ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม"

พิกัด: 13°45′05″N 100°29′33″E / 13.751391°N 100.492519°E / 13.751391; 100.492519
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะ
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
== พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ ==
== พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ ==
<gallery>
<gallery>
ภาพ:Summer - Emerald Buddha.jpg|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูร้อน
ไฟล์:Summer - Emerald Buddha.jpg|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูร้อน
ภาพ:EMERALD buddha raining suit.JPG|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูฝน
ไฟล์:EMERALD buddha raining suit.JPG|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูฝน
ภาพ:Emerald Buddha.jpg|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูหนาว
ไฟล์:Emerald Buddha.jpg|พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในเครื่องทรงฤดูหนาว
ภาพ:PhraBuddhaYotfaChulalok2.jpg|พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ไฟล์:PhraBuddhaYotfaChulalok2.jpg|พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ภาพ:PhraBuddhaLoedlahNapalai2.jpg|พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ไฟล์:PhraBuddhaLoedlahNapalai2.jpg|พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ภาพ:PhrasamBuddhaPannii2.jpg|พระสัมพุทธพรรณี(องค์ด้านหลัง)
ไฟล์:PhrasamBuddhaPannii2.jpg|พระสัมพุทธพรรณี (องค์ด้านหลัง)

</gallery>
</gallery>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:17, 23 พฤศจิกายน 2561

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
กลุ่มพระอุโบสถ เมื่อมองจากบริเวณทางเข้า
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระแก้ว
ที่ตั้งถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 10200
ไฟล์:Seal Bangkok green trans.png กรุงเทพมหานคร
ไทย ประเทศไทย
ประเภทพระอารามหลวงชั้นพิเศษ
พระประธานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระสัมพุทธพรรณี พระชัยหลังช้าง พระคันธารราษฎร์ พระนาก
พระจำพรรษาไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
ความพิเศษพระอารามประจำพระบรมมหาราชวัง
จุดสนใจสักการะพระแก้วมรกต ชมจิตรกรรมฝาผนัง ที่พระระเบียง
กิจกรรมเทศนาธรรม วันอาทิตย์และวันพระ
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง และไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระอุโบสถเด็ดขาด ฝ่าฝืนมีโทษปรับและยึดฟิล์ม/สื่อบันทึก
หมายเหตุเข้าชมเป็นหมู่คณะตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องทำหนังสือขออนุญาต ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารเงินตรา ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

อาคารต่าง ๆ

ไฟล์:Emeraldbuddha inner ordinationhall.jpg
ภาพภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

เนื่องจากภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีอาคารสำคัญและอาคารประกอบเป็นจำนวนมาก จึงแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็น 3 กลุ่ม ตามตำแหน่งและความสำคัญ ดังนี้

กลุ่มพระอุโบสถ

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพมุมสูงจากทางทิศตะวันออก
กลุ่มพระอุโบสถ
วัดพระแก้ว

กลุ่มพระอุโบสถ เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุด มีพระอุโบสถเป็นอาคารประธานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ล้อมรอบด้วยศาลาราย พระโพธิ์ธาตุพิมาน หอราชพงศานุสรณ์ หอราชกรมานุสรณ์ หอระฆัง และ หอพระคันธารราษฎร์

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ ตั้งอยู่ส่วนกลางของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีซุ้มประดิษฐานเสมารวม 8 ซุ้ม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2326 เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (แก้วมรกต) ที่พระองค์ทรงอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์พระ อุโบสถมีขนาดใหญ่ หลังคาลด 4 ระดับ 3 ซ้อน มีช่อฟ้า 3 ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ผนังพระ อุโบสถ ในรัชกาลที่ 1 เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ 3 โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก ฝาผนัง รอบนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองรูปกระหนกเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในบนพื้นสีชาด ฝาผนังด้านในเหนือประตูด้านสกัดเป็นภาพเรื่องมารวิชัยและเรื่องไตรภูมิ ส่วนฝาผนังด้านยาวเขียนภาพเทพชุมนุมตามแบบที่สืบเนื่องมาจากสมัยอยุธยา ฝาผนังระหว่างหน้าต่างเขียนภาพเรื่องปฐมสมโพธิ พระ ทวารกลาง เป็นพระทวารใหญ่สูง 8 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอกคืบ ตัวบานเป็นบานประดับมุกลายช่องกลม ส่วนพระทวารข้างเป็นทวารรองสูง 7 ศอก กว้าง 3 ศอก 1 คืบ 10 นิ้ว ตัวบานเป็นบานประดับมุกกลายเต็ม ซึ่งบานพระทวารทั้ง 2 แห่งนี้ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ประทานความเห็นว่า “เป็นฝีมือที่น่าชมยิ่ง ตั้งใจทำแข่งกับบานที่ทำครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งอยู่ที่วิหารยอด” ภายในพระ อุโบสถได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตั้งแต่เพดานถึงพื้น กลางห้องประดิษฐานพระแก้วมรกตในบุษบกทองคำพร้อมด้วยพระพุทธรูปสำคัญมากมาย

