ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพฤหัสบดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นของ Taweetham ด้วยสจห.: ลบโฆษณา
Siamganesh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:
* เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
* เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.


== ความรู้เพิ่มเติม ==
* [http://www.siamganesh.com ความรู้เรื่ององค์เทพ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระแม่อุมาเทวี พระแม่ลักษมี พระแม่กาลี พระแม่ทุรคา ฯลฯ]


{{เทวดา}}
{{เทวดา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:34, 20 มิถุนายน 2553

พระพฤหัสบดี
ภาพพระพฤหัสบดี ตามคตินิยมอินเดีย
จำพวกเทวนพเคราะห์ และคุรู
สัตว์พาหนะช้าง หรือ รถม้าลากโดยม้า ๘ ตัว
ดาวพระเคราะห์ดาวพฤหัสบดี

พระพฤหัสบดี (เทวนาครี: बृहस्पति) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง ในคติไทย พระพฤหัสบดีถูกสร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีเหลืองส้ม แล้วเสกได้เป็นพระพฤหัสบดี มีสีวรกายส้มแดง ทรงมฤค (กวาง) เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และแสดงถึงอักษรวรรค ปะ (บ ผ พ ภ ม) พระพฤหัสบดีจัดว่าเป็นครูของเทวดาทั้งหลาย จึงนิยมทำพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี

พระพฤหัสบดีเป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทศุภเคราะห์ ให้ผลดังเช่นนิสัยแห่งพระฤษี นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดี หรือมีพระพฤหัสบดีสถิตร่วมกับลัคนา มักทำอะไรด้วยความระมัดระวัง สุขุมรอบคอบ เมตตาปรานีต่อผู้อื่น ตามนิทานชาติเวร พระพฤหัสบดีเป็นมิตรกับพระอาทิตย์ และเป็นศัตรูกับพระจันทร์

ในโหราศาสตร์ไทย พระพฤหัสบดีถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๕ และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากฤษี ๑๙ ตน จึงมีกำลังพระเคราะห์เป็น ๑๙ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีก็คือ ปางสมาธิ

อ้างอิง

  • อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ และคณะ.พรหมชาติ ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.
  • เทพย์ สาริกบุตร และคณะ.พรหมชาติ ฉบับราษฎร์. กรุงเทพฯ:สำนักงาน ลูก ส.ธรรมภักดี, ม.ป.ป.

ความรู้เพิ่มเติม