การอัยการแห่งชาติ (NPA) โดยไม่เหมาะสม รวมถึงในการดำเนินความผิดฐานฉ้อโกงกับซูมา
ซูมาเผชิญกับความท้าทายทางกฎหมายตั้งแต่ก่อนดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เขาถูกดำเนินคดีฐานข่มขืนในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งต่อมาได้พ้นจากข้อกล่าวหา เขาต่อสู้ทางกฎหมายต่อข้อครหาว่าเขาก่อการอั้งยี่ และ ฉ้อโกง ซึ่งมีผลนับตั้งแต่ที่ปรึกษาการเงินของเขา Schabir Shaik ถูกดำเนินคดีฐานฉ้อโกงและหลอกลวง เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2009 NPA ยกเลิกการดำเนินคดีฟ้องร้องต่อซูมา โดยอ้างการแทรกแซงทางการเมือง อย่างไรก็ตามการกระทำนี้ถูกปฏิเสธโดยพรรคฝ่ายค้าน หลังโครงการพัฒนาเคหสถานชนบทของเขาโดยใช้เงินของรัฐที่ Nkandla ผู้สำเร็จการแผ่นดินพบว่าซูมาได้รับการเอื้อประโยชน์อย่างไม่เหมาะสมจากค่าใช้จ่ายส่วนนี้ และศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ในปี ค.ศ. 2016 ผ่านการตัดสินคดีความ Economic Freedom Fighters v Speaker of the National Assembly ว่าซูมากระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องให้เขาลงจากตำแหน่งและการอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐสภาที่ต่อมาไม่ประสบผลสำเร็จ มีการประมาณว่าสมัยการดำรงตำแหน่งของซูมาฉ้อโกงเงินของรัฐไปมากกว่า R1 พันล้านแรนด์ (ราว $83 พันล้านเหรียญสหรัฐ)[12]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ผู้พิพากษายืนยันการตัดสินจำคุกเจคอบ ซูมาเป็นเวลา 15 เดือน[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Berger, Sebastien (5 January 2009). "ANC's Jacob Zuma to marry for fifth time". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- ↑ "SA's Zuma marries his third wife". BBC News. 4 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2010. สืบค้นเมื่อ 5 May 2010.
- ↑ "South Africa's polygamous president marries fourth wife". BNO News. 20 April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2012.
- ↑ Laing, Aislinn (20 June 2012). "Jacob Zuma faces losing £1.2 million support for four wives". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 June 2012.
- ↑ "Zuma sworn in as SA's fourth democratic President". SABC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2011. สืบค้นเมื่อ 9 May 2009.
- ↑ Mbuyazi, Nondumiso (13 September 2008). "JZ receives 'death threat'". The Star. p. 4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2009. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
- ↑ Gordin, Jeremy (31 August 2008). "So what are Msholozi's options?". Sunday Tribune. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
- ↑ Lander, Alice (19 December 2007). "Durban basks in Zuma's ANC victory". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2007. สืบค้นเมื่อ 14 September 2008.
- ↑ "Jacob Gedleyihlekisa Zuma". The Presidency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2009. สืบค้นเมื่อ 11 December 2007.
- ↑ SA News/Staff Reporter (22 May 2014). "Jacob Zuma elected president". iafrica.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2014. สืบค้นเมื่อ 30 May 2014.
- ↑ "SA's Mbeki says he will step down". BBC News. London, UK. 20 September 2008. สืบค้นเมื่อ 21 September 2008.
- ↑ "Budget 2018 is Zuma's Costly Legacy". Mail & Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 February 2018.
- ↑ "Afrique du Sud: la justice confirme la condamnation de Jacob Zuma à de la prison". Journal de québec. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Profile ที่ the African National Congress
- Zuma: Road to the presidency
- Jacob Zuma ที่ Who's Who Southern Africa
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- จาค็อบ ซูมา ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- งานโดยหรือเกี่ยวกับ จาค็อบ ซูมา ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต
- Full text of the judgement against Schabir Shaik, Zuma's financial advisor
- Supreme Court judgment upholding 2009 ruling