ยาฮู!

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาฮู!
ประเภทบริษัทย่อย
วันที่ก่อตั้งมกราคม ค.ศ. 1994 (1994-01) (ในชื่อ Jerry and David's guide to the World Wide Web)
มีนาคม ค.ศ. 1995 (1995-03) (ในชื่อ Yahoo)
สำนักงานใหญ่ซันนีเวล แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
ผู้ก่อตั้งเจอร์รี หยาง, เดวิด ไฟโล
บุคคลสำคัญเมย์นาร์ด เวบบ์
(Chairman)
แมริสสา ไมเยอร์
(CEO)
เดวิด ไฟโล
(Chief Yahoo) [1]
อุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ต
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
เสิร์ชเอนจิน
รายได้ลดลง 4.61 billion (2014)[2]
รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น $589 million (2013) [3]
เงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น 7.52 billion (2014) [4]
สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้น US$9.6billion (2014) [5]
หุ้นรวมเพิ่มขึ้น US$38.74 billion (2014) [6]
ลูกจ้าง12,200 (Dec 2013) [3]
เว็บไซต์www.yahoo.com
อันดับอเล็กซาเพิ่มขึ้น 4 (March 2015) [7]

ยาฮู! (Yahoo! Inc.) (แนสแด็ก: YHOO) คือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบไปด้วยเว็บท่า, เสิร์ชเอนจิน, Yahoo! Directory, Yahoo! Mail, Yahoo! News, Yahoo! Photos (ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน ปี 2550 ได้โอนไปรวมเข้ากับ Flickr), ฯลฯ ยาฮู! ก่อตั้งขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาเอกสองคนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) ในเดือนมกราคมปี 1994 และเริ่มดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปี 1995 ปัจจุบัน ยาฮู! มีบริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนีเวล รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อ้างอิงสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (รวมถึงอเล็กซ่า และเน็ตคราฟต์) ยาฮู! ยังคงเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยจำนวนผู้ใช้ 412 ล้านคน เครือข่ายของยาฮู! ทั่วโลกมีเพจวิวโดยเฉลี่ยกว่า 3.4 พันล้านหน้าต่อวัน[ต้องการอ้างอิง] (อัปเดตเมื่อเดือนตุลาคม 2005) ปัจจุบันยาฮู! เปิดให้บริการในประเทศไทยด้วยและเริ่มเปิดตัวในประเทศไทยด้วย หรือ Yahoo! Answers ในภาคภาษาไทย

ประวัติบริษัท[แก้]

เจอร์รี หยาง (ซ้าย) และ เดวิล ไฟโล (ขวา) ผู้ก่อตั้ง ยาฮู!

ที่มาที่ไปของ Yahoo! เริ่มต้นเมื่อเดือนมกราคมปี 1994 คู่หูนักศึกษาสแตนฟอร์ดสองคน เจอร์รี่ หยางและเดวิด ไฟโล ได้สร้างเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Jerry's Guide to the World Wide Web" (ไกด์แนะนำท่องเวิร์ลไวด์เว็บของเจอร์รี่) Jerry's Guide to the World Wide เป็นเว็บไซต์ประเภทเว็บไดเร็คทอรี่ที่รวบรวมเว็บลิงก์ที่น่าสนใจ เรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนสำหรับการค้นหา

เดือนเมษายน ปี 1994 "Jerry's Guide to the World Wide Web" ก็เปลี่ยนชื่อเป็น "Yahoo!" โดยไฟโลและหยางกล่าวว่า พวกเขาตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า ยาฮู! เพราะพวกเขาชอบความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม Gulliver's Travels โดย Jonathan Swift: ว่า “หยาบคาย, ตรงไปตรงมา, แปลก” และ Yahoo! ยังมีชื่อเต็มว่า "Yet Another Hierarchical Officious Oracle" ซึ่งในขณะนั้นใช้ URL ว่า akebono.stanford.edu/yahoo

ปลายปี 1994 ยาฮู! ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นด้วยยอดการใช้งาน 1 ล้านฮิต จนทั้งสองคนเริ่มคิดว่าเว็บไซต์ที่พวกเขาทำกันสนุก ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะทำธุรกิจได้ และในวันที่ 1 มีนาคม ปี 1995 ยาฮู! ก็จัดตั้งขึ้นเป็นบริษัท และเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปี 1996 ยาฮู! ก็ปล่อย IPO (initial public offering) หรือเปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่า $33.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยขายหุ้นจำนวน 2.6 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 13 ดอลลาร์สหรัฐ

ในครั้งนั้น "ยาฮู" ได้เคยเป็นชื่อตราสินค้าของซอสบาร์บีคิว โดยบริษัท EBSCO อินดัสตรี้ และเรือแคนนูของบริษัท Old Town Canoe Co. ดังนั้นในการที่จะได้ชื่อตราสินค้านี้มา หยางกับไฟโลจึงต้องเติมเครื่องหมายอัศเจรีย์ไว้ท้ายชื่อว่า “ยาฮู!” อย่างไรก็ตามเครื่องหมายอัศเจรีย์นี้มักจะถูกละเลยไปเมื่อมีการพูดถึงยาฮู

