พระลบ
พระลบ Lava | |
---|---|
ชื่อในอักษรเทวนาครี | लव |
คัมภีร์ | รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | |
บิดา-มารดา | |
พี่น้อง | พระมงกุฎ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์รฆุ-อิกษวากุ |
พระลบ หรือในรามายณะเรียกว่า พระลวะ (อังกฤษ: Lava สันสกฤต: लव)[1] เป็นแฝดผู้น้องของ พระมงกุฎ ราชโอรสพระองค์เล็กของ พระราม และ นางสีดา[2] เรื่องของพระลบถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมฮินดู เรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ ว่ากันว่าพระลบมีผิวสีขาวทองเหมือนนางสีดา ในขณะที่พระมงกุฎมีผิวสีดำเหมือนพระบิดา
ประวัติ
[แก้]ในรามเกียรติ์ฉบับของไทย
[แก้]พระลบในลักษณะโขนไทยคือ มีกายสีเขียว ทรงม้าขาว ผมเกล้าจุก ประวัติของพระลบตามที่มีปรากฎในรามเกียรติ์คือ วันหนึ่งนางสีดาได้เดินไปท่าน้ำโดยฝากลูกไว้กับฤาษี ระหว่างทางได้พบแม่ลิงตัวหนึ่งที่เอาลูกเกาะหลังไว้ นางจึงตำหนิแม่ลิงที่ไม่กลัวลูกตก แต่ถูกแม่ลิงย้อนว่าตัวนางเองที่ไม่ห่วงลูก ออกมาแต่เพียงลำพัง นางสีดานึกขึ้นได้ จึงกลับมานำโอรสไปด้วยในขณะที่ฤาษีกำลังเข้าฌาน ครั้นเมื่อฤาษีลืมตาขึ้นมาไม่พบบุตรนางสีดา ก็ตกใจเกรงว่านางสีดาจะมาต่อว่าตน จึงได้ทำการวาดรูปเหมือนของพระมงกุฎ และทำพิธีชุบชีวิตกุมารขึ้นมาจากรูปวาด ขณะนั้นนางสีดาพาโอรสกลับมาพอดี พระฤๅษีจะลบรูปนัันทิ้ง แต่นางก็ขอให้พระฤาษีชุบพระกุมารต่อไป เพื่อไว้เป็นเพื่อนเล่นกัน กุมารน้อยนี้จึงได้ชื่อว่า พระลบ
ต่อมาพระฤๅษีได้ชุบศรให้แก่กุมารทั้งสอง แล้วอบรมสั่งสอนศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ จนเก่งกล้า ทั้งสองกุมารได้ประลองศรกันบังเกิดเสียงกึกก้องกัมปนาท จนพระรามได้ยินเสียงก็คิดว่าคงเกิดผู้มีฤทธิ์มาแข่งกับพระองค์ จึงทำพิธีปล่อยม้าอุปการให้วิ่งออกไปหาผู้มีฤทธิ์นั้น โดยให้ พระพรต, พระสัตรุด และ หนุมาน เป็นผู้ตามม้าไป เมื่อม้าไปถึงทั้งสองกุมารก็จับมาขี่เล่น หนุมานเห็นดังนั้นก็เข้าต่อสู้ แต่ถูกสองกุมารตีด้วยศรสลบถึงสองครั้งแล้วจับมัดด้วยเถาวัลย์ สักหน้าและสาปว่าผู้เป็นนายเท่านั้นจึงจะแก้ออกได้
ต่อมาพระมงกุฎถูกพระพรตกับพระสัตรุดจับได้ พระลบจึงหลบหนีมาบอกข่าวแก่นางสีดา และคิดไปช่วยพี่โดยพระลบลอบใส่แหวนนางสีดาลงในภาชนะที่นางรำพา (นางฟ้าแปลงกาย) นำไปให้พระมงกุฎดื่ม เมื่อพระมงกุฎใส่แหวนแล้วก็ทำให้หลุดจากเครื่องพันธนาการ
ทั้งสองกุมารจึงร่วมกันสู้รบกับพระราม พระลักษมณ์ พระพรต และพระสัตรุด แต่เมื่อต่างแผลงศร ศรนั้นก็ไม่สามารถประหตประหารกันได้ พระรามเกิดความสงสัยและซักถามประวัติความเป็นมา ทำให้พระรามรู้ว่าคือโอรสของตน การต่อสู้ก็ยุติลง พระรามตามไปจนพบกับนางสีดา และพยายามอ้อนวอนขอคืนดี แต่นางสีดาไม่ยอม ยอมแต่เพียงให้สองกุมารไปอยู่ยังกรุงอโยธยาได้[3]
