ข้ามไปเนื้อหา

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนดรอยด์
Screenshot
หน้าจอหลักของแอนดรอยด์ 14
ผู้พัฒนาหลายแห่ง (ส่วนใหญ่กูเกิลและโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์)
เขียนด้วยภาษาซี, ภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาคอตลิน, XML Schema, ภาษาจาวา, ภาษารัสต์ Edit this on Wikidata
ตระกูลยูนิกซ์ (ลินุกซ์ เคอร์เนลแบบปรับแต่ง)
วันที่เปิดตัว23 กันยายน 2008; 16 ปีก่อน (2008-09-23)[1]
รุ่นเสถียรแอนดรอยด์ 14 / 4 ตุลาคม 2023; 13 เดือนก่อน (2023-10-04)
รุ่นทดลองแอนดรอยด์ 14: เบตา 2 / 5 ตุลาคม 2023; 13 เดือนก่อน (2023-10-05)[2]
ยูเซอร์แลนด์Bionic libc,[3] mksh shell,[4] Toybox ในส่วนโปรแกรมอรรถประโยชน์หลัก (ตั้งแต่แอนดรอยด์ 6.0)[5][6]
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายกราฟิก (มัลติทัช)
สัญญาอนุญาต
เว็บไซต์www.android.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

แอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิทัลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548[8] แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา[9] โดยสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เครื่องแรกของโลกคือ เอชทีซี ดรีม วางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2551[10]

แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์ซ และกูเกิลได้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์อาปาเช[11] ซึ่งโอเพนซอร์ซจะอนุญาตให้ผู้ผลิตปรับแต่งและวางจำหน่ายได้ (ภายใต้เงื่อนไขที่กูเกิลกำหนด) รวมไปถึงนักพัฒนาและผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย อีกทั้งแอนดรอยด์ยังเป็นระบบปฏิบัติการที่รวมนักพัฒนาที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ มากมาย ภายใต้ภาษาจาวา[12] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีโปรแกรมมากกว่า 700,000 โปรแกรมสำหรับแอนดรอยด์ และยอดดาวน์โหลดจากกูเกิล เพลย์ มากถึง 2.5 หมื่นล้านครั้ง[13][14] จากการสำรวจในช่วงเดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม ในปี พ.ศ. 2556 พบว่าแอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่นักพัฒนาเลือกที่จะพัฒนาโปรแกรมมากที่สุด ถึง 71%[15]

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน[16] นำหน้าซิมเบียน ในไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2553[17] และยังเป็นทางเลือกของผู้ผลิตที่จะใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีราคาต่ำ, ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดี สำหรับอุปกรณ์ในสมัยใหม่[18] แม้ว่าแอนดรอยด์จะดูเหมือนได้รับการพัฒนาเพื่อใช้กับสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต แต่มันยังสามารถใช้ได้กับโทรทัศน์, เครื่องเล่นวิดีโอเกม, กล้องดิจิทัล และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แอนดรอยด์เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาคุณสมบัติใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา[19]

ส่วนแบ่งทางการตลาดของสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์ นำโดยซัมซุง มากถึง 64% ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556[20] เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มากถึง 11,868 รุ่น จาก 8 เวอร์ชันของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์[21] ความสำเร็จของระบบปฏิบัติการทำให้เกิดคดีด้านการละเมิดสิทธิบัตรที่เรียกกันว่า "สงครามสมาร์ตโฟน" (smartphone wars) ระหว่างบริษัทผู้ผลิต[22][23] ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โปรแกรม 4.8 หมื่นล้านโปรแกรมได้รับการติดตั้งบนอุปกรณ์จากกูเกิล เพลย์[24][25] และในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 มีอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 1 พันล้านเครื่อง ได้ถูกเปิดใช้งาน[26]

ประวัติ

[แก้]
โลโก้แอนดรอยด์รุ่นที่ 1 (2008–2014)
โลโก้แอนดรอยด์รุ่นที่ 2 (2014–2015)
โลโก้แอนดรอยด์รุ่นที่ 3 (2015–2019)
โลโก้แอนดรอยด์รุ่นที่ 4 (2019–2023)
โลโก้แอนดรอยด์รุ่นที่ 5 (2023-ปัจจุบัน)

