อีสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีสเตอร์
ภาพพระคริสต์ได้ทำลายประตูนรกและนำอาดัมกับเอวาออกจากสุสาน พระคริสต์ถูกขนาบข้างด้วยนักบุญ และซาตาน ซึ่งถูกวาดเป็นชายแก่ กำลังถูกล่ามโซ่
ประเภทคริสต์, วัฒนธรรม
ความสำคัญฉลองวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพ
การเฉลิมฉลองChurch services, เลี้ยงอาหารแก่ครอบครัว, ตกแต่งไข่อีสเตอร์ และให้ของขวัญ
การถือปฏิบัติPrayer, all-night vigil, sunrise service
วันที่ใช้วิธีคำนวณแบบComputus
วันที่ในปี 2023
  • 9 เมษายน (ตะวันตก)
  • 16 เมษายน (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2024
  • 31 มีนาคม[1] (ตะวันตก)
  • 5 พฤษภาคม (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2025
  • 20 เมษายน (ตะวันตก)
  • 20 เมษายน (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2026
  • 5 เมษายน (ตะวันตก)
  • 12 เมษายน (ตะวันออก)
ส่วนเกี่ยวข้องปัสคา Septuagesima, Sexagesima, Quinquagesima, วันอังคารสารภาพบาป, วันพุธรับเถ้า, Clean Monday, เทศกาลมหาพรต, Great Lent, วันอาทิตย์ใบลาน, สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์, Maundy Thursday, วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาก่อนวันอีสเตอร์; และThomas Sunday, พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์, เทศกาลเพนเทคอสต์, Trinity Sunday และCorpus Christi ก็ตามมาอีกเช่นกัน

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว

อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์[2] (อังกฤษ: Easter; อังกฤษเก่า: Ēostre หรือ อังกฤษ: Pasch[3][4], Pascha[5]; ละติน: Pascha ปัสคา; กรีก: Πάσχα, Paskha; แอราเมอิก: פַּסחא Pasḥa; มาจาก ฮีบรู: פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงกลับคืนพระชนม์ตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์

นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า

ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก ๆ

วันที่[แก้]

ทางตะวันตกกับตะวันออกกำหนดวันอีสเตอร์ที่ต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปีด้วย ดังนี้

ตารางวันอีสเตอร์ 2001–2025 (ในปฏิทินกริกอเรียน)[6]
ปี พระจันทร์เต็มดวง ปัสคา
ยูดาห์ [หมายเหตุ 1]
อีสเตอร์
ดาราศาสตร์ [หมายเหตุ 2]
อีสเตอร์
กริกอเรียน
อีสเตอร์
จูเลียน
2001 8 เมษายน 15 เมษายน
2002 28 มีนาคม 31 มีนาคม 5 พฤษภาคม
2003 16 เมษายน 17 เมษายน 20 เมษายน 27 เมษายน
2004 5 เมษายน 6 เมษายน 11 เมษายน
2005 25 มีนาคม 24 เมษายน 27 มีนาคม 1 พฤษภาคม
2006 13 เมษายน 16 เมษายน 23 เมษายน
2007 2 เมษายน 3 เมษายน 8 เมษายน
2008 21 มีนาคม 20 เมษายน 23 มีนาคม 27 เมษายน
2009 9 เมษายน 12 เมษายน 19 เมษายน
2010 30 มีนาคม 4 เมษายน
2011 18 เมษายน 19 เมษายน 24 เมษายน
2012 6 เมษายน 7 เมษายน 8 เมษายน 15 เมษายน
2013 27 มีนาคม 26 มีนาคม 31 มีนาคม 5 พฤษภาคม
2014 15 เมษายน 20 เมษายน
2015 4 เมษายน 5 เมษายน 12 เมษายน
2016 23 มีนาคม 23 เมษายน 27 มีนาคม 1 พฤษภาคม
2017 11 เมษายน 16 เมษายน
2018 31 มีนาคม 1 เมษายน 8 เมษายน
2019 20 มีนาคม 20 เมษายน 24 มีนาคม 21 เมษายน 28 เมษายน
2020 8 เมษายน 9 เมษายน 12 เมษายน 19 เมษายน
2021 28 มีนาคม 4 เมษายน 2 พฤษภาคม
2022 16 เมษายน 17 เมษายน 24 เมษายน
2023 6 เมษายน 9 เมษายน 16 เมษายน
2024 25 มีนาคม 23 เมษายน 31 มีนาคม 5 พฤษภาคม
2025 13 เมษายน 20 เมษายน
  1. เทศกาลปัสคาของชาวยิวตรงกับวันที่ 15 เดือนนิสานของปฏิทิน เริ่มต้นเมื่อพระอาทิตย์ตกดินก่อนวันที่ระบุ (เช่นเดียวกับเทศกาลอีสเตอร์ในหลาย ๆ ประเพณี)
  2. วันอีสเตอร์ทางดาราศาสตร์คือวันอาทิตย์แรกหลังจากพระจันทร์เต็มดวงทางดาราศาสตร์ หลังจากวิษุวัตมีนาคมทางดาราศาสตร์ ที่วัดที่เส้นเมอริเดียนของเยรูซาเลมตามข้อเสนอของสภาคริสตจักรโลก

อ้างอิง[แก้]

  1. Selected Christian Observances, 2024, U.S. Naval Observatory Astronomical Applications Department
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 199-200
  3. Lisa D. Maugans Driver, Christ at the Center (Westminster John Knox Press 2009 ISBN 978-0-66422897-2), p. 151
  4. Everett Ferguson, Baptism in the Early Church (Eerdmans 2009 ISBN 978-0-80282748-7), p. 351
  5. Norman Davies (20 January 1998). Europe: A History. HarperCollins. In most European languages Easter is called by some variant of the late Latin word Pascha, which in turn derives from the Hebrew pesach, passover'.
  6. "Towards a Common Date for Easter". Aleppo, Syria: World Council of Churches (WCC) / Middle East Council of Churches Consultation (MECC). 10 March 1997.