สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | The Reds หงส์แดง | |||
ก่อตั้ง | [1] | 3 มิถุนายน ค.ศ. 1892|||
สนาม | แอนฟีลด์ | |||
ความจุ | 61,276 | |||
เจ้าของ | เฟนเวย์สปอร์ตกรุป | |||
ประธาน | ทอม เวอร์เนอร์ | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | อาร์เนอ สล็อต | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีก | |||
2023–24 | พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 3 จาก 20 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่อยู่ในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ แข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งใน ค.ศ. 1892 ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมาและใช้สนามแอนฟีลด์เป็นสนามเหย้าตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร
สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุด 19 สมัย, เอฟเอคัพ 8 สมัย, ลีกคัพ 10 สมัย (สถิติสูงสุด) และเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 16 สมัย ส่วนการแข่งขันระดับนานาชาติ ลิเวอร์พูลชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 6 สมัย, ยูฟ่าคัพ 3 สมัย, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 สมัย (ทั้งสามรายการเป็นสถิติสูงสุดของสโมสรอังกฤษ) และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ 1 สมัย ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 เมื่อบิลล์ แชงคลี, บ๊อบ เพสลีย์, โจ เฟแกนและเคนนี แดลกลีช พาทีมชนะเลิศลีกสูงสุด 11 สมัยและยูโรเปียนคัพ 4 ใบ ต่อมาลิเวอร์พูลชนะเลิศการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนลีกอีก 2 สมัย ภายใต้การคุมทีมของราฟาเอล เบนิเตซและเยือร์เกิน คล็อพตามลำดับ ซึ่งคล็อพสามารถนำทีมชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 2020 นับเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดสมัยที่ 19 และสมัยแรกของยุคพรีเมียร์ลีก
ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในโลกและเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ลิเวอร์พูลมีสโมสรคู่แข่งซึ่งแข่งขันด้วยกันมาอย่างยาวนาน ได้แก่ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเอฟเวอร์ตัน ลิเวอร์พูลใช้เสื้อสีแดงและกางเกงขาสั้นสีขาวเป็นชุดแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1896 ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเต็มตัวเมื่อเล่นเป็นทีมเหย้าตั้งแต่ ค.ศ. 1964 เป็นต้นมา ฉายาในภาษาอังกฤษของลิเวอร์พูลคือ "เดอะเรดส์" (The Reds) ส่วนฉายาที่ชาวไทยนิยมเรียกคือ "หงส์แดง" ลิเวอร์พูลมีเพลงประจำสโมสรคือ "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน" (You'll Never Walk Alone)
แฟนบอลของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ได้แก่ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลที่กำแพงพังลงมาทับแฟนบอลในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ 1985 ที่บรัสเซลส์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลีและผู้สนับสนุนยูเวนตุส หลังจากนั้นยูฟ่าได้ระงับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรปของสโมสรจากอังกฤษเป็นระยะเวลา 5 ปี และภัยพิบัติฮิลส์โบโรใน ค.ศ. 1989 เมื่อแฟนบอลของลิเวอร์พูล 97 คนเสียชีวิตจากการถูกบีบอัดติดกับรั้วที่กั้นสนาม นำไปสู่การยกเลิกรั้วกันสนามบริเวณที่ยืน โดยกำหนดให้สนามกีฬาของสโมสรในลีกสองระดับแรกของฟุตบอลอังกฤษต้องเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมเป็นเวลานานทำให้มีการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ คณะกรรมการและคณะกรรมการอิสระเพิ่มเติมซึ่งทำให้ผู้สนับสนุนพ้นผิดในท้ายที่สุด
