พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวฮินดูหลายคนเชื่อว่าพระโคตมพุทธเจ้าเป็นอวตารลำดับที่เก้าของพระวิษณุ

พระโคตมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธนั้น เป็นผู้ที่ศาสนิกชนฮินดูและบาไฮเคารพในฐานะผู้ประกาศศาสนาของพระเป็นเจ้า[1] เอกสารฮินดูบางฉบับระบุว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิษณุ เพื่อหลอกล่อให้มนุษย์ห่างไกลจากพระเวท[2] ในขณะที่มุสลิมที่ไม่สังกัดนิกาย และกลุ่มนิยมกุรอานบางคน เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้เผยพระวจนะ โดยเฉพาะมุสลิมกลุ่มอะห์มะดียะฮ์ยกย่องว่าพระพุทธองค์เป็นนบี หรือผู้เผยพระวจนะอีกคนหนึ่ง[3]

ศาสนาอับราฮัม[แก้]

ศาสนาคริสต์[แก้]

โยซาฟัตพบกับคนป่วยเป็นโรคเรื้อน และคนง่อย

ศาสนาคริสต์ มีตำนานของชาวกรีกเรื่องบาร์ลามและโยซาฟัต รจนาโดยยอห์นแห่งดามัสกัสเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่เนื้อหาผิดเพี้ยนเมื่อยูทิมีอุสชาวแอทอส นักพรตชาวจอร์เจีย เขียนเพิ่มเติมใหม่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 เนื้อหาเป็นเรื่องราวของโยซาฟัต ผู้เป็นเจ้านายก่อนออกบวช ซึ่งสอดคล้องกับพุทธประวัติในช่วงต้น ก่อนออกผนวช[4] โดยชื่อ "โยซาฟัต" มาจากคำสันสกฤตว่า "โพธิสตฺตฺว" เป็นพระนามหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า[5] มีการเฉลิมฉลองนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัตตามปฏิทินกรีกออร์ทอดอกซ์ในวันที่ 26 สิงหาคมของทุกปี ต่อมาโลกตะวันตกกำหนดให้มีการเฉลิมฉลองนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัตในวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปี ลงในมรณสักขีวิทยาโรมัน[6]

ศาสนาบาไฮ[แก้]

ศาสนาบาไฮเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในการสำแดงของพระเป็นเจ้า และเป็นผู้เผยพระวจนะคนสำคัญของศาสนาบาไฮ[7] โดยพระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮเชื่อว่า ตนเองเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ 5 ต่อจากผู้เผยพระวจนะพระองค์อื่น ๆ[8]

ศาสนาอิสลาม[แก้]

ษูลกิฟล์ ศาสดาคนหนึ่งของศาสนาอิสลาม ถูกระบุว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับพระโคตมพุทธเจ้า[9][10][11][12] ความหมายของชื่อศาสดาคนนี้ยังเป็นที่ถกเถียง บ้างว่า แปลว่า "ผู้มาจากกิฟล์" โดย "กิลฟ์" คือการออกเสียงชื่อเมืองกบิลพัสดุ์ในภาษาอาหรับ และเมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตอยู่ราว 30 ปี[13] บ้างก็อธิบายว่ามาจากชื่อเมืองกาปีล (Kapeel) อันเป็นเมืองหลวงของรัฐขนาดน้อยแถบชายแดนประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับมาตุภูมิเดิมของพระพุทธเจ้าคือกบิลพัสดุ์ และในภาษาอาหรับไม่มีพยัญชนะเสียง 'p' ด้วยเหตุนี้ "กาปีล" จึงถูกทับศัพท์เป็น "กิลฟ์"[10]

สอดคล้องกับโองการแรกของบทที่ 95 ซูเราะฮ์อัต-ตีน ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า

ขอสาบานด้วยต้นมะเดื่อและต้นมะกอก และด้วยภูเขาฎูรซีนาย และด้วยเมืองนี้ [มักกะฮ์] ที่ปลอดภัย

— อัลกุรอาน, 95:1-3

มีเรื่องราวการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นมะเดื่อ หากเรียบเรียงจากเหตุการเผยพระวจนะแล้ว จะพบว่า โมเสส หรือนบีมูซา เผยพระวจนะที่ภูเขาซีนาย พระเยซู หรือนบีอีซา เผยพระวจนะที่ใต้ต้นมะกอก นบีมุฮัมมัด เผยพระวจนะที่มักกะฮ์ ส่วนต้นมะเดื่อที่เหลือนั้น น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ และเผยพระวจนะ[11]

