ภรณี มหานนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดร.ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ (สกุลเดิม กีรติบุตร ; พ.ศ. 2488) รองราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สำนักราชเลขาธิการ [1]

ภรณีเป็นบุตรีของพล.ต.ท.ประจวบ และ คุณหญิงกระจ่างศรี กีรติบุตร เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรสาวคนโต ในจำนวนพี่น้อง 4 คน เป็นหลานของนายประเทือง กีรติบุตร และต่อมาสมรสกับพล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ

จบการศึกษาจาก โรงเรียนมาแตร์เดอีจนจบมัธยมปีที่ 8 เมื่อ 2504 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รุ่นที่ 14 (เรียน 3 เดือนก็สอบชิงทุน) ปริญญาตรีทางสังคมวิทยา ที่คอลเลจ ออฟนิวโรเชล นิวยอร์ก และ ปริญญาโทและเอก ทางรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก

ท่านผู้หญิง ภรณี มหานนท์ เริ่มเข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กรมวิเทศสหการ,2512 กรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัย,2513 อาจารย์ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า),2518 ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐประศาสนศาสตร์ อีสเวสเซนเตอร์ ฮาวาย,2518 รองเลขาธิการสภาสังคมสงเคราะห์,2523 รองคณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า),2525 คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), 1 ตุลาคม 2526 นายกสมาคมแม่บ้านตำรวจ คนที่ 1 (ปี 2526-2530),เลขาธิการสหพันธ์สตรีนักธุรกิจ และวิชาชีพ กรรมการสมาคมไทย-อเมริกัน,2531 ที่ปรึกษาสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัย และ นายกสมาคมนักเรียนเก่ามาแตร์เดอีวิทยาลัย

ต่อมาท่านผู้หญิง ภรณี มหานนท์ ได้เข้ารับราชการที่สำนักราชเลขาธิการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2528 เป็นวิทยากรพิเศษ กองราชเลขานุการ,1 ตุลาคม 2529 รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฝ่ายศิลปาชีพ (เทียบเท่าผู้ช่วยราชเลขาธิการ)และเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เป็นรองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ (เทียบเท่ารองราชเลขาธิการ) ในปัจจุบัน

ภรณีได้รับรางวัลสุภาพสตรีผู้มีบุคคลิกดีเด่นสาขาข้าราชการของสมาคมส่งเสริมบุคคลิกสตรี เมื่อ พ.ศ. 2530

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ท่านผู้หญิงภรณี มหานนท์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภรณี มหานนท์
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๖๘, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๕๙ ข หน้า ๒, ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๒๗ เมษายน ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๘๒๒, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