ข้ามไปเนื้อหา

พิศาล อัครเศรณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิศาล อัครเศรณี
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2488
พิศาล อัครเศรณี
จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (73 ปี)
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสสุดารัตน์ อัครเศรณี
บุตร4 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2513–2560
ผลงานเด่นมังตรา ผู้ชนะสิบทิศ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาราชดำ (2524)
มนต์รักอสูร (2521)
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2531 - พ่อปลาไหลแม่พังพอน
ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2529 - พิศวาสซาตาน
โทรทัศน์ทองคำนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2530 - อวสานเซลล์แมน

พิศาล อัครเศรณี (21 มิถุนายน พ.ศ. 2488 – 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561) ชื่อเล่น เปี๊ยก เป็นผู้กำกับและนักแสดงชาวไทย มีผลงานภาพยนตร์ไทยสร้างชื่ออย่าง “เพลงสุดท้าย” เป็นผู้ที่ได้รับฉายาว่า "พระเอกซาดิสต์" หรือ "ผู้กำกับซาดิสต์" เนื่องจากมักได้รับบทหรือกำกับละครหรือภาพยนตร์ที่พระเอกมักจะทำร้ายนางเอกด้วยการตบตี แต่ลงท้ายด้วยการจูบหรือแสดงความรัก ทำให้นางเอกใจอ่อนทุกที

ประวัติ

[แก้]

พิศาล อัครเศรณี มีชื่อเล่นว่า "เปี๊ยก" เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2488[1] มารดาชื่อเชอรี่ อัครเศรณี ส่วนบิดามีเชื้อสายมอญ พิศาลเป็นน้องชายของกิตติ อัครเศรณี อดีตผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง จบการศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ โดยในขณะที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนวัดบวนิเวศรก็ได้รู้จักกับ แดง ไบเล่ กับ จ๊อด เฮาดี้ และเคยยกพวกตีกันกับวัยรุ่นกลุ่มอื่นแถวถนนสิบสามห้าง โดยเจ้าตัวได้ชื่อว่า "เปี๊ยก เจริญพาสน์" [2] ต่อมาจบด้านการแสดงที่โรงเรียนการกำกับการแสดง แผนกวิทยุโทรทัศน์ วอชิงตัน ดี.ซี. เริ่มทำงานที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ก่อนจะเข้าไปคลุกคลีกับงานทั้งวิทยุ-โทรทัศน์ อาทิ วิทยุของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังเคยเป็นโฆษกที่ช่อง 3 รวมทั้งเป็นนักแสดง เริ่มงานกำกับการแสดงครั้งแรกในละครเรื่อง “สกาวเดือน” ออกอากาศทางช่อง 9 ส่วนการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ฟ้าหลังฝน

มีผลงานกำกับละครวิทยุกว่า 70 เรื่อง ละครโทรทัศน์กว่า 100 เรื่อง ภาพยนตร์กว่า 40 เรื่อง อาทิ มหาราชดำ, มนต์รักอสูร, รักประกาศิต, ละอองดาว, นางแมวป่า, ค่าของคน, พายุอารมณ์, ไฟรักอสูร, เลือดทมิฬ, อุ้งมือมาร และเพลงสุดท้าย

ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับการติดต่อจากกร ทัพพะรังสี หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ให้กำกับภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เรื่อง “ย่าโม” หรือท้าวสุรนารี แต่ยังไม่ทันสร้างก็ถูกวิจารณ์และกระแสต่อต้านจากประเทศลาวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาว

พิศาล สมรสกับ นางสุดารักษ์ มีบุตร 4 คน ในจำนวนนี้ลูกชายเป็นผู้กำกับชื่อว่า อัครพล อัครเศรณี ชื่อเล่น โอ[3] และเป็นนักแสดงหญิงชื่อดัง คือ พิยดา จุฑารัตนกุล ชื่อเล่น อ้อม[4]

พิศาลเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 02:00 น. ของวันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว รวมอายุ 73 ปี

