พระยโสธราเถรี
พระยโสธราเถรี | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
พระนามอื่น |
|
วันประสูติ | 80 ปีก่อนพุทธศักราช |
สถานที่ประสูติ | เทวทหะ แคว้นโกลิยะ |
วิธีบวช | เอหิภิกขุอุปสัมปทา |
เอตทัคคะ | ผู้ทรงอภิญญาใหญ่ |
นิพพาน | 2 ปีก่อนพุทธศักราช[1] |
ฐานะเดิม | |
ชาวเมือง | เทวทหะ |
พระบิดา | พระเจ้าสุปปพุทธะ |
พระมารดา | พระนางอมิตา |
วรรณะเดิม | กษัตริย์ |
ราชวงศ์ | โกลิยะ |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา |
ยโสธรา[1] (บาลี: Yasodharā; สันสกฤต: Yaśodharā यशोधरा ยโศธรา) หรือ ภัททากัจจานา (บาลี: Bhaddā Kaccānā ภทฺทา กจฺจานา) บางแห่งออกนามว่า พิมพา หรือ ยโสธราพิมพา เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า[1] เป็นพระมารดาของพระราหุล และเป็นพระขนิษฐาของพระเทวทัต หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระนางยโสธราได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีและบรรลุเป็นพระอรหันต์ในที่สุด[2]
พระยโสธราเถรีนิพพานขณะพระชนมายุ 78 พรรษา หรือ 2 ปีก่อนการดับขันธ์ปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[1][3][4]
พระนาม
[แก้]ยโสธรา (บาลี) หรือ ยโศธรา (สันสกฤต) มาจากคำว่า ยส หรือ ยศ แปลว่า เกียรติ, ความดีงาม กับคำว่า ธร มาจากคำว่า ธริ แปลว่า การแบกรับ, การสนับสนุน เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่า "ผู้ทรงยศ" บ้างก็เรียก ยโสธราเถรี/ยโศธราเถรี (Yaśodharā Theri), พิมพาเทวี (Bimbādevī), ภัททกัจจานา (Bhaddakaccānā) และ ราหุลมาตา (Rāhulamātā "มารดาของราหุล")[5] ในเอกสารบาลีจะออกพระนามสองอย่าง คือ ยโสธรา และ ภัททกัจจานา[6]
พระประวัติ
[แก้]พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พระนางยโสธราเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกลิยะ[7][8] กับพระนางอมิตาแห่งสักกะ มีพระเชษฐาพระองค์หนึ่งนามว่าพระเทวทัต[9][10] พระชนกเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยะ[11] ส่วนพระชนนีเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งสักกะ พระชนกและพระชนนีเป็นเครือญาติกัน สืบสันดานมาแต่พระเจ้าโอกกากราช (Okkākarāj)[12][13][14] โดยตระกูลสักกะและโกลิยะจะสมรสกันระหว่างสองตระกูลเท่านั้น[15] ดอนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนาและทิเบตศึกษา และริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักภารตวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤตและพุทธศึกษา อธิบายว่าช่วงเวลานั้นอิทธิพลของพระเวทไม่น่าจะเข้าถึงแคว้นทั้งสอง รวมทั้งการเสกสมรสในหมู่เครือญาตินั้นเป็นเรื่องต้องห้ามของสังคมอารยัน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าตระกูลทั้งสองนี้อาจมิได้สืบเชื้อสายชาวอารยัน[16]
ยโสธราเป็นหนึ่งในเจ็ดมนุษย์ สัตว์ และสิ่งของที่เกิดวันเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ เรียกว่าสหชาติ 7 ได้แก่ นางยโสธราหรือพิมพา พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฑกะ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้งสี่[17][18]
กล่าวกันว่ายโสธรามีพระสิริโฉมงดงาม มีพระสรีระและผิวพรรณงามดุจทองคำชั้นดีที่สุดจึงมีพระนามว่าภัททากัจจานา แม้เจ้าหญิงรูปนันทาซึ่งเป็นพระญาติจะทรงงามจนได้สมญาว่าชนบทกัลยาณี ก็ยังงามไม่เทียมเท่า[3]
เสกสมรส