ในปี 1997-1999 คล้ายกับเว็บเสิร์ชเอนจิน และเว็บไดเร็คทอรี่หลาย ๆ แห่ง ยาฮู! ได้ขยายคอนเซ็ปต์ตัวเองเป็นเว็บท่า ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ยาฮู! (Yahoo!) , เอ็มเอสเอ็น (MSN) , ไลคอส (Lycos) , เอ็กไซต์ (Excite) และเว็บท่าอื่น ๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เว็บท่าเหล่านี้ได้ควบซื้อกิจการของบริษัทอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ หลายต่อหลายบริษัทเพื่อขยายขอบข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ของตนมากขึ้น

ในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1997 ยาฮู! ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท โฟร์ อีเลฟเว่น (Four11) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่ชื่อว่า ร็อกเก็ตเมล (Rocketmail) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! Mail นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการของ ClassicGames.com และเปลี่ยนชื่อเป็น Yahoo! Games จากนั้นก็เข้าซื้อกิจการของบริษัทการตลาดแบบตรง (Yoyodyne Entertainment) Inc. ในวันที่ 12 ตุลาคม ปี 1998 และจากนั้นไม่นานเมื่อ 28 มกราคม 1999 ยาฮู! ก็เข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการโฮสติ้งชื่อดัง จีโอซิตี้ (GeoCities) และยังซื้อบริษัท อีกรุ๊ปส์ (eGroups) ซึ่งยาฮู! ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริการว่า Yahoo! Groups หลังจากวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2000 นอกจากนี้ ยาฮู! ยังได้เปิดตัวบริการ Yahoo! Messenger ในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1999.

3 มกราคม ปี 2000 ท่ามกลางกระแสดอตคอมบูมสูงสุด ราคาหุ้นของยาฮู! ขึ้นไปสูงสุดที่ 475 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อหุ้น และ 16 วันหลังจากนั้นราคาหุ้นในยาฮู! ญี่ปุ่นสูงเกิน 101.4 ล้านเยน (962,140 ดอลลาร์สหรัฐ ณ เวลานั้น) ในช่วงนั้นยังมีกระแสข่าวจากสำนักข่าว CNBC รายงานเพิ่มเติมอีกว่ายาฮู! กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกิจการกับอีเบย์แบบ 50/50 ถึงแม้ว่าดีลนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่ทั้งสองบริษัทก็ได้ผสานความร่วมมือทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการตลาดและโฆษณาใน 6 ปีต่อมาในปี 2006

จากนั้นในช่วงปี 2000 ก็เป็นปีเดียวกับที่กระแสฟองสบู่ดอตคอมแตก Yahoo! เริ่มนำเอาเสิร์ชเอนจินของ Google มาใช้ในเว็บไซต์ จน Google ได้ลูกค้าจาก Yahoo! ไปมากมาย จนวันหนึ่ง เทอร์รี่ ซีเมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขณะนั้นก็ตัดสินใจว่า Yahoo! ควรจะสร้างเทคโนโลยีเสิร์ชเอนจินของตัวเอง และเริ่มนำมาใช้ในปี 2004 และปรับบริการอีเมล Yahoo! Mail เพื่อสู้กับ Gmail ของ Google ในปี 2007 แต่จากนั้นแม้ว่าจะมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากมาย สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทก็ยังอยู่ในขั้นทรงตัว

เดือนกุมภาพันธ์ 2008 Microsoft Corporation ได้ประกาศจะเข้าซื้อกิจการของ Yahoo! เป็นเงิน 44.6 พันล้านเหรียญ แต่ Yahoo! ได้ปฏิเสธอย่างนิ่มนวลว่าเป็นการตีราคา Yahoo! ที่ต่ำเกินไปมาก ซึ่งคงไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นพอใจนัก สามปีถัดมามูลค่าหุ้นของ Yahoo! อยู่ที่ 22.24 พันล้านเหรียญ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ แครอล บาร์ซ เข้ามาแทนที่ผู้ร่วมก่อตั้ง Jerry Yang ในมกราคม 2009 ในเดือนกันยายน 2011 เธอออกจาก Yahoo! โดยประธานบอร์ด Roy Bostock และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน Tim Morse ได้รับหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารชั่วคราว

ต้นปี 2012 หลังจากค้นหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ Yahoo! ก็ได้ Scott Thompson มีข่าวการปลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะประหยัดเงินไปราว 375 ล้านเหรียญในปีนั้น และกำลังเร่งปรับโครงสร้างองค์กรอย่างเร่งรีบ แต่ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทาง Yahoo! ได้ออกมาให้ข่าวว่า Thompson ไม่ได้อยู่กับบริษัทอีกต่อไปแล้ว

เดือนกรกฎาคม 2012 Yahoo! ก็ได้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ "มาริสสา เมเยอร์" อดีตผู้บริหารจาก Google มาทำหน้าที่พลิกฟื้นบริษัท

ในปี 2017 ผู้ถือหุ้นของ Yahoo ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการในการขายบริษัทให้กับ Verizon ด้วยมูลค่า 4.48 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลจากการที่บัญชี Yahoo ถูกแฮกบัญชีอีเมลล์

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ยาฮู! รู้รอบ
  • ฟลิคเกอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. https://info.yahoo.com/management-team
  2. http://www.valuewalk.com/2015/01/yahoo-inc-vmware-inc-beat-earnings-estimates/
  3. 3.0 3.1 Yahoo! Inc. Form 10-K, Securities and Exchange Commission, February 28, 2014
  4. http://www.marketwatch.com/investing/stock/yhoo/financials
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-03-08.
  7. "Yahoo.com Site Info". Alexa.com. Alexa Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ March 24, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์ของยาฮู!
  • ยาฮู! ประเทศไทย