ประวัติ
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ก่อตั้งหลังเกิดข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการของเอฟเวอร์ตันกับจอห์น โฮลดิง ประธานสโมสรและเจ้าของที่ดินแอนฟีลด์ เอฟเวอร์ตันย้ายไปกูดิสันพาร์กใน ค.ศ. 1892 หลังใช้งานแอนฟีลด์เป็นระยะเวลาแปดปีและโฮลดิงก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลเพื่อเล่นในแอนฟีลด์[2] แต่เดิมใช้ชื่อว่า "สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันและแอตแลติกกราวด์สจำกัด" (อังกฤษ: Everton F.C. and Athletic Grounds Ltd) (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอฟเวอร์ตันแอตแลติก) สโมสรกลายเป็นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1892 และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในอีกสามเดือนต่อมา หลังสมาคมฟุตบอลปฏิเสธที่จะยอมรับสโมสรว่าเป็นเอฟเวอร์ตัน[3]
ลิเวอร์พูลลงแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1892 เป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรก่อนเริ่มต้นฤดูกาล โดยพบกับ รอเทอร์ดามทาวน์ ลิเวอร์พูลชนะด้วยผลประตูรวม 7–1 โดยผู้เล่นลิเวอร์พูลที่ลงสนามในนัดดังกล่าวนั้นเป็นชาวสก็อตแลนด์ทั้งหมด โดยผู้เล่นที่มาจากสก็อตแลนด์เพื่อมาเล่นในอังกฤษในเวลานั้น มักจะเรียกว่า สก็อตจ์โปรเฟสเซอร์ส ผู้จัดการทีม จอห์น แมกเคนนา เดินทางไปสกอตแลนด์เพื่อมองหาผู้เล่น หลังคัดเลือกผู้เล่นแล้ว พวกเขากลายเป็นที่รู้จักในนาม "ทีมออฟแมกส์"[4] ทีมชนะเลิศแลงคาเชอร์ลีกในฤดูกาลแรกที่ลงเล่น และเข้าร่วมฟุตบอลลีกเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1893–94 หลังชนะเลิศรายการดังกล่าว ทีมก็ได้เลื่อนชั้นสู่เฟิสต์ดิวิชัน แล้วก็ชนะเลิศใน ค.ศ. 1901 และ 1906[5]
ลิเวอร์พูลเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของเอฟเอคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1914 โดยแพ้ให้กับเบิร์นลีย์ด้วยผลประตู 1–0 ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุดติดต่อกันใน ค.ศ. 1922 และ 1923 แล้วก็ไม่ชนะเลิศอีกเลยจนกระทั่งฤดูกาล 1946–47 เมื่อสโมสรชนะเลิศเฟิสต์ดิวิชันเป็นสมัยที่ห้าภายใต้การคุมทีมของ จอร์จ เคย์ อดีตผู้เล่นกองหลังตัวกลางเวสต์แฮมยูไนเต็ด[6] ลิเวอร์พูลแพ้ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง โดยแพ้ให้กับอาร์เซนอล ใน ค.ศ. 1950[7] สโมสรตกชั้นไปเซคันด์ดิวิชันในฤดูกาล 1953–54[8] หลังจากลิเวอร์พูลแพ้วุร์สเตอร์ซิตี สโมสรฟุตบอลนอกลีก ในเอฟเอคัพ ฤดูกาล 1958–59 สโมสรได้แต่งตั้งให้บิลล์ แชงคลี เป็นผู้จัดการทีม เมื่อได้รับตำแหน่ง เขาปล่อยผู้เล่นจำนวน 24 คน และเปลี่ยนห้องเก็บรองเท้าที่แอนฟีลด์ให้กลายเป็นห้องสำหรับเหล่าผู้ฝึกสอนวางแผนการเล่น แชงคลีและสมาชิก "บูตรูม" คนอื่น ประกอบด้วย โจ เฟแกน, รูเบน เบนเน็ตต์และบ๊อบ เพสลีย์ เริ่มสร้างทีมใหม่กันที่นี่[9]