[แก้]ยโสธราเสกสมรสกับสิทธัตถะขณะพระชันษา 16 ปี และได้ประสูติกาลพระโอรสพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือราหุล ขณะมีพระชันษา 29 ปี ซึ่งช่วงเวลานั้นสิทธัตถะกำลังตัดสินพระทัยออกบวช หลังพบเทวทูต 4 พระเจ้าสุทโธทนะนำข่าวพระกุมารประสูติใหม่มาแจ้งให้ทราบ สิทธัตถะทรงอุทานออกมาว่า "ราหุลํ ชาตํ พนฺธนํ ชาตํ" แปลว่า "บ่วงเกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" ทั้ง ๆ ที่พระองค์กำลังตัดห่วงอาลัยอื่นแล้ว แต่กลับมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัดมิให้พระองค์ออกผนวช[19]
คืนหนึ่งสิทธัตถะลอบเสด็จออกจากพระราชวังในยามวิกาลเพื่อออกผนวชหลังราหุลประสูติเพียง 7 วัน ก่อนจะเสด็จออกไป ทรงไปที่ห้องพระบรรทมของพระยโสธราก่อน แต่เห็นว่าพระชายาหลับสนิทและทอดพระกรไว้เหนือเศียรพระราหุล ทรงเกิดสิเน่หาอาลัย ครั้นจะอุ้มพระโอรสก็เกรงพระชายาจะตื่น จึงข่มพระทัยออกจากพระราชวัง[20] ครั้นรุ่งสางยโสธราเศร้าโศกพระทัยยิ่งที่สวามีหายออกไป ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะและยโสธราก็เพียรติดตามข่าวสิทธัตถะอยู่เสมอด้วยความรักและนับถือ เมื่อยโสธราทรงทราบว่าสิทธัตถะได้ออกไปแสวงหาสัจธรรมเพื่อตรัสรู้ พระองค์จึงทรงดำเนินพระชนมชีพอย่างเรียบง่ายตามอย่างสิทธัตถะ[21] ยโสธราเมื่อได้ทราบข่าวพระสวามีว่าทรงนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด ก็ทรงนุ่งผ้าย้อมน้ำฝาดบ้าง ทราบว่าพระสวามีเสวยภัตตาหารหนเดียว พระนางก็เสวยพระกระยาหารเพียงหนเดียว ทราบว่าพระสวามีทรงละที่นอนใหญ่ ก็ทรงเอาผ้าปูนอนบนพระแท่นบรรทมขนาดน้อย ทราบว่าพระสวามีเว้นจากเครื่องหอมและดอกไม้ พระนางก็เว้นจากเครื่องหอมและดอกไม้ จนกระทั่งสิทธัตถะบรรลุโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[3] ยโสธราเคยทูลพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการบำเพ็ญเพียรของพระองค์ก่อนนิพพานไว้ว่า "...ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันยอมรับทุกข์ทรมาน มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วน ในสงสารเป็นอเนก ก็เพื่อประโยชน์แก่พระองค์..." และ "...ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันได้รับสุขก็อนุโมทนา และคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วทุกอย่าง เพื่อประโยชน์แก่พระองค์..."[1]
ผนวช
[แก้]หลังพระโคตมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะจึงทูลเชิญให้พุทธองค์เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้นเมื่อผ่านไปแล้วสองปีหลังการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ช่วงแรกยโสธรามิได้ออกไปต้อนรับพุทธองค์ พระพุทธเจ้าจึงถือบาตรเสด็จขึ้นไปหายโสธรา เมื่อยโสธราเห็นเช่นนั้นจึงรีบเสด็จไปหาพุทธองค์ ทรงจับข้อพระพุทธบาททั้งสองเกลือกบนพระเศียรแล้วถวายบังคม โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสเล่าเรื่องจันทกินรีชาดกจนนางยโสธราบรรลุโสดาปัตติผล[3] ต่อมาจึงให้ราหุลตามเสด็จพุทธองค์ และออกบวชเป็นสามเณรรูปแรกในพุทธศาสนาขณะอายุ 7 ขวบ[22]