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น ออกอากาศ
2517 กำแพงหัวใจ ช่อง 4
2518 มนต์รักอสูร เทอด ช่อง 9
2519 ละอองดาว กรกฎ ช่อง 9
สายใจ ช่อง 9
แววมยุรา สยุมภูว์ ทศพล / จักร ช่อง 9
2520 สร้อยฟ้าขายตัว ช่อง 9
ขุนศึก เสมา ช่อง 5
รักประกาศิต ภูชิชย์ ช่อง 9
ศิวา ราตรี เวชยันต์ ช่อง 9
2521 เสือน้อย ช่อง 9
ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง โดม ช่อง 9
เลือดขัตติยา อโณทัย ช่อง 9
2522 ค่าของคน ลักษมณ์ นฤนารถไมตรี ช่อง 5
แสงสูรย์ ช่อง 5
เขมรินทร์ อินทิรา ช่อง 9
2523 ธนูทอง ช่อง 3
ค่าแห่งความรัก ช่อง 9
ผู้ชนะสิบทิศ ช่อง 9
ศิขริน-เทวินตา ช่อง 3
2524 วิมานไฟ ภุมเรศ ช่อง 9
2525 เดือนครึ่งดวง ช่อง 9
2527 พฤกษาสวาท ประจิม ช่อง 3
2528 เชลยรัก ช่อง 9
2529 เนื้อนาง ช่อง 7
2530 อวสานของเซลล์แมน ช่อง 3
สารวัตรเถื่อน ช่อง 7
2531 ผัวรสมะนาว ช่อง 3
ลายหงส์ ช่อง 3
2532 มนต์รักอสูร ช่อง 3
2534 ชลาลัย ช่อง 5
ป่ากามเทพ ช่อง 3
พ่อปลาไหล แม่พังพอน ช่อง 5
2535 กาในฝูงหงส์ ช่อง 5
2536 พายุอารมณ์ ช่อง 3
2537 อุ้งมือมาร ช่อง 3
สาวรำวง ช่อง 3
2538 เหมือนคนละฟากฟ้า ช่อง 3
ครึ่งของหัวใจ ช่อง 3
2539 เชลยรัก ช่อง 9
ปานตะวัน ช่อง 3
2541 สะพานรักสารสิน ช่อง 3
อุบัติเหตุ ช่อง 3
2544 ขอดเกล็ดมังกร ช่อง 7
2547 คุณแม่รับฝาก ช่อง 3
มนต์รักอสูร ช่อง 3
2548 บ่วงรัก ธานินทร์ เลิศชัยวัฒน์ (คู่กับ ดวงตา ตุงคะมณี / กาญจนา จินดาวัฒน์) ช่อง 5
2549 วีรกรรมทำเพื่อเธอ ช่อง 3
ผู้พิทักษ์รักเธอ ช่อง 5
ผู้ใหญ่เห็ด กำนันหอย ช่อง 3
2550 รักเล่ห์ เสน่ห์ลวง ช่อง 3
2551 ความรักของซูเปอร์สตาร์ ช่อง 5
สุดแดนหัวใจ ช่อง 3
2552 บางรักซอย 9 พิเชษฐ์ เบญมาริวงศ์ (รับเชิญ) ช่อง 9
อาทิตย์ชิงดวง รังสี สุริยาทิตย์ ช่อง 5
2553 ไฟรักอสูร กำนันโต (คู่กับ ปภัสรา เตชะไพบูลย์) ช่อง 3
เงารักลวงใจ ช่อง 3
2555 น้ำขึ้นให้รีบรัก ลุงกล้า (พ่อพระเอก) ช่อง 5
วุ่นวายสบายดี ช่อง 3
แววมยุรา ช่อง 3
ยอดรักนักสู้ ช่อง 3
2556 ทองเนื้อเก้า กำนันเสือ ช่อง 3
2557 เวียงร้อยดาว ดำรง บดินทร์ธร ช่อง 3
รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย ดิเรก (คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี และ เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์) ช่อง 3
2558 เงาใจ คุณวิทย์ ช่องวัน
2560 หมอเทวดา อาจารย์เทพ ช่อง 3 เอสดี
ภารกิจลิขิตหัวใจ พ่อของเตชัส (เต) (พ่อของพระเอก) (รับเชิญ) ช่องวัน
2564 นางฟ้าอสูร หมอ (รับเชิญ) ช่อง 3
256X สายลับสะบัดช่อ ช่อง 3

