ประวัติยูทูบ
ยูทูบก่อตั้งขึ้นโดยพนักงานของบริษัทเพย์แพล ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับการแบ่งปันวีดิทัศน์ โดยที่สมาชิกของยูทูบสามารถอัปโหลดและสำรวจวีดิทัศน์ได้[1] โดเมนเนมของยูทูบมีว่า "www.youtube.com
" ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 เวลา 09:13 นาฬิกา[2]
ก่อตั้ง
[แก้]ยูทูบก่อตั้งโดยแชด เฮอร์ลีย์, สตีฟ เชน และยาวีด คาริม โดยทั้งหมดเป็นพนักงานฝึกหัดที่บริษัทเพย์แพล เพื่อที่จะเข้าเป็นบุคลากรของบริษัทเพย์แพล[3] โดยเฮอร์ลีย์ได้เข้ามหาวิทยาลัยอินเดียดาแห่งเพนสิเวอร์เนีย ด้านการออกแบบ เชนกับคาริมศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์[4] โดยสำนักงานแห่งแรกของยูทูบอยู่ที่ข้างบนร้านพิซซาและร้านอาหารญี่ปุนในซานเมเทโฮ รัฐแคลิฟอร์เนีย[5]
โดเมนเนมเริ่มแรกเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 พร้อมกับการรวมวีดิทัศน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2004 เป็นการเริ่มค้นคลิปวีดิทัศน์แห่งแรกในยูทูบ ชื่อวีดิทัศน์ Me at the zoo เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2005 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ ยาวีด คาริม ถ่ายที่สวนสัตว์ซานดิอิโก[7][8]
สำนักงานยูทูบได้รับเงินเริ่มกิจการจากนักลงทุนผู้เมตตาปราณีที่สำนักงานชั่วคราวในโรงจอดรถ[9] เดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 บริษัทนักลงทุน สิโคอิ แคพปิเทิล ได้ลงทุนเริ่มแรก ในจำนวนเงิน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โรอิโลฟ โบธาร์ (เป็นหุ้นส่วนของบริษัทนักลงทุน และอดีตประธานด้านการเงินของบริษัทเพย์แพล) ได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการสำนักงานยูทูบ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 คณะจัดการบริหารสิโคอิ แอนด์อาร์ติส แคพปิเทิล ได้ลงทุนเป็นเงินอีก 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระยะเวลา 2-3 เดือน สำนักงานเติบโตอย่างน่าใจหายมาก[10]
เติบโต
[แก้]ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2006 เว็บไซต์อย่างยูทูบ ได้กลายเป็นเว็บไซต์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในเวิลด์ไวด์เว็บ[11] ซึ่งมีวีดิทัศน์ที่ถูกอัปโหลดมากถึง 65,000 วีดิทัศน์ ในเดือนกรกฎาคม ยูทูบมีผู้เข้าชมเฉลี่ยแล้วได้ถึง 100 ล้านครั้งต่อวัน เว็บไวต์ยังติดอันดับที่ 15 ของเว็บไซต์ที่มียอดผู้เข้าชมเป็นอย่างมากที่สุดในโลก จัดอันดับโดย อเล็กสาร์ ซึ่งทำให้มีมายสเปกตกอันดับมา[12] ยูทูบเป็นเว็ปไซต์ที่มีผู้เข้าชม 20 ล้านคนต่อเดือนตามการบันทึกของเนลสัน/เน็ตแรงติงก์ โดยแยกออกมาเป็นผู้ชมเพศหญิง ร้อยละ 44 และเพศชาย ร้อยละ 56 โดยอยู่ในช่วงอายุประมาณ 12 - 17 ปีที่เข้าเว็ปไซต์มากที่สุดในยูทูบ[13] ความเด่นของยูทูบคือการตลาดที่เป็นรูปธรรม เว็ปไซต์ Hitwise.com ได้กล่าวว่า ยูทูบได้ทำการตลาดวีดิทัศน์ออนไลน์ในสหราชอาณาจักรถึง ร้อยละ 64[14]
ยูทูบได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์กับเอ็นบีซี เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2006[15]
ขายให้กูเกิล
[แก้]วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2006 บริษัทได้ประกาศว่าจะขายกิจการให้กับบริษัทกูเกิล ในจำนวนเงิน 1.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตกลงกันเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ในช่วงเวลานั้นถือว่ากูเกิลได้ซื้อหุ้นได้ราคาที่มหาศาลเป็นอันดับที่ 2[16] ยูทูบได้ทำข้อตกลงกับกูเกิลในเรื่องลิขสิทธิ์ของวิดีโอ โดยให้กูเกิลถูกต้องโดยชอบธรรม ยูทูบได้วางแผนที่จะดำเนินงานโดยมีผู้ที่ร่วมก่อตั้งและพนักงานอีก 68 คนจากบริษัทกูเกิลทำงาน[17]
กูเกิลได้ยื่นเอกสารให้กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โดยเป็นการเปิดเผมกำไรของผู้ที่ลงทุนกับบริษัทยูทูบ ใน ค.ศ. 2010 ผู้ร่วมก่อตั้งแชด เฮอร์ลีย์ มีรายได้อยู่ที่ 395 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสตีฟ เชน มีรายได้อยู่ที่ 326 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18]
บุคคลแห่งปี
[แก้]ในปี ค.ศ. 2006 นิตยสารที่ชื่อว่า ไทม์ ได้ขึ้นรูปภาพหน้าจอของเว็บไซต์ยูทูบ ซึ่งอยู่ในกระจกบานใหญ่ พร้อมกับข้อความระบุ "บุคคลแห่งปี" เพื่อสื่อถึงผู้ใช้ที่ได้สร้างวีดิทัศน์ขึ้นใหม่ในยูทูบ และผู้ก่อตั้งรวมถึงนักออกแบบหลายคนในยูทูบ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล และเดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้นำเรื่องเกี่ยวกับเว็บไซต์ยูทูบมาทำเป็นหัวข้อ จนส่งผลต่อการรับสมัครบุคลากรและการประชาสัมพันธ์ของเว็บไซต์ นิตยสารด้านเทคโนโลยีอย่าง พี ซี เวิลด์ จัดอันดับให้เว็ปไซต์ยูทูบเป็นสินค้าที่ดีที่สุดในปี ค.ศ. 2006 เป็นอันดับ 9 จาก 10 อันดับ[19] ปี ค.ศ. 2007 นิตยสารสปอตร์ อิสสารูเชน และนิตยสารไดมี่ ได้นำข้อวิจารณ์ในยูทูบไปใช้ของวิดีโอ The Ultimate Pistol Pete Maravich MIX[20]
เติบโตอย่างต่อเนื่อง
