ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน)
Pinkanakorn Development Agency (Public Organization)
ตราสัญลักษณ์ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
ภาพรวมสำนักงาน
ก่อตั้ง12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556; 11 ปีก่อน (2556-02-12)
ยุบเลิก15 เมษายน พ.ศ. 2562; 5 ปีก่อน (2562-04-15)[1]
หน่วยงานสืบทอด
ประเภทองค์การมหาชน
เขตอำนาจจังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่เชื่อมโยง
สำนักงานใหญ่33 หมู่ 12 ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
งบประมาณต่อปี137,122,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนักงาน
  • พลเอก โกศล ประทุมชาติ, ประธานกรรมการ
  • กฤษดา ลาพิมล, ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ
  • ฐิติรัตน์ ต๊ะวันวงศ์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสำนักงานสำนักนายกรัฐมนตรี
เอกสารหลัก
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Pinkanakorn Development Agency (Public Organization)) เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2556 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่ที่เชื่อมโยงหรือต่อเนื่องกับเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพการเป็นแหล่งท่องเที่ยวกับทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว

ประวัติ

[แก้]

สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นจากเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และบริเวณที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งมีศักยภาพสูงมีความพร้อมในด้านต่างๆ โดยคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งหน่วยงานรูปแบบพิเศษขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ในวันถัดมา และคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ ปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้กำกับดูแลหน่วยงาน[3]

ในปีงบประมาณแรกที่จัดตั้ง สำนักงานฯได้รับงบประมาณสูงถึง 744.31 ล้านบาทเพื่อพัฒนาโครงการในพื้นที่ แต่ถึงแม้จะได้รับงบประมาณสูงในช่วงปีแรก กลับไม่มีผลงานที่เป็นรูปธรรมแม้แต่โครงการเดียว ทั้งหมดนี้เกิดจากความล้มเหลวของผู้บริหารและปัญหาภายใน มีความพยายามสรรหาผู้อำนวยการถึงเจ็ดครั้งแต่ล้มเหลวทุกครั้งจากการเล่นพรรคเล่นพวก และถูกแทรกแซงจากภาคการเมือง[4]

ด้วยความที่ไม่มีผลงานที่จับต้องได้ ทำให้สำนักงานฯถูกลดงบประมาณลงตามลำดับ จนเมื่อเกิดการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าไปตรวจสอบและปลดผู้บริหาร รวมทั้งตั้งคณะกรรมการพิงคนครขึ้นมาเพื่อกำกับดูแล จนกระทั่งมีการยุบเลิกสำนักงานฯ ตามประกาศพระราชกฤษฎีกาฯ [1] โดยได้ดำเนินการถ่ายโอนอำนาจและหน้าที่ฯ ไปยังบริษัทธนารักษ์พัฒนสินทรัพย์ จำกัด (สำหรับศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ) และขณะนี้อยู่ระหว่างการถ่ายโอนอำนาจและหน้าที่ฯ ไปยังองค์การสวนสัตว์ (สำหรับเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี)[5]

ประธานกรรมการ

[แก้]

หน่วยงานในการดูแล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 พระราชกฤษฎีกา ยุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2562, 2019-04-12 (in ไทย)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๘, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. ครม.มอบ"ปลอดประสพ"ดูแลสำนักงานพัฒนาพิงคนคร[ลิงก์เสีย]
  4. "อดีตผอ.พิงค์นครร้องทหารช่วย หลังบอร์ดตั้งคนใหม่". เดลินิวส์. เชียงใหม่. 2018-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-15. สืบค้นเมื่อ 2018-10-16.
  5. "ยุบพิงคนคร!! มีผล 15 เม.ย. 62 โอนศูนย์ประชุมให้ธนารักษ์ ไนท์ซาฟารีโอนไปสวนสัตว์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 2021-02-08.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนคร (จำนวน ๗ ราย ๑. นายอุดม พัวสกุล ฯ)
  7. รายงานการติดตามแผนและผลการดำเนินงานด้านการตรวจสอบ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:สำนักงานพัฒนาพิงคนคร