สโมสรเลื่อนชั้นกลับสู่เฟิสต์ดิวิชันใน ค.ศ. 1962 และชนะเลิศใน ค.ศ. 1964 ซึ่งเป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบ 17 ปี สโมสรชนะเลิศเอฟเอคัพครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 และชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1966 แต่แพ้ให้กับโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ในนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ฤดูกาล 1965–66[10] ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกและยูฟ่าคัพในฤดูกาล 1972–73 และชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้งในปีถัดมา หลังจากนั้นไม่นาน แชงคลีเกษียณออกจากตำแหน่งและบ๊อบ เพสลีย์ ผู้ช่วยของเขา ขึ้นเป็นผู้จัดการทีมแทน[11] ใน ค.ศ. 1976 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่สองที่เพสลีย์เป็นผู้จัดการทีม สโมสรชนะเลิศลีกและยูฟ่าคัพอีกครั้ง และในฤดูกาลถัดมา สโมสรชนะเลิศลีกและชนะเลิศยูโรเปียนคัพเป็นครั้งแรก แต่แพ้ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 1977 ลิเวอร์พูลชนะเลิศยูโรเปียนคัพอีกครั้งใน ค.ศ. 1978 และลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1979[12] ตลอดเก้าฤดูกาลที่เพสลีย์เป็นผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูลคว้าถ้วยรางวัล 20 ใบ รวมไปถึงยูโรเปียนคัพ 3 ใบ, ยูฟ่าคัพ 1 ใบ, ลีกสูงสุด 6 ใบและลีกคัพ 3 ใบติดต่อกัน การแข่งขันในประเทศรายการเดียวที่เขาไม่ได้ชนะเลิศคือเอฟเอคัพ[13]
เพสลีย์เกษียณใน ค.ศ. 1983 และโจ เฟแกนขึ้นเป็นผู้จัดการทีมแทน[14] ในฤดูกาลแรกของเฟแกน ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีก, ลีกคัพและยูโรเปียนคัพ กลายเป็นทีมอังกฤษทีมแรกที่ได้ถ้วยรางวัลสามใบในหนึ่งฤดูกาล[15] ลิเวอร์พูลเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของยูโรเปียนคัพอีกครั้งใน ค.ศ. 1985 โดยพบกับยูเวนตุสที่สนามกีฬาเฮย์เซล ก่อนการแข่งขัน ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลพังรั้วซึ่งกั้นระหว่างผู้สนับสนุนทั้งสองฝั่งและเข้าปะทะกับผู้สนับสนุนยูเวนตุส น้ำหนักของกลุ่มผู้สนับสนุนส่งผลให้กำแพงที่กั้นพังลงมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 39 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวอิตาลี อุบัติการณ์นี้กลายเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภัยพิบัติเฮย์เซล การแข่งขันนั้นดำเนินการต่อ ทั้งที่มีการประท้วงจากผู้จัดการทีมทั้งสองทีมและลิเวอร์พูลก็แพ้ให้กับยูเวนตุสด้วยผลประตู 1–0 ผลจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว ส่งผลให้สโมสรจากอังกฤษไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันในยุโรปเป็นเวลาห้าปี ขณะที่สโมสรลิเวอร์พูลได้รับโทษห้ามเข้าร่วมการแข่งขันสิบปี ซึ่งต่อมาลดเหลือหกปี ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลสิบสี่คนได้รับการลงโทษจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา[16]
เฟแกนประกาศเกษียณก่อนที่จะเกิดภัยพิบัติเฮย์เซลและเคนนี แดลกลีชได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เล่น-ผู้จัดการทีม[17] ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง สโมสรชนะเลิศลีกสูงสุดอีกสามสมัยและเอฟเอคัพสองสมัย รวมไปถึงการได้ดับเบิลแชมป์จากการชนะเลิศลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1985–86 อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของลิเวอร์พูลถูกบดบังด้วยภัยพิบัติฮิลส์โบโร