บริษัทแอนดรอยด์ ก่อตั้งขึ้นที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 โดยแอนดี รูบิน (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแดนเจอร์), [27] ริช ไมเนอร์ (ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทไวลด์ไฟร์คอมมูนิเคชัน),[28] นิก เซียส์[29] (ซึ่งเคยเป็นรองผู้จัดการที่ทีโมบายล์) และ คริส ไวท์ (หัวหน้าฝ่ายออกแบบและการพัฒนาอินเตอร์เฟซ ที่เว็บทีวี)[8] สำหรับการพัฒนานั้น จากคำพูดของรูบิน "โทรศัพท์มือถือที่มีความฉลาดขึ้นและตระหนักถึงสถานที่ของเจ้าของมากขึ้น"[8] จุดประสงค์แรกของบริษัทคือการพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับกล้องดิจิทัล แต่เมื่อถูกตระหนักว่าไม่ใช่ตลาดที่กว้างพอ และต่อมาได้เบี่ยงเบนความพยายามเพื่อที่จะทำระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟน เพื่อแข่งกับซิมเบียน และ วินโดวส์โมบาย (ในขณะนั้น ไอโฟน ยังไม่ได้วางขาย)[30] แม้จะมีประวัติความสำเร็จของผู้ก่อตั้งและพนักงานของบริษัทในช่วงแรก บริษัทแอนดรอยด์ ได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ ให้เห็นเพียงว่าเป็นบริษัทที่ผลิตระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือ[8] ในปีเดียวกัน รูบิน ไม่มีเงินเหลือแล้ว สตีฟ เพอร์ลแมน เพื่อนสนิทของรูบิน ได้ให้ยืมเงิน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยส่งเงินใส่ในซองมาให้ และ ปฏิเสธที่จะถือหุ้นในบริษัท[31]

กูเกิล ได้ซื้อกิจการบริษัทแอนดรอยด์ ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เพื่อให้มาเป็นบริษัทย่อยในเครือของกูเกิล โดยบุคคลสำคัญของบริษัทแอนดรอยด์ ทั้ง รูบิน, ไมเนอร์ และ ไวท์ ยังอยู่กับบริษัทหลังจากถูกซื้อกิจการ[8] มีผู้คนไม่มากที่รู้จักบริษัทแอนดรอยด์ ในช่วงเวลานั้น แต่หลายคนสันนิษฐานว่ากูเกิลกำลังวางแผนที่จะเข้ามาสู่ตลาดโทรศัพท์มือถือจากการซื้อกิจการครั้งนี้[8] ที่กูเกิล รูบินนำทีมที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการสำหรับโทรศัพท์มือถือซึ่งขับเคลื่อนโดยลินุกซ์ เคอร์เนล ในตลาดมือถือของกูเกิล จะมีสัญญากับผู้ให้บริการเครือข่าย ต่อมากูเกิลได้เริ่มวางแผนในเรื่องของส่วนประกอบฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และผู้ให้บริการเครือข่าย[32][33][34]

ความตั้งใจของกูเกิล ที่จะเข้าสู่ตลาดเครื่องมือสื่อสาร อย่างโทรศัพท์มือถือได้มาถึงช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549[35] ตามรายงานของบีบีซี และ วอลล์สตรีตเจอร์นัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า กูเกิลพยายามที่จะผลิตโทรศัพท์มือถือที่ใช้สำหรับค้นหา และ ใช้โปรแกรมประยุกต์ หรือ แอปพลิเคชันได้ และกูเกิลได้ทำงานอย่างหนักเพื่อสิ่งนี้ และมีข่าวลือว่า กูเกิลจะพัฒนาโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อสินค้าของตนเอง บางคนก็สันนิษฐานว่ากูเกิลจะกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของโทรศัพท์มือถือ และส่งให้กับผู้ผลิต และ ผู้ให้บริการเครือข่าย ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 อินฟอร์เมชันวีก (InformationWeek) ร่วมมือกับ เอแวลูเซิร์ฟ (Evalueserve) เพื่อที่จะศึกษารายงานของกูเกิลในการยื่นสิทธิบัตรเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ[36][37]