[แก้]ในปี ค.ศ. 2007 ยูทูบคาดว่าความกว้างของแถบคลื่นความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมากในโลกไซเบอร์เป็นหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 2000[21]
ยูทูบ อวอร์ด หรือรางวัลยูทูบ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2007 โดยที่จะมอบให้ผู้ใช้ที่สร้างวีดิทัศน์ที่เป็นที่ชื่นชอบของเหล่าผู้ใช้ยูทูบอื่น โดยจะเป็นการคัดเลือกด้วยการเลือกวีดิทัศน์ของปีที่แล้ว มารับรางวัลในปีต่อไปหลังจากปีนั้น[22]
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ถึงวันที่ 28 พฤษจิกายน ค.ศ. 2007 ซีเอ็นเอ็นและยูทูบ ได้ร่วมกันเผยแพร่การโต้วาทีของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจากโทรทัศน์สู่โลกอินเทอร์เน็ต ระหว่างพรรคเดโมแครต และพรรครีพับลิกัน โดยมีการส่งคำถามผ่านยูทูบ[23][24]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ยูทูบได้ทำความตกลงกับเอ็มจีเอ็ม, ไลออนเกสต เอ็นเตอร์เทนเม็นทร์ และซีบีเอ็น โดยที่สามารถนำวีดิทัศน์เข้าฉายลงบนยูทูบ และโฆษณาคั่นระหว่าง โดยผู้ดูในสหรัฐเรียกว่า "โชว์" โดยที่ทำเพื่อแข่งกับเว็บไซต์อย่างฮูลู ซึ่งมีเนื้อหาจากเอ็นบีซี, ฟอกร์ และดิสนีย์[25][26]
ยูทูบได้รับรางวัล เพอร์บอดี 2008 ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นผู้ที่เป็นหน่วยกระจายข่าวตรงหัวมุม เนื่องจากยูทูบมีการส่งเสริมในเรื่องของประชาธิปไตย (เช่น ยูทูบ อวร์ด)[27][28]
ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2009 ยูทูบได้จดโดเนมเมนของเว็ปไชต์ว่า www.youtube-nocookie.com
สำหรับวีดิทัศน์ที่ฝังตัวอยู่ในเว็บไซต์รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา[29][30] ในเดือนพฤษจิกายน ยูทูบได้เปิดตัวรุ่นสำหรับผู้ชมในสหราชอาณาจักรที่ชื่อว่า โชว์ โดยมีผู้ชมมากถึงกว่า 4,000 คนจากกว่า 60 คู่[31]
ในปลายเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 เอ็นเตอร์เท็นเมนต์ วีคลีก ได้มอบรางวัลให้กับยูทูบในวาระครบรอบ 10 ปี ในด้านดีที่สุด โดยให้เหตุผลว่า: "Providing a safe home for piano-playing cats, celeb goof-ups, and overzealous lip-synchers since 2005."[32]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010[33] ยูทูบได้เปิดบริการพิเศษโดยที่สามารถดูภาพยนตร์ได้ เปิดเฉพาะในประเทศแคนาดา, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[34][35] โดยได้บริการไปแล้วกว่า 6,000 เรื่อง[36]ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 ยูทูบได้ถ่ายทอดสดฟรีในการแข่งขันคริกเกต 60 กว่ารอบ ที่การแข่งขันอินเดียพรีเมียมลีก การแข่งขันครั้งนี้ ยูทูบได้ถ่ายทอดสดฟรีในการแข่งขันกีฬารายใหญ่เป็นครั้งแรกในเว็บไซต์[37]
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2010 ยูทูบได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าเว็บใหม่ เพื่อทำให้สะดวก และเพิ่มเวลามากขึ้น ผู้บริหารผลิตภัณฑ์กูเกิ้ล ชีวาร์ ราจารแมนท์ ได้กล่าวไว้ว่า: "พวกเราจำเป็นต้องกลับหลัง เพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน"[38] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีผู้ชมดูเว็บไซต์ยูทูบกว่า 2 พันล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเท่ากับผู้ชมในช่วงเวลายอดนิยมที่ชมรายการใหญ่ 3 รายการในสหรัฐมารวมกัน[39] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ยูทูบได้รายงานในเว็บของตนว่า มีผู้ชมดูอัปโหลดวีดิทัศน์ในเว็บไซต์กว่า 3 พันล้านครั้งต่อวัน[40] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ยูทูบได้แจ้งว่ามีผู้ชมอัปโหลดวิดีโอรวมแล้ว 4 พันล้านวีดิทัศน์ต่อวัน[41]
ตามข้อมูลเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 บริษัทสำรวจการตลาด คอมสกอร์ ได้ประกาศว่า เว็บไซต์ยูทูบถือว่าเป็นเว็บไซต์ออนไลน์ที่เผยแพร่วีดิทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐ โดยมีสัดส่วนการตลาดร้อยละ 43 มีผู้ชมเข้าดูเว็บไซต์ 14 พันล้านคนต่อวัน[42]
เจมส์ เซน วิศวกรด้านซอฟต์แวร์ประจำยูทูบ ได้เปิดเผยว่าในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 วีดิทัศน์ในร้อยละ 30 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 99 ของเว็บไซต์[43]
ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 กูเกิล พัส เว็บไซต์ด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้รวมกับเว็บไซต์ยูทูบ และเว็บไซต์ค้นหาอย่าง โคลม, เพื่อให้สามารถดูวีดิทัศน์จากเว็บไซต์จากภายในอินเทอร์เฟซของกูเกิล พัทได้[44] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 เว็บไซต์ยูทูบได้เปิดตัวอินเทอร์เฟซใหม่ของเว็บไซต์โดยมีช่องวิดีโอที่แสดงในคอลัมน์กลางของหน้าแรกคล้ายกับฟีดข่าวของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์[45] ในขณะเดียวกันสัญลักษณ์ของเว็บไซต์ยูทูบแบบใหม่ก็ได้รับการแนะนำให้เปลี่ยนเป็นสีเข้มในสีแดงมากขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงในการออกแบบสัญลักษณ์ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[46]
ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา อเล็กซา ได้จัดอันดับให้เว็บไซต์ยูทูบเป็นเว็บไซต์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุด โดยรองจากเว็บไซต์กูเกิล และเฟซบุ๊ก[47]
ปลายปี ค.ศ. 2011 จนถึงต้นปี ค.ศ. 2012 เว็บไซต์ยูทูบได้เปิดตัวช่องทาง "พรีเมียม" หรือ "ดั้งเดิม" กว่า 100 ช่อง มีรายงานว่าอาจจะมีการใช้งบประมาณถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ[48] อีกสองปีต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 มีรายงานว่าหน้าหลักของช่องทางเดิมได้ปรากฏเป็นหน้าเว็บไซต์ข้อผิดพลาด 404 [49][50]อย่างไรก็ตามเหตุผิดพลาดก็ไม่กระทบกับช่องเดิม เช่น เซาเฟต และ คราต ครูซ ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จได้เหมือนเดิม[51][52]
มีการเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมในปี ค.ศ. 2012 โดยได้แทนที่ระบบวิว-เบสด์ เพื่อสำหรับจำนวนคนดูหนึ่งคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมในหมวดหมู่ของช่องเกม[53]
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 เป็นครั้งแรกของยูทูบที่ได้มีโอกาสได้ถ่ายทอดสดการโต้วาทีของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ร่วมกับ เอบีซี นิวส์[54]
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2012 คำขวัญของยูทูบ (ถ่ายทอดตัวของคุณเอง) ได้ถูกถอดถอนลง เนื่องจากกระแสการถ่ายทอดสดการโต้วาทีของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
ยูทูบได้ออกแบบและปรับปรุงระบบใหม่ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงในส่วนของโปรแกรมบนโทรศัพท์และแท้ฐเล็ต เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 กังนัมสไตล์ ได้เป็นวีดิทัศน์แรกที่มียอดผู้ดูเกินหนึ่งพันล้านคน[55]
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 จำนวนของผู้ดูที่ถูกคัดกรองแล้วไม่ซ้ำกันมีเกินหนึ่งล้านครั้งต่อหนึ่งเดือน[56] ในปีเดียวกัน ยูทูบยังได้ทันสมัยต่อเหตุการณ์ โดยมีการเปิดตัวสัปดาห์ตลกยูทูบ กัยยูทูบมิวสิกอวอด์[57][58] เหตุการณ์ทั้งสองได้ถูกให้ความคิดเห็นเชิงลบขั้นสุด[59][60][61][62] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2013 เฟลิกซ์ อาร์วิด อุลฟ์ เชลล์แบรย์ ได้เป็นช่องยูทูบแรกในยูทูบที่มีผู้ติดตามมากที่สุดบนเว็บไซต์ โดยมีชื่อช่องว่า พิวดีพาย เนื่องจากผู้ลงทะเบียนใหม่บนยูทูบจะได้รับข้อความในการแจ้งแนะนำช่องทุกครั้ง[63]
เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2018 ได้เกิดเหตุกราดยิง ณ ที่ทำการใหญ่ของเว็บไซต์ยูทูบ[64]
นานาชาติ
[แก้]เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทกูเกิล เอริก ชมิดต์ ซึ่งในขณะนั้นอยู่ที่ปารีส ได้ประกาศเปิดตัวเว็บไซต์ภาษาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ [65] จนถึงขณะนี้เว็บไซต์สามารถใช้งานในภูมิภาคได้ 89 ประเทศรวมถึงเขตการบริหารพิเศษอีก 1 แห่ง (ประเทศฮ่องกง) และทั่วโลก[66]
ประเทศ | ภาษา | วันที่เปิดตัว | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|
สหรัฐ (และทั่วโลก) | ภาษาอังกฤษ | 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005[65] | เปิดตัวเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ | |
บราซิล | ภาษาโปรตุเกส | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | เว็บไซต์ยูทูบนอกสหรัฐฯ ประเทศแรกของโลก | |
ฝรั่งเศส | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาบาสก์ | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
ไอร์แลนด์ | ภาษาอังกฤษ | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
อิตาลี | ภาษาอิตาลี | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
ญี่ปุ่น | ภาษาญี่ปุ่น | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
เนเธอร์แลนด์ | ภาษาดัตช์ | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
โปแลนด์ | ภาษาโปแลนด์ | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
สเปน | ภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษากาตาลา และภาษาบาสก์ | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ||
สหราชอาณาจักร | ภาษาอังกฤษสำเนียงบริติช | 19 มิถุนายน ค.ศ. 2007[65] | ยังขยายตัวต่อเนื่องในหลายพื้นที่ | |
เม็กซิโก | ภาษาสเปนสำเนียงเม็กซิกัน | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2007[67] | ||
ฮ่องกง | ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007[68] | ถูกบล็อกในประเทศจีน | |
ไต้หวัน | ภาษาจีน | 18 ตุลาคม ค.ศ. 2007[69] | ||
ออสเตรเลีย | ภาษาอังกฤษ | 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007[70] | ||
นิวซีแลนด์ | ภาษาอังกฤษ | 22 ตุลาคม ค.ศ. 2007[70] | ||
แคนาดา | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ | 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[71] | ||