ซึ่งเป็นการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ที่พบกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 โดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลร้อยกว่าคนถูกบีบอัดติดกับรั้วกั้น[18] ส่งผลให้ผู้สนับสนุนเสียชีวิต 94 คนในวันนั้น สี่วันต่อมา ผู้เคราะห์ร้ายคนที่ 95 เสียชีวิตที่โรงพยาบาลจากอาการบาดเจ็บของเขา และเกือบสี่ปีต่อมา ผู้เคราะห์ร้ายคนที่ 96 ก็เสียชีวิตโดยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาได้ แอนดรูว์ เดวีน ผู้เคราะห์ร้ายคนที่ 97 เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 2021 จากอาการบาดเจ็บที่ได้รับจากภัยพิบัติ[19][20] เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลทบทวนเรื่องความปลอดภัยของสนามกีฬา เทย์เลอร์รีพอร์ต ปูทางให้ออกกฎหมายให้สนามกีฬาของสโมสรลีกสูงสุดต้องเป็นแบบมีที่นั่งทั้งหมด รายงานระบุสาเหตุหลักของภัยพิบัติคือความแออัดของผู้คน เนื่องจากการควบคุมของตำรวจที่ล้มเหลว[21]
ลิเวอร์พูลเกือบชนะเลิศลีกสูงสุดในฤดูกาล 1988–89 หลังจบฤดูกาลด้วยคะแนนและผลต่างประตูเท่ากับอาร์เซนอล แต่จำนวนประตูได้น้อยกว่า เมื่ออาร์เซนอลทำประตูลูกสุดท้ายในนาทีสุดท้ายของฤดูกาล[22]
แดลกลีชลาออกใน ค.ศ. 1991 โดยอ้างภัยพิบัติฮิลส์โบโรและผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว แกรม ซูเนส อดีตผู้เล่นลิเวอร์พูล เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแทน[23] ภายใต้การคุมทีมของเขา ลิเวอร์พูลชนะเลิศเอฟเอคัพใน ค.ศ. 1992 แต่ผลงานในลีกนั้นไม่ค่อยดีนัก พวกเขาการจบอันดับที่ 6 สองฤดูกาลติดต่อกัน ทำให้ซูเนสถูกปลดในเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 และรอย อีแวนส์ เข้ารับตำแหน่งแทน ภายใต้การคุมทีมของอีแวนส์ ลิเวอร์พูลชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพใน ค.ศ. 1995[24] และจบอันดับที่ 3 ใน ค.ศ. 1996 และ 1998 ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดที่พวกเขาทำได้ เฌราร์ อูลีเย ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมร่วมในฤดูกาล 1998–99 และกลายเป็นผู้จัดการทีมเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 หลังอีแวนส์ลาออก[25] ใน ค.ศ. 2001 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่สองอูลีเยที่ได้คุมทีมเต็มฤดูกาล ลิเวอร์พูลชนะเลิศทริปเปิลแชมป์ ได้แก่ เอฟเอคัพ, ลีกคัพและยูฟ่าคัพ[26] อูลีเยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจระหว่างฤดูกาล 2001–02 และลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 2 ในลีกตามหลังอาร์เซนอล[27] ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกคัพใน ค.ศ. 2003 แต่ก็ยังไม่สามารถชนะเลิศลีกสูงสุดได้ในสองฤดูกาลถัดมา[28][29]
ราฟาเอล เบนิเตซเข้ารับตำแหน่งแทนอูลีเยหลังจบฤดูกาล 2003–04 ถึงแม้ว่าฤดูกาลแรกของเบนิเตซนั้นจะจบอันดับที่ 5 ในลีก แต่ลิเวอร์พูลก็ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 ด้วยการเอาชนะเอซี มิลานในการดวลลูกโทษด้วยผลประตู 3–2 หลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 3–3[30] ฤดูกาลถัดมา ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก และชนะเลิศเอฟเอคัพด้วยการเอาชนะเวสต์แฮมยูไนเต็ดในการดวลลูกโทษหลังจากเสมอกันด้วยผลประตู 3–3[31] นักธุรกิจชาวอเมริกัน จอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ กลายเป็นเจ้าของสโมสรระหว่างฤดูกาล 2006–07 หลังตกลงซื้อหุ้นของสโมสรซึ่งมีมูลค่ารวมกับหนี้คงค้างที่ 218.9 ล้านปอนด์[32] สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกใน ค.