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรในด้านเทคโนโลยี ซึ่งรวมไปด้วยกูเกิล กับผู้ผลิตอุปกรณ์เช่น เอชทีซี, โซนี่ และ ซัมซุง รวมไปถึงผู้ให้บริการเครือข่ายเช่น สปรินต์ เน็กเทล และ ที-โมบายล์ และบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์เช่น ควอล์คอมม์ และ เท็กซัสอินสตรูเมนส์ ได้เปิดเผยในเป้าหมายเพื่อการพัฒนาโทรศัพท์มือถือที่มีมาตรฐานเปิด[9] ในวันเดียวกัน แอนดรอยด์ได้เปิดตัวสินค้าชิ้นแรก ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ สร้างบนลินุกซ์ เคอร์เนล 2.6[9] ส่วนโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์คือเอชทีซี ดรีม เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551[38]

ในปี พ.ศ. 2553 กูเกิลได้เปิดตัว กูเกิล เน็กซัส ซึ่งเป็นซีรีส์หรือตระกูลของอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์โดยไม่ปรับแต่งใดๆ จากผู้ผลิต ซึ่งผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นพาร์ตเนอร์กับกูเกิล โดยเอชทีซี ร่วมมือกับกูเกิล ในการเปิดตัวสมาร์ตโฟนเน็กซัสรุ่นแรก[39] มีชื่อว่า เน็กซัสวัน โดยซีรีส์นี้จะได้รับการอัปเดตรุ่นใหม่ก่อนอุปกรณ์อื่นๆ กูเกิลได้เปิดตัวโทรศัพท์และแท็บเล็ต ซึ่งเป็นรุ่นเรือธงของแอนดรอยด์ โดยจะใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดของแอนดรอยด์ ต่อมาในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 แอนดี รูบิน ได้ถูกย้ายจากฝ่ายแอนดรอยด์ ไปยังฝ่ายการผลิตใหม่ของกูเกิล[40] ซึ่งตำแหน่งของรูบิน ถูกแทนที่ด้วยซันดาร์ พิชัย ที่จะทำงานในตำแหน่งหัวหน้าของฝ่ายกูเกิล โครมด้วย ซึ่งเขาเป็นผู้พัฒนาโครมโอเอส[41]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 แอนดรอยด์ได้ใช้การอัปเดตแบบเรียงตามเลขรุ่น ซึ่งจะมีการปรับปรุงส่วนต่างๆ ของระบบปฏิบัติการ, เพิ่มคุณสมบัติใหม่ และ แก้ไขข้อผิดพลาดในรุ่นก่อนหน้า โดยแต่ละรุ่นจะมีชื่อเฉพาะเรียงตามลำดับตัวอักษรและจะใช้ชื่อจากขนมหวาน เช่น รุ่น 1.5 "คัพเค้ก" 1.6 "โดนัท" รุ่น 4.3 "เจลลีบีน" และรุ่น 4.4 "คิทแคท" ซึ่งได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556[42][43]

ในปี พ.ศ. 2557 กูเกิลเปิดตัว "Android L"[44] (ต่อมาใช้ชื่อว่า โลลิป๊อป)[45] และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 กูเกิลได้เปิดตัวแอนดรอยด์รุ่นใหม่ในชื่อ "Android M"[46][47] (ต่อมาใช้ชื่อว่า มาร์ชเมลโลว)[48][49]

ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559 กูเกิลเปิดตัว แอนดรอยด์ 7.0 "นูกัต" อย่างเป็นทางการ[50][51] โดยสมาร์ตโฟนรุ่นแรกที่มาพร้อมกับแอนดรอยด์เวอร์ชันนี้คือ แอลจี วี20[52][53]

โลโก้แอนดรอยด์ใช้ในปี 2023-ปัจจุบัน

จากนั้น ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 กูเกิลได้ยกเลิกการใช้ชื่อเล่น Android ที่เป็นชื่อขนมหวานตั้งแต่รุ่นที่ 10 เป็นต้นไป ดังนั้น Android ที่เป็นชื่อเล่น Q จะถูกเรียกว่า Android 10 พร้อมทั้งเปลี่ยนโลโก้ Android แบบใหม่ และฟอนต์ให้แตกต่างจากเดิมเพียงเล็กน้อย[54][55]

รายละเอียด

[แก้]

หน้าตาของระบบ

[แก้]

