ข้ามไปเนื้อหา

การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ
ส่วนหนึ่งของ การปลดแอกจากญี่ปุ่น และสงครามเย็น
วันที่29 มีนาคม พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2497
สถานที่
ตอนกลางของเกาะลูซอน,ฟิลิปปินส์
ผล ชัยชนะของรัฐบาลฟิลิปปินส์
คู่สงคราม

ฟิลิปปินส์ เครือจักรภพสหรัฐแห่งหมู่เกาะฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2485–2489)
ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
Supported by:

 สหรัฐ

ขบวนการฮุกบาลาฮับ
สนับสนุนโดย:

 สหภาพโซเวียต[1]

ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (จนถึงปีพ.ศ. 2488)

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 (พ.ศ. 2485–2488)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ฟิลิปปินส์ มานูเอล เอเล. เกซอน
ฟิลิปปินส์ เซร์ฮิโอ โอสเมญญา
ฟิลิปปินส์ มานูเอล โรฮัส
ฟิลิปปินส์ เอลปิดิโอ กีริโน
ฟิลิปปินส์ รามอน แมกไซไซ
ลูอิส ทารุค (จนถึงปีพ.ศ. 2489)
Supported by:
สหรัฐ ดักลาส แมกอาเธอร์

สหรัฐ เอ็ดเวิร์ด แลนสเดล
ลูอิส ทารุค () (จากปีพ.ศ. 2489)

จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิฮิโระฮิโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฮิเดะกิ โทโจ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทโมยูกิ ยามาชิตะ

โฮเซ เป. เลาเรล
กำลัง
15,000-30,000 นาย (พ.ศ. 2485-2489)
56,000 นาย (พ.ศ. 2489-2497)
12,800 นาย (สูงสุด) ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด

การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ (อังกฤษ: Hukbalahap Rebellion) เป็นการก่อการกำเริบโดยขบวนการฮุกบาลาฮับหรือ ฮุกโบ นัง บายัน ลาบัน ซา ฮาพอน (Hukbo ng Bayan Laban sa Hapon,กองทัพประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น) ซึ่งก่อตั้งเพื่อต่อต้านการเข้ายึดครองของ ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2485 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2497 ภายใต้ประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซ

จุดเริ่มต้น

[แก้]

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานฟิลิปปินส์[2]เนื่องจากนั้นเวลานั้นฟิลิปปินส์ไม่มีกำลังทหารเพียงพอที่จะปกป้องพลเมืองของตนจึงได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพสหรัฐในตะวันออกไกล (USAFFE) ภายใต้สหรัฐอเมริกา เพื่อปกป้องประเทศ ขณะเดี่ยวกันชาวนาในแถบตอนกลางของเกาะลูซอนได้ออกมาการเคลื่อนไหวต่อสู้กองญี่ปุ่นเพื่อปกป้องที่ดินทำกิน จากการเคลื่อนไหวกลายเป็นการจัดตั้งรัฐบาลใต้ดินในที่สุด[3] โดยมีคณะทำงานด้านการทหารเต็มรูปแบบประกอบไปด้วย 67 กองในปีพ.ศ. 2487 [3]

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2485 ชาวนา 300 คน [4]ตัดสินใจที่จะจัดตั้ง ขบวนการฮุกบาลาฮับ หรือ ฮุกโบ นัง บายัน ลาบัน ซา ฮาพอน จากขบวนการชาวนากลายเป็นกองทัพกองโจร จากนั้นได้ทำการรวบรวมอาวุธจากพลเรือนในหมู่ และกองกำลังป้องกัน USAFFE ที่ได้ถอยทัพออกจากฟิลิปปินส์ไปแล้ว [3] กันยายน พ.ศ. 2485 โดยมีกำลังถึง3,000 นาย .[4] และ พ.ศ. 2489 หมายเลขประมาณ 10,000 นาย[4] โดยกองกำลังหลักอยู่ในเมืองตาลาเบรา จังหวัดนูวา อีซิจา[3]

ขบวนการนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชาวบ้านและมองว่าเป็นผู้คุ้ปกป้องประชาชนจากการกดขี่ของพวกญี่ปุ่น ขบวนการฮุกบาลาฮับ พยายามที่จะขยายอำนาจให้ทั่วเกาะลูซอน แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร [3] อย่างไรก็ตาม ขบวนการฮุกบาลาฮับ ก็ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับกองกำลังท้องถิ่นและกองทัพทหารของเครือจักรภพฟิลิปปินส์ และกองทัพสหรัฐในตะวันออกไกล ช่วยให้สหรัฐขับไล่กองทัพญี่ปุ่ออกจากฟิลิปปินส์ไปในที่สุด

ชนวน

[แก้]

หลังสงครามขบวนการฮุกบาลาฮับก็เริ่มปัญหาประสบปัญหาเศรษฐกิจจากการกดขี่ที่ดินของนายทุน ความยากลำบากของพวกเขากลายมาเป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกา [3] สหรัฐอเมริกาได้มองขบวนการฮุกบาลาฮับเป็นพวกคอมมิวนิสต์และสังคมนิยมที่เป็น ภัยต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ กองกำลังตำรวจฟิลิปปินส์และกองทัพสหรัฐในตะวันออกไกล เริ่มออกตามล่าอดีตสมาชิกขบวนการฮุกบาลาฮับ ภายใต้คำสั่งของการลดอาวุธจากสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2488 หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐฯ (USCIC) ได้ตัดสินใจว่าที่จะสิ้นสุดในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็น "การครอบครองของฮุกบาลาฮับ"[4] โดยจับกุมผู้นำฮุกบาลาฮับ 20 ราย

บัตรทหารผ่านศึกของขบวนการฮุกบาลาฮับ

ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2488 ลูอิส ทารุค และผู้นำฮักคนอื่น ๆ ได้รับอิสรภาพจากคุก ลูอิส ทารุค ประกาศอย่างเป็นทางการถึงจุดสิ้นสุดของขบวนการต่อต้าน เขาได้ส่งรายชื่อสมาชิกขบวนการฮุกบาลาฮับ ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯและฟิลิปปินส์หวังว่าประธานาธิบดีเซร์ฮิโอ โอสเมญญา ให้ได้รับการยกย่องในการมีส่วนร่วมต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น

ลูอิส ทารุค ได้ต่อว่าดักลาส แมกอาเธอร์ให้หยุดยุติความรุนแรงต่อกลุ่มฮุกบาลาฮับ ถึงแม้ว่าผู้นำระดับสูงกำลังเจรจากันอย่างต่อเนื่องสถานการณ์ระหว่างหน่วยขบวนการฮุกบาลาฮับกับกองกำลังสหรัฐฯและฟิลิปปินส์ แต่การเก็บเกี่ยวระหว่างช่วงปลายปี พ.ศ. 2488 ถึงต้นปีพ.ศ. 2489 ได้มีปัญหาเกี่ยวกับเจ้าของที่ดินที่ออกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงรวมถึงค่าเช้าที่ดินที่สูงจนทำให้ชาวนาหลายคนถูกไล่ที่ [3] ทำให้ความรุนแรงระหว่างขบวนการฮุกบาลาฮับและรัฐบาลฟิลิปปินส์สูงขึ้น

ดังนั้นขบวนการฮุกบาลาฮับตัดสินใจเข้าร่วมการเมืองอีกครั้ง [3] ก่อตั้งสมาคม พัมบันสัง ไคซาฮัน นัง มักบูบูกิด (Pambansang Kaisahan ng Magbubukid,PKM) หรือ สมาคมชาวนาแห่งชาติ ขึ้น โดยมีจุดยืนปรับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวนาและเจ้าของที่ดิน ปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากเจ้าของที่ดินการจัดตั้งธนาคารโดยรัฐบาลการออกกฎหมายเพื่อปกป้องชาวนาจากเจ้าของที่ดินและปกป้องที่ดินขนาดเล็กจากเจ้าของที่ดินขนาดใหญ่และ สร้าง"ความยุติธรรมสำหรับทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสังคม" แต่ก็ยังมีการปราบปรามสมาชิกหรือผู้สนับสนุนอยู่จากรัฐบาลฟิลิปปินส์อยู่

ต่อมาขบวนการฮุกบาลาฮับได้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการกับ พันทิโด คอมนิสตา นัง ฟิลิปินาส (Partido Komunista ng Pilipinas,PKP) หรือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศฟิลิปปินส์ (Communist Party of the Philippines,CPP) ในภายหลัง

การเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2489 สมาคมชาวนาแห่งชาติถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับที่นั่งในรัฐสภา ในเดือนพฤษภาคม มานูเอล โรฮัส ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ก่อนที่รัฐบาลสหรัฐฯได้มอบอำนาจให้ฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ในตอนนี้ยังคงพึ่งพาเศรษฐกิจสหรัฐฯมากอยู่[5] พระราชบัญญัติการค้าฟิลิปปินส์ของปีพ.ศ. 2489 หรือพระราชบัญญัติการค้าระฆังในเวลานั้นถูกถกเถียงกันในสภานิติบัญญัติ[3]

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2489 จูอัน เฟเลโอ ผู้นำชาวนาจากจังหวัดนูวา อีซิจา ถูกลักพาตัวไปพร้อมกับพวกทั้งสี่ของพวกเขาขณะกำลังเดินทางไปยังกรุงมะนิลา พบร่างของพวกเขาที่ลอยอยู่ในแม่น้ำปัมปางา ไม่กี่วันหลังจากนั้น นี่คือจุดเริ่มต้นของการก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ[6] เฟเลโอ เคยรับผิดชอบในการเจรจากับรัฐบาลในนามของขบวนการฮุกบาลาฮับ นักวิชาการอธิบายว่าความหวาดระแวงที่เกิดจากการเสียชีวิตของเฟเลโอ เป็นชนวนที่ทำให้ทหารของขบวนการฮุกบาลาฮับก่อการกำเริบก่อนหลบขึ้นภูเขาไปตั้งหลัก

สถานะการณ์

[แก้]

ขบวนการฮุกบาลาฮับ ได้การก่อการกำเริบต่อต้านประธานาธิบดี โรฮัส ภายในไม่กี่เดือนหลังจากที่ฟิลิปปินส์เป็นอิสระและอีกหลายวันหลังจากการฆาตกรรมขอเฟเลโอ พวกเขาถอยกลับไปที่ภูเขาอีกครั้งปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น ฮุกบง มักปาปาลายา นัง บายัน (Hukbong Magpapalaya ng Bayan,HMB) หรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน [4]

ประธานาธิบดี โรฮัส ใช้ "นโยบายกำปั้นเหล็ก" เพื่อหยุดการกำเริบ[4] เป็นการพยายามทำลายขวัญของขบวนการใน 60 วัน ตำรวจฟิลิปปินส์ออกปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์รวมถึงกองกำลังชาวนาต่างๆ[3][7]

ขบวนการฮุกบาลาฮับ ได้รับการฝึกฝนในสงครามกองโจรในระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่น ขณะรัฐบาลก็ขอความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกา การกำเริบกินเวลานานหลายปีพลเรือนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก [3]

โรฮัส เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายไม่กี่สัปดาห์หลังจากประกาศ"นโยบายกำปั้นเหล็ก"ของเขา ผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี เอลปิดิโอ กีริโน ของเขามีท่าทีประนีประนอมต่อกลุ่มขบวนการ แต่ความล้มเหลวของเขาในการปฏิรูปที่ดินขั้นพื้นฐานทำให้ขบวนการฮุกบาลาฮับขัดแย้งกับรัฐบาลยิ่งขึ้น

ในที่สุดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2491 ประธานาธิบดี กีริโน ได้นิรโทษกรรมสมาชิกทั้งหมดของขบวนการฮุกบาลาฮับ[4] ไม่กี่วันต่อมาทั้งวุฒิสภาและสภาคองเกรสได้รับการอนุมัติการนิรโทษกรรม[3] แต่ไม่ว่าการเจรจาจะดำเนินไปอย่างไร การต่อสู้อย่างต่อเนื่องในชนบทส่งผลกระทบต่อขบวนการฮุกบาลาฮับ จำนวนมากไม่ยอมจำนนและเข้าใจว่านิรโทษกรรมต้องเพียงการหลอกลวง [3] หลายคนถูกบังคับให้ยอมจำนน และมักถูกคุกคาม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ได้การเจรจาตกลงกันยุติปัญหากัน[8]