เยอรมนี | ภาษาเยอรมัน | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[72] | ||
รัสเซีย | ภาษารัสเซีย | 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007[73] | ||
เกาหลีใต้ | ภาษาเกาหลี | 23 มกราคม ค.ศ. 2008[74] | เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 2008 | |
อินเดีย | ภาษาฮินดี, ภาษาเบงกอล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาคุชราต, ภาษากันนาดา, ภาษามลยาฬัม, ภาษามราฐี, ภาษาทมิฬ, ภาษาเตลูกู และภาษาอูรดู | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[75] | ||
อิสราเอล | ภาษาฮีบรู | 16 กันยายน ค.ศ. 2008 | ||
เช็กเกีย | ภาษาเช็ก | 9 ตุลาคม ค.ศ. 2008[76] | ||
สวีเดน | ภาษาสวีเดน | 22 ตุลาคม ค.ศ. 2008[77] | ยังไม่ระบุโดเมนที่แน่ชัดจนกระทั่งในปี ค.ศ. 2009 | |
แอฟริกาใต้ | ภาษาอาฟรีกานส์, ภาษาซูลู และภาษาอังกฤษ | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2010[65] | เว็บไซต์ยูทูบประเทศแรกที่เปิดตัวในภูมิภาคแอฟริกา | |
อาร์เจนตินา | ภาษาสเปน | 8 กันยายน ค.ศ. 2010[78] | ||
แอลจีเรีย | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
อียิปต์ | ภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
จอร์แดน | ภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
โมร็อกโก | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
ซาอุดีอาระเบีย | ภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
ตูนิเซีย | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
เยเมน | ภาษาอารบิก | 9 มีนาคม ค.ศ. 2011[79] | ||
เคนยา | ภาษาสวาฮีลี และภาษาอังกฤษ | 1 กันยายน ค.ศ. 2011[80] | ||
ฟิลิปปินส์ | ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษแบบฟิลิปปินส์ | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2011[81] | ||
สิงคโปร์ | ภาษาสิงคโปร์, ภาษามลายู, ภาษาจีน และภาษาทมิฬ | 20 ตุลาคม ค.ศ. 2011[82] | ||
เบลเยียม | ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาดัตช์ และภาษาเยอรมัน | 16 พฤษจิกายน ค.ศ. 2011[65] | เว็บไซต์ส่วนกลาง | |
โคลอมเบีย | ภาษาสเปน | 30 พฤษจิกายน ค.ศ. 2011[83] | ||
ยูกันดา | ภาษาอังกฤษ | 2 ธันวาคม ค.ศ. 2011[84] | ก่อนหน้านั้นเคยใช้เว็บไซต์ภาษาสวาฮิลี | |
ไนจีเรีย | ภาษาอังกฤษ | 7 ธันวาคม ค.ศ. 2011[85] | ||
ชิลี | ภาษาสเปน | 20 มกราคม ค.ศ. 2012[86] | เปิดตัวในปี ค.ศ. 2012 | |
ฮังการี | ภาษาฮังการี | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[87] | ||
มาเลเซีย | ภาษามลายูและภาษาอังกฤษ | 22 มีนาคม ค.ศ. 2012[88] | ||
เปรู | ภาษาสเปน | 25 มีนาคม ค.ศ. 2012[89] | ||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | ภาษาอารบิก และภาษาอารบิก | 1 เมษายน ค.ศ. 2012[90] | ||
กรีซ | ภาษากรีก | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 | ||
อินโดนีเซีย | ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ | 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2012[91] | ||
กานา | ภาษาอังกฤษ | 5 มิถุนายน ค.ศ. 2012[92] | ||
เซเนกัล | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ | 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2012[93] | ||
ตุรกี | ภาษาตุรกี | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2012[94] | ||
ยูเครน | ภาษายูเครน | 13 ธันวาคม ค.ศ. 2012[95] | ||
เดนมาร์ก | ภาษาเดนิส | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[96] | ||
ฟินแลนด์ | ภาษาฟินแลนด์ และภาษาสวีเดน | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[97] | ||
นอร์เวย์ | ภาษานอร์เวย์ | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013[98] | ||
สวิตเซอร์แลนด์ | ภาษาเยอรมัน, ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี | 29 มีนาคม ค.ศ. 2013[99] | ||
ออสเตรีย | ภาษาเยอรมัน | 29 มีนาคม ค.ศ. 2013[100] | ||
โรมาเนีย | ภาษาโรมาเนีย | 18 เมษายน ค.ศ. 2013[101] | ||
โปรตุเกส | ภาษาโปรตุเกส | 25 เมษายน ค.ศ. 2013[102] | ||
สโลวาเกีย | ภาษาสโลวัก | 25 เมษายน ค.ศ. 2013[103] | ||
บาห์เรน | ภาษาอารบิก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104] | ||
คูเวต | ภาษาอารบิก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104] | ||
โอมาน | ภาษาอารบิก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104] | ||
กาตาร์ | ภาษาอารบิก | 16 สิงหาคม ค.ศ. 2013[104] | ||
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา | ภาษาบอสเนีย, ภาษาโครเอเชีย และภาษาเซอร์เบีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 | ||
บัลแกเรีย | ภาษาบัลแกเรีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[105] | ||
โครเอเชีย | ภาษาโครเอเชีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[106] | ||