ศ. 2007 ซึ่งพบกับมิลานอีกครั้ง เหมือนเมื่อ ค.ศ. 2005 แต่ก็แพ้ด้วยผลประตู 2–1[33] ช่วงระหว่างฤดูกาล 2008–09 ลิเวอร์พูลทำคะแนน 86 แต้ม เป็นสถิติของสโมสรที่ทำคะแนนเยอะที่สุดในยุคพรีเมียร์ลีกในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม พวกเขาจบอันดับที่ 2 ตามหลังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[34]
ในฤดูกาล 2009–10 ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 7 ในพรีเมียร์ลีก ทำให้ไม่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ส่งผลให้เบนิเตซลาออกจากตำแหน่งด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย[35] รอย ฮอดจ์สัน อดีตผู้จัดการทีมฟูลัม เข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมลิเวอร์พูนแทน[36] ในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2010–11 ลิเวอร์พูลนั้นเสี่ยงต่อการล้มละลายและเจ้าหนี้ของสโมสรขอให้ศาลสูงอนุญาตให้มีการขายสโมสรโดยปฏิเสธคำขอของฮิกส์และยิลเลตต์ จอห์น ดับเบิลยู. เฮนรี เจ้าของทีมบอสตันเรดซ็อกซ์และเฟนเวย์สปอร์ตกรุป ประมูลสโมสรสำเร็จและได้เป็นเจ้าของในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010[37] ผลการแข่งขันที่ย่ำแย่ในช่วงต้นฤดูกาล ทำให้ฮอดจ์สันลาออกจากตำแหน่งด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายและสโมสรแต่งตั้งเคนนี แดลกลีช อดีตผู้เล่นและผู้จัดการทีมเป็นผู้จัดการทีมอีกครั้ง[38] ในฤดูกาล 2011-12 ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกคัพเป็นสมัยที่ 8 และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ แต่กลับจบอันดับที่ 8 ในพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นการจบอันดับที่แย่ที่สุดในรอบ 18 ปี ทำให้แดลกลีชถูกไล่ออก[39][40] และเบรนดัน ร็อดเจอส์เข้ารับตำแหน่งนี้แทน[41] ในฤดูกาล 2013–14 เขาพาลิเวอร์พูลเกือบชนะเลิศพรีเมียร์ลีกอย่างเหลือเชื่อโดยจบอันดับที่ 2 รองจากแมนเชสเตอร์ซิตี พวกเขาทำประตูในลีก 101 ลูก นับเป็นการทำประตูมากที่สุดตั้งแต่ฤดูกาล 1895–96 ที่ทำประตูไป 106 ลูก สิ่งนี้ทำให้ลิเวอร์พูลได้สิทธิ์กลับไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอีกครั้ง[42][43] อย่างไรก็ตาม ผลงานอันน่าผิดหวังในฤดูกาล 2014–15 ซึ่งลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 6 ในลีก และการเริ่มต้นฤดูกาล 2015–16 ที่ย่ำแย่ ทำให้ร็อดเจอส์ถูกไล่ออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015[44]
เยือร์เกิน คล็อพ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทนร็อดเจอส์[45] ในฤดูกาลแรก คล็อพพาทีมเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพและยูฟ่ายูโรปาลีก แต่จบด้วยการเป็นรองแชมป์ทั้งสองรายการ[46] ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2018–19 ด้วยคะแนน 97 แต้มโดยแพ้เพียงแค่เกมเดียวเท่านั้น ทำให้เป็นทีมที่ไม่ได้ชนะเลิศที่ทำแต้มมากที่สุด[47] คล็อพพาสโมสรเข้ารอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสองปีติดต่อกันใน ค.ศ. 2018 และ 2019 โดยชนะทอตนัมฮอตสเปอร์ด้วยผลประตู 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ ค.