ในปีพ.ศ. 2492 รัฐบาลได้กล่าวโจมตีว่า ขบวนการฮุกบาลาฮับ มีส่าวนร่วมในการซุ่มโจมตีและสังหาร ออโรรา เกซอน ประธานกาชาดฟิลิปปินส์และภรรยาม่ายของฟิลิปปินส์คนที่สองของประธานาธิบดี มานูเอล เอเล. เกซอน ขณะที่เธอกำลังเดินทางไปบ้านเกิดของเธอเพื่อไปดูแลโรงพยาบาลคิวซอนเมโมเรียล อีกหลายคนถูกสังหารรวมทั้งลูกสาวคนโตและลูกสะใภ้ด้วยของเธอด้วย การโจมตีครั้งนี้ทำให้ทั้วโลกทราบถึงความเลวร้ายของขบวนการฮุกบาลาฮับ ขบวนการฮุกบาลาฮับอ้างว่าการโจมตีดังกล่าวกระทำโดยสมาชิกที่หักหลังขบวนการและต้องการจะโจมตีโดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ [9]

สิ้นสุด

[แก้]

หลังการเจรจาตกลงกันเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 1948 ลูอิส ทารุค และคนของเขา ก็ยังคงกลับเข้าที่ซ่อนในเทือกเขาเซียร์รามาเดร [8] อย่างไรก็เมื่อการก่อการกำเริบมาถึงปี พ.ศ. 2493 การก่อการกำเริบเริ่มลดลงนี้เป็นสาเหตุหลัก 2 ประการคือ

  1. ความเหน็ดเหนื่อยในหมู่ประชาชนจากการต่อสู้หลายปี[3]ผู้นำฮุกบาลาฮับหลายคนเสียชีวิตหรือสูงวัยเกินที่จะรบได้ ผู้นำเพียงไม่กี่คนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ก็ถูกกองทัพไล่ล่า ท้ายที่สุดแล้วชาวบ้านก็ได้หมดกำลังใจที่จะสนับสนุนอีกแล้ว
  2. ประธานาธิบดีกีรีโนได้ย้ายรณรงค์ต่อต้านกลุ่มฮักจากกรมมหาดไทยและรัฐบาลท้องถิ่น (DILG) สู่กระทรวงกลาโหม (DND) ต่อมาภายใต้การนำของ รามอน แมกไซไซ ซึ่งเข้ามาปฏิรูปเจ้าหน้าที่จัดการเจ้าหน้าที่ทุจริตและไม่มีประสิทธิภาพออกจากระบบ ในการโจมตีทางทหารก็เริ่มมีเทคโนโลยีและแผนการรบแบบใหม่ในการไล่ล่าฮุกบาลาฮับ[4]รวมถึงปฏิรูปตำรวจและศาลการหยุดการละเมิดสิทธิของชาวนาซึ่งทำให้ชาวบ้านไม่เห็นความจำเป็นในต่อต้านรัฐบาลอีก.[10]

จากการปฏิรูปและการทหารทำให้การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับสิ้นสุดลงในสมัยประธานาธิบดีรามอน แมกไซไซ[11]ในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2497 ลูอิส ทารุค ยอมจำนนและถูกจำคุก 15 ปี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Submarine Mystery: Arms For Rebels in the Philippines". The Sydney Morning Herald. April 4, 1949. สืบค้นเมื่อ July 23, 2014.
  2. Constantino, Renato (1975). The Philippines: A Past Revisited. ISBN 9718958002.[ต้องการเลขหน้า]
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 Kerkvliet, Benedict (1977). The Huk Rebellion: A Case Study of Peasant Revolt in the Philippines. London: University of California Press.[ต้องการเลขหน้า]
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Lachica, Eduardo (1971). The Huks: Philippine Agrarian Society in Revolt. New York: Preager Publishing.[ต้องการเลขหน้า]
  5. Dolan, Ronald. Philippines: A Country Study. Washington: Library of Congress, USA. p. 1991.[ต้องการเลขหน้า]
  6. Saulo, Alfredo (1969). Communism in the Philippines: An Introduction. Quezon City: Ateneo de Manila Press.
  7. Ladwig (2014), pp. 25–26.
  8. 8.0 8.1 Taruc, Luis (1973). Born of the People. Greenwood Pres.[ต้องการเลขหน้า]
  9. Ladwig (2014), pp. 23–24.
  10. Ladwig (2014), pp. 19–45.
  11. Jeff Goodwin, No Other Way Out, Cambridge University Press, 2001, p.119, ISBN 0-521-62948-9, ISBN 978-0-521-62948-5

ดูเพิ่ม

[แก้]