ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
Shirt badge/Association crest
ฉายาThe Whites
Eyal Zayed (Zayed's sons)
นักรบชุดขาวแห่งตะวันออกกลาง (ในภาษาไทย)[1][2]
สมาคมสมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สมาพันธ์ย่อยสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันตก
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย
หัวหน้าผู้ฝึกสอนRodolfo Arruabarrena
กัปตันWalid Abbas
ติดทีมชาติสูงสุดAdnan Al Talyani (161)
ทำประตูสูงสุดAli Mabkhout (79)
รหัสฟีฟ่าUAE
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 67 เพิ่มขึ้น 2 (4 เมษายน 2024)[3]
อันดับสูงสุด42 (พฤศจิกายน ค.ศ. 1998)
อันดับต่ำสุด138 (มกราคม ค.ศ. 2012)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1–0 กาตาร์ ธงชาติประเทศกาตาร์
(ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย; 17 มีนาคม ค.ศ. 1972)
ชนะสูงสุด
ธงชาติบรูไน บรูไน 0–12 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(บันดาร์เซอรีเบอกาวัน, บรูไน; 14 เมษายน ค.ศ. 2001)
แพ้สูงสุด
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 0–8 บราซิล ธงชาติบราซิล
(อาบูดาบี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1990)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม; 1990
เอเชียนคัพ
เข้าร่วม10 (ครั้งแรกใน 1980)
ผลงานดีที่สุดรองชนะเลิศ; 1996
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1997)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม; 1997

ฟุตบอลทีมชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (อาหรับ: منتخب الإمارات العربية المتحدة لكرة القدم) เป็นทีมฟุตบอลประจำชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีสนามเหย้าหลายสนาม ได้แก่ สนามกีฬาซายิดสปอร์ตซิตี กับสนามกีฬามูฮัมหมัด บิน ซายิด ในอาบูดาบี และสนามกีฬาฮัซซา บิน ซายิด ในอัล ไอน์

เคยเข้าแข่งขันฟุตบอลโลก 1 ครั้ง ในปี 1990 ที่ประเทศอิตาลี แต่แพ้รวดในรอบแบ่งกลุ่ม โดยพ่ายแพ้ให้กับโคลอมเบีย, เยอรมนีตะวันตก และยูโกสลาเวีย แต่ในอีกหลายปีถัดมา ทีมได้ที่สี่ในการแข่งขันเอเชียนคัพ ปี 1992 และรองชนะเลิศในปี 1996 โดยแพ้การยิงลูกโทษ นอกจากนี้พวกเขายังชนะเลิศ กัลฟ์คัพออฟเนชัน 2 ครั้ง ในปี 2007 และ 2013 พวกเขาได้ที่สามในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2015 และเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019

ฉายา[แก้]

ฉายาที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ "กองทัพชุดขาว" "บุตรของซายิด" และ "นักรบชุดขาวแห่งตะวันออกกลาง"[1][2]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ได้ประกาศข่าวเกี่ยวกับการผ่านเข้ารอบเอเชียนคัพ 2015 ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งปรากฏฉายา "ลิงทราย" ในข่าว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก จนเอเอฟซีต้องออกมาขอโทษเรื่องดังกล่าว[4]

สนามเหย้า[แก้]

สนามเหย้าหลักที่สำคัญ ได้แก่ สนามกีฬาซายิดสปอร์ตซิตี ในอาบูดาบี นอกจากนี้ พวกเขายังใช้สนามกีฬามูฮัมหมัด บิน ซายิด และสนามกีฬาฮัซซา บิน ซายิด ซึ่งสร้างใหม่ เป็นสนามเหย้ารอง

ผลงานที่สำคัญ[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

ฟุตบอลโลก
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
อุรุกวัย 1930 ถึง เยอรมนี 1974 ไม่ผ่านคุณสมบัติ - - - - - - -
อาร์เจนตินา 1978 ถอนตัว - - - - - - -
สเปน 1982 ไม่ได้เข้าร่วม - - - - - - -
เม็กซิโก 1986 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -
อิตาลี 1990 รอบแบ่งกลุ่ม 24th 3 0 0 3 2 11
สหรัฐ 1994 ถึง ประเทศกาตาร์ 2022 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก - - - - - - -
ทั้งหมด รอบแรก 1/20 3 0 0 3 2 11

เอเอฟซี เอเชียนคัพ[แก้]

ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ฮ่องกง 1956 ถึง อิหร่าน 1976 ไม่ได้เข้าร่วม
คูเวต 1980 รอบแบ่งกลุ่ม 9th 4 0 1 3 3 9
สิงคโปร์1984 รอบแบ่งกลุ่ม 6th 4 2 0 2 3 8
ประเทศกาตาร์ 1988 รอบแบ่งกลุ่ม 8th 4 1 0 3 2 4
ญี่ปุ่น 1992 อันดับที่สี่ 4th 3 1 2 0 2 1
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1996 รองชนะเลิศ 2nd 6 4 2 0 8 3
เลบานอน 2000 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
จีน 2004 รอบแบ่งกลุ่ม 15th 3 0 1 2 1 5
อินโดนีเซียมาเลเซียไทยเวียดนาม 2007 รอบแบ่งกลุ่ม 12th 3 1 0 2 3 6
ประเทศกาตาร์ 2011 รอบแบ่งกลุ่ม 13th 3 0 1 2 0 4
ออสเตรเลีย 2015 อันดับที่สาม 3rd 6 3 1 2 10 8
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2019 อันดับที่สี่ 4th 6 3 2 1 8 8
ทั้งหมด 10/17 รองชนะเลิศ 42 15 10 17 40 56

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ[แก้]

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ
ปี รอบ อันดับ แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย
ซาอุดีอาระเบีย 1992 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
ซาอุดีอาระเบีย 1995
ซาอุดีอาระเบีย 1997 รอบแบ่งกลุ่ม 6th 3 1 0 2 2 8
เม็กซิโก 1999 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2001
ฝรั่งเศส 2003
เยอรมนี 2005
แอฟริกาใต้ 2009
บราซิล 2013
รัสเซีย 2017
ทั้งหมด รอบแบ่งกลุ่ม 1/10 3 1 0 2 2 8

สถิติ[แก้]

ผู้เล่นในชุดปัจจุบัน แสดงด้วย ตัวหนา สถิติเมื่อ วันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "กุนซือยูเออีลั่นจะพาทีมคว้าทองประวัติศาสตร์บอลอชก". www.siamsport.co.th. 27 Jun 2018. สืบค้นเมื่อ 11 Jul 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "เปิด 2 สถิติสุดโหด "เวียดนาม" ก่อนฟัดเดือด "ทีมชาติไทย"". www.thairath.co.th. 19 Nov 2019. สืบค้นเมื่อ 11 Jul 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  4. Yahoo! Sports: Asian Football Confederation apologize for calling UAE national team ‘Sand Monkeys’
  5. Roberto Mamrud; Karel Stokkermans. "Players with 100+ Caps and 30+ International Goals". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]