อะฮ์มาดียะฮ์[แก้]

ในหนังสือ Revelation, Rational, Knowledge & Truth ("การเปิดเผย เหตุผล ความรู้ และความจริง") ของมีร์ซา ตาฮีร์ อะฮ์มัด (Mirza Tahir Ahmad) เคาะลีฟะฮ์ลำดับที่สี่ของอะฮ์มาดียะฮ์ ระบุไว้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าอย่างแท้จริง โดยอ้างอิงจากจารึกบนสถูปของพระเจ้าอโศก ซึ่งกล่าวถึง "อีศาน" ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งไว้ว่า "ทรงตรัสกับเทวานัมปิยติสสะว่า "ด้วยเหตุนี้ในขณะนี้ ข้าพเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนา ข้าพเจ้าได้กำหนดศาสนพิธีไว้แล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่ได้สดับความ ให้พึงประพฤติตนให้ถูกต้องเพื่อถวายพระเกียรติแก่พระเป็นเจ้า (อีศาน)""[14]

และในหนังสือ An Elementary Study of Islam ("การศึกษาศาสนาอิสลามเบื้องต้น") ของมีร์ซา ตาฮีร์ อะฮ์มัด ระบุไว้ว่า ษูลกิฟล์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน อาจะเป็นคนเดียวกับพระพุทธเจ้า[15]

ศาสนาอินเดีย[แก้]

ศาสนาซิกข์[แก้]

พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า

คุรุโควินทสิงห์เชื่อว่า พระโคตมพุทธเจ้าเป็นอวตารลำดับที่ 23 ของพระวิษณุ ปรากฏใน ทสัมครันถะ (Dasam Granth)[16]

ศาสนาฮินดู[แก้]

ในคัมภีร์ ปุราณะ ระบุว่า พระโคตมพุทธเจ้าเป็นอวตารหนึ่งของพระวิษณุ พระเป็นเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู ใน ภควตปุราณะ ระบุว่า พระพุทธเจ้าเป็นอวตารลำดับที่ยี่สิบสี่จากทั้งหมดยี่สิบห้าอวตารของพระวิษณุ[17] แต่ชาวฮินดูจำนวนมากเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในอวตารหลักทั้งสิบของพระวิษณุ ถือเป็นกระบวนการกลืนให้เป็นฮินดู[18][19]

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่เชื่อในความขลังหรือความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท และปฏิเสธอำนาจของพระเป็นเจ้า (คือไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า) ชาวฮินดูยุคก่อนจึงมองว่า ศาสนาพุทธคือสำนักคิดแบบนาสติกะ (ซึ่งแท้จริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น)[20]

อย่างไรก็ตามพราหมณ์ไทยนั้นไม่มีคติที่พระวิษณุอวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้า หากแต่อวตารลงมาเป็นสมณะน้อยตนหนึ่ง มาทำหน้าที่แย่งศิวลึงค์จากอสูรตรีบุรัม[21]

กลุ่มศาสนาอื่น[แก้]

ลัทธิเต๋า[แก้]

พุทธศาสนิกชนและผู้คนที่นับถือลัทธิเต๋ายุคแรกเชื่อว่า เล่าจื๊ออวตารลงมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า[22]

ลัทธิมาณีกี[แก้]