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของแอนดรอยด์ มีพื้นฐานอยู่บนอินเตอร์เฟซแบบไดเรกต์มานิพูเลชัน (Direct manipulation)[56] ซึ่งจะใช้การสัมผัสที่สอดคล้องกับการกระทำในโลกความจริง เช่นการปัด, การแตะ, การกวาดนิ้ว รวมไปถึงการใช้นิ้วหมุนบนหน้าจอ[56] การตอบสนองการสัมผัสนี้ ได้รับการออกแบบมาอย่างดี และมักจะใช้การสั่นของอุปกรณ์ตอบโต้ว่าผู้ใช้ได้สัมผัสแล้ว ฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมภายในเช่น เข็มทิศดิจิทัล, ไจโรสโคป และ เซ็นเซอร์วัดแสง จะได้รับการนำมาใช้เพิ่มเติมในการตอบสนองต่างๆ กับผู้ใช้ เช่นการหมุนหน้าจอจากแนวตั้งเป็นแนวนอน หรือการเล่นเกมแข่งรถที่ต้องใช้การหมุนอุปกรณ์ เป็นต้น[57]

อุปกรณ์แอนดรอยด์จะบูตเข้าหน้าหลัก ซึ่งเป็นหน้าจอหลักในการนำทางไปทุกๆ ที่ในอุปกรณ์ เหมือนกับเดสก์ท็อป บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หน้าจอหลักของแอนดรอยด์จะสามารถวางไอคอนของแอปพลิเคชัน และ วิดเจ็ต โดยไอคอนของแอปพลิเคชันนั้นสามารถแตะเพื่อกดเข้าแอปพลิเคชันได้โดยตรง, สภาพอากาศและพยากรณ์อากาศที่อัปเดตอยู่ตลอดเวลา, กล่องขาเข้าของอีเมล รวมไปถึงหน้าจอข่าวด้วย[58] หน้าจอหลักสามารถสร้างได้หลายหน้า โดยผู้ใช้สามารถปัดเพื่อเลื่อนไป-มา ระหว่างหน้าได้ แม้ว่าหน้าจอหลักของแอนดรอยด์ที่จะสามารถให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ เพื่อที่จะให้ผู้ใช้รู้สึกดีตามรสนิยมของตนเอง แอปพลิเคชันอื่นๆ มีให้ดาวน์โหลดบนกูเกิล เพลย์ และแอปหลายตัวสามารถที่จะเปลี่ยนรูปแบบหรือธีม ของหน้าจอหลักได้ แม้กระทั่งการเปลี่ยนหน้าจอเลียนแบบระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่นวินโดวส์โฟน[59] ผู้ผลิตต่างๆ และ ผู้ให้บริการเครือข่ายบางราย จะปรับแต่งให้หน้าตาของหน้าจอหลักเปลี่ยนไปจากเดิม เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่งของพวกเขา[60]

ด้านบนของหน้าจอจะเป็นแถบสถานะ ซึ่งจะแสดงถึงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอุปกรณ์ และ การเชื่อมต่อต่างๆ แถบสถานะสามารถดึงลงมาเพื่อที่จะสแดงการแจ้งเตือนบนหน้าจอเมื่อแอปพลิเคชันแจ้งเตือนข้อมูลหรือมีอัปเดต เช่นการได้รับข้อความใหม่[61] ในรุ่นก่อนๆ ของแอนดรอยด์ สามารถแตะที่การแจ้งเตือนเพื่อเปิดแอปพลิเคชันได้โดยตรง แต่รุ่นล่าสุดได้เพิ่มคุณสมบัติการทำงานที่มากขึ้น เช่นความสามารถในการโทรกลับจากการแจ้งเตือนสายที่ไม่ได้รับโดยไม่ต้องเปิดแอปโทรศัพท์[62] การแจ้งเตือนจะหายไปเมื่อผู้ใช้อ่าน หรือ ทำการลบการแจ้งเตือน

แอปพลิเคชัน (โปรแกรมประยุกต์)

[แก้]

แอนดรอยด์มีแอปพลิเคชันที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถซื้อและดาวน์โหลดได้จากกูเกิล เพลย์ หรือ แอมะซอน แอปสโตร์ และสามารถที่จะดาวน์โหลดไฟล์ APK ได้จากเว็บไซต์ต่างๆ[63] แอปพลิเคชันจากเพลย์สโตร์อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลด และ อัปเดต ได้จากกูเกิล และ นักพัฒนาที่พัฒนาแอปนั้นๆ รวมไปถึงความสามารถในการติดตั้งกับอุปกรณ์ที่สามารถเข้ากันได้กับแอปพลิเคชัน[64] ซึ่งนักพัฒนาอาจจำกัดด้วยเหตุผลทางด้านอุปกรณ์, ประเทศ หรือเหตุผลทางธุรกิจ[65] เมื่อซื้อแอปแล้วสามารถขอคืนเงินได้ภายใน 15 นาที หลังจากการดาวน์โหลด[66] และบางผู้ให้บริการจะเก็บเงินด้วยใบเสร็จจากการซื้อแอปบนกูเกิล เพลย์ ซึ่งจะคิดเงินเพิ่มเติมจากค่าใช้บริการรายเดือนปกติ[67] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 แอปพลิเคชันสำหรับแอนดรอยด์มีมากถึง 675,000 แอป และมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากเพลย์สโตร์ทั้งหมด 2.5 พันล้านครั้ง[68]

