ปางพระพุทธรูป
หน้าตา
ปางพระพุทธรูป คือ ลักษณะของรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าในอิริยาบถต่าง ๆ ซึ่งสร้างขึ้นตามความเชื่อในพุทธประวัติ โดยช่างสมัยโยนก (คันธารราฐ) ราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. 863-1023) เป็นชาวกรีกพวกแรกที่กำหนดรูปแบบปางพระพุทธรูป ต่อมาช่างชาวอินเดียฝ่ายใต้ ซึ่งเป็นชาวกลิงคราฐข้างฝ่ายใต้ รวมทั้งในยุคสมัยต่าง ๆ ในภายหลังได้คิดปางพระพุทธรูปเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
ลำดับยุคสมัยของการเกิดปางพระพุทธรูป
[แก้]- สมัยคันธาระ (กรีก) มีอยู่ 9 ปาง ด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางปฐมเทศนา ปางอุ้มบาตร ปางประทานพร ปางประทานอภัย ปางลีลา ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางปรินิพพาน
- อินเดียใต้ เมืองมธุร และอมราวดี (อินเดีย) มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางตรัสรู้ ปางเทศนา ปางทรมานพญาวานร ปางทรมานช้างนาฬาคีรี ปางลีลา ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางปรินิพพาน
- ลังกา มีอยู่ 5 ปางด้วยกัน คือ ปางสมาธิ ปางรำพึง ปางลีลา ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยทวาราวดี มีอยู่ 10 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางเทศนา ปางลีลา ปางประทานอภัย ปางประทานพร ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางบรรทม ปางโปรดสัตว์ และปางปรินิพพาน
- สมัยศรีวิชัย มีอยู่ 6 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางลีลา ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยลพบุรี มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางนาคปรก ปางลีลา ปางประทานพร ปางประทานอภัย และปางปรินิพพาน
- สมัยเชียงแสน มีอยู่ 10 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางถวายเนตร ปางอุ้มบาตร ปางลีลา ปางเปิดโลก ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ปางประทับนั่งห้อยพระบาท ปางประทับยืน และปางไสยา
- สมัยสุโขทัย มีอยู่ 8 ปาง ด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางถวายเนตร ปางประทับยืน ปางประทานพร ปางประทานอภัย ปางลีลา และปางไสยา
- สมัยอยุธยา มีอยู่ 7 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทับยืน ปางลีลา ปางป่าเลไลยก์ ปางประทานอภัย และปางไสยา
- สมัยรัตนโกสินทร์ มีอยู่ 6 ปางด้วยกัน คือ ปางมารวิชัย ปางสมาธิ ปางประทานอภัย ปางขอฝน ปางหมอยา และปางไสยา
ปางต่างๆ ของพระพุทธรูป
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
- เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
- สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
- ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
- แสง มนวิทูร, ผู้แปล, คัมภีร์ลลิตวิสตระ: พระพุทธประวัติฝ่ายมหายาน, ตอนที่ 1 อัธยายที่ 1(พระนคร: กรมศิลปากร, 2512), 487.
- มอนต์ จันทนากร, ทำเนียบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ (กรุงเทพฯซ นครช่างการพิมพ์, 2527),6.