พ.ศ. 2553
หน้าตา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2553 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 2010 MMX |
Ab urbe condita | 2763 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1459 ԹՎ ՌՆԾԹ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6760 |
ปฏิทินบาไฮ | 166–167 |
ปฏิทินเบงกอล | 1417 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2960 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 58 Eliz. 2 – 59 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2554 |
ปฏิทินพม่า | 1372 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7518–7519 |
ปฏิทินจีน | 己丑年 (ฉลูธาตุดิน) 4706 หรือ 4646 — ถึง — 庚寅年 (ขาลธาตุโลหะ) 4707 หรือ 4647 |
ปฏิทินคอปติก | 1726–1727 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3176 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 2002–2003 |
ปฏิทินฮีบรู | 5770–5771 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2066–2067 |
- ศกสมวัต | 1932–1933 |
- กลียุค | 5111–5112 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12010 |
ปฏิทินอิกโบ | 1010–1011 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1388–1389 |
ปฏิทินอิสลาม | 1431–1432 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 22 (平成22年) |
ปฏิทินจูเช | 99 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4343 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 99 民國99年 |
เวลายูนิกซ์ | 1262304000–1293839999 |
พุทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010
- ปีขาล โทศก จุลศักราช 1372 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
- ปีสากลแห่งเยาวชน
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม
[แก้]- 4 มกราคม - เปิดตึกบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ในเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุด อย่างเป็นทางการ[1][2][3]
- 8 มกราคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติโตโกถอนทีมออกจากการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติแอฟริกา ครั้งที่ 27 หลังจากรถโดยสารของทีมถูกซุ่มยิงระหว่างเดินทางไปประเทศแองโกลา สถานที่จัดการแข่งขัน[4]
- 13 มกราคม - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 ใกล้กับกรุงปอร์โตแปรงซ์ ประเทศเฮติ[5] ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 230,000 คน[6][7][8]
- 15 มกราคม - เกิดสุริยุปราคาวงแหวน เห็นเต็มดวงได้ที่แอฟริกากลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยา มัลดีฟส์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ศรีลังกา พม่า และจีนตอนกลาง ส่วนไทยจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน[9][10] เป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่ยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 [11] และคาดว่าน่าจะเป็นสุริยุปราคาที่นานที่สุดในคริสต์สหัสวรรษที่ 3
- 21 มกราคม - โตโยต้าเริ่มเรียกรถยนต์คืนกว่า 8 ล้านคันทั่วโลก
กุมภาพันธ์
[แก้]- 12 - 28 กุมภาพันธ์ - การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 21 ณ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา ผลการแข่งขัน นักกีฬาทีมชาติแคนาดาเป็นเจ้าเหรียญทอง
- 18 กุมภาพันธ์ - สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูประชาธิปไตย (CSRD) นำโดยนาวาอากาศตรีซาลู จิโบ รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลประธานาธิบดีมามาดู ทันด์จาแห่งสาธารณรัฐไนเจอร์[12]
- 26 กุมภาพันธ์ - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท จากทรัพย์ที่อายัดไว้กว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ของครอบครัวและผู้ใกล้ชิด พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ
- 27 กุมภาพันธ์ - เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.8 ใกล้กับเมืองกอนเซปซีออน สาธารณรัฐชิลี ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ และมีผู้เสียชีวิต 497 คน[13] ผลจากแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงดังกล่าวอาจส่งผลให้แกนของโลกเอียง และลดเวลาต่อวันลงเล็กน้อย[14][15]
มีนาคม
[แก้]- 4 มีนาคม - เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ใกล้เมืองเกาซุงของประเทศไต้หวัน[16] มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 96 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต[17]
- 14 มีนาคม - เริ่มการชุมนุมใหญ่ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ถนนราชดำเนิน
เมษายน
[แก้]- 8 เมษายน -
- ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา และประธานาธิบดีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ลงนามในสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ ซึ่งจะลดอาวุธในคลังแสงของทั้งสองประเทศกว่าหนึ่งในสาม
- เกิดจลาจลจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ในกรุงบิชเคก ประเทศคีร์กีซสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน
- 10 เมษายน -
- เครื่องบินตู-154 ที่มีประธานาธิบดีโปแลนด์ เลกซ์ คัชชินสกี พร้อมด้วยภริยาและผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลประสบอุบัติเหตุตก ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมด 132 คนเสียชีวิต
- รัฐบาลไทยนำกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ส่งผลให้มีทหารและพลเรือนเสียชีวิตรวม 24 ราย
- 14 เมษายน -
- เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.9 ในมณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คน บาดเจ็บกว่า 12,000 คน[18]
- เถ้าจากการปะทุของภูเขาไฟเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ ในประเทศไอซ์แลนด์ ส่งผลให้ต้องประกาศปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปเหนือและยุโรปตะวันตก[19][20][21]
- 27 เมษายน - แสตนดาร์ดแอนด์พัวร์สลดระดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงเหลือ "ระดับขยะ" สี่วันหลังจากรัฐบาลต้องขออนุมัติความช่วยเหลือทางการเงิน 45,000 ล้านยูโร จากสหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตลาดหุ้นทั่วโลกและค่าเงินยูโรปรับตัวลดลงภายหลังการประกาศดังกล่าว[22][22][23]
พฤษภาคม
[แก้]- 2 พฤษภาคม – ยูโรโซนและกองทุนการเงินระหว่างประเทศอนุมัติงบประมาณ 110,000 ล้านยูโร รัฐบาลกรีซออกมาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวด[24]
มิถุนายน
[แก้]- 11 มิถุนายน – 11 กรกฎาคม – ฟุตบอลโลก 2010 ณ ประเทศแอฟริกาใต้ ฟุตบอลทีมชาติสเปนได้แชมป์
กรกฎาคม
[แก้]- 1 กรกฎาคม - เบลเยียมดำรงตำแหน่งประธานสภาสหภาพยุโรปต่อจากสเปน
สิงหาคม
[แก้]- 10 สิงหาคม - องค์การอนามัยโลกประกาศว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยุติลงแล้ว การระบาดของไข้หวัดทั่วโลกนับจากนี้ถือเป็นรูปแบบตามฤดูกาล[25]
- 14 - 26 สิงหาคม - โอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อนครั้งแรกจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์
- 23 สิงหาคม - รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ และสถานีพญาไท[26]
ตุลาคม
[แก้]- 10 ตุลาคม
- เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีสถูกยุบ โดยพื้นที่ของหมู่เกาะถูกแบ่งออกและได้รับสถานภาพตามรัฐธรรมนูญใหม่[27]
- เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดของไทย นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี
- 13 ตุลาคม -
- คนงานเหมือง 33 คนที่ติดอยู่ในเหมืองซันโคเซ ลึก 700 เมตรใต้ดิน จากอุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป ประเทศชิลี ได้รับการช่วยเหลือนำตัวขึ้นสู่พื้นดิน ทำลายสถิติรอดชีวิตอยู่ใต้ดินได้นานที่สุดถึง 69 วัน[28]
- 14 ตุลาคม - องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติประกาศว่าโรครินเดอร์เปสต์ถูกกำจัดไปจากธรรมชาติแล้ว นับเป็นไวรัสชนิดที่สองที่ถูกกำจัดโดยมนุษย์ ถัดจากฝีดาษ[29]
