สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์
![]() | |||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ (Blackburn Rovers Football Club) | ||
---|---|---|---|
ฉายา | Rovers, Blue and Whites กุหลาบไฟ (ในภาษาไทย) | ||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1875 | ||
สนาม | อีวุดพาร์ก | ||
ผู้จัดการทีม | โทนี โมว์เบรย์ | ||
ลีก | อีเอฟแอลแชมเปียนชิป | ||
2019–20 | อันดับที่ 11 | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
|
สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ (อังกฤษ: Blackburn Rovers Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลในระดับลีกวันของอังกฤษ เคยเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 1994–95 มีฉายาว่า "กุหลาบไฟ" ในภาษาไทย ตั้งอยู่ ณ เมืองแบล็กเบิร์น ในเทศมณฑลแลงคาเชียร์ ประเทศอังกฤษ มีสนามเหย้าชื่ออีวุดพาร์ก
ประวัติ[แก้]
สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ก่อตั้งเมื่อปี 1875 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกครั้งแรกในปี 1911 ได้สมัยที่ 2 ในปี 1913
ในปี 1992 มีการเปลี่ยนชื่อลีกสูงสุดเป็นพรีเมียร์ลีกหรือพรีเมียร์ชิพเป็นปีแรก สโมสร แบล็กเบิร์นโรเวอส์ จบด้วยอันดับ 4 แต่ด้วยการทุ่มทุนมหาศาลของแจ็ค วอร์กเกอร์ ประธานสโมสรผู้ทำธุรกิจเหล็กกล้า ซึ่งลงทุนจ้าง เคนนี ดัลกลิช อดีตผู้จัดการของ ลิเวอร์พูล พร้อมกับให้เงินดัลกลิชซื้อ อลัน เชียเร่อส์ มาจับคู่กับ คริส ซัตตัน จนสามารถชนะเลิศพรีเมียร์ลีกได้สำเร็จ อย่างไม่มีใครคาดคิด โดยมีคะแนนมากกว่าคู่แข่งสำคัญอย่าง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เพียงคะแนนเดียว แต่ต่อมาในปี 1994–95 มา แบล็กเบิร์นโรเวอส์ จบด้วยอันดับ 7 และก็เสียผู้เล่นคนสำคัญอย่าง อลัน เชียเร่อส์, โทนี เกล, เดวิด แบ็ตตี้ ทำให้ แบล็กเบิร์นโรเวอส์ พยายามซื้อนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงอย่าง ซีเนอดีน ซีดาน แต่ก็ล้มเหลว ก่อนที่ทีมจะตกชั้นลงไปเล่นเดอะแชมเปียนชิปในปี 1998 และแจ็ค วอร์กเกอร์ได้เสียชีวิตด้วยวัย 71 ปี ในปี 2000 และในปี 2001–02 แบล็กเบิร์นสามารถเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นพรีเมียร์ลีกได้สำเร็จพร้อมกับคว้าแชมป์คาร์ลิงคัพ มาครองได้สำเร็จ
แบล็กเบิร์นโรเวอส์ อยู่ในพรีเมียร์ลีกมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งใน ปี 2011–12 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ต้องตกชั้นลงไปสู่ เดอะแชมเปียนชิป ด้วยอยู่ในอันดับที่ 19 ของตาราง ด้วยคะแนนเพียง 31 คะแนนเท่านั้น[1][2]
ต่อมาในฤดูกาล 2016–17 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ ต้องตกลงไปสู่ลีกวัน หรือระดับดิวิชัน 3 ด้วยการจบฤดูกาลที่อันดับที่ 22 แม้นัดสุดท้ายจะเป็นฝ่ายเอาชนะเบรนท์ฟอร์ด ไปได้ถึง 3-1 และแม้จะมีคะแนน 51 คะแนนเท่ากับ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ แต่ทว่ามีลูกเสียได้น้อยกว่า 2 ลูก ทำให้ต้องตกชั้นลงไปสู่ลีกวัน นับเป็นสโมสรแรกที่ได้แชมป์พรีเมียร์ลีกแต่ต้องลงไปเล่นในระดับลีกวัน[3]
ผู้เล่นชุดสร้างประวัติศาสตร์ แชมป์พรีเมียร์ลีก 1994-95[แก้]
|
|
|
|
อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง[แก้]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
เกียรติประวัติ[แก้]
ระดับประเทศ[แก้]
- ดิวิชันหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก
- ชนะเลิศ (3): 1911–12, 1913–14, 1994–95
- ดิวิชันสอง
- ชนะเลิศ (1): 1938–39
- ดิวิชันสาม
- ชนะเลิศ (1): 1974–75
- เอฟเอคัพ
- ชนะเลิศ (6): 1884, 1885, 1886, 1890, 1891, 1928
- อีเอฟแอลคัพ
- ชนะเลิศ (1): 2002
- แชริตีชีลด์/เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์
- ชนะเลิศ (1): 1912
สถิติและบันทึก[แก้]
บันทึก[แก้]
- บันทึกผู้ทำประตู:
ไซมอน การ์เนอร์, 194 ประตู (168 ประตูในลีก), ฤดูกาล 1978–1979 ถึง ฤดูกาล 1991–1992
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "แบล็กเบิร์นตกชั้น!วีแกนอัด1-0". สนุกดอตคอม.
- ↑ "ตารางคะแนน ฟุตบอล พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2011-2012". พรีเมียร์ดรีมดอตคอม. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-05-18. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
- ↑ หน้า 19, กุหลาบช้ำ. "ตะลุยฟุตบอลโลก" โดย หมวดแซม. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21660: วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สโมสรฟุตบอลแบล็กเบิร์นโรเวอส์ |