ศ. 2019[48][49] ลิเวอร์พูลเอาชนะฟลาเม็งกู สโมสรจากบราซิลในนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019 ด้วยผลประตู 1–0 ทำให้ลิเวอร์พูลชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งแรก[50] ลิเวอร์พูลชนะเลิศพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2019–20 เป็นการชนะเลิศลีกสูงสุดครั้งแรกในรอบสามสิบปี[51] สโมสรทำหลายสถิติในฤดูกาลนี้ โดยรวมถึงการชนะเลิศลีกทั้งที่ยังเหลือการแข่งขันอีกเจ็ดนัด ทำให้เป็นสโมสรที่ชนะเลิศลีกเร็วที่สุด[52] และการทำคะแนน 99 แต้มซึ่งเป็นสถิติใหม่ของสโมสร ลิเวอร์พูลชนะในลีกฤดูกาลนี้ 32 นัด นับเป็นสถิติร่วมของจำนวนนัดที่ชนะมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาลของลีกสูงสุด[53] เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2024 คล็อพประกาศจะออกจากสโมสรเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล[54] เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 2024 สโมสรประกาศว่า อาร์เนอ สล็อต จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024[55]
สีชุดแข่งและตราสโมสร
ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์ลิเวอร์พูล สีชุดทีมเหย้าของสโมสรเป็นสีแดงล้วน แต่ในช่วงที่สโมสรเพิ่งก่อตั้ง ชุดทีมเหย้าจะคล้ายกับเอฟเวอร์ตันในสมัยนั้น โดยเป็นเสื้อแบ่งสี่ส่วนสีฟ้าขาว ชุดดังกล่าวใช้ในการแข่งขันจนถึง ค.ศ. 1894 เมื่อสโมสรนำสีแดงซึ่งเป็นสีประจำเมืองมาใช้[2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1901 สโมสรใช้นกไลเวอร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลิเวอร์พูลเป็นตราสโมสร แต่ยังไม่ถูกนำมาอยู่ในชุดแข่งจนกระทั่งใน ค.ศ. 1955 ลิเวอร์พูลใส่ชุดแข่งขันเป็นเสื้อสีแดงและกางกางขาสั้นสีขาวจนถึง ค.ศ. 1964 เมื่อผู้จัดการทีม บิลล์ แชงคลี ตัดสินใจเปลี่ยนให้เป็นสีแดงล้วน[56] ลิเวอร์พูลลงเล่นในชุดสีแดงล้วนครั้งแรกในนัดที่พบกับอันเดอร์เลคต์ เอียน เซนต์ จอห์น ระลึกถึงในอัตชีวประวัติของเขาว่า:
เขา [แชงคลี] คิดว่าโทนสีจะส่งผลกระทบทางจิตวิทยา – สีแดงคือความอันตราย สีแดงคือพลัง วันหนึ่งเขาเข้ามาในห้องแต่งตัวและโยนกางเกงขาสั้นสีแดงคู่หนึ่งให้กับรอนนี ยีตส์ "ใส่กางเกงขาสั้นนั่นซะและมาดูว่าคุณเป็นยังไง" เขาพูด "ให้ตายเถอะ รอนนี คุณดูดีมาก ดูน่ากลัว คุณดูเหมือนสูง 7 ฟุต" "ทำไมไม่ทำให้มันสมบูรณ์แบบไปเลยล่ะ หัวหน้า?" ผมเสนอ "ทำไมไม่สวมถุงเท้าสีแดงล่ะ? ใส่สีแดงล้วนให้หมดไปเลย" แชงคลีอนุมัติและชุดที่เป็นที่จดจำก็ถือกำเนิดขึ้น[57]
สีชุดทีมเยือนของลิเวอร์พูลมักจะเป็นเสื้อสีเหลืองหรือสีขาวและกางเกงขาสั้นสีดำ ยกเว้นในบางครั้ง เช่น ใน ค.ศ. 1987 สโมสรใช้ชุดสีเทาล้วน และในฤดูกาล 1991–92 ซึ่งฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปี สโมสรใช้เสื้อสีเขียวและกางเกงขาสั้นสีขาว ชุดทีมเยือนมีหลากหลายสีในทศวรรษ 1990 ประกอบด้วย สีทองกับสีกรมท่า, สีเหลืองสดใส, สีดำและสีเทาและสีน้ำตาลอ่อน สโมสรสลับสีชุดทีมเยือนระหว่างสีเหลืองกับสีขาว จนกระทั่งในฤดูกาล 2008–09 ได้กลับมาใช้ชุดสีเทาอีกครั้ง สีชุดที่สามถูกออกแบบสำหรับนัดเยือนในการแข่งขันรายการยุโรป แต่ก็สามารถใส่ชุดที่สามในนัดเยือนของการแข่งขันในประเทศได้ หากสีชุดทีมเยือนนั้นซ้ำกับสีชุดทีมเหย้า วอร์ริเออร์สปอร์ตส์เป็นผู้ออกแบบชุดแข่งขันระหว่าง ค.