ลัทธิมาณีกีเชื่อว่า พระพุทธเจ้าคือผู้เผยพระวจนะต่อหน้าพระมณี ศาสดาของมาณีกี[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Peter (2000). "Manifestations of God". A concise encyclopedia of the Bahá'í Faith. Oxford: Oneworld Publications. pp. 231. ISBN 1-85168-184-1.
  2. Nagendra Kumar Singh (1997). "Buddha as depicted in the Purāṇas". Encyclopaedia of Hinduism, Volume 7. Anmol Publications PVT. LTD. pp. 260–275. ISBN 978-81-7488-168-7.[ลิงก์เสีย]. List of Hindu scripture that declares Gautama Buddha as 9th Avatar of Vishnu is as follows [Harivamsha (1.41) Vishnu Purana (3.18) Bhagavata Purana (1.3.24, 2.7.37, 11.4.23 Bhagavata Purana 1.3.24 Bhagavata Purana 1.3.24 เก็บถาวร 26 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Garuda Purana (1.1, 2.30.37, 3.15.26) Agni Purana (160.Narada Purana (2.72)Linga Purana (2.71) Padma Purana (3.252) etc. Bhagavata Purana, Canto 1, Chapter 3 เก็บถาวร 21 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - SB 1.3.24: "Then, in the beginning of Kali-yuga, the Lord will appear as Lord Buddha, the son of Anjana, in the province of Gaya, just for the purpose of deluding those who are envious of the faithful theist." ... The Bhavishya Purana contains the following: "At this time, reminded of the Kali Age, the god Vishnu became born as Gautama, the Shakyamuni, and taught the Buddhist dharma for ten years. Then Shuddodana ruled for twenty years, and Shakyasimha for twenty. At the first stage of the Kali Age, the path of the Vedas was destroyed and all men became Buddhists. Those who sought refuge with Vishnu were deluded." Found in Wendy O'Flaherty, Origins of Evil in Hindu Mythology. University of California Press, 1976, page 203. Note also SB 1.3.28: "All of the above-mentioned incarnations [avatars] are either plenary portions or portions of the plenary portions of the Lord [Krishna or Vishnu]"
  3. "Buddha and Jesus".
  4. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "Barlaam and Josaphat" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  5. Kevin Trainor (ed), "Buddhism" (Duncan Baird Publishers, 2001), p. 24
  6.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Barlaam and Josaphat" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 403–404.
  7. Hornby, Helen Bassett (1994). Lights of Guidance: A Bahá'í Reference File. Bahá'í Publishing Trust (New Deli, India), p. 502 (#1684). ISBN 81-85091-46-3
  8. The Kitáb-i-Aqdas: The Most Holy Book. Baháʼí Publishing Trust (Wilmette, Illinois, USA), p. 233 (#1684). ISBN 0-85398-999-0
  9. YUSUF, IMTIYAZ (2009). "Dialogue Between Islam and Buddhism through the Concepts Ummatan Wasaṭan (The Middle Nation) and Majjhima-Patipada (The Middle Way)". Islamic Studies. 48 (3): 367–394. ISSN 0578-8072. JSTOR 20839172.
  10. 10.0 10.1 "The Prophets". Islam (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  11. 11.0 11.1 "Buda'nın Peygamber Efendimizi bin yıl önceden müjdelediği doğru mudur? » Sorularla İslamiyet". Sorularla İslamiyet (ภาษาตุรกี). 2015-01-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  12. "Buda Peygamber mi?". Ebubekir Sifil (ภาษาตุรกี). 2006-01-30. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  13. "The Buddha in other religions". Buddhism Guide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. Al-Islam.org Revelation, Rationality, Knowledge & Truth, Mirza Tahir Ahmad, Chapter, Buddhism.
  15. "The Prophets".
  16. "Chaubis Avtar Dasam Granth". www.info-sikh.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-11-23.
  17. Bhagavata Purana, Canto 1, Chapter 3 เก็บถาวร 21 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - SB 1.3.24: "Then, in the beginning of Kali-yuga, the Lord will appear as Lord Buddha, the son of Anjana, in the province of Gaya, just for the purpose of deluding those who are envious of the faithful theist." ... SB 1.3.28: "All of the above-mentioned incarnations [avatars] are either plenary portions or portions of the plenary portions of the Lord [Krishna or Vishnu]"
  18. ราม วชิราวุธ. "ลิลิตนารายณ์สิบปาง พระราชนิพนธ์ คำนำ". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. เพชรดา ชุนอ่อน (มกราคม–มิถุนายน 2016). "พุทธาวตารของพระวิษณุกับการพัฒนาการของศาสนาฮินดูในอินเดียระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4-8". วารสารอักษรศาสตร์ (38:1). p. 216.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  20. "in Sanskrit philosophical literature, 'āstika' means 'one who believes in the authority of the Vedas' or 'one who believes in life after death'. ('nāstika' means the opposite of these). The word is used here in the first sense." Satischandra Chatterjee and Dhirendramohan Datta. An Introduction to Indian Philosophy. Eighth Reprint Edition. (University of Calcutta: 1984). p. 5, footnote 1.
  21. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. ภารตะ-สยาม ? ผี พราหมณ์ พุทธ ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 19
  22. The Cambridge History of China, Vol.1, (The Ch'in and Han Empires, 221 BC—220 BC) ISBN 0-521-24327-0 hardback
  23. Barnstone W & Meyer M (2009). The Gnostic Bible: Gnostic texts of mystical wisdom from the ancient and medieval worlds. Shambhala Publications: Boston & London.