ภาษามอลตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามอลตา
Malti
ป้ายโฆษณาภาษามอลตา
ออกเสียง[ˈmɐltɪ]
ประเทศที่มีการพูดประเทศมอลตา
ชาติพันธุ์ชาวมอลตา
จำนวนผู้พูด520,000  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนละติน (ชุดตัวอักษรมอลตา)
อักษรเบรลล์มอลตา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศมอลตา มอลตา
 สหภาพยุโรป
ผู้วางระเบียบสภาภาษามอลตาแห่งชาติ
(Il-Kunsill Nazzjonali tal-Ilsien Malti)
รหัสภาษา
ISO 639-1mt
ISO 639-2mlt
ISO 639-3mlt
Linguasphere12-AAC-c
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษามอลตา บันทึกในประเทศมอลตา

ภาษามอลตา (มอลตา: Malti) เป็นภาษากลุ่มเซมิติกของชาวมอลตาที่มีที่มาจากภาษาอาหรับซิซิลีในสมัยกลางตอนปลาย ซึ่งมีอิทธิพลของกลุ่มภาษาโรมานซ์ โดยเป็นภาษาประจำชาติของประเทศมอลตา[2] และเป็นภาษาทางการภาษาเดียวในสหภาพยุโรปที่อยู่ในกลุ่มภาษาเซมิติก ภาษามอลตาเป็นภาษาอาหรับในอดีตที่พัฒนาเป็นสำเนียงภาษาอาหรับมัฆริบในเอมิเรตซิซิลีช่วง ค.ศ. 831 ถึง 1091[3] หลังการรุกรานมอลตาของนอร์มันและการทำให้เป็นคริสเตียนบนเกาะนี้อีกครั้ง ภาษามอลตาจึงพัฒนาอย่างอิสระจากภาษาอาหรับคลาสสิกผ่านกระบวนการทำให้เป็นละตินทีละน้อย[4][5] ทำให้ภาษานี้อยู่ในข้อยกเว้น เพราะรูปแบบภาษาอาหรับในอดีตไม่มีความสัมพันธ์ทางทวิภาษณ์กับภาษาอาหรับคลาสสิกหรือภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่[6] ทำให้ภาษามอลตาถูกจัดให้แยกต่างหากจากมหภาษาอาหรับสมัยใหม่ 30 รูปแบบ[7] ภาษามอลตายังมีความแตกต่างจากภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกอื่น ๆ ตรงที่วิทยาหน่วยคำได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาโรมานซ์อย่างมาก โดยเฉพาะภาษาอิตาลีและภาษาซิซิลี[8]

ศัพท์ภาษามอลตาที่มีฐานจากภาษาอาหรับมีจำนวนประมาณหนึ่งในสามของศัพท์ทั้งหมด โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดพื้นฐานและคำประกอบ (function words)[9] แต่มีศัพท์ประมาณครึ่งหนึ่งที่มาจากภาษาอิตาลีมาตรฐานและซิซิลี[10] และศัพท์ภาษาอังกฤษปรากฏอยู่ในศัพท์ภาษานี้ระหว่าง 6% ถึง 20%[11] งานวิจัยใน ค.ศ. 2016 แสดงให้เห็นว่า ในหมวดหมู่ภาษาพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ผู้พูดภาษามอลตาสามารถเข้าใจภาษาอาหรับตูนิเซีย (ซึ่งเป็นภาษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาอาหรับซิซิลี)[12] ได้ประมาณหนึ่งในสาม[13] ในขณะที่ผู้พูดภาษาอาหรับตูนิเซียสามารถเข้าใจภาษามอลตาได้ประมาณ 40%[14] ในรายงานนี้ระบุระดับความเข้าใจกันแบบไม่สมมาตรว่าอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความเข้าใจระหว่างกันระหว่างภาษาอาหรับรูปแบบอื่น ๆ[15]

ภาษามอลตาเขียนด้วยอักษรละติน โดยมีตัวอย่างแรกสุดที่ยังคงเหลืออยู่เขียนไว้ตั้งแต่สมัยกลางตอนปลาย[16] โดยเป็นภาษาเซมิติกมาตรฐานภาษาเดียวที่เขียนด้วยอักษรละติน[17]