ศ. 2012–2015 โดยเริ่มครั้งแรกในฤดูกาล 2012–13[58] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 บริษัทแม่ของวอร์ริเออร์ นิวบาลานซ์ ประกาศเข้าสู่ตลาดฟุตบอลโลก ชุดแข่งของสโมสรจึงถูกเปลี่ยนผู้ผลิตชุดจากวอร์ริเออร์เป็นนิวบาลานซ์[59] เสื้อผ้ายี่ห้ออื่นที่เคยผลิตให้กับสโมสรได้แก่ อัมโบรซึ่งเคยผลิตชุดแข่งให้จนถึง ค.ศ. 1985 จากนั้นอาดิดาสได้เข้าแทนที่ จนกระทั่ง ค.ศ. 1996 รีบอคได้เข้ามาแทนที่อาดิดาส และผลิตชุดแข่งให้สโมสรเป็นเวลา 10 ปี ก่อนที่อาดิดาสจะกลับมาผลิตชุดแข่งให้อีกครั้งตั้งแต่ ค.ศ. 2006 ถึง 2012[60] ไนกี้กลายเป็นผู้ผลิตชุดแข่งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ฤดูกาล 2020–21[61]
ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแรกในอังกฤษที่มีตราของผู้สนับสนุนอยู่บนชุดแข่งขัน หลังทำสัญญากับฮิตาชิใน ค.ศ. 1979[62] อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองสามปีแรกของข้อตกลง กฎการออกอากาศหมายความว่าไม่สามารถแสดงโลโก้ของผู้สนับสนุนบนเสื้อสำหรับการแข่งขันทางโทรทัศน์[63]
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สโมสรได้รับการสนับสนุนจากคราวน์เพนต์ส, แคนดี, คาร์ลส์เบิร์กและสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สัญญาที่เซ็นกับคาร์ลส์เบิร์กใน ค.ศ. 1992 นั้นเป็นสัญญาที่ยาวนานที่สุดในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[64] สัญญานี้สิ้นสุดลงในช่วงต้นฤดูกาล 2010–11 เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกลายเป็นผู้สนับสนุนของสโมสร[65]
ตราสโมสรของลิเวอร์พูลมีนกไลเวอร์ สัญลักษณ์ของเมือง ซึ่งในอดีตถูกนำมาใส่ในโล่ ในปี ค.ศ. 1977 นกไลเวอร์สีแดงยืนอยู่บนฟุตบอล (มีลักษณะ "ยืนเด่นอยู่บนฟุตบอล ปีกของนกไลเวอร์ยกขึ้นและเสริมการถือสาหร่ายสีแดงชิ้นหนึ่งไว้ในจงอยปาก") ได้รับมอบเป็นมุทรตราประจำสโมสรโดย คอลลิจออฟอาร์มส์ ให้กับ อิงกลิชฟุตบอลลีก ไว้สำหรับใช้งานโดยลิเวอร์พูล อย่างไรก็ตาม ลิเวอร์พูลไม่เคยใช้ตรานี้[66] ต่อมาใน ค.ศ. 1992 ซึ่งเป็นปีที่มีการรำลึกถึงร้อยปีของสโมสร มีการออกแบบตราสโมสรใหม่โดยนำสัญลักษณ์ที่อยู่บนประตูแชงคลีมาใส่ไว้ด้วย ปีต่อมามีการใส่คบเพลิงคู่ไว้ทั้งสองด้านของตราสโมสร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของอนุสรณ์สถานฮิลส์โบโรที่ตั้งอยู่ด้านนอกแอนฟีลด์ และระลึกถึงผู้เสียชีวิตในภัยพิบัติฮิลส์โบโร[67] ใน ค.ศ. 2012 ชุดแข่งแรกของวอร์ริเออร์สปอร์ตส์นำโล่และประตูออกไป เหลือแค่นกไลเวอร์เหมือนกับชุดแข่งในทศวรรษ 1970 คบเพลิงถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังเสื้อ ล้อมตัวเลข 96 ซึ่งเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตในภัยพิบัติฮิลส์โบโร[68]
ผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุนบนเสื้อ
ช่วงเวลา | ผู้ผลิตชุด | ผู้สนับสนุน (หน้าอก) | ผู้สนับสนุน (แขนเสื้อ) |
---|---|---|---|
1973–1979 | อัมโบร | ไม่มี | ไม่มี |
1979–1982 | ฮิตาชิ | ||
1982–1985 | คราวน์เพนต์ส | ||
1985–1988 | อาดิดาส | ||
1988–1992 | แคนดี้ | ||
1992–1996 | คาร์ลส์เบิร์ก | ||
1996–2006 | รีบอค | ||
2006–2010 | อาดิดาส | ||
2010–2012 | สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด | ||
2012–2015 | วอร์ริเออร์สปอตส์ | ||
2015–2017 | นิวบาลานซ์ | ||
2017–2020 | เวสเทิร์นยูเนียน | ||
2020– | ไนกี้ | เอ็กซ์พีเดีย |
สนามกีฬา