- 25 ตุลาคม - ภูเขาไฟเมราปี ในชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย เกิดปะทุขึ้นอีกครั้ง ก่อให้เกิดเถ้าถ่านและกลุ่มควันสูงขึ้นไปในอากาศ 1.5 กิโลเมตร เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 304 คน ประชาชนอีกกว่า 350,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย
พฤศจิกายน
[แก้]- 4 พฤศจิกายน - แอโรแคริบเบียน เที่ยวบินที่ 883 ประสบอุบัติเหตุตกในคิวบา ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดบนเครื่องเสียชีวิต 68 คน[30]
- 7 พฤศจิกายน - พม่าจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในรอบ 20 ปี
- 12 - 27 พฤศจิกายน - เอเชียนเกมส์ 2010 ณ เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
- 13 พฤศจิกายน - ทางการพม่าปล่อยตัวออง ซาน ซูจี ออกจากการกักบริเวณในบ้านพัก[31]
- 17 พฤศจิกายน - นักวิจัยที่เซิร์นสามารถดักจับอะตอมแอนติไฮโดรเจนได้จำนวน 38 อะตอม นับเป็นการดักจับปฏิสสารได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[32]
- 22 พฤศจิกายน - เกิดเหตุเหยียบกันเสียชีวิตในพนมเปญ ระหว่างเทศกาลน้ำ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 347 คน[33]
- 23 พฤศจิกายน - เกาหลีเหนือระดมยิงย็อนพย็อง ทำให้ได้รับการตอบโต้โดยทหารเกาหลีใต้ นำไปสู่ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี สหประชาชาติรายงานว่าเป็นเหตุการณ์ครั้งร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่สงครามเกาหลียุติ[34][35][36]
- 28 พฤศจิกายน - วิกิลีกส์เผยแพร่โทรเลขภายในสหรัฐอเมริกากว่า 250,000 ชิ้น โดยมีเอกสารมากกว่า 100,000 ฉบับยังอยู่ในชั้นความลับ[37][38]
ธันวาคม
[แก้]- 2 ธันวาคม - ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซา ค้นพบจีเอฟเอเจ-1 รูปแบบสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่สามารถใช้สารหนูแทนฟอสฟอรัสในโครงสร้างดีเอ็นเอ และสารชีวโมเลกุลอื่น ๆ[39]
วันเกิด
[แก้]- 1 มิถุนายน - ไรวินทร์ ศิริเสถียรสกุล นักแสดงเด็กชายชาวไทย
- 7 กรกฎาคม - ภคพล ตัณฑ์พาณิชย์ นักแสดงเด็กชายชาวไทย
- 3 กันยายน - เอเฟ่ ไอย์กูน นักแสดงเด็กชายลูกครึ่งไทย-ตุรกี-จีน
- 28 ธันวาคม - ธัณญ์กรณ์ กัลยาวุฒิพงศ์ นักแสดงเด็กชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]มกราคม
[แก้]- 11 มกราคม - มีป คีส นักมนุษยธรรมชาวเนเธอร์แลนด์ (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452)
- 15 มกราคม - มาร์แชลล์ วอร์เรน ไนเรนเบิร์ก นักชีวเคมีและนักพันธุศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 10 เมษายน พ.ศ. 2470)
- 22 มกราคม - สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ ยังดี เปอร์ตวน อากง พระองค์ที่ 9 แห่งมาเลเซีย (ประสูติ 8 เมษายน พ.ศ. 2475)
- 27 มกราคม - เจ. ดี. ซาลินเจอร์ นักประพันธ์ชาวอเมริกัน (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2462)
กุมภาพันธ์
[แก้]- 3 กุมภาพันธ์ - เจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ็กซ์-ไมนินเจน (พระราชสมภพ 6 มกราคม พ.ศ. 2468)
- 10 กุมภาพันธ์ - ชาร์ลส์ วิลสัน นักการเมืองชาวอเมริกัน (เกิด 1 มิถุนายน พ.ศ. 2476)
- 11 กุมภาพันธ์ - อเล็กซานเดอร์ แม็กควีน นักออกแบบแฟชั่นชาวอังกฤษ (เกิด 16 มีนาคม พ.ศ. 2512)
มีนาคม
[แก้]- 10 มีนาคม
- มูฮัมมัด ซัยยิด ตอนตอวี ผู้นำศาสนาอิสลามชาวอียิปต์ (เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471)
- โครีย์ เฮม นักแสดงชาวแคนาดา (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2514)
- 14 มีนาคม - ปีเตอร์ เกรฟส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2469)
เมษายน
[แก้]- 10 เมษายน - เลกซ์ คัชชินสกี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (เกิด 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492)
- 21 เมษายน - ควน อันโตนีโอ ซามารันช์ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลคนที่ 7 (เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2463)
พฤษภาคม
[แก้]- 16 พฤษภาคม - รอนนี เจมส์ ดิโอ นักร้องและนักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2485)
- 29 พฤษภาคม - เดนนิส ฮอปเปอร์ นักแสดงและผู้กำกับชาวอเมริกัน (เกิด 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2479)