เอสโตเนีย | ภาษาเอสโตเนีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[107] | ||
ลัตเวีย | ภาษาลัตเวีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[108] | ||
ลิทัวเนีย | ภาษาลิทัวเนีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 | ||
มาซิโดเนียเหนือ | ภาษามาซิโดเนีย, ภาษาเซอร์เบีย และภาษาตุรกี | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 | ||
มอนเตเนโกร | ภาษาเซอร์เบีย และภาษาโครเอเชีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 | ||
เซอร์เบีย | ภาษาเซอร์เบีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014 | ||
สโลวีเนีย | ภาษาสโลวีเนีย | 17 มีนาคม ค.ศ. 2014[109] | ||
ไทย | ภาษาไทย | 1 เมษายน ค.ศ. 2014[110] | ||
เลบานอน | ภาษาอารบิก | 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2014[104] | ||
ปวยร์โตรีโก | ภาษาสเปน และภาษาอังกฤษ | 23 สิงหาคม ค.ศ. 2014 | ก่อนหน้านั้นเคยใช้เว็บไซต์ภาษาสเปนและอเมริกา | |
ไอซ์แลนด์ | ภาษาไอซ์แลนด์ | ?, ค.ศ. 2014 | ||
ลักเซมเบิร์ก | ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน | ?, ค.ศ. 2014 | ||
เวียดนาม | ภาษาเวียดนาม | 1 ตุลาคม ค.ศ. 2014 | ||
ลิเบีย | ภาษาอารบิก | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 | ถูกบล็อกในปี ค.ศ. 2010 แต่ได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2011 | |
แทนซาเนีย | ภาษาสวาฮิลี และภาษาอังกฤษ | 2 มิถุนายน ค.ศ. 2015 | ||
ซิมบับเว | ภาษาอังกฤษ | 2 มิถุนายน ค.ศ. 2015 | ||
อาเซอร์ไบจาน | ภาษาอาเซอร์ไบจาน | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111] | ||
เบลารุส | ภาษารัสเซีย | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111] | ||
จอร์เจีย | ภาษาจอร์เจีย | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111] | ||
คาซัคสถาน | ภาษาคาซัค | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2015[111] | ||
อิรัก | ภาษาอารบิก | 9 พฤษจิกายน ค.ศ. 2015[ต้องการอ้างอิง] | ||
เนปาล | ภาษาเนปาล | 12 มกราคม ค.ศ. 2016[112] | ||
ปากีสถาน | ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษ | 12 มกราคม ค.ศ. 2016[113] | ถูกบล็อกในปี ค.ศ. 2012 แต่ได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 2015 | |
ศรีลังกา | ภาษาสิงหล และภาษาทมิฬ | 12 มกราคม ค.ศ. 2016[114] | ||
จาเมกา | ภาษาอังกฤษแบบจามิกา | 4 สิงหาคม ค.ศ. 2016[ต้องการอ้างอิง] | ||
มอลตา | ภาษาอังกฤษ | 24 มิถุนายน ค.ศ. 2018 | ||
โบลิเวีย | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
คอสตาริกา | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
เอกวาดอร์ | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
เอลซัลวาดอร์ | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
กัวเตมาลา | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
ฮอนดูรัส | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
นิการากัว | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
ปานามา | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
อุรุกวัย | ภาษาสเปน | 30 มกราคม ค.ศ. 2019 | ||
ปารากวัย | ภาษาสเปน และภาษากวารานี | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 | ||
สาธารณรัฐโดมินิกัน | ภาษาสเปน | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 | ||
ไซปรัส | ภาษากรีก และภาษาตุรกี | 13 มีนาคม ค.ศ. 2019 | เปิดตัวเว็บไซต์ภาษาท้องถิ่นเป็นประเทศสุดท้ายในกลุ่มสหภาพยุโรป | |
ลีชเทินชไตน์ | ภาษาเยอรมัน | 13 มีนาคม ค.ศ. 2019 |
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 มีการประกาศว่าเว็บไซต์ยูทูบสามารถใช้งานในประเทศฮ่องกงได้ หนึ่งในผู้สร้างเว็บไซต์ยูทูบ สตีฟ เชน ยังระบุอีกว่าเว็บไซต์จะเปิดตัวที่ประเทศไต้หวันอีกด้วย[115][116]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Hopkins, Jim (August 21, 2003). "Surprise! There is a third YouTube co-founder". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ "YouTube.com WHOIS, DNS, & Domain Info - DomainTools". WHOIS. 2016. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
- ↑ Graham, Jefferson (November 21, 2005). "Video websites pop up, invite postings". USA Today. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
- ↑ Wooster, Patricia (2014). YouTube founders Steve Chen, Chad Hurley, and Jawed Karim. ISBN 1467724823. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
- ↑ Sara Kehaulani Goo (October 7, 2006). "Ready for Its Close-Up". Washington Post. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ "YouTube on May 7, 2005". Wayback Machine. พฤษภาคม 7, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 7, 2005. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 31, 2015.
