ข้ามไปเนื้อหา

แอโรแคริบเบียน เที่ยวบินที่ 883

พิกัด: 21°44′39″N 79°28′16″W / 21.7442°N 79.4710°W / 21.7442; -79.4710
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอโรแคริบเบียน เที่ยวบินที่ 883
CU-T1549, อากาศยานลำที่เกิดเหตุที่ ท่าอากาศยานกุสตาโว ริโซ แอโรปูเอร์โต กุสตาโว ริโซ 1 เดือนก่อนเกิดเหตุ
สรุปอุบัติการณ์
วันที่4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 (2010-11-04)
สรุปตกเนื่องจากสูญเสียการควบคุมเนื่องจาก การจับแข็ง
จุดเกิดเหตุใกล้ กวาซิมัล, ซังก์ติเอสปิริตุส, คิวบา
21°44′39″N 79°28′16″W / 21.7442°N 79.4710°W / 21.7442; -79.4710
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานเอทีอาร์ 72-212
ดําเนินการโดยแอโรแคริบเบียน
หมายเลขเที่ยวบิน IATA7L883
หมายเลขเที่ยวบิน ICAOCRN883
รหัสเรียกAEROCARIBBEAN 883
ทะเบียนCU-T1549
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติตูแซ็งต์ ลูเวอร์ตูร์, ปอร์โตแปรงซ์, เฮติ
จุดพักท่าอากาศยานอันโตนิโอ มาเซโอ, ซานติอาโก เดอ คิวบา, คิวบา
ปลายทางท่าอาอาศยานนานาชาติโฮเซ่ มาร์ตี้, อาบานา, คิวบา
จำนวนคน68
ผู้โดยสาร61
ลูกเรือ7
เสียชีวิต68
รอดชีวิต0

แอโรแคริบเบียน เที่ยวบินที่ 883 เป็นเที่ยวบินระหว่างปอร์โตแปรงซ์ ประเทศเฮติ มุ่งหน้าไปยังฮาวานา ประเทศคิวบา โดยบินผ่านซันเตียโกเดกูบา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เอทีอาร์ 72-212 ของสายการบินแอโรแคริบเบียน ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการเดินทาง ได้ประสบอุบัติเหตุตกในจังหวัดซังก์ตีสปีรีตุส ทางตอนกลางของประเทศคิวบา ทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิตบนเครื่องทั้งหมด 61 คน และลูกเรือ 7 คนเสียชีวิต จนถึงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อุบัติเหตุครั้งดังกล่าวถือเป็นอุบัติเหตุของเครื่องเอทีอาร์ 72 ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสามในคิวบา

อุบัติเหตุ

[แก้]

เที่ยวบินดังกล่าวเริ่มออกเดินทางจากปอร์โตแปรงซ์ ประเทศเฮติ[1] เที่ยวบินดังกล่าวได้ออกจากซันเตียโกเดกูบาตามเส้นทางไปยังฮาวานาราว 16.50 น. ตามเวลาท้องถิ่น (UTC-4)[2] และถือเป็นเที่ยวบินสุดท้ายที่บินออกจากท่าอากาศยานซันเตียโกเดกูบาก่อนที่เฮอร์ริเคนโทมัสจะมาถึง[3]

เมื่อเวลา 17.42 น. เครื่องบินดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุตกในจังหวัดซังก์ตีสปีรีตุส ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงฮาวานาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 340 กิโลเมตร หลังจากได้ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินแล้ว[2] พยานได้กล่าวว่า เครื่องบิน "บินลงต่ำและดูเหมือนว่าจะไม่สามารถควบคุมได้ ... ควันและไฟลอยโขมง" ก่อนหน้าที่จะได้ยินเสียงระเบิด[4]

อุบัติเหตุดังกล่าวถือเป็นอุบัติเหตุบนเครื่องเอทีอาร์ 72 ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด และยังเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับที่สามในคิวบา[5]

ผู้โดยสารและลูกเรือ

[แก้]
สัญชาติ ลูกเรือ ผู้โดยสาร รวม
คิวบา คิวบา 7[4] 33[4] 40
อาร์เจนตินา อาร์เจนตินา - 10[6] 10
เม็กซิโก เม็กซิโก - 7[7] 7
เนเธอร์แลนด์ ดัตช์ - 3[8] 3
ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย - 2[9] 2
เยอรมนี เยอรมนี - 2[10] 2
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส - 1[10] 1
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น - 1[1] 1
สเปน สเปน - 1[10] 1
เวเนซุเอลา เวเนซุเอลา - 1[10] 1
อิตาลี อิตาลี - 1[10] 1
รวม 7 61 68

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Passenger plane crashes in Cuba". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  2. 2.0 2.1 "Plane With 68 Said to Crash in Cuba". New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.[ลิงก์เสีย]
  3. Hradecky, Simon. "Crash: Aerocaribbean AT72 near Guasimal on Nov 4th 2010, impacted ground after emergency call". The Aviation Herald. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Plane with 68 said to have crashed in Cuba". Reuters. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  5. "Accident description". Aviation Safety Network. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  6. "Quiénes son los fallecidos argentinos en el accidente" (ภาษาสเปน). La Nación. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-07. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  7. "Пассажирами разбившегося на Кубе самолета были граждане 11 стран" (ภาษารัสเซีย). Lenta. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  8. "3 Nederlanders dood bij crash Cuba" (ภาษาดัตช์). Nederlandse Omroep Stichting. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  9. Australians killed in Cuba plane crash Australian Broadcasting Corporation - (6 November 2010 ) - Retrieved 6 November 2010
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 "Relación de fallecidos en el accidente de la aeronave ATR-72-212" (ภาษาสเปน). Juventud Revelde. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.