กรกฎาคม
[แก้]- 4 กรกฎาคม - มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัฎลุลลอหฺ ผู้นำจิตวิญญาณชาวเลบานอน (เกิด 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478)
- 24 กรกฎาคม - อเล็กซ์ ฮิกกินส์ นักสนุกเกอร์ชาวไอร์แลนด์เหนือ (เกิด 18 มีนาคม พ.ศ. 2492)
สิงหาคม
[แก้]- 8 สิงหาคม - แพตทริเซีย นีล นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 20 มกราคม พ.ศ. 2469)
- 13 สิงหาคม - แลนซ์ เคด นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2524)
- 30 สิงหาคม - ฟรันซิสโก บารัลโล นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453)
กันยายน
[แก้]- 11 กันยายน - เควิน แมคคาร์ที นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457)
- 12 กันยายน - โกรด ชาโบรล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2473)
- 26 กันยายน - กลอเรีย สจ๊วต นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน (เกิด 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2453)
- 29 กันยายน - โทนี เคอร์ติส นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 3 มิถุนายน พ.ศ. 2468)
ตุลาคม
[แก้]- 14 ตุลาคม - เบอนัว มานดัลบรอ นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส-อเมริกัน (เกิด 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467)
- 27 ตุลาคม - เนสตอร์ กีร์ชเนร์ ประธานาธิบดีคนที่ 54 แห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493)
พฤศจิกายน
[แก้]- 10 พฤศจิกายน - ดิโน เดอ ลอเรนติส ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอิตาลี (เกิด 8 สิงหาคม พ.ศ. 2462)
- 28 พฤศจิกายน - เลสลี นีลเซน นักแสดงตลกชาวแคนาดา-อเมริกัน (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469)
รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – ริชาร์ด เอฟ. เฮค, ไอ-อิชิ เนกิชิ, อะกิระ ซูซูกิ
- สาขาวรรณกรรม – มาริโอ วาร์กาส โยซา
- สาขาสันติภาพ – หลิว เซี่ยวโป
- สาขาฟิสิกส์ – อังเดร กีม, คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – โรเบิร์ต จี. เอ็ดเวิร์ดส์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – คริสโตเฟอร์ พิซซาไรด์ส, ปีเตอร์ ไดอมอนด์, เดล มอร์เทนสัน
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]นวนิยาย
[แก้]- หนังสือ 2010 จอมจักรวาล (2010: Odyssey Two) โดยอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก จากนิยายวิทยาศาสตร์ชุดจอมจักรวาล (Space Odyssey) และภาพยนตร์ 2010: The Year We Make Contact ที่สร้างจากหนังสือ
การ์ตูน
[แก้]- หนังสือการ์ตูน โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ ภาค Stone Ocean ดำเนินเหตุการณ์ตามปีนี้
ภาพยนตร์
[แก้]- ตั้งวง (พ.ศ. 2556) – ดำเนินเรื่องโดยมีฉากหลังเป็นเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เกิดขึ้นในปีนี้
- มหาสมุทรและสุสาน (พ.ศ. 2558) – เนื้อเรื่องในภาพยนตร์เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของ นปช. ที่เกิดขึ้นในปีนี้
วันสำคัญทางศาสนาและพิธีกรรม
[แก้]- 14 กุมภาพันธ์ - วันตรุษจีน และ วันวาเลนไทน์
- 28 กุมภาพันธ์ - วันมาฆบูชา
- 21 มีนาคม - วันซุงฮุง (วันเริ่มไหว้บรรพบุรุษ)
- 4 เมษายน - วันปัสกา (เทศกาลอีสเตอร์)
- 5 เมษายน - วันเช็งเม้ง
- 13 - 15 เมษายน - สงกรานต์
- 13 พฤษภาคม - วันพืชมงคล
- 28 พฤษภาคม - วันวิสาขบูชา
- 26 กรกฎาคม - วันอาสาฬหบูชา
- 27 กรกฎาคม - วันเข้าพรรษา
- 10 กันยายน - วันตรุษอีดุลฟิฏริ (อีดิลฟิตรี)
- 23 ตุลาคม - วันออกพรรษา
- 16 พฤศจิกายน - วันตรุษอีดุลอัฎฮา
- 21 พฤศจิกายน - วันลอยกระทง
- 25 ธันวาคม - วันคริสต์มาส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dubai opens world's tallest building". Dubai: USA Today. January 2, 2010. สืบค้นเมื่อ 4 January 2010.
- ↑ "Official Opening of Iconic Burj Dubai Announced". Gulfnews. 4 November 2009. สืบค้นเมื่อ 4 November 2009.
- ↑ "World's tallest building opens in Dubai". BBC News. 2010-01-04. สืบค้นเมื่อ 2010-01-04.