ครั้นพระเจ้าสุทโธทนะนิพพานในเศวตฉัตร และพระเจ้ามหานามะขึ้นเสวยราชสมบัติแทน พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยหญิงอีก 500 คนออกบวชเป็นภิกษุณี ต่อมายโสธรามีพระประสงค์ที่จะบวชเป็นภิกษุณีบ้าง เพราะไม่มีกิจอันใดในพระราชวังแล้ว รวมทั้งบริจาคทรัพย์สินที่ทรงครอบครองทั้งหมดทั้งไร่นา ข้าทาสบริวาร[1] พระมหาปชาบดีโคตมีจึงทรงบวชให้ตามพระประสงค์มีนามว่า "พระยโสธราเถรี" หรือ "พระภัททากัจจานาเถรี" ขณะบวชก็ทรงบำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนา เพียงครึ่งเดือนก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้พระยโสธราเถรีเป็นเอตทัคคะด้านอภิญญาใหญ่ เพราะสามารถระลึกชาติได้ถึงอสงไขยหนึ่งกับอีกแสนกัปเพียงครั้งเดียว[3] พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระยโสธราเถรีว่าเป็นเอตทัคคะ 6 ด้านคือ[23]
- แสดงฤทธิ์เหนือสามัญชนได้
- มีหูทิพย์ ฟังเสียงได้ในที่ไกลได้
- ทายใจผู้อื่นได้
- ระลึกชาติได้
- มีตาทิพย์ มองเห็นในที่ไกลได้
- ทำเรื่องหมองใจให้คลายสิ้นไปได้
เมื่อพระมหาปชาบดีโคตมีเถรีนิพพานล่วงไปแล้ว พระยโสธราเถรีจึงเป็นใหญ่ในหมู่ภิกษุณี ปกครองภิกษุณี 100,000 รูป[1]
นิพพาน
[แก้]พระยโสธราเถรีนิพพานในพรรษาที่ 43 แห่งพระผู้มีพระภาค ขณะมีพระชนมายุได้ 78 พรรษา ก่อนที่พระนางจะนิพพาน พระยโสธราเถรีได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลลาไว้ ความว่า "หม่อมฉันมีอายุได้ 78 ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัยแล้ว ถึงความเป็นผู้มีกายค้อมลงโดยลำดับ ขอกราบทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมีวัยแก่หง่อม ชีวิตของหม่อมฉันมีอยู่นิดหน่อย หม่อมฉันจักละพระองค์ไป ที่พึ่งของตนหม่อมฉันทำไว้แล้ว ในกาลปัจฉิมวัยนี้ ความตายเข้ามาปิดล้อมไว้แล้ว ข้าแต่พระมหาวีระ หม่อมฉันจักนิพพานในคืนวันนี้"[1] และกล่าวอีกว่า "ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันไม่มีชาติชรา พยาธิ และมรณะ หม่อมฉันจักเข้าถึงนิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นบุรีที่ไม่มีความแก่ ความตาย และไม่มีภัย บริษัทที่เข้าเฝ้าพระองค์อยู่ รู้จักความผิด จึงขอประทานโทษ เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา ข้าแต่พระมหาวีระ เมื่อหม่อมฉันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสาร หากมีความผิดพลาดในพระองค์ หม่อมฉันกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดยกโทษให้แก่หม่อมฉันด้วยเถิด"[1]
เมื่อพระพุทธเจ้าสดับความเช่นนั้น จึงตรัสไปว่า "เมื่อเธอบอกว่าจะลานิพพาน ตถาคตจะไปว่าอะไรเธอให้มากเล่า เธอผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของเรา จงแสดงฤทธิ์ และตัดความสงสัยของบริษัททั้งปวงในศาสนาเถิด"[1] หลังจากนั้นพระยโสธราเถรีได้แสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ และขอขมาในการล่วงเกินพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งทางกาย วาจา ใจ ในครั้นเมื่อใช้ชีวิตคู่ร่วมกันหลายกัปในกาลก่อน แล้วเสด็จสู่พระนิพพาน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "ยโสธราเถริยาปทาน". พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Wilson, Liz (2013). Family in Buddhism. SUNY Press. p. 191. ISBN 9781438447537.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "ประวัติพระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่". ประตูสู่ธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-09. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Lord Buddha and His Teachings". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.