ประชากร[แก้]

SIL Ethnologue (2015) รายงานตามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการยุโรป (2012) ว่ามีผู้พูดภาษามอลตา 522,000 คน แบ่งเป็นอาศัยอยู่ในมอลตา 371,000 คน (เกือบ 90% ของประชากรทั้งประเทศ)[1] นั่นทำให้มีจำนวนที่เหลือประมาณ 150,000 คนเป็นชาวมอลตาพลัดถิ่น ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่สามารถพูดได้สองภาษา โดยผู้พูดส่วนใหญ่ (345,000) ใช้ภาษาอังกฤษ และมี 66,800 คนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส[1]

ชุมชนพลัดถิ่นที่พูดภาษามอลตามากที่สุดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย โดยมีรายงานผู้พูด 36,000 คนใน ค.ศ. 2006 (ลดลงจาก 45,000 คนใน ค.ศ. 1996 และคาดการณ์ว่าจะลดลงกว่านี้)[18]

ชุมชนภาษามอลตา (Maltese linguistic community) ในประเทศตูนิเซียที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ระบุจำนวนผู้พูดภาษานี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พันกว่าคน ใน ค.ศ. 2017 มีรายงานว่ามีผู้พูดภาษานี้เพียง 100 ถึง 200 คน[19]

การจัดหมวดหมู่[แก้]

ภาษามอลตาสืบต้นตอจากภาษาอาหรับซิซิลี ภาษาเซมิติกในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก[20] ภาษานี้มีประวัติได้รับอิทธิพลจากซิซิลี อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ปัจจุบัน คำศัพท์ที่เป็นหลัก (รวมทั้งคำที่ใช้งานทั่วไปและคำประกอบ) อยู่ในเซมิติก โดยมีคำยืมจำนวนมาก[10] เนื่องจากอิทธิพลของซิซิลีในภาษาซิกูโล-อาหรับ ทำให้ภาษามอลตามีคุณสมบัติจากหลายภาษาและมักถูกอธิบายเป็นภาษาที่มีคำยืมจำนวนมาก[21]

ภาษามอลตาเคยถูกจัดหมวดหมู่ในหลายรูปแบบ โดยบางส่วนอ้างว่ามีต้นกำเนิดเป็นภาษาพิวนิกโบราณ (ภาษาเซมิติกอีกภาษา)[22][23][24] ในขณะที่บางส่วนเชื่อว่าภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มเบอร์เบอร์ (กลุ่มภาษาอีกกลุ่มในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก)[22] และในสมัยฟาสซิสต์อิตาลี ภาษานี้ถูกจัดเป็นภาษาอิตาลีระดับภูมิภาค[25]

สัทวิทยา[แก้]

เสียงพยัญชนะ[แก้]

หน่วยเสียงพยัญชนะ[26][27]
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน ช่องคอ เส้นเสียง
นาสิก m n
ระเบิด p b t d k ɡ ʔ
กักเสียดแทรก t͡s d͡z t͡ʃ d͡ʒ
เสียดแทรก f v s z ʃ ʒ ħ
รัว r
เปิด l j w

เสียงสระ[แก้]