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์

หอราชกรมานุสรณ์และหอพงศานุสรณ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศเหนือ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาหอหนึ่ง และในสมัยรัตนโกสินทร์อีกหอหนึ่ง ภายในเขียนภาพพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นฝีมือของขรัวอินโข่ง จิตรกรไทยที่มีฝีมือดีที่สุดในสมัยนั้น

พระโพธิธาตุพิมาน

พระโพธิธาตุพิมานเป็นที่ประดิษฐานพระปรางค์ของโบราณ ซึ่งทรงอัญเชิญมาจากเมืองเหนือขณะผนวช ภายในพระปรางค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา

กลุ่มฐานไพที

กลุ่มอาคารบริเวณฐานไพที มีอาคารหลักสามหลัง คือ ปราสาทพระเทพบิดร พระมณฑป พระศรีรัตนเจดีย์ และวัตถุประดับตกแต่งอื่น ๆ เช่น รูปปั้นสัตว์หิมพานต์ บุษบกพระราชลัญจกร นครวัดจำลอง พระสุวรรณเจดีย์ และ พนมหมาก

กลุ่มอาคารประกอบ

แผนผังอย่างคร่าว ๆ ของวัดพระแก้ว
แผนที่
แผนที่

เป็นกลุ่มอาคารและสิ่งประดับอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากกลุ่มอาคารทั้งสองกลุ่ม ประกอบด้วย หอพระนาก พระเศวตกุฏาคารวิหารยอด หอมณเฑียรธรรม พระอัษฎามหาเจดีย์ ยักษ์ทวารบาล และจิตรกรรมฝาผนังที่ พระระเบียง ซึ่งมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังจำนวน 178 ห้อง เรียงต่อกันยาวตลอดฝาผนังทั้ง 4 ทิศ มีเนื้อหาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

พระอัษฎามหาเจดีย์

พระอัษฎามหาเจดีย์ หรือ พระปรางค์ 8 องค์ ตั้งเรียงกันอยู่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายนอกพระระเบียง พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน ภายนอกพระระเบียง 6 องค์ ภายในพระระเบียง 2 องค์ พระอัษฎามหาเจดีย์เป็นชื่อที่คณะกรรมการอำนวยการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อฉลองพระนครครบ 200 ปี มีมติให้เรียกชื่อรวมเป็นทางการตามชื่อที่ปรากฏในการบูรณปฏิสังขรณ์สมัย รัชกาลที่ 3 ของพระศรีภูริปรีชาวัตถุประสงค์ในการสร้างพระมหาเจดีย์เหล่านี้ก็เพื่ออุทิศ เป็นพระพุทธเจดีย์องค์หนึ่ง พระธรรมเจดีย์องค์หนึ่ง พระปัจเจกเจดีย์องค์หนึ่ง พระสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระภิกขุนีสาวกเจดีย์องค์หนึ่ง พระชาฎกโพธิสัตว์องค์หนึ่ง พระสงฆเจดีย์องค์หนึ่ง และพระยาจักรเจดีย์องค์หนึ่ง

ต่อมาในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ประดับกระเบื้องเคลือบสีที่พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 เป็นการซ่อมส่วนที่ชำรุดเสียหายแต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูป ร่างแต่ประการ

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนตอนต้น ทำจากหินหยกสีเขียวเข้มทึบแสง ปางสมาธิ ขนาดหน้าตัก 43 ซม. สูง 55 ซม.

ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4(ช่วงเดือนมีนาคม) เดือน 8(วันเข้าพรรษา) และเดือน 12 (หลังวันลอยกระทง 1 วัน) จะมีการเปลี่ยนเครื่องทรงขององค์พระแก้วมรกตอยู่เสมอ โดยมี 3 เครื่องทรง คือ เครื่องทรงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว

พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ 1 และ 2 ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง 3 เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา

พระสัมพุทธพรรณี รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างใน พ.ศ. 2373 ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง 49 ซม. สูงถึงพระรัศมี 67.5 ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในเขตพระราชฐานชั้นนอกของพระบรมมหาราชวัง เดิมเป็นโรงกษาปณ์ ใช้ผลิตเงินตราเพื่อใช้ในประเทศ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารรูปแบบตะวันตก ในปี พ.ศ. 2525 ในวาระการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นแม่กองบูรณะจึงขอพระราชทานอาคารโรงกษาปณ์มาเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่างเช่นปืนใหญ่ที่ตั้งแสดงไว้ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตาจีนที่ตั้งไว้หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์

สมุดภาพ

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดแผนที่

13°45′05″N 100°29′33″E / 13.751391°N 100.492519°E / 13.751391; 100.492519