แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553
แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553ตั้งอยู่ในมณฑลชิงไห่
แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553
เจี๋ยกู่
เจี๋ยกู่
แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553ตั้งอยู่ในประเทศจีน
แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553
เจี๋ยกู่
เจี๋ยกู่
เวลาสากลเชิงพิกัด2010-04-13 23:49:38
รหัสเหตุการณ์ ISC14573075
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น14 เมษายน 2553 (2553-04-14)
เวลาท้องถิ่น07:49 เวลาท้องถิ่น
ขนาด6.9 Mw[1] or 7.1 Ms[2]
ความลึก17 กิโลเมตร (11 ไมล์)[3]
ศูนย์กลาง33°09′54″N 96°37′44″E / 33.165°N 96.629°E / 33.165; 96.629พิกัดภูมิศาสตร์: 33°09′54″N 96°37′44″E / 33.165°N 96.629°E / 33.165; 96.629
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมณฑลชิงไห่, มณฑลเสฉวน จีน
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง)
แผ่นดินไหวนำมี
ผู้ประสบภัยยืนยันเสียชีวิต 2,698 ราย[4][5]
บาดเจ็บ 12,135 ราย
สูญหาย 70 ราย (สันนิษฐานว่าเสียชีวิต)

แผ่นดินไหวในยูซู พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 มีความรุนแรง 6.9 ตามมาตราขนาดโมเมนต์[3][6] (USGS, EMSC) หรือ 7.1[2][7] (CEA, CENC) ตามมาตราเซอร์เฟสเวฟ บริเวณเขตปกครองตนเองยูซู มณฑลชิงไห่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อเวลา 07.49 น. ตามเวลาในท้องถิ่น[8][1] (06.49 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัวของประเทศจีน รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ 2,220 ราย สูญหาย 70 ราย และบาดเจ็บ 12,135 ราย ซึ่งในที่นี้บาดเจ็บสาหัส 1,434 ราย[5] จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ในหมู่บ้านรื่อหม่า (日玛村/日麻村) ตำบลลาซิ่วเหนือ (上拉秀乡) เขตยูซู[9][10] ในถิ่นทุรกันดาร ใกล้กับเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งจุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองเจี๋ยกู่ เมืองหลักของเขตยูซู ประมาณ 30 กิโลเมตร[11] และเมืองชางตู ประมาณ 240 กิโลเมตร[3] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายบนที่ราบสูงทิเบต ซึ่งพื้นที่นี้มักเกิดแผ่นดินไหวอยู่เป็นประจำ[12]

ลักษณะทางธรณีวิทยา[แก้]

มณฑลชิงไห่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงทิเบต ตรงกับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียและแผ่นยูเรเชีย โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบนรอยเลื่อนยูซู[13] ห่างจากรอยเลื่อนคุนหลุนไปทางใต้ประมาณ 300 กิโลเมตร (186 ไมล์)[3] ซึ่งรอยเลื่อนยูซูเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มรอยเลื่อนยูซู-กานจือ-เซียนฉุ่ยเหอ (玉树-甘孜-鲜水河断裂带)[14] กลุ่มรอยเลื่อนหนึ่งในทิเบตตะวันออกที่ยังมีพลังอยู่[15] ในอดีต แผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีขนาดมากกว่าแมกนิจูด 7.0 เกิดขึ้นในกลุ่มรอยเลื่อนเซียนฉุ่ยเหอ[16] ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.2 ในเขตลู่หัวเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1923 และแมกนิจูด 7.6 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1973 ในเขตเดียวกัน[17] ซึ่งเกือบทุกส่วนของกลุ่มรอยเลื่อนเซียนฉุ่ยเหอเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมาแล้ว ยกเว้นแต่เพียงส่วนที่เรียกว่า ส่วนยูซูและส่วนฉือเหมียน (石棉) แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนฉือเหมียนก็เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เมื่อ 16,000-17,000 ปีก่อน เพราะฉะนั้น อาจเป็นไปได้ว่าส่วนฉือเหมียนที่อยู่ในกลุ่มรอยเลื่อนเซียนฉุ่ยเหอจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต[18]

ความเสียหาย[แก้]

จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว

ในมณฑลชิงไห่ เขตสาตัว, หนางเชียน และเขตชวีหมาหลายของเขตปกครองตนเองยูซู มีรายงานความเสียหายของอาคารบ้านเรือน แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต[19] โรงเรียนอย่างน้อย 11 แห่งถูกทำลาย[20] อาคารบ้านเรือนกว่า 85% ในเมืองเจี๋ยกู่ โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างจากไม้และดินถูกทำลาย มีผู้ติดอยู่ในซากปรักหักพังกว่าร้อยคน และไร้ที่อยู่อาศัยกว่าพันคน[9] โรงเรียนฝึกอาชีพพังทลายและมีนักเรียนติดอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก[9] เกิดไฟฟ้าดับในเมืองเจี๋ยกู่[21]