หมายเหตุ  : สายลับสะบัดช่อ เป็นผลงานละครเรื่องสุดท้าย ที่ถ่ายทำเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 ก่อนที่พิศาลจะเสียชีวิตในปี พ.ศ.2561 และไม่ได้ออกอากาศบนหน้าจอโทรทัศน์ ทาง ช่อง 3

ภาพยนตร์

[แก้]
พ.ศ. 2512
  • สายเลือดเดียวกัน
พ.ศ. 2513
พ.ศ. 2514
  • ลูกยอด รับบท แม่น
พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2522
  • หัวใจที่จมดิน
  • เพลิน
  • เลือดทมิฬ รับบท ต๋อง
พ.ศ. 2523
  • ทองผาภูมิ รับบท ครูอำนวย
  • สุดรักสุดอาลัย รับบท พิศาล
  • ละอองดาว
  • รักประกาศิต รับบท ภูชิชย์
  • สะใภ้นิโกร รับบท นายดี
พ.ศ. 2524
  • กล้วยไม้สีเลือด รับบท พันธ์เทพ
  • ค่าของคน รับบท ลักษณ์
  • ค่าแห่งความรัก รับบท ศรุต
  • ประกาศิตจากหัวใจ รับบท พนม
  • ภูชิชย์ นริศรา รับบท ภูชิชย์
  • มหาราชดำ รับบท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • สนับมือ รับบท วสันต์
  • สายใจ รับบท เด่นพงษ์
  • สร้อยฟ้าขายตัว
  • สัตว์สงคราม รับบท ไอ้หมาบ้า
  • สามเสือสุพรรณ รับบท เสือใบ
พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2527
  • ครูเสือ รับบท ครูเสือ
  • ตีแสกหน้า
  • ไฟชีวิต
  • ลวดหนาม
พ.ศ. 2528
พ.ศ. 2529
  • พิศวาสซาตาน รับบท ชาย
  • อุ้งมือมาร รับบท ดำ ชุมพร
พ.ศ. 2530
  • สงครามรัก
  • สารวัตรเถื่อน รับบท ชาติเทียน
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ
  • ตุ๊กตาทองหลังโลงศพ รับบท นายวุธ
พ.ศ. 2531
พ.ศ. 2539
พ.ศ. 2540
  • ถนนนี้หัวใจข้าจอง
พ.ศ. 2544
พ.ศ. 2549
  • มากับพระ รับบท กำนันยศ
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2557

ผลงานการสร้างละครโทรทัศน์

[แก้]

อัครพล โปรดักชั่น

[แก้]

ช่อง 3

[แก้]
  • ไฟรักอสูร ปี 2535
  • พายุอารมณ์ ปี 2536
  • นางฟ้ากับซาตาน ปี 2536
  • อุ้งมือมาร ปี 2537
  • สาวรำวง ปี 2537
  • หัวใจเถื่อน ปี 2538
  • ครึ่งของหัวใจ ปี 2538
  • นางเสือดาว ปี 2539
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ ปี 2539
  • ปานตะวัน ปี 2539
  • ซอสามสาย ปี 2540
  • ฟ้าหลังฝน ปี 2540
  • อุบัติเหตุ ปี 2541
  • บ้านไร่สายสวาท ปี 2543
  • มนต์รักอสูร ปี 2547
  • รอยลิขิต ปี 2548
  • คู่ขวัญ ปี 2548
  • สุดแดนหัวใจ ปี 2551
  • ไฟรักอสูร ปี 2552
  • สามหัวใจ ปี 2553
  • หมูแดง ปี 2555
  • ยอดรักนักสู้ ปี 2555
  • รถไฟ เรือเมล์ ลิเก กองถ่าย ปี 2557
  • นางฟ้าอสูร ปี 2564
  • สายลับสะบัดช่อ ปี 256X