- ↑ Alleyne, Richard (July 31, 2008). "YouTube: Overnight success has sparked a backlash". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ January 17, 2009.
- ↑ Jawed Karim and Yakov Lapitsky (April 23, 2005). "Me at the Zoo" (Video). YouTube. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ Woolley, Scott (March 3, 2006). "Raw and Random". Forbes. Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ July 28, 2006.
- ↑ "Sequoia's Investment Memo on YouTube". Thornbury Bristol (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). มิถุนายน 11, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤศจิกายน 22, 2016. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 21, 2016.
- ↑ "YouTube is the Fastest Growing Website", Gavin O'malley, Advertising Age, July 21, 2006.
- ↑ "Info for YouTube.com". Alexa.com. Amazon.com. July 26, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ July 26, 2006.
- ↑ "YouTube U.S. Web Traffic Grows 17 Percent Week Over Week, According to Nielsen//Netratings" (PDF). Netratings, Inc. Nielsen Media Research. July 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Press Release)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ September 12, 2006.
- ↑ James Massola (October 17, 2006). "Google pays the price to capture online video zeitgeist". Eureka Street. Vol. 16 no. 15. Jesuit Communications Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ October 18, 2006.
- ↑ "Online Video: The Market Is Hot, but Business Models Are Fuzzy". สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
- ↑ "Google closes $A2b YouTube deal". The Age. Melbourne. Reuters. November 14, 2006. สืบค้นเมื่อ March 3, 2007.
- ↑ La Monica, Paul R. (October 9, 2006). "Google to buy YouTube for $1.65 billion". CNNMoney. CNN. สืบค้นเมื่อ October 9, 2006.
- ↑ Schonfeld, Erick. "Chad Hurley's Take From The Sale Of YouTube: $334 Million". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
- ↑ Stafford, Alan (May 31, 2006). "The 100 Best Products of 2006". PC World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2008. สืบค้นเมื่อ March 3, 2007.
- ↑ "GooTube: Google buys YouTube". Boing Boing. ตุลาคม 9, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 19, 2007. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 4, 2007.
- ↑ Carter, Lewis (April 7, 2008). "Web could collapse as video demand soars". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ April 21, 2008.
- ↑ Coyle, Jake (March 20, 2007). "YouTube announces awards to recognize best user-created videos of the year". USA Today. Associated Press. สืบค้นเมื่อ March 17, 2008.
- ↑ Gough, Paul (July 25, 2007). "CNN's YouTube debate draws impressive ratings". Reuters. p. 1. สืบค้นเมื่อ August 3, 2007.
- ↑ "Part I: CNN/YouTube Republican presidential debate transcript - CNN.com". CNN. November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ April 30, 2010.
- ↑ Brad Stone and Brooks Barnes (November 10, 2008). "MGM to Post Full Films on YouTube". The New York Times. สืบค้นเมื่อ November 29, 2008.
- ↑ Staci D. Kramer (April 30, 2009). "It's Official: Disney Joins News Corp., NBCU In Hulu; Deal Includes Some Cable Nets". paidContent. สืบค้นเมื่อ April 30, 2009.
- ↑ "Complete List of 2008 Peabody Award Winners". Peabody Awards, University of Georgia. เมษายน 1, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ พฤษภาคม 1, 2011. สืบค้นเมื่อ เมษายน 1, 2009.
- ↑ Ho, Rodney (April 2, 2009). "Peabody honors CNN, TMC". The Atlanta Journal-Constitution. สืบค้นเมื่อ April 14, 2009.
- ↑ Chris Soghoian (March 2, 2009). "Is the White House changing its YouTube tune?". CNET. สืบค้นเมื่อ August 25, 2017.
- ↑ "YouTube's Guide to Video Embedding for the U.S. Federal Government Overview". [ลิงก์เสีย]
- ↑ Allen, Kati (November 19, 2009). "YouTube launches UK TV section with more than 60 partners". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ December 13, 2009.
- ↑ "100 greatest movies, TV shows, and more". Entertainment Weekly's EW.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-09. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
- ↑ Miguel Helft (January 20, 2010). "YouTube takes a small step into the film rental market". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 13, 2010.
- ↑ Shiels, Maggie (January 21, 2010). "YouTube turns to movie rental business". BBC News. สืบค้นเมื่อ May 7, 2010.
- ↑ "YouTube to offer film rentals in the UK". BBC News. October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ October 7, 2011.
- ↑ Tsotsis, Alexia (May 9, 2011). "Google Partners With Sony Pictures, Universal And Warner Brothers For YouTube Movies". techcrunch.com. สืบค้นเมื่อ June 5, 2011.
- ↑ Sweney, Mark (January 20, 2010). "Cricket: IPL goes global with live online deal". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ February 6, 2010.
- ↑ Chapman, Glenn (April 1, 2010). "YouTube redesigns website to keep viewers captivated". Sydney Morning Herald. AFP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2010. สืบค้นเมื่อ April 1, 2010.