ในมณฑลเสฉวน แผ่นดินไหวทำให้ผู้คนรู้สึกได้ในเขตฉือฉวี เต๋อเก๋อ ป๋ายหวี้ และเขตปกครองตนเองทิเบตกานจือ เกิดความเสียหายของถนนในเขตฉือฉวี[22]

นอกจากนี้ยังเกิดแผ่นดินถล่มทำลายระบบสาธารณูปโภคท้องถิ่น ปฏิบัติการความช่วยเหลือแรกเริ่มโดย People's Armed Police และกองทัพปลดปล่อยประชาชน ทหารของเขตพื้นที่ทหารหลานโจว[23] โดยคณะบริหารท้องถิ่นชิงไห่ได้ประกาศว่าจะส่งเต้นท์ 5 พันหลัง ผ้าห่ม 100,000 ผืน เสื้อคลุมผ้าฝ้าย ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ป้องกันความหนาวเย็นและลมกระโชกแรงในพื้นที่ภัยพิบัติ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำถึง 6 องศาเซลเซียส[24]

ปฏิกิริยาจากประเทศ และนานาชาติ[แก้]

ประธานาธิบดีแห่งประเทศจีน หู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหวอย่างเต็มที่ โดยส่งรองนายกรัฐมนตรี หุย เหลียงยวี่ ลงพื้นที่ประสบภัย[25][26] หลายประเทศ หลายองค์กรทั่วโลกส่งสารแสดงความเสียใจและรับประกันว่าจะส่งความช่วยเหลือลงไปในพื้นที่ทันทีเมื่อเกิดความจำเป็น[27][28][29] นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ลงพื้นที่ภัยพิบัติในยูซู เมื่อวันที่ 15 เมษายน เพื่อสำรวจความเสียหายและช่วยเหลือ และนอกจากนี้ยังชะลอการเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกไป[30]

แผ่นดินไหวตาม[แก้]

แผนที่ความเข้มข้นของแผ่นดินไหว จากUSGS

แผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดขึ้นโดยแผ่นดินไหวนำ และตามมาด้วยแผ่นดินไหวตาม (อาฟเตอร์ช็อก) จำนวนหลายครั้ง มี 4 ครั้งที่มีขนาดมากกว่าแมกนิจูด 5.0 รวมถึงแผ่นดินไหวตาม ที่แมกนิจูด 5.8 ลึกจากพื้นลงไป 4 กิโลเมตรในวันที่ 14 เมษายน[31]

เจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนว่าอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อก แมกนิจูดมากกว่า 5.5 ได้อีก[32] และศูนย์เครือข่ายแผ่นดินไหวของจีนได้เตือนว่าอาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกที่มีแมกนิจูดมากกว่า 6.0 ขึ้นภายหลังแผ่นดินไหวหลักหลายวัน[33]

ตารางอันดับดังต่อไปนี้เป็นแผ่นดินไหวเกี่ยวข้อง (แผ่นดินไหวนำ แผ่นดินไหวหลัก และแผ่นดินไหวตาม) ที่มีแมกนิจูดมากกว่า 4.0 แผ่นดินไหวที่มีแมกนิจูดมากกว่า 5.5 หรือมากกว่า จะแสดงแถบสีน้ำเงินอ่อน ส่วนแผ่นดินไหวหลักที่มีขนาด 6.9 Mw[1] แสดงแถบสีน้ำเงินเข้ม

วันที่ เวลา
(UTC)
ละติจูด ลองจิจูด ความลึกจากพื้นดิน ระดับ (Mw)
13 เม.ย. 2553 21:40:00 33.183° N 96.623° E 18.9 กม. (12 ไมล์) 5.0
13 เม.ย. 2553 23:49:39 33.224° N 96.666° E 17.0 กม. (11 ไมล์) 6.9
14 เม.ย. 2553 00:01:17 32.875° N 96.999° E 10.0 กม. (6 ไมล์) 5.3
14 เม.ย. 2553 00:12:25 33.159° N 96.580° E 10.0 กม. (6 ไมล์) 5.2
14 เม.ย. 2553 01:25:15 33.179° N 96.448° E 4.0 กม. (2 ไมล์) 5.8
14 เม.ย. 2553 03:15:46 33.151° N 96.701° E 10.0 กม. (6 ไมล์) 4.7
14 เม.ย. 2553 12:19:36 33.077° N 96.846° E 10.0 กม. (6 ไมล์) 4.1
17 เม.ย. 2553 00:59:01 32.588° N 92.743°E 40.6 กม. (25 ไมล์) 5.1