แอปพลิเคชันจะเขียนโดยใช้ภาษาจาวา และใช้แอนดรอยด์ซอฟต์แวร์เดเวล็อปเมนต์คิต (Android software development kit) หรือ SDK โดยเอสดีเคจะประกอบด้วยชุดเครื่องมือต่างๆ นานาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน[69] รวมไปด้วยตัวรีบัก, แหล่งรวมซอฟต์แวร์ต่างๆ, ตัวจำลองแฮนด์เซต, โคดจำลอง และวิธีใช้ต่างๆ

ส่วนในประเทศจีนนั้น จะมีการจำกัดการใช้อินเทอร์เน็ตต่างๆ ของทางรัฐ โดยอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่วางขายในประเทศจีนนั้นจะถูกจำกัดบริการบางอย่าง และ จะมีเพียงแค่บริการที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลแล้วเท่านั้น[70].

การจัดการหน่วยความจำ

[แก้]

อุปกรณ์แอนดรอยด์นั้นจะมีการใช้งานแบตเตอรี ทำให้แอนดรอยด์ได้รับการออกแบบเพื่อจัดารหน่วยความจำ หรือ แรม สำหรับการใช้พลังงานที่น้อยที่สุด ในทางตรงข้ามกันกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งจะมีพลังงานให้ใช้ได้อย่างไม่จำกัด เมื่อแอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ไม่ได้ใช้งาน ระบบจะจัดการจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำ (เมื่อเปิดแอปพลิเคชันทิ้งไว้ในการใช้งาน)[71]

แอนดรอยด์จะจัดการแอปพลิเคชันในหน่วยความจำอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อแรมเหลือน้อย ระบบจะจัดการปิดแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่กำลังทำงานอยู่ทันที โดยกระบวนการนี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นมันได้[72] อย่างไรก็ตามจะมีแอปพลิเคชันบนกูเกิล เพลย์ ที่จะสามารถจัดการและปิดแอปพลิเคชันได้ ซึ่งคาดกันว่าให้ผลร้ายมากกว่าผลดี[73]

รุ่น

[แก้]

รายละเอียดรุ่นของแอนดรอยด์ 4 ตุลาคม 2566 รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสชื่อเป็นโค้ดเนม โดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน

รุ่น ชื่อเล่น ระดับเอพีไอ ลินุกซ์ เคอร์เนล ระยะการสนับสนุน เปิดตัว
Android 1.0 (Alpha) (แอลฟ่า) 1 2.1 เลิกสนับสนุน 23 กันยายน 2551
Android 1.1 (Beta) (เบตา) 2 2.6 9 กุมภาพันธ์ 2552
Android 1.5 Cupcake (คัพเค้ก) 3 2.6.27 30 เมษายน 2552[74]
Android 1.6 Donut (โดนัท) 4 2.6.29 15 สิงหาคม 2552 (SDK)
Android 2.0 Eclair (เอแกลร์) 5 2.6.29 26 ตุลาคม 2552[75]
Android 2.0.1 6 2.6.29 3 ธันวาคม 2552
Android 2.1 7 2.6.29 12 มกราคม 2553 (SDK) [76]
Android 2.2 Froyo (โฟรซเซนโยเกิร์ต) 8 2.6.32[77] 20 พฤษภาคม 2553 (SDK)
Android 2.3 Gingerbread (ขนมปังขิง) 9 2.6.35[78] 6 ธันวาคม 2553 (SDK)
Android 2.3.3 10 2.6.35 9 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
Android 3.0 Honeycomb (ฮันนีโคม) 11 2.6.36[79] 22 กุมภาพันธ์ 2554 (SDK)
Android 3.1 12 2.6.36 10 พฤษภาคม 2554 (SDK)
Android 3.2 13 2.6.36 15 กรกฎาคม 2554 (SDK)
Android 4.0 Ice Cream Sandwich (ไอศกรีมแซนวิช) 14 3.0.1[80] 19 ตุลาคม 2554 (SDK)
Android 4.0.3 15 16 ธันวาคม 2554 (SDK)
Android 4.1 Jelly Bean (เจลลีบีน) 16 3.0.31 28 มิถุนายน 2555
Android 4.2 17 3.4.0 29 ตุลาคม 2555
Android 4.3 18 3.4.0 24 กรกฎาคม 2556
Android 4.4 KitKat (คิทแคท) 19 3.10 31 ตุลาคม 2556
Android 4.4W 20 25 มิถุนายน 2557
Android 5.0 Lollipop (ลอลลีพอป) 21 3.16 15 ตุลาคม 2557
Android 5.1 22 9 มีนาคม 2558
Android 6.0 Marshmallow (มาร์ชเมลโลว์) 23 3.18 6 ตุลาคม 2558
Android 7.0 Nougat (นูกัต) 24 4.4 22 สิงหาคม 2559
Android 7.1 25 4 ตุลาคม 2559
Android 8.0 Oreo (โอรีโอ) 26 4.10 สนับสนุนระยะสุดท้าย 21 สิงหาคม 2560
Android 8.1 27 5 ธันวาคม 2560
Android 9.0 Pie (พาย) 28 4.14.42 ยังอยู่ในระยะสนับสนุน 6 สิงหาคม 2561
Android 10 (รุ่นเบตา) Q Beta 1 Beta 1 สิ้นสุดช่วงทดลอง ทดลองเมื่อ 13 มีนาคม 2562
Q Beta 2 Beta 2 ทดลองเมื่อ 3 เมษายน 2562
Q Beta 3 Beta 3 ทดลองเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562
Q Beta 4 Beta 4 ทดลองเมื่อ 5 มิถุนายน 2562
Q Beta 5 Beta 5 ทดลองเมื่อ 11 กรกฎาคม 2562
Q Beta 6 Beta 6 ทดลองเมื่อ 7 สิงหาคม 2562
Android 10 Ten (เท็น)

Queen Cake (โค้ดเนม)

29 ยังอยูในระยะสนับสนุน 3 กันยายน 2562
Android 11 (รุ่นเบตา) R Beta 1 Beta 1 อยู่ในช่วงทดลอง ทดลองเมื่อ 10 มิถุนายน 2563
R Beta 2 Beta 2 ทดลองเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563
R Beta 3 Beta 3 เริ่มทดลอง 6 สิงหาคม 2563
Android 11 Red Velvet Cake (โค้ดเนม) 30 5.x เปิดตัวแล้ว 8 กันยายน 2563
Android 12 Snow Cone (โค้ดเนม) 31 5.x 4 ตุลาคม 2564
Android 12.1 โค้ดเนมเหมือน Android 12 ที่เปิดตัวในปี 2564 32 5.x 7 มีนาคม 2565
Android 13 Triamisu (โค้ดเนม) 33 5.x 15 สิงหาคม 2565
Android 14 Upside Down Cake (โค้ดเนม) 34 5.x 4 ตุลาคม 2566
สัดส่วนผู้ใช้แอนดรอยด์ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2562[81]
ข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 30 มกราคม 2020

ปริมาณผู้ใช้

[แก้]

สนับสนุน

[แก้]
Android 1 0.02% NO
Android 2 0.03%
Android 3 0.01%
Android 4 0.60%
Android 4.4 1.47%
Android 5 1.04%
Android 5.1 3.99%
Android 6 7.57%
Android 7 7.64%
Android 7.1 5.62%
Android 8 11.27% Last term
Android 8.1 14.45%
Android 9 22.56% Yes
Android 10 0.36% Yes

ภาพหน้าจอหลัก

[แก้]


