ข้ามไปเนื้อหา

ประตูพระบรมมหาราชวัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประตูพระบรมมหาราชวัง

ประตูชั้นนอก

[แก้]

ประตูชั้นนอก อยู่ตามแนวกำแพงพระบรมมหาราชวัง มี ๑๒ ประตูใหญ่ ตั้งชื่อคล้องจองกัน คือ

ประตูวิมานเทเวศร์ และประตูสุวรรณภิบาล (ข้างใน)
  • ประตูวิมานเทเวศร์ [1] เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูสุนทรทิศาและประตูวิเศษไชยศรี ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญในรัชสมัยนั้น เพราะเป็นทางอัญเชิญพระราชสาสน์จากประเทศต่าง ๆ แห่เข้ามาทางประตูวิมานเทเวศร์ ผ่านหน้าศาลาลูกขุน เลี้ยวเข้าประตูพิมานไชยศรี (ประตูโค้ง กั้นระหว่างเขตพระราชฐานชั้นนอกและชั้นกลาง อยู่ระหว่างประตูวิเศษไชยศรีและพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท) ไปยังพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถัดเข้ามาข้างในเป็น ประตูสุวรรณภิบาล
ประตูวิเศษไชยศรี และประตูพิมานไชยศรี (ข้างใน)
  • ประตูวิเศษไชยศรี [2] เป็นประตูชั้นนอกพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ อยู่ระหว่างประตูวิมานเทเวศร์และป้อมขันธ์เขื่อนเพชร ตรงกับถนนหน้าพระธาตุ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นประตูสำคัญเพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระมหามณเฑียร ปัจจุบันประตูวิเศษไชยศรีเป็นประตูทางเข้าออกพระบรมมหาราชวังที่สำคัญที่สุด ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูพิมานไชยศรี และหากมองผ่านประตูนี้เข้าไป จะเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในมุมที่สวยงามสง่า
ประตูมณีนพรัตน์
ประตูสวัสดิโสภา
  • ประตูสวัสดิโสภา [5] อยู่ทางด้านทิศตะวันออก อยู่ระหว่างป้อมเผด็จดัสกรและป้อมสัญจรใจวิง ตรงข้ามกับกระทรวงกลาโหม (มีชื่อสามัญว่า ประตูทอง เพราะเป็นทางผ่านสำหรับประชาชนที่จะไปปิดทองคำเปลวบูชาพระแก้วมรกต)
ประตูเทวาพิทักษ์
ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์
  • ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ [7] อยู่ทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวังสราญรมย์ ใต้พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ติดกับป้อมฤทธิรุดโรมรัน ถัดเข้ามาเป็น ประตูราชสำราญ
ประตูวิจิตรบรรจง
  • ประตูวิจิตรบรรจง [8] อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมมณีปราการและป้อมพิศาลสีมา บริเวณพระตำหนักสวนกุหลาบ ตรงข้ามกับวัดพระเชตุพนฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูฉนวนชั้นนอกออกไปวัดโพธิ์) ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูพิศาลทักษิณ
  • ประตูอนงคารักษ์ [9] อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างป้อมพิศาลสีมาและประตูพิทักษ์บวร ตรงข้ามกับวิหารพระพุทธไสยาสของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นนอก) ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูกัลยาวดี (มีชื่อสามัญว่า ประตูผีชั้นใน)
  • ประตูพิทักษ์บวร [10] อยู่ทางด้านทิศใต้ อยู่ระหว่างประตูอนงคารักษ์และป้อมภูผาสุทัศน์ เป็นประตูด้านสกัดทางใต้ ตรงกับถนนมหาราช ข้างในตรงกับถนนสกัดกำแพง พระบรมมหาราชวัง (มีชื่อสามัญว่า ประตูแดงท้ายสนม เพราะทาสีแดง ตั้งอยู่ริมตลาดชื่อท้ายสนม)
ประตูสุนทรทิศา
  • ประตูสุนทรทิศา [11] อยู่ทางด้านทิศเหนือ ระหว่างป้อมอินทรรังสรรและประตูวิมานเทเวศร์ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประตูด้านสกัดทางเหนือ
ประตูเทวาภิรมย์
  • ประตูเทวาภิรมย์ [12] อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างป้อมมหาสัตตโลหะและป้อมทัศนนิกร ตรงข้ามกับท่าราชวรดิฐ (มีชื่อสามัญว่า ประตูท่าขุนนางหน้าโรงทาน) ถัดเข้ามาด้านในเป็น ประตูศรีสุนทร
  • ประตูอุดมสุดารักษ์ [13] อยู่ทางด้านทิศตะวันตก เป็นประตูฉนวนออกทางตรงพระที่นั่งที่ท่าราชวรดิษ ขนาบด้วยป้อมโสฬสศิลาทางด้านใต้และป้อมมหาสัตตโลหะทางด้านเหนือ

และประตูเล็กคือ

  • ประตูช่องกุด อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ระหว่างป้อมภูผาสุทัศน์และป้อมสัตตบรรพต เป็นประตูพระบรมมหาราชวังซึ่งราษฎรสามัญใช้เข้า-ออกติดต่อกับคนภายในวัง ประตูช่องกุดเป็นประตูขนาดเล็ก เจาะทะลุกำแพงวังและไม่มีซุ้มประตู


