ปัญญา ถนอมรอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญญา ถนอมรอด
ประธานศาลฎีกา คนที่ 37
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2549 – 30 กันยายน 2550
ก่อนหน้าชาญชัย ลิขิตจิตถะ
ถัดไปวิรัช ลิ้มวิชัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 (76 ปี)
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ

ปัญญา ถนอมรอด (เกิด 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2490) เป็นตุลาการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา นายกเนติบัณฑิตยสภา  และประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549[1][2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และกรรมการกฤษฎีกา

ประวัติ[แก้]

ปัญญาเกิดที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2513 เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 3) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หลังจบการศึกษา รับราชการตุลาการ เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา (สอบได้อันดับที่ 1) เมื่อ พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษา ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดน่าน ตำแหน่งบริหารเคยเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง, ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา และรองประธานศาลฎีกา

ปัญญา ถนอมรอด ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สืบต่อจากชาญชัย ลิขิตจิตถะ ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 ปัญญามีคำพิพากษาส่วนตนให้ยุบพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 111 คน

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ผู้บรรยาย วิชา ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ณ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์

ปัญญาดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550 กระทั่งพ้นวาระเนื่องจากเกษียณอายุราชการ นอกจากนั้น ปัญญาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.iwebcool.com/constitutionalcourt/index.php?option=com_teamdisplay&view=members&filter_category=73&Itemid=1578&lang=th[ลิงก์เสีย]
  2. [https://web.archive.org/web/20121107174834/http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000062040 เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พลิกประวัติ-ผลงาน ‘9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ’ ผู้ตัดสินคดีประวัติศาสตร์ จากผู้จัดการออนไลน์]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๔๐๒, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
ก่อนหน้า ปัญญา ถนอมรอด ถัดไป
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา คนที่ 37
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2550)
วิรัช ลิ้มวิชัย