กฎหมู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎหมู่[หมายเหตุ ก] (อังกฤษ: mob rule, mobocracy, หรือ ochlocracy) เป็นศัพท์ทางการเมืองซึ่งมีผู้นิยามไว้ต่าง ๆ กัน เช่น พจนานุกรมของเวบสเตอร์ ว่า ได้แก่ การปกครองโดยฝูงชนวุ่นวาย (mob)[1] พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด ว่า ได้แก่ การที่สถานการณ์ทางการเมืองถูกควบคุมโดยบรรดาผู้ปราศจากความถูกต้องตามกติกาหรือกฎหมาย ซึ่งมักมีการใช้ความรุนแรงหรือการขู่เข็ญ[2] และ พจนานุกรมคอลลินส์ ว่า ได้แก่ สภาพที่บุคคลกลุ่มใหญ่กระทำการโดยขัดต่อความยินยอมของรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่[3]

บางครั้งการปกครองด้วยกฎหมู่อาจสะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในลักษณะใกล้เคียงกับประชาธิปไตย แต่การปกครองด้วยกฎหมายมุ่งหมายถึงกรณีที่ขาดกระบวนการทางประชาธิปไตยหรือกระบวนการแบบอารยะ หรือมีกระบวนการดังกล่าวแต่ไม่สมบูรณ์[4]

กรณีในหน้าประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกขึ้นเป็นตัวอย่างของการปกครองด้วยกฎหมู่ คือ การพิจารณาคดีแม่มดที่ซาเลมในคริสต์ทศวรรษ 1690 ซึ่งอาศัยด้วยความเชื่อของคนส่วนใหญ่มากกว่าจะดำเนินตามตรรกะของกฎหมาย[5]

การใช้ความรุนแรงโดยฝูงชนวุ่นวาย (mob violence) ในขบวนการแลตเทอร์เดย์เซนต์สมัยแรก ๆ ก็ได้รับการยกเป็นตัวอย่างเช่นกัน[6] เหตุการณ์ดังกล่าวรวมกรณีที่ฝูงชุนวุ่นวายรุมขับไล่และสังหารชาวมอรมอน เช่น การขับชาวมอรมอนและสังหารหมู่ชาวมอรมอนที่ในมิสซูรีใน ค.ศ. 1838 การฆ่าโจเซฟ สมิท ใน ค.ศ. 1844 และการฆ่าโจเซฟ สแตนดิง ใน ค.ศ. 1879[7][8]

นอกจากนี้ การรุมประชาทัณฑ์ก็ได้รับการยกว่า เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการปกครองด้วยกฎหมู่[9]

หมายเหตุ[แก้]

หมายเหตุ ก "กฎหมู่" เป็นคำที่เกษียร เตชะพีระ เสนอ[10] นอกจากนี้ มีผู้เสนอคำอื่น เช่น ณัฐภาณุ นพคุณ ว่า "กฎของคนหมู่มาก"[11] เสนีย์ คำสุข ว่า "หมู่มนุษยาธิปไตย"[12] และโสภณ ศุภมั่งมี ว่า "การปกครองโดยมวลชน"[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hill, C. (2018-08-22). "What does 'mob rule' mean?". spectrumlocalnews.com. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  2. "Mob Rule". Oxford Pocket Dictionary of Current English. 2019. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  3. "mob rule". Collins English Dictionary. HarperCollins Publishers. n.d. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  4. Hasanović, Jasmin. "Ochlocracy in the Practices of Civil Society: A Threat for Democracy?". Studia Juridica et Politica Jaurinensis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-15.
  5. "Mob Rule and Violence in American Culture". colorado.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-20.
  6. Arrington, Leonard J. & Bitton, Davis (1992). The Mormon Experience: A History of the Latter-Day Saints (ภาษาอังกฤษ). University of Illinois Press. p. 45. ISBN 9780252062360. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.
  7. "Cane Creek Massacre". TNMormonHistory. สืบค้นเมื่อ 23 June 2018.
  8. Wingfield, Marshall (1958). "Tennessee's Mormon Massacre". Tennessee Historical Quarterly. 17 (1): 19–36. JSTOR 42621358.
  9. "Opposition to Mob-Rule เก็บถาวร 2009-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Writings of Abraham Lincoln, Volume 1.
  10. เกษียร เตชะพีระ (2557-03-10). "ศัพท์รัฐศาสตร์วันละคำวันนี้ ขอเสนอคำว่า: Ochlocracy/กฎหมู่". kasian. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. ณัฐภาณุ นพคุณ (2561-08-05). "Mobocracy: กฎหมู่มาก ดาบสองคมสื่อโซเชียล". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 2565-02-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  12. เสนีย์ คำสุข (2557). "ต้องล้มระบอบเผด็จการอำนาจนิยมในสังคมไทย". รัฐสภาสาร. 62 (4): 10. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  13. โสภณ ศุภมั่งมี (2561-07-21). "โซเชียลมีเดียและอนาคตของการเลือกตั้งครั้งต่อไป". gqthailand.com. เซเรนดิพิตี้ มีเดีย. สืบค้นเมื่อ 2565-02-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]