ในรามายณะฉบับอินเดีย
[แก้]ในบทแรกของรามายณะ คือ พาลกัณฑ์ กล่าวถึง ฤๅษีวาลมีกิ ที่บรรยายรามายณะแก่พระลบและพระมงกุฏ สาวกของเขา โดยกล่าวถึงเรื่องราวการเกิดและวัยเด็กของทั้งสอง ที่ถูกกล่าวถึงใน อุตตรกัณฑ์ โดยไม่มีใครเชื่อว่าเป็นผลงานดั้งเดิมของวาลมีกิ[4][5] ตามบันทึกในตำนานกล่าวว่า นางสีดา ถูกขับไล่ออกจากอาณาจักรเนื่องจากมีข่าวการติฉินนินทาของชาวเมืองเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของนาง นางเสด็จหนีเข้าไปลี้ภัยในอาศรม ของ ฤๅษีวาลมีกิ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำทัมซา[6] พระมงกุฎและพระลบ เกิดที่อาศรมและได้รับการศึกษาและฝึกฝนวิชาการต่างๆจากฤๅษีวาลมีกิ ซึ่งในครั้งนั้นทั้งสองก็ได้เรียนรู้เรื่องราวของพระรามด้วย
ในการเสี่ยงทาย ม้าอัศวเมธ ของ พระราม ฤๅษีวาลมีกิ นางสีดา พระมงกุฎและพระลบได้ปลอมตัวไปร่วมพิธี
พระมงกุฎและพระลบสวดมนต์รามเกียรติ์ต่อหน้าพระรามและผู้ชมจำนวนมาก เมื่อพระมงกุฎและพระลบท่องมนต์เกี่ยวกับการเนรเทศของนางสีดา พระรามก็เศร้าสลด และฤๅษีวาลมีกิก็เปผิดเผยความจริงเรื่องนางสีดา นางสีดารู้สึกอับอายและเศร้าโศกมากจึงเรียก (พระแม่ธรณี ให้รับเธอไปเพื่อหกนีความอับอาย และเมื่อพื้นดินเปิดขึ้นเธอก็หายตัวไปในนั้น พระรามจึงรู้ว่าพระมงกุฎและพระลบเป็นลูกของเขา
ในวรรณกรรมรามายณะเวอร์ชั่นอื่นบอกว่า พระมงกุฎและพระลบได้จับม้าอัศวเมธได้ และไปปราบพี่น้องของพระราม (พระลักษมณ์, พระพรต และ พระสัตรุด) และกองทัพของพวกเขา เมื่อพระรามทราบข่าวจึงออกมารบกับทั้งสองพระกุมาร นางสีดาจึงเข้าแทรกแซงและบอกความจริงในภายหลังเพื่อให้พ่อลูกเข้าใจกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Lohana History". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2010.
- ↑ Chandra Mauli Mani (2009). Memorable Characters from the Rāmāyaṇa and the Mahābhārata. Northern Book Centre. pp. 77–. ISBN 978-81-7211-257-8.
- ↑ ~ พระมงกุฎ,พระลบ ~. ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ. บ้านจอมพระ.com.
- ↑ "Uttara Kanda of Ramayana was edited during 5th century BCE - Puranas". BooksFact - Ancient Knowledge & Wisdom (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 26 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2020.
- ↑ Rao, T. S. Sha ma; Litent (1 มกราคม 2014). Lava Kusha (ภาษาอังกฤษ). Litent.
- ↑ Vishvanath Limaye (1984). Historic Rama of Valmiki. Gyan Ganga Prakashan. OCLC 15019218.