ประตูชั้นใน

[แก้]
ประตูพิมานไชยศรี

ประตูพระบรมมหาราชวังชั้นใน บางประตูถูกรื้อไปแล้ว

  • ประตูสุวรรณบริบาล [14] อยู่ทางด้านทิศเหนือ เป็นประตู 2 ชั้น ตรงเข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ปัจจุบัน เหลือเพียงประตูชั้นเดียว
  • ประตูพิมานไชยศรี [15] อยู่ทางด้านทิศเหนือ เป็นประตู 2 ชั้น เช่นเดียวกับประตูสุวรรณบริบาล ตั้งอยู่ตรงกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ปัจจุบันประตูนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินและเส้นทางสัญจรหลักเข้าสู่พระราชฐานชั้นกลาง
  • ประตูสีกรลีลาศ
  • ประตูเทวราชดำรงศร
  • ประตูอุดรสิงหรักษ์
  • ประตูจักรพรรดิ์ภิรมย์
  • ประตูกมลาสประเวศ
  • ประตูอมเรศร์สัญจร
ประตูสนามราชกิจ
  • ประตูสนามราชกิจ
  • ประตูดุสิตศาสดา
  • ประตูนางในไคลคลา
  • ประตูกัลยาวดี
  • ประตูศรีสุดาวงษ์
  • ประตูอนงคลีลา [16]
  • ประตูยาตราสตรี [17]
  • ประตูศรีสุนทร [18]
  • ประตูพรหมศรีสวัสดิ์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อกั้นเขตพระราชฐานชั้นกลางและชั้นใน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นประตูที่ใช้นำพระศพของเจ้านายมาตั้งที่หอภายในเขตพระราชฐานชั้นกลาง เช่น หอธรรมสังเวช
  • ประตูพรหมโกหด
  • ประตูแถลงราชกิจ
  • ประตูปริตประเวศ
  • ประตูราชสำราญ อยู่ทางด้านทิศตะวันออก เป็นประตูทางเข้าออกของพระราชฐานชั้นใน ปัจจุบันประตูนี้เปิดเฉพาะเป็นเส้นทางพระราชดำเนินในบางกรณี เช่น เสด็จออกรับพระราชสาส์นตราตั้งที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
  • ประตูพิศาลทักษิณ

อ้างอิง

[แก้]
พิกัดภูมิศาสตร์
  1. ประตูวิมานเทเวศร์ 13°45′08″N 100°29′25″E / 13.7522088°N 100.4902214°E / 13.7522088; 100.4902214
  2. ประตูวิเศษไชยศรี 13°45′08″N 100°29′28″E / 13.7522609°N 100.4911816°E / 13.7522609; 100.4911816
  3. ประตูมณีนพรัตน์ 13°45′08″N 100°29′33″E / 13.7522818°N 100.4925817°E / 13.7522818; 100.4925817
  4. เปลี่ยนใช้"ประตูมณีนพรัตน์"เข้าถวายสักการะพระบรมศพ
  5. ประตูสวัสดิโสภา 13°45′06″N 100°29′37″E / 13.7517138°N 100.4934883°E / 13.7517138; 100.4934883
  6. ประตูเทวาพิทักษ์ 13°44′59″N 100°29′38″E / 13.7497025°N 100.4937887°E / 13.7497025; 100.4937887
  7. ประตูศักดิ์ไชยสิทธิ์ 13°44′57″N 100°29′38″E / 13.7490303°N 100.493896°E / 13.7490303; 100.493896
  8. ประตูวิจิตรบรรจง 13°44′51″N 100°29′36″E / 13.7474775°N 100.4932684°E / 13.7474775; 100.4932684
  9. ประตูอนงคารักษ์ 13°44′49″N 100°29′30″E / 13.7470033°N 100.4916859°E / 13.7470033; 100.4916859
  10. ประตูพิทักษ์บวร 13°44′48″N 100°29′28″E / 13.7467845°N 100.4909992°E / 13.7467845; 100.4909992
  11. ประตูสุนทรทิศา 13°45′08″N 100°29′22″E / 13.7521984°N 100.4895562°E / 13.7521984; 100.4895562
  12. ประตูเทวาภิรมย์ 13°45′01″N 100°29′23″E / 13.7503173°N 100.4897118°E / 13.7503173; 100.4897118
  13. ประตูอุดมสุดารักษ์ 13°44′59″N 100°29′23″E / 13.7497129°N 100.4897815°E / 13.7497129; 100.4897815
  14. ประตูสุวรรณบริบาล 13°45′04″N 100°29′25″E / 13.7511511°N 100.4903609°E / 13.7511511; 100.4903609
  15. ประตูพิมานไชยศรี 13°45′03″N 100°29′29″E / 13.7508436°N 100.4913157°E / 13.7508436; 100.4913157
  16. ประตูอนงคลีลา 13°44′57″N 100°29′25″E / 13.7492023°N 100.4902482°E / 13.7492023; 100.4902482
  17. ประตูยาตราสตรี 13°44′59″N 100°29′24″E / 13.7497442°N 100.4900497°E / 13.7497442; 100.4900497
  18. ประตูศรีสุนทร 13°45′01″N 100°29′24″E / 13.750359°N 100.490039°E / 13.750359; 100.490039

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]