ภาษามอลตามีสระเสียงสั้น 5 ตัว ได้แก่ /ɐ ɛ ɪ ɔ ʊ/ (เขียนแทนด้วย a e i o u) สระเสียงยาว 6 ตัว ได้แก่ /ɐː ɛː ɪː iː ɔː ʊː/ (เขียนแทนด้วย a, e, ie, i, o, u) และสระประสมอีก 7 ตัว ได้แก่ /ɐɪ ɐʊ ɛɪ ɛʊ ɪʊ ɔɪ ɔʊ/ (เขียนแทนด้วย aj หรือ għi, aw หรือ għu, ej หรือ għi, ew, iw, oj, และ ow หรือ għu)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ภาษามอลตา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "Constitution of Malta". สืบค้นเมื่อ 3 December 2017.
  3. So who are the 'real' Maltese. September 13, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. The kind of Arabic used in the Maltese language is most likely derived from the language spoken by those that repopulated the island from Sicily in the early second millennium; it is known as Siculo-Arab. The Maltese are mostly descendants of these people.
  4. 4.0 4.1 Borg and Azzopardi-Alexander, 1997 (1997). Maltese. Routledge. p. xiii. ISBN 978-0-415-02243-9. In fact, Maltese displays some areal traits typical of Maghrebine Arabic, although over the past 800 years of independent evolution it has drifted apart from Tunisian Arabic
  5. Brincat (2005): "Originally Maltese was an Arabic dialect but it was immediately exposed to Latinisation because the Normans conquered the islands in 1090, while Christianisation, which was complete by 1250, cut off the dialect from contact with Classical Arabic. Consequently Maltese developed on its own, slowly but steadily absorbing new words from Sicilian and Italian according to the needs of the developing community."
  6. Hoberman, Robert D. (2007). "Chapter 13: Maltese Morphology". ใน Kaye, Alan S. (บ.ก.). Morphologies of Asia and Africa. Vol. 1. Winona Lake, Indiana: Eisenbrown. p. 258. ISBN 9781575061092. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. Maltese is the chief exception: Classical or Standard Arabic is irrelevant in the Maltese linguistic community and there is no diglossia.
  7. "Documentation for ISO 639 identifier: ara".
  8. Hoberman, Robert D. (2007). "Chapter 13: Maltese Morphology". ใน Kaye, Alan S. (บ.ก.). Morphologies of Asia and Africa. Winona Lake, Indiana: Eisenbrown. pp. 257–258. ISBN 9781575061092. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. yet it is in its morphology that Maltese also shows the most elaborate and deeply embedded influence from the Romance languages, Sicilian and Italian, with which it has long been in intimate contact.... As a result Maltese is unique and different from Arabic and other Semitic languages.
  9. Brincat (2005): "An analysis of the etymology of the 41,000 words in Aquilina's Maltese-English Dictionary shows that 32.41% are of Arabic origin, 52.46% are from Sicilian and Italian, and 6.12% are from English. Although nowadays we know that all languages are mixed to varying degrees, this is quite an unusual formula. However, the words derived from Arabic are more frequent because they denote the basic ideas and include the function words."
  10. 10.0 10.1 Brincat (2005).
  11. "Languages across Europe - Maltese, Malti". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 12 January 2017.
  12. Borg, Albert J.; Azzopardi-Alexander, Marie (1997). Maltese. Routledge. ISBN 0-415-02243-6.
  13. "Mutual Intelligibility of Spoken Maltese, Libyan Arabic and Tunisian Arabic Functionally Tested: A Pilot Study". p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017. To summarise our findings, we might observe that when it comes to the most basic everyday language, as reflected in our data sets, speakers of Maltese are able to understand less than a third of what is being said to them in either Tunisian or Benghazi Libyan Arabic.
  14. "Mutual Intelligibility of Spoken Maltese, Libyan Arabic and Tunisian Arabic Functionally Tested: A Pilot Study". p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017. Speakers of Tunisian and Libyan Arabic are able to understand about 40% of what is said to them in Maltese.
  15. "Mutual Intelligibility of Spoken Maltese, Libyan Arabic and Tunisian Arabic Functionally Tested: A Pilot Study". p. 1. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017. In comparison, speakers of Libyan Arabic and speakers of Tunisian Arabic understand about two-thirds of what is being said to them.
  16. The Cantilena. 2013-10-19. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08.
