ฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 มองโกเลีย
ฉายาХөх Чононууд (Khökh Chononuud; หมาป่าสีน้ำเงิน)
Чингис Хаан (Tchingis Khaan; เจงกีส ข่าน)
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย
(МXX)
สมาพันธ์ย่อยสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออก (EAFF)
สมาพันธ์สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนอิชิโระ โอตสึกะ
กัปตันTsend-Ayush Khurelbaatar
ติดทีมชาติสูงสุดGaridmagnai Bayasgalangiin
Lümbengarav Donorov
Tsedenbal Norjmoogiin (35)
ทำประตูสูงสุดLümbengarav Donorov
Naranbold Nyam-Osor (8)[1]
สนามเหย้าศูนย์ฟุตบอลสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย
รหัสฟีฟ่าMNG
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 191 ลดลง 1 (4 เมษายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด160 (สิงหาคม ค.ศ. 2011)
อันดับต่ำสุด205 (กรกฎาคม ค.ศ. 2015)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 12–0 มองโกเลีย มองโกเลีย
(ซินกิง แมนจู; 10 สิงหาคม 1942)
ชนะสูงสุด
ธงชาติมองโกเลีย มองโกเลีย 9–0 หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา Flag of the Northern Mariana Islands
(อูลานบาตาร์ มองโกเลีย; 4 กันยายน 2018)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 15–0 มองโกเลีย ธงชาติมองโกเลีย
(เชียงใหม่ ไทย; 5 ธันวาคม 1998)
เอเอฟซี โซลิแดริตีคัพ
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 2016)
ผลงานดีที่สุดรอบแบ่งกลุ่ม (2016)

ฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย (มองโกเลีย: Монголын хөлбөмбөгийн үндэсний шигшээ баг, Mongolyn khölbömbögiin ündesnii shigshee bag) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศมองโกเลียในการแข่งขันระดับนานาชาติ อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลีย ซึ่งเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียตะวันออกและสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย แม้ว่าสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลียจะก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1959 แต่ทีมชาติกลับไม่ได้แข่งขันในระดับนานาชาติเป็นระยะเวลายาวนานถึง 38 ปี จนกระทั่งได้แข่งขันอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1998

ประวัติ[แก้]

ทีมชาติมองโกเลียเคยใช้สนามกีฬาแห่งชาติเป็นสนามเหย้าจนกระทั่งศูนย์ฟุตบอลสหพันธ์ฟุตบอลมองโกเลียได้ถูกสร้างขึ้น[3]

ระหว่าง ค.ศ. 1960 ถึง 1998 ทีมชาติมองโกเลียไม่เคยลงเล่นในระดับนานาชาติจนกระทั่งพวกเขาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่าใน ค.ศ. 1998[4] การแข่งขันครั้งแรกของมองโกเลียเกิดขึ้นในฟุตบอลเอเชียนเกมส์ 1998 รอบคัดเลือก ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ต่อคูเวต 11–0 และแพ้อุซเบกิสถาน 15–0

พวกเขาเข้าร่วมแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002 แต่พวกเขาพ่ายแพ้ถึงห้านัดติดต่อกันก่อนที่จะเสมอกับบังกลาเทศ 2–2 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 มองโกเลียเปิดบ้านแพ้มัลดีฟส์ 0–1 ก่อนที่จะบุกไปแพ้ที่มาเลในเลกที่สองถึง 12–0 จนต้องตกรอบแรกในที่สุด ต่อมาในรอบแรกของฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก มองโกเลียแพ้เกาหลีเหนือด้วยผลประตูรวมถึง 9–2 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2014 มองโกเลียแพ้พม่าในรอบแรก 2–1 และในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก รอบแรก มองโกเลียถูกจับสลากพบกับติมอร์-เลสเต และพวกเขาได้สิทธิ์ชนะบาย 3–0 ทั้งสองนัดหลังจากที่ติมอร์ถูกตรวจพบว่ามีผู้เล่นที่ลงทะเบียนผิดกฎ อย่างไรก็ตาม มองโกเลียตกรอบคัดเลือกรอบที่สอง

ในฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก รอบแรก มองโกเลียสามารถเอาชนะบรูไนด้วยผลประตูรวม 3–2[5] แต่ในรอบที่สอง มีนัดที่พวกเขาพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่นถึง 14–0 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2021 พวกเขาปลดรัสติสลัฟ บอซิกออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้งชูอิจิ มาเสะเป็นผู้ฝึกสอนคนใหม่ ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน มองโกเลียสามารถพลิกเอาชนะคีร์กีซสถาน 1–0 ได้อย่างเหนือความคาดหมาย นับเป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถเอาชนะทีมจากเอเชียกลางและเป็นครั้งแรกที่พวกเขาเอาชนะทีมที่อันดับโลกฟีฟ่าสูงกว่า 100 ได้ในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก

อ้างอิง[แก้]

  1. Földesi, László. "International Goals of Mongolia". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 12 January 2011.
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  3. Lim, Miakka. "Azkals now in Mongolia, tired but in high spirits". GMA Network. สืบค้นเมื่อ 14 August 2016.
  4. "Mongolian football takes a giant steppe". FIFA.com.[ลิงก์เสีย]
  5. "Quintet through as Mongolia make history". FIFA.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]