ฟุตบอลทีมชาติซีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเรีย
Shirt badge/Association crest
ฉายานุซูรกอซิยูน[1]
(อาหรับ: نسور قاسيون, แปลตรงตัว'อินทรีแห่งเขากอซิยูน')
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลซีเรีย
สมาพันธ์ย่อยWAFF (เอเชียตะวันตก)
UAFA (โลกอาหรับ)
สมาพันธ์เอเอฟซี (เอเชีย)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนอาร์เจนตินา เฮคตอร์ คูเปอร์
กัปตันอุมัร อัสซูมะฮ์
ติดทีมชาติสูงสุดมาฮัร อัสซะยีด (109)
ทำประตูสูงสุดฟิรอส อัลเคาะฏีบ (36)
สนามเหย้าสนามกีฬาอับบาซียีน
สนามกีฬานานาชาติอะเลปโป
รหัสฟีฟ่าSYR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 89 Steady (4 เมษายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด68 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2018)
อันดับต่ำสุด152 (กันยายน ค.ศ. 2014, มีนาคม ค.ศ. 2015)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติเลบานอน เลบานอน 1–2 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(เบรุต ประเทศเลบานอน; 19 เมษายน ค.ศ. 1942)[3]
ชนะสูงสุด
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย 13–0 มัสกัตและโอมาน
(ไคโร ประเทศอียิปต์; 6 กันยายน ค.ศ. 1965)
แพ้สูงสุด
ธงชาติกรีซ กรีซ 8–0 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(เอเธนส์ ประเทศกรีซ; 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1949)
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 8–0 ซีเรีย ธงชาติซีเรีย
(อะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์; 16 ตุลาคม ค.ศ. 1951)
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม6 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดรอบ 16 ทีมสุดท้าย (2023)
อาหรับคัพ
เข้าร่วม7 (ครั้งแรกใน 1963)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ (1963, 1966, 1988)
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก
เข้าร่วม8 (ครั้งแรกใน 2000)
ผลงานดีที่สุดชนะเลิศ (2012)

ฟุตบอลทีมชาติซีเรีย (อาหรับ: منتخب سوريا لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศซีเรีย อยู่ภายใต้การบริหารของสหพันธ์ฟุตบอลซีเรีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลฟุตบอลในประเทศซีเรีย ซีเรียไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย แต่เคยเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สี่ของฟุตบอลโลก 2018 ปัจจุบันพวกเขาถูกฟีฟ่าสั่งห้ามไม่ให้ลงเล่นเกมเหย้าในประเทศมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2010[4]

ประวัติ[แก้]

ซีเรียได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 1950 และ 1958 นับเป็นหนึ่งในสองทีมจากภูมิภาคนี้ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือก ต่อมาระหว่าง ค.ศ. 1958 ถึง 1961 ทีมชาติซีเรียได้รวมกับทีมชาติอียิปต์เพื่อก่อตั้งฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐสหรัฐอาหรับ แม้ว่าสถิติการแข่งขันของทีมชาติจะถูกฟีฟ่านับเป็นของอียิปต์ก็ตาม ต่อมาในฟุตบอลโลก 1966 รอบคัดเลือก ซีเรียเป็นหนึ่งในสองทีมจากโซนเอเชียร่วมกับอิสราเอลที่ย้ายไปเล่นในรอบคัดเลือกโซนยุโรป โดยในตอนแรก พวกเขาอยู่ในกลุ่มเดียวกับสเปนและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้คว่ำบาตรในการแข่งขันรอบคัดเลือก หลังจากที่ฟีฟ่าลงมติให้ทีมจากเอเชียและแอฟริกาผ่านเข้ารอบได้เพียงทีมเดียวเท่านั้น

ซีเรียไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก โดยในฟุตบอลโลก 1986 รอบคัดเลือก พวกเขาพ่ายแพ้ต่ออิรัก ต่อมาในฟุตบอลโลก 2014 รอบคัดเลือก พวกเขาถูกสั่งห้ามไม่ให้แข่งขันเนื่องจากมีการใช้งานผู้เล่นที่ลงทะเบียนผิดกฎ[5]

ทีมชาติซีเรียพบปาเลสไตน์ในเอเชียนคัพ 2019

เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ซีเรียเอาชนะอิรักในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชียตะวันตก ทำให้พวกเขาสามารถคว้าถ้วยรางวัลใบแรกในประวัติศาสตร์ทีมชาติได้

นับตั้งแต่ที่สงครามกลางเมืองซีเรียได้เกิดขึ้นภายในประเทศ ซีเรียถูกสั่งห้ามไม่ให้ลงแข่งขันเกมเหย้าภายในประเทศ โดยในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก พวกเขาลงเล่นเกมเหย้าทั้งหมดที่ประเทศมาเลเซีย และในครั้งนั้น ซีเรียสามารถผ่านเข้าถึงรอบคัดเลือกรอบที่สี่ ก่อนที่จะแพ้ออสเตรเลียด้วยผลประตูรวม 3–2[6]

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ปี ผล อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
อิตาลี 1934
ฝรั่งเศส 1938
บราซิล 1950 ถอนตัว 1 0 0 1 0 7
สวิตเซอร์แลนด์ 1954 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
สวีเดน 1958 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 2 0 1 1 1 2
ชิลี 1962 ถอนตัว ถอนตัว
อังกฤษ 1966
เม็กซิโก 1970 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
เยอรมนีตะวันตก 1974 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 6 3 1 2 6 6
อาร์เจนตินา 1978 ถอนตัว 4 1 0 3 2 6
สเปน 1982 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 4 0 0 4 2 7
เม็กซิโก 1986 8 4 3 1 8 4
อิตาลี 1990 4 2 1 1 7 5
สหรัฐ 1994 6 3 3 0 14 4
ฝรั่งเศส 1998 5 2 1 2 27 5
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 6 4 1 1 40 6
เยอรมนี 2006 6 2 2 2 7 7
แอฟริกาใต้ 2010 10 6 2 2 23 10
บราซิล 2014 Disqualified 2 0 0 2 0 6
รัสเซีย 2018 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 20 9 5 6 36 22
ประเทศกาตาร์ 2022 18 8 3 7 31 23
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐ 2026 To be determined To be determined
Total 0/22 102 44 23 35 205 120

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smale, Simon (5 January 2019). "Who the Socceroos are facing as the Asian Cup kicks off, and when to watch". ABC News. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  3. "Lebanon vs Syria". FA Lebanon (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-04-08.
  4. "الفيفا يدرس رفع الحظر عن الملاعب السورية". Elsport News. 11 June 2018.
  5. FIFA.com (19 August 2011). "Syria disqualified from 2014 FIFA World Cup". fifa.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2011. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017.
  6. Maasdorp, James (10 October 2017). "Australia v Syria World Cup qualifying play-off second leg in Sydney, as it happened". abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]