ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังจันทน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
[[พระมหาธรรมราชาที่ 1]] (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน [[พระยาเลอไท]] พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่ง[[ราชวงศ์พระร่วง]] ของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] ทรงครอง[[กรุงสุโขทัย]]ระหว่าง [[พ.ศ. 1890]] - [[พ.ศ. 1904]] ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก และทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง [[พ.ศ. 1905]] - [[พ.ศ. 1912]] เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทร์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของ[[แม่น้ำน่าน]] และสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึง[[อยุธยา]]
[[พระมหาธรรมราชาที่ 1]] (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน [[พระยาเลอไท]] พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่ง[[ราชวงศ์พระร่วง]] ของ[[อาณาจักรสุโขทัย]] ทรงครอง[[กรุงสุโขทัย]]ระหว่าง [[พ.ศ. 1890]] - [[พ.ศ. 1904]] ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก และทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง [[พ.ศ. 1905]] - [[พ.ศ. 1912]] เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทร์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของ[[แม่น้ำน่าน]] และสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึง[[อยุธยา]]


เมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กษัตริย์แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกใน [[พ.ศ. 2006]] ทรงใช้พระราชวังจันทร์เป็นที่ประทับตลอด เชื่อว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระองค์ด้วย จากนั้นพระราชวังจันทน์ก็มักจะเป็นที่ประทับของ[[พระมหาอุปราช]]ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อ ๆ มาจนถึงสมัยของ[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]ทรงให้[[สมเด็จพระนเรศวร]]เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั่น จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดไปอยู่ที่พระราชวังจันทน์อีก
เมื่อ[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] กษัตริย์แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกใน [[พ.ศ. 2006]] ทรงใช้พระราชวังจันทน์เป็นที่ประทับตลอด เชื่อว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระองค์ด้วย จากนั้นพระราชวังจันทน์ก็มักจะเป็นที่ประทับของ[[พระมหาอุปราช]]ของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อ ๆ มาจนถึงสมัยของ[[สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช]]ทรงให้[[สมเด็จพระนเรศวร]]เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั่น จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดไปอยู่ที่พระราชวังจันทน์อีก


== การค้นพบ ==
== การค้นพบ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:36, 25 กุมภาพันธ์ 2563

พระราชวังจันทน์ ตั้งอยู่ติดกับ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพภาคที่ 3 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการบูรณะค้นหาแนวเขตพระราชวังจันทน์ ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ประวัติ

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน พระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย ทรงครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1904 ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก และทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง พ.ศ. 1905 - พ.ศ. 1912 เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทร์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน และสันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงอยุธยา

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2006 ทรงใช้พระราชวังจันทน์เป็นที่ประทับตลอด เชื่อว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระองค์ด้วย จากนั้นพระราชวังจันทน์ก็มักจะเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อ ๆ มาจนถึงสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั่น จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดไปอยู่ที่พระราชวังจันทน์อีก

การค้นพบ

ภายหลังพระราชวังจันทน์ได้ร้างลงและไม่มีใครสนใจอีก จนกระทั่งปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุระยะทางไปพิษณุโลกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จตรวจราชการเมืองพิษณุโลก ใน พ.ศ. 2444 โปรดให้ขุนศรเทพบาล สำรวจจังหวัดจัดทำผังพระราชวังจันทน์

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสังเวยเทพารักษ์ วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2444 มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า มีซากพระราชวังก่อด้วยอิฐ สูงพ้นดิน 2-3 ศอกเศษ มีพระที่นั่งคล้ายพระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี มีกำแพงวัง 2 ชั้น มีสระสองพี่น้องอยู่นอกกำแพงวัง ภายหลังปรักหักพังเป็นป่ารกในสงครามอะแซหวุ่นกี้ตีเมืองพิษณุโลก

การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน

ใน พ.ศ. 2475 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ได้ย้ายมาจากบริเวณ วัดนางพญา มาตั้งในพื้นที่พระราชวังจันทน์ จึงมีการปรับพื้นที่ก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ มาเป็นลำดับ

ใน พ.ศ. 2535 โรงเรียนจะก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้นที่บริเวณสนามบาสเกตบอลใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ขณะที่คนงานก่อสร้างขุดหลุมเสาฐานรากได้พบซากอิฐเก่า กรมศิลปากรจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 มีพื้นที่ 128 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา ตามหนังสือ ที่ ศธ 07/4954 เพื่อให้กรมศิลปากรเข้ามาบูรณะพระราชวังจันทน์เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ โรงเรียนจึงต้องจัดหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อเตรียมการย้ายโรงเรียนเป็นครั้งที่ 3 ออกไปยังสถานที่แห่งใหม่ต่อไป

การย้ายโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม

พ.ศ. 2548 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ทั้งหมดได้ย้ายออกจากเขตพระราชวังจันทน์ไปบริเวณบึงแก่งใหญ่จนแล้วเสร็จ เริ่มรื้อถอนอาคารเรียนในเขตพระราชวังจันทน์ออกทั้งหมด และปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อดำเนินการบูรณะพระราชวังจันทน์ต่อไป

อ้างอิง

  • โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลต่าง ๆ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดพิษณุโลก. ตามรอยบรรพกษัตริย์ไทยใต้เบื้องพระยุคลบาทในเมืองพิษณุโลก. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], พ.ศ. 2549. ISBN 9747859629