หมายเหตุ: UTC = เวลาสากลเชิงพิกัด, ซึ่ง UTC + 8 ชั่วโมง = เวลาปักกิ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Magnitude 6.9 – SOUTHERN QINGHAI, CHINA 2010". USGS (ภาษาอังกฤษ). April 14, 2010. สืบค้นเมื่อ 14 April 2010.
  2. 2.0 2.1 About 400 dead, 10,000 injured in 7.1-magnitude quake in China's Qinghai, xinhuanet.com. Retrieved 14 April 2010.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Magnitude 6.9 – SOUTHERN QINGHAI, CHINA". earthquake.usgs.gov. 2010-04-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  4. "Death toll in Qinghai quake hits 2,698". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-31.
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ xinhua2064dead
  6. "EMSC – European-Mediterranean Seismological Centre". Emsc-csem.org. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  7. "China Earthquake Network Center". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  8. "兰州军区和武警部队官兵投入青海玉树抗震救灾 Xinhua.net 14 April 2010". News.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  9. 9.0 9.1 9.2 "BBC 中文网 – 兩岸三地 – 青海玉樹地震已造成至少400多人死亡". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.
  10. "815 郵政編碼(郵遞區號)查詢 – 郵編庫(繁體)" (ภาษาจีน). Postcode.jamesqi.com. 2010-02-26. สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.
  11. "青海玉树地震造成人员伤亡 州府结古镇民房倒塌严重_新闻中心_洛阳网". News.lyd.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  12. Michael Bristow (14 April 2010). "China earthquake kills hundreds in Qinghai". BBC World.
  13. Earthquake Research Institute (2010-04-15). "Qinghai Earthquake, China, 2010". สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  15. Shifeng, W.; Erchie W., Xiaomin F. and Bihong F. (2008). "Late Cenozoic Systematic Left-Lateral Stream Deflections along the Ganzi-Yushu Fault, Xianshuihe Fault System, Eastern Tibet". International Geology Review. 50 (7): 624–635. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-10. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  19. "玉树公用设施倒塌不多 救援大多靠手刨进展缓慢-搜狐新闻". News.sohu.com. 2010-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  20. "中國‧11學校毀‧師生被埋‧逾66學生罹難 | 星洲日報". Sinchew.com.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  21. "独家连线:玉树结古镇断水断电 村民积极自救_资讯_凤凰网". News.ifeng.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  22. "大公網". Takungpao.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.[ลิงก์เสีย]
  23. "青海7.1级地震 武警驻青海3000余兵力投入抢险 Xinhua.net 14 April 2010". News.xinhuanet.com. 2010-03-30. สืบค้นเมื่อ 2010-04-15.
  24. PTI (14 April 2010). "Strong quake in western China's Qinghai kills 300". The Hindu. Beijing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 2010-04-18.
  25. "China's Hu, Wen urge all-out efforts to save people in quake-hit zone". News.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 2010-04-14.
  26. "Hundreds feared dead in Chinese earthquake", CNN World. Retrieved 14 April 2010.
  27. Pantea, Liviu (April 15, 2010). "China Earthquake Today: EU expresses condolences over victims in China" (ภาษาอังกฤษ). p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-19. สืบค้นเมื่อ 14 April 2010.
  28. "Bulgarian President Purvanov sends condolences to China after deadly quake" (ภาษาอังกฤษ). The Sofia Echo. April 14, 2010. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-17. สืบค้นเมื่อ 14 April 2010.
  29. "Pope calls for solidarity after earthquake in China", Catholic News Agency. Retrieved 14 April 2010.
  30. Romana, Chinto; Clarissa Ward, Beth Lloyd (2010-04-15). "Rescuers Face Tough Conditions In China Quake Zone". Qinghai: ABC News. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  31. Earthquake Hazards Program, USGS (April 14, 2010). "Magnitude 5.8 - SOUTHERN QINGHAI, CHINA". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.
  32. Text Broadcast, National Turk (April 14, 2010). "West Central China – An earthquake estimated to be 7.1 magnitude has ripped through West-Central China killing at least 300 people and injuring thousands as rescue workers work against time to find survivors under collapsed buildings". National Turk. สืบค้นเมื่อ 14 April 2010.
  33. International News, UPI (April 14, 2010). "Nearly 600 dead, 10,000 hurt in quake". United Press International, Inc. UPI.com. สืบค้นเมื่อ 15 April 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]