ข้ามไปเนื้อหา

สตาเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาเดีย

อุปกรณ์มือถือที่กำลังเปิดเกม มอร์ทัลคอมแบต 11 บนสตาเดียพร้อมตัวควบคุมอย่างเป็นทางการ
ผู้พัฒนากูเกิล
ชนิดเกมคลาวด์
วันที่เปิดตัว19 พฤศจิกายน 2019; 5 ปีก่อน (2019-11-19)
ปิดบริการ18 มกราคม 2023; 21 เดือนก่อน (2023-01-18)
ระบบปฏิบัติการข้ามแพลตฟอร์ม
เว็บไซต์stadia.google.com

สตาเดีย (อังกฤษ: Stadia) คือระบบเกมที่เล่นผ่านเกมคลาวด์ พัฒนาโดยกูเกิล ไม่มีเครื่องเล่นเกมเฉพาะ โดยผู้เล่นจะเล่นผ่านเซิฟเวอร์ของกูเกิลโดยตรง[1] ระบบเกมเป็นที่รู้จักในระหว่างการพัฒนาในชื่อโปรเจ็กต์สตรีม บริการนี้เปิดตัวผ่านเบต้าแบบปิดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 และเปิดตัวต่อสาธารณะในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 บริการนี้มีไว้เพื่อแข่งขันกับการสตรีมบนคลาวด์อย่างเพลย์สเตชันพลัสของโซนี่, จีฟอร์ซนาวของอินวิเดีย, ลูนาของแอมะซอน และเอกซ์บอกซ์คลาวด์เกมมิงของไมโครซอฟท์ ในช่วงแรก สตาเดียได้รับกระแสตอบรับผสมกันจากนักวิจารณ์ โดยคำวิจารณ์ส่วนใหญ่มุ่งไปที่คลังเกมที่มีอยู่อย่างจำกัดและการขาดฟีเจอร์ที่สัญญาไว้ ในตอนแรก กูเกิลตั้งใจที่จะพัฒนาเกมภายในองค์กรนอกเหนือจากการโฮสต์เกมที่ผลิตโดยบริษัทบุคคลที่สาม แต่ยกเลิกแผนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และปิดสตูดิโอ บริการยังคงขายเกมของบริษัทบุคคลที่สามต่อไป และกูเกิลได้นำเสนอเทคโนโลยีการสตรีมเกมเป็นผลิตภัณฑ์ไวท์เลเบล กูเกิลประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ว่าจะปิดสตาเดีย บริการยุติการให้บริการอย่างถาวรในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 23:59 น. ตามเวลาแปซิฟิก[2]

สตาเดียสามารถเข้าถึงได้ผ่านอุปกรณ์โครมแคสอัลตราและแอนดรอยด์ทีวีบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลผ่านเว็บเบราว์เซอร์กูเกิลโครม และเบราว์เซอร์อื่น ๆ ที่ใช้ โครเมียม, โครมบุ๊ค และแท็บเล็ตที่ใช้โครมโอเอส และแอปมือถือสตาเดียบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่รองรับ ตราบเท่าที่เวอร์ชันล่าสุดของเบราว์เซอร์โครมและแอปสตาเดียเวอร์ชันล่าสุดได้รับการติดตั้งแล้ว[3] นอกจากนี้ยังมีโหมดทดลองที่รองรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ทั้งหมดที่สามารถติดตั้งแอปมือถือสตาเดียได้[4] ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 กูเกิลได้เปิดตัวเว็บแอปพลิเคชันแบบโปรเกรสซีฟบนเบราว์เซอร์ไอโอเอสสำหรับสตาเดียทำให้สามารถเล่นเกมในเบราว์เซอร์ซาฟารีได้[5]

สตาเดียสามารถสตรีมวิดีโอเกมไปยังผู้เล่นจากศูนย์ข้อมูลจำนวนมากของบริษัทที่ความละเอียดสูงสุด 4K และ 60 เฟรมต่อวินาที พร้อมรองรับวิดีโอช่วงไดนามิกสูง (HDR) ให้ตัวเลือกในการซื้อเกมจากร้านค้าพร้อมกับเกมที่เล่นฟรีให้เลือกมากมาย[6] แม้ว่าบริการพื้นฐานจะให้บริการฟรีและอนุญาตให้ผู้ใช้สตรีมด้วยความละเอียดสูงสุดที่ 1080p การสมัครสมาชิกรายเดือนของสตาเดียโปรอนุญาตให้ผู้ใช้สตรีมความละเอียดสูงสุดที่ 4K, เสียงเซอร์ราวด์ 5.1, HDR และเสนอคอลเลกชั่นเกมฟรีที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อกดรับแล้วจะยังคงอยู่ในห้องสมุดของผู้ใช้ทุกครั้งที่มีการสมัครสมาชิกรายเดือน ทั้งสองระดับช่วยให้ผู้ใช้สามารถเล่นเกมออนไลน์แบบผู้เล่นหลายคนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สตาเดียถูกรวมเข้ากับยูทูบและฟีเจอร์ "การแชร์สถานะ" ทำให้ผู้เล่นสามารถเปิดเกมที่รองรับจากสถานะการบันทึกที่แบ่งปันโดยผู้เล่นอื่นผ่านลิงก์ถาวร บริการนี้รองรับคอนโทรลเลอร์เกมสตาเดียที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกูเกิลรวมถึงคอนโทรลเลอร์ที่ไม่ใช่ของสตาเดียต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อยูเอสบีและบลูทูธ[7]