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Morrill, Dan (September 23, 2008). "Announcing the Android 1.0 SDK, release 1". Android Developers Blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 5, 2017. สืบค้นเมื่อ March 11, 2017.
  2. "Release notes". Android Developers (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
  3. "android/platform/bionic/". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2017.
  4. "android/platform/external/mksh/". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2016.
  5. "android/platform/external/toybox/toys/". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2016.
  6. "Android gets a toybox". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016.
  7. "Licenses". Android Source. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2016. สืบค้นเมื่อ March 11, 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Elgin, Ben (August 17, 2005). "Google Buys Android for Its Mobile Arsenal". Bloomberg Businessweek. Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-24. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20. In what could be a key move in its nascent wireless strategy, Google (GOOG) has quietly acquired startup Android, Inc., ...
  9. 9.0 9.1 9.2 "Industry Leaders Announce Open Platform for Mobile Devices" (Press release). Open Handset Alliance. November 5, 2007. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  10. "T-Mobile G1 Spec". Infosite and comparisons. GSM Arena. สืบค้นเมื่อ September 12, 2012.
  11. "Android Overview". Open Handset Alliance. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  12. Shankland, Stephen (November 12, 2007). "Google's Android parts ways with Java industry group". CNET News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  13. "Google Play Matches Apple's iOS With 700,000 Apps".
  14. "Google Play hits 25 billion downloads | Official Android Blog".
  15. Developer Economics Q3 2013 analyst report – http://www.visionmobile.com/DevEcon3Q13 เก็บถาวร 2013-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved July 2013
  16. "Google's Android becomes the world's leading smart phone platform". Canalys. January 31, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  17. "Android steals Symbian's top smartphone OS crown". Phonearena.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-14.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ars5th
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ apolroms
  20. Ingrid Lunden (July 1, 2013). "Android, Led By Samsung, Continues To Storm The Smartphone Market, Pushing A Global 70% Market Share". TechCrunch. AOL Inc. สืบค้นเมื่อ July 2, 2013.
  21. Arthur, Charles (July 30, 2013). "Android fragmentation 'worse than ever' – but OpenSignal says that's good". The Guardian. สืบค้นเมื่อ August 1, 2013.
  22. Reardon, Marguerite (2011-08-15). "Google just bought itself patent protection | Signal Strength – CNET News". News.cnet.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-01.
  23. Douglas Perry (2011-07-16). "Google Android Now on 135 Million Devices". Tomsguide.com. สืบค้นเมื่อ 2013-05-01.
  24. "900 million Android activations!". YouTube. 2013-03-06. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
  25. "BBC Google activations and downloads update May 2013". News source. BBC News. สืบค้นเมื่อ May 16, 2013.
  26. "Vic Gundotra - Google+ - Just back from a whirlwind trip to Asia visiting our…". Plus.google.com. สืบค้นเมื่อ 2013-09-03.
  27. Markoff, John (November 4, 2007). "I, Robot: The Man Behind the Google Phone". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  28. Kirsner, Scott (September 2, 2007). "Introducing the Google Phone". The Boston Globe. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-04. สืบค้นเมื่อ 2012-02-15.
  29. Vogelstein, Fred (April 2011). "How the Android Ecosystem Threatens the iPhone". Wired. สืบค้นเมื่อ June 2, 2012.
  30. Chris Welch (2013-04-16). "Before it took over smartphones, Android was originally destined for cameras". The Verge. สืบค้นเมื่อ 2013-05-01.
  31. Vance, Ashlee (27 July 2011). "Steve Perlman's Wireless Fix". Bloomberg Businessweek. Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 3 November 2012.
  32. Block, Ryan (August 28, 2007). "Google is working on a mobile OS, and it's due out shortly". Engadget. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  33. Sharma, Amol; Delaney, Kevin J. (August 2, 2007). "Google Pushes Tailored Phones To Win Lucrative Ad Market". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  34. "Google admits to mobile phone plan". directtraffic.org. Google News. March 20, 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-03. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  35. McKay, Martha (December 21, 2006). "Can iPhone become your phone?; Linksys introduces versatile line for cordless service". The Record (Bergen County). p. L9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-05. สืบค้นเมื่อ 2012-02-21. And don't hold your breath, but the same cell phone-obsessed tech watchers say it won't be long before Google jumps headfirst into the phone biz. Phone, anyone?
  36. Claburn, Thomas (September 19, 2007). "Google's Secret Patent Portfolio Predicts gPhone". InformationWeek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-17. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  37. Pearce, James Quintana (September 20, 2007). "Google's Strong Mobile-Related Patent Portfolio". mocoNews.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  38. "T-Mobile Unveils the T-Mobile G1 – the First Phone Powered by Android". HTC. September 23, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17. AT&T's first device to run Android was the Motorola Backflip.