- ↑ Chapman, Glenn (May 18, 2010). "YouTube serving up two billion videos daily". Sydney Morning Herald. AFP. สืบค้นเมื่อ May 17, 2010.
- ↑ Shane Richmond (May 26, 2011). "YouTube users uploading two days of video every minute". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ May 26, 2011.
- ↑ Oreskovic, Alexei (January 23, 2012). "YouTube hits 4 billion daily video views". Reuters. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012.
- ↑ "comScore Releases May 2010 U.S. Online Video Rankings". comScore. June 24, 2010. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
- ↑ Whitelaw, Ben (April 20, 2011). "Almost all YouTube views come from just 30% of films". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ April 21, 2011.
- ↑ Whitney, Lance (November 4, 2011). "Google+ now connects with YouTube, Chrome". CNET. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
- ↑ "YouTube's website redesign puts the focus on channels". BBC. December 2, 2011. สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
- ↑ Cashmore, Pete (October 26, 2006). "YouTube Gets New Logo, Facelift, and Trackbacks – Growing Fast!". สืบค้นเมื่อ December 2, 2011.
- ↑ "Alexa Traffic Rank for YouTube (three-month average)". Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-07. สืบค้นเมื่อ September 23, 2012.
- ↑ Nakashima, Ryan (October 29, 2011). "YouTube launching 100 new channels". USA Today. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Gutelle, Sam (November 12, 2013). "YouTube Has Removed All References To Its Original Channels Initiative". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ "Error 404 (Not Found)!". YouTube. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Cicconet, Marcelo (April 7, 2013). "YouTube not just a site for entertainment, but education". Washington Square News. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Humphrey, Michael (July 27, 2012). "YouTube PrimeTime: Philip DeFranco's 'People First' Plan Has SourceFed Booming". Forbes. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ The Game Theorists (2017-05-07), Game Theory: How Minecraft BROKE YouTube!, สืบค้นเมื่อ 2017-06-22
- ↑ "YouTube Partners With ABC News To Offer Its First-Ever Live Stream of the U.S. Presidential Debates". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ October 1, 2012.
- ↑ Burns, Matt. "Gangnam Style Hits 1 Billion YouTube Views, The World Does Not End". TechCrunch. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
- ↑ "YouTube Reaches 1 Billion Users Milestone". CNBC. March 21, 2013. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Shields, Mike (May 28, 2013). "Arnold Schwarzenegger, Ryan Higa Win YouTube Comedy Week—Maybe". Adweek. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Spangler, Todd (October 21, 2013). "YouTube Music Awards Nominees Announced". Variety. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Jaworski (May 23, 2013). "YouTube has a Hollywood problem". The Daily Dot. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Gutelle, Sam (May 20, 2013). "Six Reasons Why YouTube's 'Big Live Comedy Show' Didn't Work". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Gelt, Jessica (November 3, 2013). "YouTube Music Awards: Eminem wins Artist of the Year ... wait, what?". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Gutelle, Sam (November 4, 2013). "The YouTube Music Awards Were Weird, And That's A Problem". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ Cohen, Joshua (November 4, 2013). "YouTube Is Now The Most Subscribed Channel On YouTube". Tubefilter. สืบค้นเมื่อ November 29, 2013.
- ↑ "Woman wounds 3 at YouTube headquarters in California before killing herself". www.msn.com.
- ↑ 65.00 65.01 65.02 65.03 65.04 65.05 65.06 65.07 65.08 65.09 65.10 65.11 65.12 Sayer, Peter (June 19, 2007). "Google launches YouTube France News". PC Advisor. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ สามารถดูรายชื่อประเทศที่มีเว็บไซต์ยูทูบในภาษาท้องถิ่นได้ที่ด้านล่างเว็บดังกล่าว
- ↑ "Presentan hoy YouTube México" [YouTube México launched today]. El Universal (ภาษาสเปน). October 11, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2009. สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
- ↑ "中文上線 – YouTube 香港中文版登場!". Stanley5. October 17, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-11. สืบค้นเมื่อ January 2, 2012.
- ↑ "YouTube台灣網站上線 手機版再等等". ZDNet. ตุลาคม 18, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 6, 2010. สืบค้นเมื่อ มกราคม 2, 2012.
- ↑ 70.0 70.1 Nicole, Kristen (October 22, 2007). "YouTube Launches in Australia & New Zealand". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ Nicole, Kristen (November 6, 2007). "YouTube Canada Now Live". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ Ostrow, Adam (November 8, 2007). "YouTube Germany Launches". Mashable. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ "YouTube перевелся на русский" (ภาษารัสเซีย). Kommersant Moscow. November 14, 2007. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
- ↑ Williams, Martyn (January 23, 2008). "YouTube Launches Korean Site". PC World. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
- ↑ Joshi, Sandeep (May 8, 2008). "YouTube now has an Indian incarnation". The Hindu. Chennai, India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-28. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ Bokuvka, Petr (October 12, 2008). "Czech version of YouTube launched. And it's crap. It sucks". The Czech Daily Word. Wordpress.com. สืบค้นเมื่อ August 3, 2009.
- ↑ Launch video unavailable when YouTube opens up in Sweden October 23, 2008. Retrieved December 7, 2012.
- ↑ "YouTube launches in Argentina". กันยายน 9, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2010. สืบค้นเมื่อ September 9, 2010.
- ↑ 79.0 79.1 79.2 79.3 79.4 79.5 79.6 "YouTube Launches Local Version For Algeria, Egypt, Jordan, Morocco, Saudi Arabia, Tunisia and Yemen". ArabCrunch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2011. สืบค้นเมื่อ March 13, 2011.
