พระราหุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระราหุลเถระ)
พระราหุล
พระราหุล พระโคตมพุทธเจ้า เเละพระอานนท์
ข้อมูลทั่วไป
พระนามเดิมราหุล
วันประสูติประมาณวันที่เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช
สถานที่ประสูติกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
สถานที่บวชกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
วิธีบวชติสรณคมณูปสัมปทา
สถานที่บรรลุธรรมกรุงกบิลพัสดุ์
เอตทัคคะผู้เลิศในด้านใคร่การศึกษา
อาจารย์พระโคตมพุทธเจ้า
นิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และพระพุทธเจ้า
สถานที่นิพพานสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ฐานะเดิม
ชาวเมืองกบิลพัสดุ์
พระบิดาเจ้าชายสิทธัตถะ
พระมารดาพระนางยโสธรา
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์ศากยะ
หมายเหตุ
สามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระราหุล หรือพระนามเดิม เจ้าชายราหุล เป็นพระโอรสในเจ้าชายสิทธัตถะ (พระโคตมพุทธเจ้า) กับพระนางยโสธรา ประสูติในวันที่พระบิดาออกผนวช

ในพระไตรปิฎกว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า "'ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะทรงนึกว่าสิทธัตถราชกุมารทรงตั้งพระนามโอรสอย่างนั้น จึงทรงขนานนามพระภาคิไนย (พระเจ้าหลาน) ว่า "ราหุล" อันแปลว่า "บ่วง"

อย่างไรก็ดี ตามพระวินัยของนิกายสรวาสติวาทว่าพระนาม "ราหุล" มิได้มาจากรากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "บ่วง" แต่มาจากศัพท์ "ราหุ" ที่แปลว่า "จันทรคราส" หรือที่ในภาษาไทยว่า "ราหู"[1] [2]

อนึ่ง ในพระไตรปิฎกพระธรรมบท มีตอนหนึ่งว่า ความปิติปราโมทย์ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรัดชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข

ประวัติ[แก้]

พระราหุลเป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดา

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและเสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาแคว้นมคธ ก็ทรงนิวัติกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดาและพระญาติประยูร และมีเหล่าสาวกติดตามเสด็จมาด้วย วันหนึ่งพระนางยโสธราทรงได้พบกับพระราหุล และมีรับสั่งให้พระกุมารราหุลไปทูลขอพระราชสมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาพระราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย พระกุมารราหุลจึงเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนา

พระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าวพระราหุลได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพุทธศาสนาแล้ว ก็ทรงเสียพระทัยมาก เพราะทรงหวังให้พระราหุลเป็นรัชทายาทสืบราชสันติวงศ์ต่อไป พระองค์จึงเสด็จไปตัดพ้อต่อว่าพระพุทธเจ้า และทูลขอว่า ต่อไปถ้าจะบวชให้ใครอีก ขอให้มารดาบิดาของผู้จะบวชอนุญาตเสียก่อน พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นไปตามคำทูลขอ โดยมีข้อกำหนดว่า ผู้ที่จะเข้ามาบวช "จะต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้บังคับบัญชาเสียก่อน"

สามเณรราหุลบรรพชาเมื่ออายุ 7 ปี พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังมากมายหลายเรื่อง เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยังป่าอันธวัน แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี หลังจากได้ฟัง "จูฬราหโลวาทสูตร" จากพระพุทธองค์ ก็สำเร็จบรรลุเป็นพระอรหันต์ พระราหุลเถระ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า "เอตทัคคะ"(ผู้เลิศกว่าคนอื่นในด้านใคร่การศึกษา) คือ ชอบการศึกษาหรือขยันหมั่นในการเล่าเรียน

พระราหุลเถระนิพพานเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานระบุชัด ทราบเพียงว่า ท่านปรินิพพานก่อนพระอัครสาวกทั้งสอง และก่อนพระพุทธเจ้า โดยการทูลลาพระพุทธเจ้าไปนิพพานที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

คุณธรรมที่ควรยึดถือเอาเป็นแบบอย่าง[แก้]

  • มีความอดทนเป็นเยี่ยม คือบรรพชาตั้งแต่อายุ 7 ปี ต้องอดอาหารในเวลาวิกาลตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งเช้า ตามปกติของพระภิกษุสามเณรในสมัยพุทธกาล
  • เป็นผู้ว่าง่ายถ่อมตน ไม่ถือตัว
  • เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างยิ่ง
  • เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียร
  • มีความกตัญญูกตเวทีอย่างยิ่ง

พระราชตระกูล[แก้]

พระราชตระกูลในเจ้าชายราหุล

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าชัยเสน
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าสีหนุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าสุทโธทนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. พระนางกัญจนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. เจ้าชายสิทธัตถะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าอัญชนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. พระนางสิริมหามายา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. พระนางยโสธรา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. เจ้าชายราหุล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12.(=10.) พระเจ้าอัญชนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าสุปปพุทธะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26.(=16.) พระเจ้าชัยเสน
 
 
 
 
 
 
 
13.(=11.) พระนางยโสธรา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. พระนางยโสธรา(พิมพา)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28.(=16.) พระเจ้าชัยเสน
 
 
 
 
 
 
 
14.(=8.) พระเจ้าสีหนุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. พระนางอมิตาเทวี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
15.(=9.) พระนางกัญจนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง[แก้]

  1. Edward Joseph Thomas, The Life of Buddha as Legend and History. Routledge, 1975. Page 53, note 1.
  2. Raniero Gnoli (ed.) The Gilgit Manuscript of the Samghabhedavastu. Rome: Instituto Italiano per il Medio ed Estremo Oriente, 1977. 1:119.