  39. Richard Wray (March 14, 2010). "Google forced to delay British launch of Nexus phone". London: guardian.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2012-02-17.
  40. Charles Arthur. "Andy Rubin moved from Android to take on 'moonshots' at Google | Technology | guardian.co.uk". Guardian. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  41. Page, Larry. "Official Blog: Update from the CEO". Googleblog.blogspot.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  42. "KitKat mocks Apple with Android 4.4 parody video". The Verge. สืบค้นเมื่อ 4 September 2013.
  43. Cunningham, Andrew (2013-07-24). "Android 4.3 announced, bringing incremental changes to Jelly Bean (Wired UK)". Wired.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-28. สืบค้นเมื่อ 2013-08-08.
  44. "เผยโฉม Android L ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันล่าสุดจาก Google". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-17. สืบค้นเมื่อ 2015-05-29.
  45. Android - 5.0 Lollipop
  46. [IO15 เผยโฉม Android M Developer Preview ขนมชิ้นใหม่ของ Android น่ากินยังไงบ้าง]
  47. Google Announces Android M At Google I/O 2015
  48. Android M's name is Marshmallow, and it's version 6.0
  49. เปิดเผยแล้ว Android M = Marshmallow พร้อมคลิปเปิดตัวที่ Googleplex
  50. Android 7.0 Nougat release: Everything you need to know - Pocket-lint
  51. "Google เปิดตัวเว็บไซต์ Android 7.0 Nougat พร้อมปล่อยอัปเดตให้อุปกรณ์ Nexus แล้ว - Droidsans". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-24. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  52. "Google ประกาศเอง LG V20 จะเป็นสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่มาพร้อม Android 7.0 Nougat ตั้งแต่แกะกล่อง - Droidsans". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-25. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  53. Google confirms LG V20 first to run Nougat, not the next-gen Nexus - Android Authority
  54. Bohn, Dieter (2019-08-22). "Google deserts desserts: Android 10 is the official name for Android Q". The Verge. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
  55. Amadeo, Ron (2019-08-22). "Unsweetened: Android swaps sugary codenames for boring numbers". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22.
  56. 56.0 56.1 "Touch Devices | Android Open Source". Source.android.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  57. "Real Racing 2 Speeds Into The Android Market – Leaves Part 1 In The Dust". Phandroid.com. 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  58. "Widgets | Android Developers". Developer.android.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  59. "Launcher 7 Brings Windows Phone's Simple, Attractive Interface to Android". Lifehacker.com. 2011-05-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-24.
  60. Begun, Daniel A. (March 2011) [2011]. "Dealing with fragmentation on Android devices". Amazing Android Apps. For Dummies. Wiley. p. 7. ISBN 978-0-470-93629-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  61. "UI Overview | Android Developers". Developer.android.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-15. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  62. "Notifications | Android Developers". Developer.android.com. สืบค้นเมื่อ 2012-09-15.
  63. Ganapati, Priya (June 11, 2010). "Independent App Stores Take On Google's Android Market". Wired News. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
  64. "Android Compatibility". Android Open Source Project. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
  65. "Android Compatibility". Android Developers. สืบค้นเมื่อ 2012-02-20.
  66. "Returning Apps". Google. สืบค้นเมื่อ 9 January 2012.
  67. Chu, Eric (13 April 2011). "Android Developers Blog: New Carrier Billing Options on Android Market". android-developers.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  68. "Google Play hits 25 Billion downloads, 675,000 apps and games".
  69. "Tools Overview". Android Developers. 21 July 2009.
  70. Yun Qing, Liau. "Phonemakers make Android China-friendly." ZD Net, 15 October 2012.
  71. "The truth about Android task killers and why you don't need them". PhoneDog. 2011-06-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-10-30.
  72. "Android PSA: Stop Using Task Killer Apps". Phandroid.com. 2011-06-16. สืบค้นเมื่อ 2012-10-30.
  73. "Updates". Lifehacker.com. สืบค้นเมื่อ 2012-11-02.
  74. Ducrohet, Xavier (27 April 2009). "Android 1.5 is here!". Android Developers Blog. สืบค้นเมื่อ 2009-09-03.
  75. "Android 2.0, Release 1". Android Developers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-28. สืบค้นเมื่อ 27 October 2009.
  76. "Android 2.1, Release 1". Android Developers. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-15. สืบค้นเมื่อ 17 January 2010.
  77. Swetland, Brian (7 February 2010). "Some clarification on "the Android Kernel"". lwn.net. สืบค้นเมื่อ 2010-02-21.
  78. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-21. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
  79. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-03.
  80. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 2011-10-19.
  81. Android Platfrom version

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]