- ↑ "จนท. ทีมตาย 2! โตโกถอนทีมแล้ว," http://www.siamsport.co.th (9 มกราคม 2552) เรียกข้อมูล 17 มกราคม 2553
- ↑ "‘เฮติ’ แผ่นดินไหวเสียหายหนัก ทำเนียบ ปธน.ถล่ม," http://www.prachatai.com (13 มกราคม 2553) เรียกข้อมูล 13 มกราคม 2553
- ↑ "Haiti president describes `unimaginable' catastrophe; thousands feared dead". Miami Herald. 13 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 January 2010.
- ↑ "Hundreds of thousands may have died in Haiti quake, PM says". CNN. 13 January 2010. สืบค้นเมื่อ 13 January 2010.
- ↑ "Thousands feared dead in Haiti quake; many trapped - Yahoo! News". News.yahoo.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-01-13.
- ↑ [1]
- ↑ Annular Solar Eclipse of 2010 January 15, NASA
- ↑ Five Millennium Catalog of Solar Eclipses: 2001 to 2100 ( 2001 CE to 2100 CE ), NASA
- ↑ "ประเทศไนเจอร์ ถูกทหารปฏิวัติยึดอำนาจ จับตัว ปธน. เอาไว้," http://www.matichon.co.th (19 กุมภาพันธ์ 2553) เรียกข้อมูล 20 กุมภาพันธ์ 2553
- ↑ Gobierno entregó lista de 497 fallecidos en el terremoto
- ↑ Newitz A (2010). "Why the Chile earthquake deformed the earth and shortened our days" เก็บถาวร 2015-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. io9. Retrieved 20 March, 2010.
- ↑ Than K (2010, 02 March). "Chile earthquake altered Earth axis, shortened day". National Geographic News. Retrieved 20 March, 2010.
- ↑ 張榮祥 (2010-03-04). "甲仙地震 台南多起電梯受困及火警". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-06. สืบค้นเมื่อ 2010-03-04.
- ↑ 林紳旭 (2010-03-04). "高雄強震 全台96人受傷". CNA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-08.
- ↑ "Death toll rises to 1,484 in China quake". Xinhuanet. สำนักข่าวซินหัว. 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 เม.ย. 2553.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Cancellations due to volcanic ash in the air". Norwegian Air Shuttle. 15 April 2010. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
- ↑ "Iceland Volcano Spewing Ash Chokes Europe Air Travel". San Francisco Chronicle. 15 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
- ↑ "Live: Volcanic cloud over Europe". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
- ↑ 22.0 22.1 "Greek bonds rated 'junk' by Standard & Poor's". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-04-28.
- ↑ "Greece crisis deepens on global market sell-off". CNN. สืบค้นเมื่อ 2010-04-28.
- ↑ "Greece Accepts Terms of EU-Led Bailout, 'Savage' Cuts (Update1) - Bloomberg.com". สืบค้นเมื่อ 2 May 2010.
- ↑ "CIDRAP News - WHO says H1N1 pandemic is over". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
- ↑ Officielebekendmakingen.nl - Besluit van 23 september 2010 tot vaststelling van het tijdstip van inwerkingtreding van de artikelen I en II van de Rijkswet wijziging Statuut in verband met de opheffing van de Nederlandse Antillen
- ↑ "All 33 Chile miners freed in flawless rescue". Chile: MSNBC. October 13, 2010. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
- ↑ "UN 'confident' disease has been wiped out". BBC. 14 October 2010. สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
- ↑ "Cuban Plane Crash Kills 68 People". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
- ↑ Burma releases Aung San Suu Kyi. BBC News, 13 November 2010.
- ↑ "Antimatter atom trapped for first time, say scientists". BBC News. 17 November 2010.
- ↑ "Government decreases death toll in Cambodian stampede". CNN. 25 November 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
- ↑ "Tensions high as North, South Korea trade shelling". Dawn. 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 24 November 2010.
- ↑ Kim, Dong (2010-11-23). "北 해안포 도발 감행, 연평도에 포탄 200여발 떨어져". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
- ↑ "Two Koreas exchange fire across maritime border". Reuters. 2010-11-23. สืบค้นเมื่อ 2010-11-23.
- ↑ [2]
- ↑ 1,796 memos from US embassy in Manila in WikiLeaks 'Cablegate' | ABS-CBN News | Latest Philippine Headlines, Breaking News, Video, Analysis, Features
- ↑ [3]
- หว่า แซ่อึ้ง, เลี๊ยกไฮ้ แซ่โอ้ว, ปฏิทิน 100 ปี เทียบ 3 ภาษา, (ไม่ทราบปีที่พิมพ์)