  17. Il-Kunsill Nazzjonali tal-Ilsien Malti. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-06. Fundamentally, Maltese is a Semitic tongue, the same as Arabic, Aramaic, Hebrew, Phoenician, Carthaginian and Ethiopian. However, unlike other Semitic languages, Maltese is written in the Latin alphabet, but with the addition of special characters to accommodate certain Semitic sounds. Nowadays, however, there is much in the Maltese language today that is not Semitic, due to the immeasurable Romantic influence from our succession of (Southern) European rulers through the ages.
  18. "As at the 2006 Australian Census, the number of Australians speaking Maltese at home was 36,514, compared to 41,250 in 2001 and 45,243 in 1996. The 2006 figures represent a drop of 19.29% when compared with the 1996 figures. Given that many of those who speak Maltese at home are over the age of 60, the number of Maltese speakers will invariably go for a nosedive by 2016." Joseph Carmel Chetcuti, Why It's time to bury the Maltese language in Australia, Malta Independent, 2 March 2010.
  19. Nigel Mifsud, Malta's Ambassador meets Maltese who have lived their whole life in Tunisia, TVM, 13 November 2017.
  20. Merritt Ruhlen. 1991. A Guide to the World's Languages, Volume 1: Classification. Stanford.
    David Dalby. 2000. The Linguasphere Register of the World's Languages and Speech Communities. Linguasphere Observatory.
    Gordon, Raymond G., Jr., ed. 2005. Ethnologue: Languages of the World. 15th ed. Summer Institute of Linguistics.
    Alan S. Kaye & Judith Rosenhouse. 1997. "Arabic Dialects and Maltese", The Semitic Languages. Ed. Robert Hetzron. Routledge. Pages 263–311.
  21. Borg (1997).
  22. 22.0 22.1 L-Akkademja tal-Malti. "The Maltese Language Academy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23.
  23. Vella (2004), p. 263.
  24. "Punic language". Encyclopædia Britannica Online. Encyclopædia Britannica Inc. 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2013. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.
  25. Sheehan, Sean (12 January 2017). Malta. Marshall Cavendish. ISBN 9780761409939. สืบค้นเมื่อ 12 January 2017 – โดยทาง Google Books.
  26. Hume (1996), p. 165.
  27. Borg (1997), p. 248.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Aquilina, Joseph (1965). Teach Yourself Maltese. English University Press.
  • Azzopardi, C. (2007). Gwida għall-Ortografija. Malta: Klabb Kotba Maltin.
  • Borg, Alexander (1997). "Maltese Phonology". ใน Kaye, Alan S. (บ.ก.). Phonologies of Asia and Africa. Vol. 1. Eisenbrauns. pp. 245–285. ISBN 9781575060194.
  • Borg, Albert J.; Azzopardi-Alexander, Marie (1997). Maltese. Routledge. ISBN 978-0-415-02243-9.
  • Brincat, Joseph M. (2005). "Maltese – an unusual formula". MED Magazine (27). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2005. สืบค้นเมื่อ 22 February 2008.
  • Bugeja, Kaptan Pawlu, Kelmet il-Malti (Maltese—English, English—Maltese Dictionary). Associated News Group, Floriana. 1999.
  • Friggieri, Oliver (1994). "Main Trends in the History of Maltese Literature". Neohelicon. 21 (2): 59–69. doi:10.1007/BF02093244. S2CID 144795860.
  • Hume, Elizabeth (1996). "Coronal Consonant, Front Vowel Parallels in Maltese". Natural Language & Linguistic Theory. 14 (1): 163–203. doi:10.1007/bf00133405. S2CID 170703136.
  • Kossmann, Maarten (2013). The Arabic Influence on Northern Berber. Studies in Semitic Languages and Linguistics. Brill. ISBN 9789004253094.
  • Mifsud, M.; A. J. Borg (1997). Fuq l-għatba tal-Malti. Strasbourg: Council of Europe.
  • Vassalli, Michelantonio (1827). Grammatica della lingua Maltese. Stampata per l'autore.
  • Vella, Alexandra (2004). "Language contact and Maltese intonation: Some parallels with other language varieties". ใน Kurt Braunmüller and Gisella Ferraresi (บ.ก.). Aspects of Multilingualism in European Language History. Hamburg Studies on Multiculturalism. John Benjamins Publishing Company. p. 263. ISBN 978-90-272-1922-0.
  • Żammit, Martin (2000). "Arabic and Maltese Cognate Roots". ใน Mifsud, Manwel (บ.ก.). Proceedings of the Third International Conference of Aida. Malta: Association Internationale de Dialectologie Arabe. pp. 241–245. ISBN 978-99932-0-044-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]