คุณสมบัติ

[แก้]

สตาเดียคือระบบเกมที่มีฐานอยู่บนเซิฟเวอร์ของกูเกิล[8] และไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมใด ๆ เพียงแค่อุปกรณ์นั้นมีอินเทอร์เน็ตและรองรับกูเกิล โครมเท่านั้น
สตาเดียสามารถทำงานได้ดีในการถ่ายทอดสดการเล่นเกมผ่านยูทูป ตามที่ ฟิลล์ แฮริสัน ของกูเกิลได้กล่าวถึงชื่อของ"Stadia" ว่าชื่อนี้คือชื่อพหูพจน์ของคำว่า "Stadium" (สนามกีฬา) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่ามันจะเป็นแหล่งรวมความบันเทิง โดยที่ผู้ชมสามารถเลือกที่จะนั่งดูหรือมีส่วนร่วมไปกับเกมก็ได้[9]

ด้วยการที่กูเกิลมีศูนย์เก็บข้อมูลกระจายตัวอยู่มากมายหลายพันที่ทั่วโลก ทางบริษัทจึงเชื่อว่าสตาเดียจะอยู่ในลำดับที่ดีกว่าสำหรับการเล่นเกมบนคลาวด์เมื่อเทียบกับบริการอื่น ๆ ที่ผ่านมา เช่น OnLive, PlayStation Now และ Gaikai เนื่องจากผู้เล่นส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้กับสถานที่ตั้งของศูนย์ข้อมูลมากกว่าบริการเหล่านี้ สตาเดีย รองรับการถ่ายทอดสดเกมในระบบHDR โดยมีความเร็วภาพที่ 60 เฟรมเรทด้วยความคมชัดแบบ4K และในอนาคตอาจมีความเร็วภาพถึง 120 เฟรมเรท และรองรับความคมชัดระดับ8K[9] เมื่อสมัครบริการแล้วผู้เล่นสามารถเริ่มเกมได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเนื้อหาใหม่ไปยังอุปกรณ์ส่วนตัว ผู้เล่นสามารถบันทึกการเล่นหรือถ่ายทอดสดการเล่นของพวกเขาได้ในยูทูป ผู้ชมการถ่ายทอดสดดังกล่าวที่สมัครใช้บริการสามารถเปิดเกมโดยตรงจากสตรีมด้วยสถานะการบันทึกเดียวกับที่พวกเขาดู[9] กูเกิลได้พัฒนาคอนโทรลเลอร์ของตนเองซึ่งเชื่อมต่อผ่านไวไฟโดยตรงไปยังกูเกิล[9] จากงานเปิดตัว ของกูเกิลที่ใช้ชื่อ GDC 2019 keynote กูเกิลยืนยังว่าคุณสมบัติกูเกิล แอสสิสแทนต์ จะมีอยู่ในแผงควบคุม ซึ่งจะค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเกมที่พวกเขากำลังเล่นอยู่โดยอัตโนมัติเมื่อกดปุ่ม[10]

พัฒนาการ

[แก้]
งานเปิดตัวสตาเดียอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2562

Project Stream เป็นสัญญาณแรกที่กูเกิลได้ประกาศให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์วิดีโอเกม ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทเคยมีข่าวลือว่ากำลังทำโครงการเยติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 Google ได้ว่าจ้างผู้บริหารอุตสาหกรรมเกมฟิลล์ แฮริสัน และได้รับการว่าจ้างจากผู้พัฒนาระหว่างกิจกรรมอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2561[11] ความแตกต่างหลักของ Project Stream จากบริการที่ผ่านมาเช่น OnLive, GeForce Now และ PlayStation Now คือความสามารถในการทำงานในเบราว์เซอร์ Chrome บนเดสก์ท็อปใด ๆ [1] The service uses AMD Radeon graphics hardware.[12]

กูเกิลประกาศให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561[13] ต่อมาไม่นานได้เปิดคำเชิญไปยังผู้ทดสอบเบต้าด้วยการเข้าถึง Assassin's Creed Odyssey ผู้เล่นสามารถสมัครเพื่อเข้าถึงการทดสอบและผู้ที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำสามารถเล่นเกมได้ในเบราว์เซอร์โครม[14] ผู้ที่เข้าร่วมจะได้รับสำเนาของเกมฟรีเมื่อเบต้าหมดอายุ[15]