- ↑ French text: Yashodhara (glorieuse) est la cousine et l’épouse principale de Gautama, mère de son fils Rahula. Connue par les Jatakas (légendes de la vie du Bouddha), elle serait devenue du vivant de Gautama une ascète, une nonne prééminente et l’un des quatre arahants de son entourage possédant l’intuition absolue 1. Les détails de sa légende sont de nos jours surtout populaires dans le bouddhisme theravada. Elle est également nommée Yashodhara Theri (doyenne Yashodhara), Bimbadevi, Bhaddakaccana ou Rahulamata (mère de Rahula). เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ AN 1. 14. 5. 11 states: "Etadaggaṃ bhikkhave mama sāvikānaṃ bhikkhunīnaṃ mahābhiññappattānaṃ yadidaṃ bhaddakaccānā" (SLTP) เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Bv, PTS p. 65, v. 15 states: "Cattārīsa sahassāni nāriyo samalaṅkatā / Bhaddakaccānā2 nāma nārī rāhulo nāma atrajo" (SLTP) เก็บถาวร 2012-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "IX:12 King Suppabuddha blocks the Lord Buddha's path". Members.tripod.com. 2000-08-13.
- ↑ "Dhammapada Verse 128 Suppabuddhasakya Vatthu". Tipitaka.net.
- ↑ K.T.S. Sarao (2004). "In-laws of the Buddha as Depicted in Pāli Sources". Chung-Hwa Buddhist Journal. Chung-Hwa Institute of Buddhist Studies (17). ISSN 1017-7132.
- ↑ "Suppabuddha". Dictionary of Pali Names.
- ↑ "Koliyā". Palikanon.com.
- ↑ พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. "ศากยวงศ์". ประตูสู่ธรรม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "พระญาติฝ่ายพระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-05. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แคว้นสักกะและศากยวงศ์". พุทธะ. 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-05. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Why was the Sakyan Republic Destroyed? by S. N. Goenka (Translation and adaptation of a Hindi article by S. N. Goenka published by the Vipassana Research Institute in December 2003, archived)
- ↑ อดิเทพ พันธ์ทอง (20 พฤษภาคม 2559). "พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): "สิทธัตถะ" เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เกิดเหตุอันอัศจรรย์ เกิดสหชาติทั้ง 7 ในกาลประสูติมีอะไรบ้าง". วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สหชาติทั้ง ๗". พุทธะ. 18 ธันวาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-29. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนาโดยครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๐ ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว". 84000.org. 28 ตุลาคม 2545. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๓ เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลาผนวช". 84000.org. 28 ตุลาคม 2545. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "The Compassionate Buddha". Geocities.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
- ↑ "สามเณรราหุล". ธรรมะไทย. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อิสระพร บวรเกิด. "สิ่งที่ พระนางพิมพา ทำเพื่อพระพุทธเจ้า…แง่มุมที่ชาวพุทธไม่ค่อยรู้". Goodlife Update. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยโสธรา
- ยโสธรา (พระภัททากัจจานาเถรี), เอตทัคคะผู้ได้บรรลุอภิญญาใหญ่ (๔)