ช่อง 3 SD

[แก้]
  • หมอเทวดา ปี 2560

ช่อง 7

[แก้]
  • พันท้ายนรสิงห์ ปี 2543

ควบคุมการผลิต

[แก้]

ช่อง 3

[แก้]
  • นางฟ้าอสูร ปี 2564

ช่อง 3 SD

[แก้]
  • หมอเทวดา ปี 2560

ผลงานกำกับการแสดง

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ออกอากาศทางช่อง 5
  • ชลาลัย ปี 2534
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน ปี 2534
  • กาในฝูงหงส์ ปี 2535
  • เมียนอกกฎหมาย ปี 2535
  • แววมยุรา ปี 2537
ออกอากาศทางช่อง 3
ออกอากาศทางช่อง 3 เอสดี
ออกอากาศทางช่อง 7
  • พันท้ายนรสิงห์ ปี 2543
ออกอากาศทางช่อง 9
  • เชลยรัก ปี 2539
ออกอากาศทางช่องวัน

ภาพยนตร์

[แก้]
  • ฟ้าหลังฝน (2521)
  • ภาษาใจ (2521)
  • เลือดทมิฬ (2522)
  • ทองผาภูมิ (2523)
  • ละอองดาว (2523)
  • รักประกาศิต (2523)
  • กล้วยไม้สีเลือด (2524) กำกับร่วมกับ ฮุยคิง
  • ภูชิชย์ นริศรา (2524)
  • ทัดดาวบุษยา (2524)
  • ค่าของคน (2524)
  • ดวงตาสวรรค์ (2525)
  • นางแมวป่า (2525)
  • พายุอารมณ์ (2525)
  • ไฟรักอสูร (2526)
  • หัวใจทมิฬ (2526)
  • ลวดหนาม (2527) ร่วมกับ จารึก สงวนพงษ์
  • ป่าเดือด (2527)
  • นางฟ้ากับซาตาน (2528)
  • นางเสือดาว (2528)
  • เพลงสุดท้าย (2528)
  • หัวใจเถื่อน (2528)
  • พิศวาสซาตาน (2529)
  • อุ้งมือมาร (2529)
  • ปรารถนาแห่งหัวใจ (2530)
  • ชะตาฟ้า (2530)
  • แรงปรารถนา (2530)
  • รักทรมาน (2530)
  • ซอสามสาย (2531)
  • พ่อปลาไหล แม่พังพอน (2531) ร่วมกับ หนุ่ม ชิงชัย
  • วิวาห์จำแลง (2531)
  • ก่อนจะสิ้นแสงตะวัน (2533)
  • ค่าของคน (2534)
  • โก๋หลังวัง (2545)
  • เพลงสุดท้าย (2549)

อำนวยการสร้าง

[แก้]
  • วิวาห์เงินผ่อน (2518)

ควบคุมการผลิต

[แก้]
  • โก๋หลังวัง (2545)

บทภาพยนตร์

[แก้]
  • แรงปรารถนา (2530)
  • รักทรมาน (2530)
  • เพลงสุดท้าย (2549)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พิศาล อัครเศรณี". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ December 26, 2014.
  2. "ศึกสิบสามห้าง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-12. สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
  3. ""อาเปี๊ยก-พิศาล" วางมือ จับลูกชาย "โอ-อัครพล" ขึ้นแท่นผู้กำกับ ประเดิมละครเรื่องแรก !!!". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. June 20, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ December 26, 2014.
  4. "2 ครอบครัวสุดชื่นมื่น "อ้อม-อาทรับพระราชทานน้ำสังข์". สยามดารา. August 27, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ December 26, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]