- ↑ Jidenma, Nmachi (September 1, 2011). "Google launches YouTube in Kenya". The Next Web. สืบค้นเมื่อ March 22, 2012.
- ↑ Nod, Tam (October 13, 2011). "YouTube launches 'The Philippines'". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ October 13, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "YouTube Launches Singapore Site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 21, 2011. สืบค้นเมื่อ September 23, 2015.
- ↑ YouTube launches localized website for Colombia December 1, 2011. Retrieved December 1, 2011.
- ↑ Google Launches YouTube Uganda เก็บถาวร มกราคม 4, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน December 2, 2011. Retrieved January 15, 2012.
- ↑ Google to Launch YouTube Nigeria Today เก็บถาวร มกราคม 8, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน December 7, 2011. Retrieved January 15, 2012.
- ↑ Google launches YouTube Chile March 19, 2012. Retrieved March 22, 2012. เก็บถาวร มีนาคม 25, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Google Launches Hungarian YouTube March 12, 2012. Retrieved March 22, 2012. เก็บถาวร มกราคม 17, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ YouTube Launches Local Domain For Malaysia March 22, 2012. Retrieved March 22, 2012.
- ↑ YouTube Peru Launched, Expansion continues March 27, 2012. Retrieved April 1, 2012.
- ↑ Bindu Suresh Rai (เมษายน 2, 2012). "UAE version of YouTube launched". Emirates 247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2014. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 14, 2014.
- ↑ "YouTube Launches Indonesian Version" เก็บถาวร กรกฎาคม 20, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, June 15, 2012. Retrieved July 8, 2012.
- ↑ "Google launches YouTube in Ghana", June 22, 2012. Retrieved July 8, 2012.
- ↑ "YouTube launches local portal in Senegal", Jubr> ^ [3] itag 120 is for live streaming and has metadata referring to "Elemental Technologies Live".July 16, 2012. Retrieved July 25, 2012.
- ↑ "YouTube's Turkish version goes into service", October 1, 2012. Retrieved October 1, 2012.
- ↑ Tarasova, Maryna (December 13, 2012). "YouTube приходить в Україну! (YouTube comes in Ukraine!)" (ภาษายูเครน). Ukraine: Google Ukraine Blog.
- ↑ "YouTube lanceres i Danmark". Denmark: iProspect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
- ↑ Sormunen, Vilja (February 6, 2013). "YouTube Launches in the Nordics". Nordic: KLOK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
- ↑ "YOUTUBE LAUNCHED IN NORWAY". Norway: TONO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 20, 2013. สืบค้นเมื่อ เมษายน 17, 2013.
- ↑ "YouTube goes Swiss". Swiss: swissinfo. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
- ↑ "YouTube.at since Thursday online". Austria: Wiener Zeitung. สืบค้นเมื่อ April 17, 2013.
- ↑ "Youtube România se lansează într-o săptămână". Romania: ZF.ro. สืบค้นเมื่อ May 14, 2013.
- ↑ "Google lança versão lusa do YouTube". Portugal: Luso Noticias. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 3, 2013. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 14, 2013.
- ↑ tš (May 21, 2013). "Slováci už môžu oficiálne zarábať na tvorbe videí pre YouTube" (ภาษาสโลวัก). Vat Pravda. สืบค้นเมื่อ February 14, 2014.
- ↑ 104.0 104.1 104.2 104.3 104.4 Nick Rego (กันยายน 16, 2013). "YouTube expands monetization and partnership in GCC". tbreak Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 6, 2014. สืบค้นเมื่อ February 14, 2014.
- ↑ Ивелина Атанасова (มีนาคม 18, 2014). "YouTube рекламата става достъпна и за България" (ภาษาบัลแกเรีย). New Trend. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 7, 2014. สืบค้นเมื่อ เมษายน 5, 2014.
- ↑ "Oglašavanje na video platformi YouTube od sad dostupno i u Hrvatskoj" (ภาษาโครเอเชีย). Lider. March 19, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 11, 2015. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
- ↑ Siiri Oden (มีนาคม 19, 2014). "Youtube reklaamid – uued võimalused nüüd ka Eestis!" (ภาษาเอสโตเนีย). Meedium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 7, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
- ↑ Marta (มีนาคม 18, 2014). "Tagad reklāmas iespējas Youtube kanālā iespējams izmantot arī Latvijā" (ภาษาลัตเวีย). Marketing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
- ↑ STA (March 18, 2014). "Na Youtube prihajajo tudi slovenski video oglasi" (ภาษาสโลวีเนีย). Dnevnik. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
- ↑ Asina Pornwasin (April 3, 2014). "YouTube introduces homepage especially". The Nation. สืบค้นเมื่อ April 4, 2014.
- ↑ 111.0 111.1 111.2 111.3 Stephen Hall (October 12, 2015). "YouTube continues global expansion w/ versions of its site in 7 new locales". 9to5 Google. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ "YouTube launches Nepal, Pakistan, Sri Lanka-specific homepages". The Himalayan Times. January 13, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
- ↑ "YouTube launches country-specific homepage for Pakistan". The Express Tribune. January 12, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
- ↑ "YouTube launches Nepal, Pakistan, Sri Lanka-specific homepages". The Himalayan Times. January 13, 2016. สืบค้นเมื่อ January 31, 2016.
- ↑ 881903.com Commercial Radio เก็บถาวร ธันวาคม 23, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ CableTV เก็บถาวร มีนาคม 15, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน