อะเล็กซานเดรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเล็กซานเดรีย
เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน:
ทัศนียภาพของเขตชัฏบย์และถนนคลองสุเอช; เส้นขอบฟ้าของเขตตะวันออก (เขตชารก์); สะพานสแตนเลย์; พระราชวังมุนตซาฮ์; หอสมุดอะเล็กซานเดรียและรูปปั้นของฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส; ศูนย์วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหอดูดาว (พร้อมกับถนนตามหน้าผา [Corniche] อยู่ด้านหลัง)
ธงของอะเล็กซานเดรีย
ธง
สมญา: 
Mediterranean's Bride, ไข่มุกแห่งเมดิเตอร์เรเนียน, อะเล็กซ์
อะเล็กซานเดรียตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย
ตำแหน่งในประเทศอียิปต์
อะเล็กซานเดรียตั้งอยู่ในแอฟริกา
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย
อะเล็กซานเดรีย (แอฟริกา)
พิกัด: 31°11′51″N 29°53′33″E / 31.19750°N 29.89250°E / 31.19750; 29.89250พิกัดภูมิศาสตร์: 31°11′51″N 29°53′33″E / 31.19750°N 29.89250°E / 31.19750; 29.89250
ประเทศอียิปต์
เขตผู้ว่าราชการอะเล็กซานเดรีย
ก่อตั้ง331 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อตั้งโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการMohamed Taher El-Sherif[1][2]
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,661 ตร.กม. (641 ตร.ไมล์)
ความสูง5 เมตร (16 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2022[3])
 • ทั้งหมด6,050,000 คน
 • ความหนาแน่น3,600 คน/ตร.กม. (9,400 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมชาวอะเล็กซานเดรีย (อาหรับ: إسكندراني)
เขตเวลาUTC+2 (เวลามาตรฐานอียิปต์)
รหัสไปรษณีย์21500
รหัสพื้นที่(+20) 3
เว็บไซต์alexandria.gov.eg
r
Z1
a
A35t

niwt
r-ꜥ-qd(y)t (อะเล็กซานเดรีย)[4][5]
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

อะเล็กซานเดรีย[6] (อังกฤษ: Alexandria, ออกเสียง: /ˌælᵻɡˈzændriə/ หรือ /ˌælᵻɡˈzɑːndriə/) หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอิสกันดะรียะฮ์ (อาหรับ: الإسكندرية; กรีก: Ἀλεξάνδρεια) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญทอดตัวยาวประมาณ 32 กม. (20 ไมล์) ตามแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในส่วนกลางของภาคเหนือของประเทศ ระดับความสูงของพื้นที่ซึ่งตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น อะเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ เนื่องจากมีการต่อเชื่อมท่อแก๊สธรรมชาติและท่อส่งน้ำมันจากเมืองสุเอซ และเมืองนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต์ด้วย

ประวัติศาสตร์[แก้]

ยุคโบราณ[แก้]

เชื่อกันว่าเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandreia; กรีกโบราณ: Ἆλεξάνδρεια) ก่อตั้งโดย อเล็กซานเดอร์มหาราช ในเดือนเมษายน 331 ปีก่อนคริสตกาล หัวหน้าสถาปนิกของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์สำหรับโครงการนี้คือ ดิโนเครเตส แห่งโรดส์ (Dinocrates; กรีกโบราณ: Δεινοκράτης ο Ρόδιος) อะเล็กซานเดรียถูกสถาปนาขึ้น เพื่อที่จะมาแทนที่เมืองนัฟคราติส (Naucratis; กรีกโบราณ: Ναύκρᾰτις; ภาษาอียิปต์โบราณเรียกว่า Piemro; คอปติก: Ⲡⲓⲏⲙⲣⲱ) ในฐานะศูนย์กลางอารยธรรมเฮลเลนิสต์ในอียิปต์และเป็นจุดเชื่อมระหว่างกรีกกับหุบเขาไนล์ที่มั่งคั่ง แม้ว่าจะเชื่อกันมานานแล้วว่าก่อนหน้านั้นมีเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบเศษเปลือกหอยและการปนเปื้อนของตะกั่วซึ่งจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี แสดงถึงการมีกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญมากว่าสองพันปี ก่อนหน้าการก่อตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย[7]

อเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางทางปัญญาและวัฒนธรรมของโลกโบราณในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมืองและพิพิธภัณฑ์ดึงดูดนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลายคนทั้งชาวกรีก ชาวยิว และชาวซีเรีย ต่อมาภายหลังเมืองถูกชิงปล้นและสูญเสียความสำคัญลง[8]

ในช่วงยุคต้นของคริสตจักร เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของเขตอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่สำคัญของศาสนาคริสต์ยุคแรกในจักรวรรดิโรมันตะวันออก ในยุคสมัยใหม่คริสตจักรคอปติกออร์โธดอกซ์ และคริสตจักรกรีกออร์โธดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียต่างก็อ้างสิทธิ์เป็นผู้สืบทอดเขตอำนาจการปกครองนี้

ทางตะวันออกของเมืองอะเล็กซานเดรีย ซึ่งตอนนี้คืออ่าวอะบุ กีร (Abu Qir; อาหรับ: خليج أبو قير) ในสมัยโบราณเป็นที่ลุ่มและหมู่เกาะหลายแห่ง ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีเมืองท่าสำคัญคือ คาโนปอส (Canopus; กรีกโบราณ: Κάνωπος; คอปติก: Ⲡⲓⲕⲩⲁⲧ) และ เอราคลิออน (Heracleion; กรีกโบราณ: Ἡράκλειον; คอปติก: ⲧϩⲱⲛⲓ) ซึ่งพึ่งจะถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีใต้น้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้

ชุมชนของอียิปต์ที่ชื่อ ราคอติ Rhakotis มีอยู่ก่อนแล้วบนแนวชายฝั่งก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอะเล็กซานเดรีย ในภาษาอียิปต์โบราณ rˁ-ḳṭy.t (คอปติก: ⲣⲁⲕⲟϯ (Bohairic), ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ (Sahidic)) นั้นแปลว่า "บริเวณที่ถูกสร้างขึ้น" ซึ่งชื่อนี้ถูกใช้ต่อเนื่องในส่วนของชาวอียิปต์ในเมืองอะเล็กซานเดรีย ไม่กี่เดือนหลังจากการก่อตั้งจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ได้ออกจากอียิปต์ และไม่เคยกลับมาที่เมืองอีก หลังจากนั้นอุปราช คลีโอเมเนส (Cleomenes of Naucratis; กรีกโบราณ: Kλεoμένης) ยังคงทำการขยายเมืองต่อไป หลังจากการต่อสู้กับผู้สืบทอดคนอื่นของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ นายพล ทอเลมี (Ptolemy Lagides) หรือต่อมาคือทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Σωτήρ) ประสบความสำเร็จในการเชิญพระศพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์มาสู่เมืองอะเล็กซานเดรีย แม้ว่าในท้ายที่สุดพระศพจะหายไป หลังจากถูกนำออกจากสุสานฝังพระศพ[9]

แม้ว่าคลีโอเมเนส จะรับผิดชอบดูแลการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเมืองอะเล็กซานเดรีย แต่โครงการสร้าง เอปตาสตาดิออน (Heptastadion, กรีกโบราณ: Ὲπταστάδιον) เขื่อนกันคลื่นและถนนในทะเลไปยังเกาะฟาโรส และส่วนเชื่อมโยงในเขตแผ่นดินดูเหมือนจะเป็นงานหลักของราชอาณาจักรทอเลมี การแทนที่การค้าที่เสื่อมโทรมลงของ ไทร์ Tyre (ฟินิเชีย: צור, Ṣur) เมืองท่าสำคัญของฟินิเชีย ทำให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของการค้าระหว่างยุโรป, อาหรับ และอินเดียในทิศตะวันออก ทำให้เมืองนี้ใช้เวลาเติบโตน้อยกว่าหนึ่งชั่วคนก็มีขนาดที่ใหญ่กว่านครคาร์เธจ (พิวนิก: 0, qrt-ḥdšt) ในเวลาหนึ่งศตวรรษเมืองอะเล็กซานเดรียได้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอีกหลายศตวรรษต่อจากนั้นก็มีขนาดเป็นที่สองรองเพียงแต่กรุงโรม เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลักของกรีกในอียิปต์ ที่มีพลเมืองชาวกรีกมาจากหลากหลายภูมิหลัง[10]

ภาพประภาคารแห่งอะเล็กซานเดรียบนเหรียญจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ซ้าย: ด้านหลังของเหรียญจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส, ฃวา: ด้านหลังของเหรียญ
จักรพรรดิก็อมมอดุส)

อะเล็กซานเดรียไม่เพียง แต่เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเฮลเลนิสต์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในโลก คัมภีร์ฮิบรู (อังกฤษ: Tanakh; ฮีบรู: תנ"ך) ฉบับแปลภาษากรีกหรือคัมภีร์สารบบเซปตัวจินต์ (ละติน: septuaginta; กรีกโบราณ: Ἑβδομήκοντα; ตัวย่อ: LXX, ) ได้สร้างขึ้นที่เมืองนี้ ในช่วงต้นฟาโรห์ในราชวงศ์ทอเลมีให้มีการจัดระบบและส่งเสริมการพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ นำไปสู่การเป็นผู้นำของศูนย์การเรียนรู้อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (ห้องสมุดแห่งอะเล็กซานเดรีย) ขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวังในการรักษาเอกลักษณ์ความแตกต่าง ของประชากรสามเชื้อชาติที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กรีก, ยิว และอียิปต์ด้วย[11] เมื่อถึงยุคสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุสกำแพงเมืองได้ล้อมรอบพื้นที่ 5.34 ตารางกิโลเมตร (2.64 salta) และมีประชากรทั้งหมดในสมัยโรมันประมาณ 300,000 คน[12]

จากงานเขียนของไฟโลแห่งอะเล็กซานเดรีย (ฮีบรู: יְדִידְיָה הַכֹּהֵן‎) ในปีที่ 38 ของสากลศักราช ความโกลาหลปะทุขึ้นระหว่างพลเมืองชาวยิวและชาวกรีก ในระหว่างการมาเยือนเมืองอะเล็กซานเดรียของ"กษัตริย์แห่งชาวยิว" อกริปปาที่ 1 (ละติน: Agrippa I หรือ Herod Agrippa; ฮีบรู: אגריפס) แห่งราชอาณาจักรเฮโรดแห่งยูเดีย โดยเป้าหมายหลักคือต้องการยกเลิกการส่งบรรณาการของรัฐยิวให้กับจักรพรรดิโรมัน การดูหมิ่นระหว่างชนสองเชื้อชาติและความรุนแรงถูกยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการทำลายธรรมศาลาแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนายูดาห์ ความรุนแรงถูกปราบปรามหลังจากจักรพรรดิกาลิกุลา (ละติน: Caligula) เข้าแทรกแซงและเนรเทศผู้ปกครองชาวโรมันฟลัคคุส (ละติน: Aulus Avilius Flaccus) ออกจากเมือง[13]

ในปี ค.ศ. 115 ส่วนใหญ่ของเมืองอะเล็กซานเดรียถูกทำลายระหว่างสงครามคิตอส (ละติน: Seditio Kitos หรือ Tumultus Iudaicus; ฮีบรู: מרד הגלויות) ซึ่งทำให้จักรพรรดิฮาดริอานุสและเดคริอันนุส (Decriannus) ซึ่งเป็นสถาปนิกของเขาได้มีโอกาสสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ในปี ค.ศ. 215 จักรพรรดิการากัลลา (Caracalla; กอล: Καρακάλλας) เดินทางมาเยือนเมืองและเพียงเพราะมีวรรณกรรมเชิงเหน็บแนมดูถูก พรรณาว่าประชาชนสามารถสั่งการเขาได้ จู่ ๆ จักรพรรดิก็สั่งให้กองทัพของเขาสังหารเยาวชนที่มีอายุพอจะจับอาวุธได้ทุกคน ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 (เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ครีต ค.ศ. 365)[14] อะเล็กซานเดรียได้รับความเสียหายจากสึนามิ (ละติน: Megacyma) มีการรำลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเวลาต่อมาในชื่อ "วันแห่งความหวาดกลัว"[15]

ยุคของนบีมูฮัมมัด[แก้]

ปฏิสัมพันธ์ครั้งแรกของศาสดามูฮัมมัดแห่งศาสนาอิสลามกับชาวอียิปต์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 628 ในระหว่างการยาตรา (siryah, อาหรับ: سِرْيَة‎) ของ สัยด อิบนุ ฮาริษะฮฺ (Zayd ibn Harithah, อาหรับ: زَيْد ٱبْن حَارِثَة) ในการยุทธในดินแดนฮัสมา (Hisma, อาหรับ: صحراء حِسْمَى) เขามอบหมาย ฮาติบ อิบนุ อบู บัลตะอะฮฺ อัล-ลุคอมี (Hatib ibn Abi Balta'ah al-Lakhmi, อาหรับ: حاطب بن أبي بلتعة اللخمي) ให้เป็นตัวแทนผู้นำสาส์นส่งถึงผู้ปกครองอียิปต์ในอะเล็กซานเดรีย Muqawqis (อาหรับ: المقوقس, คอปติก: ⲭⲁⲩⲕⲓⲁⲛⲟⲥ, ⲕⲁⲩⲭⲓⲟⲥ)[16][17][18] ในสาส์นของมูฮัมมัดกล่าวว่า: "ข้าพเจ้าขอเชิญท่านให้ยอมรับอิสลาม อัลลอฮฺผู้ทรงประเสริฐยิ่งจะให้รางวัลท่านเป็นสองเท่า แต่ถ้าท่านปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นท่านจะต้องแบกรับภาระการละเมิดของชาวอียิปต์" ในระหว่างการยาตราครั้งนี้ หนึ่งในผู้นำสาส์นของมูฮัมมัด ดิฮยะฮฺ อิบนุ เคาะลีฟะฮฺ อัล-กัลบี (Dihyah bin Khalifah al-Kalbi, อาหรับ: دِحْيَة ٱبْن خَلِيفَة ٱلْكَلْبِيّ‎) ถูกโจมตี ซึ่งดิฮยะฮฺ ได้เข้าหาตระกูลดูบาอิบ (Banu Dubayb) (ตระกูลในชนเผ่า เจดฮัมมัน (Banu Judham, อาหรับ: بنو جذام) ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมุสลิม) เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อข่าวมาถึงเมดินา ผู้นำของเผ่าเจดฮัมมัน ริฟาฮฺ อิบนุ สัยด (Rifa'ah ibn Zayd) ได้ร้องขอเผ่าของมูฮัมมัดให้ร่วมส่งคนไปช่วยเหลือซึ่งเผ่าได้ตอบรับ แม้จะไม่เห็นด้วยแต่มูฮัมมัดได้ส่ง สัยด อิบนุ ฮะริษะฮฺ พร้อมกับทหารเพื่อต่อสู้ 500 คนไปช่วยเหลือ กองทัพมุสลิมต่อสู้กับเผ่าเจดฮัมมัน สังหารพวกเขาหลายคน (ก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก) รวมถึงหัวหน้าของพวกเขา อัลฮูนาอิด อิบนุ อาริด (Al-Hunayd ibn Arid) และลูกชาย, ยึดอูฐได้ 1,000 ตัว, ปศุสัตว์ 5,000 ตัว และจับผู้หญิงและเด็กชาย 100 คน หัวหน้าคนใหม่ของเผ่า เจดฮัมมัน ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขอร้องให้มูฮัมมัดปล่อยตัวเพื่อนชนเผ่าของเขา ซึ่งมูฮัมมัดก็ได้ปล่อยพวกเขาเหล่านั้น[19][20]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของอะเล็กซานเดรีย
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 33.3
(91.9)
32.9
(91.2)
40.0
(104)
41.0
(105.8)
45.0
(113)
43.8
(110.8)
43.0
(109.4)
38.6
(101.5)
41.4
(106.5)
38.2
(100.8)
35.7
(96.3)
31.0
(87.8)
45
(113)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.4
(65.1)
19.3
(66.7)
20.9
(69.6)
24.0
(75.2)
26.5
(79.7)
28.6
(83.5)
29.7
(85.5)
30.4
(86.7)
29.6
(85.3)
27.6
(81.7)
24.1
(75.4)
20.1
(68.2)
24.9
(76.8)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 13.4
(56.1)
13.9
(57)
15.7
(60.3)
18.5
(65.3)
21.2
(70.2)
24.3
(75.7)
25.9
(78.6)
26.3
(79.3)
25.1
(77.2)
22.0
(71.6)
18.7
(65.7)
14.9
(58.8)
20.0
(68)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.1
(48.4)
9.3
(48.7)
10.8
(51.4)
13.4
(56.1)
16.6
(61.9)
20.3
(68.5)
22.8
(73)
23.1
(73.6)
21.3
(70.3)
17.8
(64)
14.3
(57.7)
10.6
(51.1)
15.8
(60.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 0.0
(32)
0.0
(32)
2.3
(36.1)
3.6
(38.5)
7.0
(44.6)
11.6
(52.9)
17.0
(62.6)
17.7
(63.9)
14
(57)
10.7
(51.3)
1.0
(33.8)
1.2
(34.2)
0
(32)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 52.8
(2.079)
29.2
(1.15)
14.3
(0.563)
3.6
(0.142)
1.3
(0.051)
0.0
(0)
0.0
(0)
0.1
(0.004)
0.8
(0.031)
9.4
(0.37)
31.7
(1.248)
52.7
(2.075)
195.9
(7.713)
ความชื้นร้อยละ 69 67 67 65 66 68 71 71 67 68 68 68 67.92
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.01 mm) 11.0 8.9 6.0 1.9 1.0 0.0 0.0 0.0 0.2 2.9 5.4 9.5 46.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 192.2 217.5 248.0 273.0 316.2 354.0 362.7 344.1 297.0 282.1 225.0 195.3 3,307.1
แหล่งที่มา 1:
แหล่งที่มา 2: Voodoo Skies[24] และ Bing Weather[25] สำหรับสถิติอุณหภูมิ

เมืองพี่น้อง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Alexandria Governor". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2018.
  2. "Article on OrthodoxTimes.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2021. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
  3. "Major Agglomerations of the World - Population Statistics and Maps". www.citypopulation.de.
  4. Erman, Adolf, and Hermann Grapow, eds. 1926–1953. Wörterbuch der aegyptischen Sprache im Auftrage der deutschen Akademien. 6 vols. Leipzig: J. C. Hinrichs'schen Buchhandlungen. (Reprinted Berlin: Akademie-Verlag GmbH, 1971).
  5. John Baines, "Possible implications of the Egyptian word for Alexandria", Journal of Roman Archaeology, Vol. 16 (2003), pp. 61–63. (Appendix to Judith McKenzie, "Glimpsing Alexandria from archaeological evidence เก็บถาวร 11 มิถุนายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน".)
  6. กองธรรมศาสตร์และการเมือง, บ.ก. (2552). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (แก้ไขเพิ่มเติม). ราชบัณฑิตยสถาน. p. 393. ISBN 978-616-707-303-3.
  7. "Do fundo do mar... Sea bottom: Sediments Reveal Alexandria's Hidden History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2006. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
  8. "The Lighthouse Dims". Foreign Policy. 23 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2017. สืบค้นเมื่อ 5 March 2017.
  9. O'Connor, Lauren (2009). "8". The Remains of Alexander the Great: The God, The King, The Symbol (PDF). Constructing the Past. Vol. 10.
  10. Erskine, Andrew (April 1995). "Greece & Rome, 2nd Ser". Culture and Power in Ptolemaic Egypt: The Museum and Library of Alexandria. 42 (1): 38–48 [42].
  11. Erskine, Andrew (April 1995). "Culture and Power in Ptolemaic Egypt: the Museum and Library of Alexandria" (PDF). Greece & Rome. 42 (1): 38–48. doi:10.1017/S0017383500025213.
  12. "Ancient Alexandria, Comparison Between Alexandria and Ancient Rome". aldokkan.com. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
  13. Philo of Alexandria. "Against Flaccus".
  14. Ammianus Marcellinus. "Res Gestae, 26.10.15–19". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2008.
  15. Stiros, Stathis C. (2001). "The AD 365 Crete earthquake and possible seismic clustering during the fourth to sixth centuries AD in the Eastern Mediterranean: a review of historical and archaeological data". Journal of Structural Geology. 23: 545–562 (549 & 557). ISSN 0191-8141. OCLC 4967864.
  16. Safiur-Rahman Mubarakpuri, The Sealed Nectar เก็บถาวร 5 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 222
  17. Akbar Shāh Ḵẖān Najībābādī, History of Islam, Volume 1, p. 194. Quote: "Again, the Holy Prophet «P sent Dihyah bin Khalifa Kalbi to the Byzantine king Heraclius, Hatib bin Abi Baltaeh to the king of Egypt and Alexandria; Allabn Al-Hazermi to Munzer bin Sawa the king of Bahrain; Amer bin Aas to the king of Oman. Salit bin Amri to Hozah bin Ali— the king of Yamama; Shiya bin Wahab to Haris bin Ghasanni to the king of Damascus"
  18. Werner., Vycichl (1984) [1983]. Dictionnaire étymologique de la langue copte. Leuven: Peeters. ISBN 9782801701973. OCLC 11900253.
  19. Mubarakpuri, Saifur Rahman Al (2005). The Sealed Nectar. Darussalam Publications. p. 226. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015. (online เก็บถาวร 17 มีนาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  20. Watt, W. Montgomery (1956). Muhammad at Medina. Oxford University Press. p. 108. ISBN 978-0-19-577307-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015. Dihyah b. Khalifah al-Kalbi, who had gone to Syria on an errand for Muhammad, was returning to Medina with gifts, when he was robbed by a man of Judham called al-Hunayd. Another clan of Judham, however, or some men from another tribe, forced al-Hunayd to give the things back. Meanwhile a leader of Judham, Rifa'ah b. Zayd, had been in Medina, had brought back to the tribe Muhammad's terms for an alliance, and the tribe had accepted. Muhammad had not been informed of this decision, however, and sent out Zayd b. Harithah to avenge the insult to his messenger. There was a skirmish in which the Muslims killed al-Hunayd and captured a number of women and animals. (free online เก็บถาวร 7 ตุลาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  21. "Weather Information for Alexandria". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2018. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  22. "Climatological Information for Alexandria, Egypt" (1961–1990)". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2011. สืบค้นเมื่อ 31 August 2010.
  23. "Alexandria, Egypt: Climate, Global Warming, and Daylight Charts and Data". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2011. สืบค้นเมื่อ 20 June 2013.
  24. "Alexandria, Egypt". Voodoo Skies. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015. สืบค้นเมื่อ 3 August 2015.
  25. Alexandria, Egypt Monthly Averages เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Bing Weather[You must have an IP from the United States of America to see the page]
  26. "Baltimore Sister Cities". baltimoresistercities.org. Baltimore Sister Cities, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  27. "Partner (twin) towns of Bratislava". bratislava-city.sk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  28. "Catania Amica Del Mondo, Ecco Tutti I Gemellaggi Della Città Etnea". cataniaup.it (ภาษาอิตาลี). Catania Up. 2019-07-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  29. "Cleveland's Sister Cities". city.cleveland.oh.us. City of Cleveland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2015. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  30. "Orașe înfrățite". primaria-constanta.ro (ภาษาโรมาเนีย). Constanța. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  31. "Sister Cities". durban.gov.za. eThekwini Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  32. "Sister Cities & Affiliated Cities". incheon.go.kr. Incheon Metropolitan City. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  33. "Побратимени градове". kazanlak.bg (ภาษาบัลแกเรีย). Kazanlak. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  34. "Twinned Cities". limassolmunicipal.com.cy. Limassol. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  35. "Міста-побратими". omr.gov.ua (ภาษายูเครน). Odessa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  36. "Governor of Alexandria Meets Mayor of Paphos to Reinforce Cooperation Agreement Between the Two Sides and to Discuss Repercussions of Corona Virus Via Video Conference". alexandria.gov.eg. Alexandria. 2020-05-13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  37. "International links". mccpl.mu. City Council of Port Louis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  38. "Международные и межрегиональные связи". gov.spb.ru (ภาษารัสเซีย). Federal city of Saint Petersburg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  39. "市级友好城市". sh.gov.cn (ภาษาจีน). Shanghai. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  40. "Twin Towns". thessaloniki.gr. Thessaloniki. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Haag, Michael (September 27, 2004). Alexandria: City of Memory. London and New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0300191127. A social, political and literary portrait of cosmopolitan Alexandria during the 19th and 20th centuries
  • Von Hagen, Victor Wolfgang (1967). The Roads that led to Rome. Photographed by Adolfo Tomeucci. Cleveland and New York: The World Publishing. ASIN B005HZJQYY.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]