ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กูเกิล แปลภาษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8094391 สร้างโดย 223.204.7.90 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
|num_users = มากกว่า 200+ ล้านคน<ref name="CNET">{{cite web|url=http://www.cnet.com/news/google-translate-now-serves-200-million-people-daily/|title=Google Translate now serves 200 million people daily|last1=Shankland|first1=Stephen|publisher=CNET|accessdate=17 October 2014}}</ref>
|num_users = มากกว่า 200+ ล้านคน<ref name="CNET">{{cite web|url=http://www.cnet.com/news/google-translate-now-serves-200-million-people-daily/|title=Google Translate now serves 200 million people daily|last1=Shankland|first1=Stephen|publisher=CNET|accessdate=17 October 2014}}</ref>
|owner = [[กูเกิล]]
|owner = [[กูเกิล]]
|launch_date = {{start date and age|2006|4|28|mf=yes}} (as [[rule-based machine translation]])<ref>{{cite web|url=http://googleresearch.blogspot.com/2006/04/statistical-machine-translation-live.html|title=Research Blog: Statistical machine translation live|work=Google Research Blogspot|date=2006-04-28|accessdate=2016-03-11}}</ref><br>{{start date and age|2007|10|22|mf=yes}} (as [[statistical machine translation]])<ref>{{cite web|url=http://googlesystem.blogspot.com/2007/10/google-translate-switches-to-googles.html|title=Google Switches to Its Own Translation System|work=Google System Blogspot|date=2007-10-22|accessdate=2016-03-11}}</ref>
|launch_date = {{start date and age|2006|4|28|mf=yes}} (as [[rule-based machine translation]])<ref>{{cite web|url=http://googleresearch.blogspot.com/2006/04/statistical-machine-translation-live.htmlใช้ไม่เป็นไม่เข้าแปล|title=Research Blog: Statistical machine translation live|work=Google Research Blogspot|date=2006-04-28|accessdate=2016-03-11}}</ref><br>{{start date and age|2007|10|22|mf=yes}} (as [[statistical machine translation]])<ref>{{cite web|url=http://googlesystem.blogspot.com/2007/10/google-translate-switches-to-googles.html|title=Google Switches to Its Own Translation System|work=Google System Blogspot|date=2007-10-22|accessdate=2016-03-11}}</ref>
|current_status = เปิดให้บริการ
|current_status = เปิดให้บริการ
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:03, 26 กุมภาพันธ์ 2562

กูเกิล แปลภาษา
ประเภทStatistical machine translation
ภาษาที่ใช้ได้103 ภาษา (ดูในส่วนของ ภาษาที่รองรับ
เจ้าของกูเกิล
ยูอาร์แอลtranslate.google.com
เชิงพาณิชย์ใช่
ลงทะเบียนOptional
ผู้ใช้มากกว่า 200+ ล้านคน[1]
เปิดตัว28 เมษายน 2006; 17 ปีก่อน (2006-04-28) (as rule-based machine translation)[2]
22 ตุลาคม 2007; 16 ปีก่อน (2007-10-22) (as statistical machine translation)[3]
สถานะปัจจุบันเปิดให้บริการ

กูเกิลแปลภาษา (อังกฤษ: Google Translate) เป็นบริการแปลภาษาหลายภาษาด้วยเครื่องจักรโดยไม่คิดค่าบริการของบริษัทกูเกิล

กูเกิลแปลภาษามีลักษณะไม่เหมือนกับบริการแปลอื่น ๆ เช่น Babel Fish, AOL, ยาฮู! ที่ใช้ SYSTRAN ขณะที่กูเกิลใช้ซอฟต์แวร์การแปลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งทางการค้าเจ้าใหญ่อย่างบริษัท ไมโครซอฟท์ ได้มีผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกันมากมาลงแข่งขันด้วย ซึ่งมีชื่อว่า Bing Translator

การทำงาน

การบริการยังครอบคลุมถึงการแปลหน้าเว็บเพจทั้งหน้าด้วย ทว่า การแปลถูกจำกัดจำนวนย่อหน้าที่ให้แปลในแต่ละหน้า (เช่น การใช้แท็กขึ้นบรรทัดใหม่ <br>) แต่ถ้าเกิดว่า ข้อความบนเว็บเพจถูกแบ่งโดยภาพเส้นเปล่าแนวนอน (ไม่มีการใช้โค้ด <br>) เว็บเพจที่มีเนื้อหามาก ๆ ก็อาจจะถูกแปลได้ โดยที่มีคำมากกว่าหนึ่งพันคำ

กูเกิลแปลภาษา มีการจำกัดการแปล ซึ่งไม่เหมือนบริการอื่น ๆ ขณะที่มันช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาโดยทั่วไปของข้อความภาษาต่างประเทศ บริการนี้ก็ไม่ได้ให้การแปลที่ถูกต้องแม่นยำ และนอกจากนี้มันยังแปลข้อความในบางครั้งผิดความหมาย และผิดหลักไวยากรณ์

ภาษาที่รองรับ

(เรียงตามลำดับเวลา)