สตาเดียได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการระหว่างคำปาศรัยสำคัญของกูเกิลในปี พ.ศ. 2562 ที่งาน Game Developers Conference เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562[16]โดยที่ เจดย์ เรย์มอนด์ เป็นหัวหน้าผู้พัฒนา[17]

เกม

[แก้]

การรับรอง

[แก้]

ก่อนวางจำหน่าย

[แก้]

ในช่วงเบต้าบริการได้รับการตอบรับในด้านบวกจากผู้ที่ร่วมการทดสอบอย่างเกินความคาดหมาย|Verge preview|Polygon preview|Ars T preview}} และทำให้การสตรีมเกมเป็นทางเลือกที่ใช้แทนเกมพีซีได้[14][13] ผู้ตรวจสอบรายงานว่าบริการสตรีมมิ่งมีความล่าช้าต่ำและให้ความรู้สึกราวกับว่ากำลังเล่นเกมในเครื่อง[14][13] ทั้งนี้ ผลที่ได้รับย่อมขึ้นอยู่กับความเร็วของไวไฟและความละเอียดของหน้าจอ[14] จากการทดสอบโดยThe Verge หากใช้อินเทอร์เน็ตแบบมีสาย จะไม่มีปัญหาในเรื่องความลื่นไหลในการเล่นเกมเลย แต่จะมีการกระตุกบ้างหากใช้อินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้มาก[14] อย่างไรก็ตามแม้จะใช้การเชื่อมต่อผ่านสาย แต่สตรีมก็ไม่ได้มีความละเอียด 4K และบางครั้งก็ขาดหายบ้างเมื่อใช้การบีบอัดข้อมูล ผู้ร่วมทดสอบรายงานว่าจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดหากใช้โครมบุ้ค พิเซล ของ กูเกิลเอง[14] Polygon พบการบีบอัดเสียงของบริการที่เห็นได้ชัดเจน[13]

Ars Technica ตั้งข้อสังเกตว่าลำดับการลงชื่อเข้าใช้ของ Project Stream นั้นง่ายกว่าบริการอื่น ๆ [1]

อ้างอิง

[แก้]

บันทึกย่อ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Machkovech, Sam (ตุลาคม 9, 2018). "Google's Project Stream: That's really a full Assassin's Creed in my browser". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 11, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
  2. Tassi, Paul (January 11, 2023). "Here's Google Stadia's Exact Date And Time Of Death". Forbes.
  3. "Stadia – Cloud Gaming from Google". IONOS Digitalguide (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.
  4. "Stadia Savepoint: June updates". The Keyword. Google. June 30, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  5. Wilde, Damien (2020-12-16). "Google Stadia was now fully playable on iOS w/ web app". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
  6. "Free games on Stadia". Stadia Help. สืบค้นเมื่อ January 12, 2022.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ compatible gamepads screens
  8. Techno, Highly. "Google's Stadia Gaming Platform". HighlyTechno. Shubham. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 20 March 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Leadbetter, Richard (March 19, 2019). "The big interview: Phil Harrison and Majd Bakar on Google Stadia (อังกฤษ)". ยูโรเกมเมอร์. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
  10. Bowers, Quintlyn (March 19, 2019). "Stadia's Wi-Fi Controller Looks Familiar, But Features Google Assistant (อังกฤษ)". GameSkinny. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
  11. Amadeo, Ron (ตุลาคม 1, 2018). "Google announces 'Project Stream'—a 'test' of game streaming in Chrome". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 25, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
  12. Takahashi, Dean (มกราคม 9, 2019). "Google's Project Stream cloud gaming will use AMD Radeon Graphics (อังกฤษ)". VentureBeat (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ มกราคม 13, 2019.
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 Goslin, Austen (ตุลาคม 8, 2018). "Streaming Assassin's Creed Odyssey in Google Chrome is surprisingly great". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 17, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Etienne, Stefan (ตุลาคม 8, 2018). "Google's Project Stream is a working preview of the future of game streaming". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 26, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
  15. Good, Owen S. (ธันวาคม 15, 2018). "Get free Assassin's Creed Odyssey on PC for testing Google's Project Stream (อังกฤษ)". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 23, 2018. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2019.
  16. Wilde, Tyler (March 19, 2019). "Google announces Stadia, a game streaming service 'for everyone' (อังกฤษ)". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.
  17. Chalk, Andy (March 19, 2019). "Jade Raymond is heading Google's first-party game studio". PC Gamer. สืบค้นเมื่อ March 19, 2019.

ดูเพิ่ม

[แก้]