  • ขั้นที่ 3
  • ขั้นที่ 4
    • อังกฤษ - จีน (ตัวย่อ) บีตา
    • อังกฤษ - ญี่ปุ่น บีตา
    • อังกฤษ - เกาหลี บีตา
    • จีน (ตัวย่อ) บีตา - อังกฤษ บีตา
    • ญี่ปุ่น - อังกฤษ บีตา
    • เกาหลี - อังกฤษ บีตา
  • ขั้นที่ 5
    • อังกฤษ - รัสเซีย บีตา
    • รัสเซีย - อังกฤษ บีตา
  • ขั้นที่ 6
    • อังกฤษ - อาหรับ บีตา
    • อาหรับ - อังกฤษ บีตา
  • ขั้นที่ 7 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550)
    • อังกฤษ - จีน (ตัวเต็ม) บีตา
    • จีน (ตัวเต็ม) - อังกฤษ บีตา
    • จีน (ตัวเต็ม) - จีน (ตัวย่อ) บีตา
    • จีน (ตัวย่อ) - จีน (ตัวเต็ม) บีตา
  • ขั้นที่ 8 (ตุลาคม พ.ศ. 2550)
    • คู่ภาษาทั้งหมด 25 คู่ ใช้ระบบการแปลของกูเกิล
  • ขั้นที่ 9
    • อังกฤษ - ฮินดี บีตา
    • ฮินดี - อังกฤษ บีตา
  • ขั้นที่ 15 (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
    • ระยะทดสอบสิ้นสุดลงแล้ว ผู้ใช้สามารถเลือกโหมดการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ยูเครน เบลารุส บัลแกเรีย กรีก ฮินดี และไทยได้แล้ว สำหรับการแปลจากภาษาอาหรับ เปอร์เซียและฮินดี ผู้ใช้สามารถป้อนข้อความที่ถูกถอดเป็นอักษรโรมันได้ และอักษรโรมันที่ป้อนเข้าไปนี้จะถูกแปลงเป็นอักษรที่ถูกต้องสำหรับภาษาเหล่านี้ตามที่ผู้ใช้ได้กำหนดไว้ โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดสามารถใช้ได้ในภาษาอังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศสและเยอรมัน
  • ขั้นที่ 16 (30 มกราคม พ.ศ. 2553)
    • เฮติ (สำหรับแผ่นดินไหวเฮติ)
  • ขั้นที่ 17 (เมษายน พ.ศ. 2553)
    • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดสามารถใช้ได้ในภาษาฮินดีและสเปนแล้ว
  • ขั้นที่ 18 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
    • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดสามารถใช้ได้ในภาษาแอฟริกานส์ อัลบาเนีย คะตะลัน จีนกลาง โครเอเชีย เช็ค เดนมาร์ก ดัตช์ ฟินแลนด์ กรีก ฮังการี ไอซ์แลนด์ อินโดนิเซีย ลัตเวีย มาซีโดเนีย นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส โรมัน รัสเซีย เซอร์เบีย สโลวัก สวาฮิลี สวีเดน ตุรกี เวียดนามและเวลส์แล้ว (ใช้เทคโนโลยีของ eSpeak)[4]
  • ขั้นที่ 20 (มิถุนายน พ.ศ. 2553)
    • รองรับการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาอาหรับ
  • ขั้นที่ 21 (กันยายน พ.ศ.​ 2553)
    • สามารถพิมพ์โดยแปลงอักษรโรมันเป็นอักษรที่แท้จริงสำหรับการพิมพ์ภาษาอาหรับ กรีก ฮินดี เปอร์เซีย รัสเซีย เซอร์เบียและอุรดูได้แล้ว
    • ละติน[5]
  • ขั้นที่ 22 (ธันวาคม พ.ศ. 2553)
    • หยุดรองรับการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาอาหรับ
    • เพิ่มตัวตรวจสอบการสะกดแล้ว
    • กูเกิลได้แทนที่โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดสำหรับบางภาษา โดยเปลี่ยนจากเทคโนโลยีของ eSpeak ที่ให้เสียงคล้ายหุ่นยนต์ มาเป็นแบบเสียงธรรมชาติจากเจ้าของภาษา ที่ใช้เทคโนโลยีของ [[SVOX][6] (ภาษาจีน เช็ก เดนมาร์ก ดัตช์ ฟินแลนด์ กรีก ฮังการี นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย สวีเดน ตุรกี) รวมถึงภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี และสเปนด้วย ส่วนภาษาละตินจะใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดตัวเดียวกับที่ใช้สำหรับภาษาอิตาลี
    • การสังเคราะห์เสียงพูดสามารถใช้ในภาษาอาหรับ ญี่ปุ่น และเกาหลีได้แล้ว
  • ขั้นที่ 23 (มกราคม พ.ศ. 2554)
    • สามารถดูตัวเลือกของคำแปลอื่น ๆ สำหรับคำหนึ่งได้แล้ว
  • ขั้นที่ 24 (มิถุนายน พ.ศ. 2554)
  • ขั้นที่ 25 (กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
    • เพิ่มตัวเลือกสำหรับให้คะแนนคำแปล
  • ขั้นที่ 26 (มกราคม พ.ศ. 2555)
    • โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดสำหรับภาษาดัตช์เปลี่ยนจากแบบผู้ชายเป็นแบบผู้หญิงแล้ว
    • เปลี่ยนเสียงสังเคราะห์ในภาษาสโลวัก จากเดิมที่ใช้เทคโนโลยีของ eSpeak มาเป็นเสียงสังเคราะห์ที่ชื่อว่า Elena ที่ใช้เทคโนโลยีของ SVOX แทน
    • รองรับการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษายิดดิช
  • ขั้นที่ 27 (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555)
  • ขั้นที่ 28 (กันยายน พ.ศ. 2555)
  • ขั้นที่ 29 (ตุลาคม พ.ศ. 2555)
    • รองรับการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาลาว (อยู่ในระยะทดสอบ)[9][10]
  • ขั้นที่ 30 (ตุลาคม พ.ศ.​ 2555)
    • ใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดแบบใหม่สำหรับภาษาอังกฤษ
  • ขั้นที่ 31 (พฤศจิกายน พ.ศ. 2555)
    • ใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดแบบใหม่สำหรับภาษาฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และเยอรมัน
  • ขั้นที่ 32 (มีนาคม พ.ศ.​ 2556)
    • เพิ่มคุณลักษณะใหม่ที่ชื่อว่า Phrasebook
  • ขั้นที่ 33 (มีนาคม พ.ศ. 2556)
  • ขั้นที่ 35 (พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
    • 16 ภาษาเพิ่มเติมสำหรับป้อนข้อมูลโดยใช้กล่องส่องข้อความได้แล้ว: บัลแกเรีย คะตะลัน โครเอเชีย เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฮังการี อินโดนีเซีย ไอซ์แลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย นอร์เวย์ โรมาเนีย สโลวัก และสวีเดน
  • ขั้นที่ 37 (มิถุนายน พ.ศ. 2557)
    • เพิ่มการรองรับการบอกความหมายของคำที่ผู้ใช้ป้อน
  • ขั้นที่ 39 (ตุลาคม พ.ศ.​ 2558)
    • กลับมารองรับการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาอาหรับอีกครั้ง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Shankland, Stephen. "Google Translate now serves 200 million people daily". CNET. สืบค้นเมื่อ 17 October 2014.
  2. "Research Blog: Statistical machine translation live". Google Research Blogspot. 2006-04-28. สืบค้นเมื่อ 2016-03-11.
  3. "Google Switches to Its Own Translation System". Google System Blogspot. 2007-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-03-11.
  4. Henderson, Fergus (November 5, 2010). "Giving a voice to more languages on Google Translate". Google Blog. สืบค้นเมื่อ December 22, 2011.
  5. Jakob Uszkoreit, Ingeniarius Programmandi (September 30, 2010). "Veni, Vidi, Verba Verti". Google Blog. สืบค้นเมื่อ December 22, 2011.
  6. SVOX Archived ธันวาคม 26, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  7. "Google Translate welcomes you to the Indic web". Google Translate Blog.
  8. Google Translate Blog: Tutmonda helplingvo por ĉiuj homoj
  9. Brants, Thorsten (September 13, 2012). "Translating Lao". Google Translate Blog. สืบค้นเมื่อ September 19, 2012.
  10. Crum, Chris (September 13, 2012). "Google Adds its 65th Language to Google Translate with Lao". WebProNews. สืบค้นเมื่อ September 19, 2012.
  11. http://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-3453035/Aloha-Google-adds-13-new-languages-Translate-tool-including-Scots-Gaelic-Hawaiian-taking-total-103.html
  12. http://www.dnaindia.com//scitech/report-google-adds-sindhi-to-its-translate-language-options-2179229
  13. https://in.news.yahoo.com/google-adds-sindhi-translate-language-options-113113260.html
  14. http://www.brecorder.com/arts-a-leisure/lifestyle/279458-google-translate-now-includes-sindhi-and-pashto.html
  15. http://www.dawn.com/news/1240589
  16. http://www.dailysarwan.com/editorial/%DA%AF%D9%88%DA%AF%D9%84-%D8%AA%D9%8A-%D8%B3%D9%86%DA%8C%D9%8A-%D9%BB%D9%88%D9%84%D9%8A/
  17. http://awamiawaz.com/%D8%B3%D9%86%DA%8C%D9%8A-104-%D9%BB%D9%88%D9%84%D9%8A%D9%86-%DB%BE-%D8%AA%D8%B1%D8%AC%D9%85%D9%88-%D9%BF%D9%8A%D9%86%D8%AF%DA%99-%D9%BB%D9%88%D9%84%D9%8A-%D8%A8%DA%BB%D8%AC%D9%8A-%D9%88%D9%8A%D8%A6/
  18. http://www.sindhnewsonline.com/index.php/science/item/18093-2016-02-19-16-15-07

แหล่งข้อมูลอื่น