แอนฟีลด์ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1884 บนที่ดินติดกับสแตนลีย์พาร์ก ห่างจากตัวเมืองลิเวอร์พูล 2 ไมล์ (3 กิโลเมตร) แต่เดิมเคยเป็นสนามเหย้าของเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่สโมสรจะย้ายไปกูดิสันพาร์ก หลังมีข้อพิพาทเรื่องค่าเช่ากับ จอห์น โฮลดิง เจ้าของแอนฟีลด์[69] ทำให้แอนฟีลด์ไม่มีผู้ใช้งาน โฮลดิงจึงก่อตั้งลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 1892 และสโมสรได้ลงเล่นในแอนฟีลด์นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ความจุของสนามในเวลานั้นคือ 20,000 ที่นั่ง อย่างไรก็ตาม มีผู้ชมเพียง 100 คนในการแข่งขันครั้งแรกของสโมสรที่สนามแห่งนี้[70]
อัฒจันทร์เดอะค็อป ถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1906 เนื่องจากเริ่มมีผู้ชมเข้ามาชมเกมการแข่งขันมากขึ้น ในตอนแรกนั้นเรียกว่าโอกฟิลด์โรดเอ็มแบงก์เมนต์ โดยเกมแรกหลังการสร้างอัฒจันทร์นี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1906 ในนัดที่เจ้าบ้านเอาชนะสโตกซิตีด้วยผลประตู 1–0[71] ใน ค.ศ. 1906 อัฒจันทร์ฝั่งยืนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของสนามถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็นสปิออนค็อป ตั้งชื่อตามเนินเขาในควาซูลู-นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้[72] เนินเขาเป็นที่ตั้งของยุทธการที่สปิออนค็อปในสงครามบูร์ครั้งที่สอง ซึ่งมีทหารมากกว่า 300 นายจากกองทหารแลงคาเชอร์เสียชีวิตที่นั่น โดยหลายคนมาจากลิเวอร์พูล[73] อัฒจันทร์นี้สามารถจุได้สูงสุดถึง 28,000 คน เคยเป็นหนึ่งในอัฒจันทร์ยืนชั้นเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลายสนามในอังกฤษเริ่มมีการตั้งชื่ออัฒจันทร์ว่าสปิออนค็อป แต่อัฒจันทร์สปิออนค็อปของแอนฟีลด์นี้เป็นอัฒจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น โดยสามารถจุผู้สนับสนุนได้มากกว่าสนามฟุตบอลบางแห่ง[74]
แอนฟีลด์สามารถรองรับผู้สนับสนุนสูงสุดได้มากกว่า 60,000 คนและมีความจุปกติที่ 55,000 คน จนกระทั่งในทศวรรษ 1990 หลัง เทย์เลอร์รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนามฮิลส์โบโร พรีเมียร์ลีกจึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993–94 ความจุของแอนฟีลด์จึงลดลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง[75] ผลจากรายงานได้ผลักดันให้มีการปรับปรุงอัฒจันทร์เคมลินโรด ซึ่งปรับปรุงเสร็จใน ค.ศ. 1992 ตรงกับการครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่าอัฒจันทร์เซนเทเนรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอัฒจันทร์เคนนีแดลกลีชใน ค.ศ. 2017 มีการสร้างอัฒจันทร์เพิ่มอีกหนึ่งชั้นในอัฒจันทร์ฝั่งแอนฟีลด์โรดในช่วงปลาย ค.ศ. 1998 ทำให้ความจุของสนามเพิ่มขึ้น แต่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการเปิดใช้งาน ทำให้ต้องมีการสร้างเสาและตอม่อค้ำจุนเสริมเข้าไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชั้นบนสุดของอัฒจันทร์ หลังจากมีการรายงานการสั้นของชั้นอัฒจันทร์ช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 1999–2000[76]
เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุของแอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลได้ประกาศแผนย้ายไปสนามกีฬาสแตนลีย์พาร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002[77] แผนนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[78] และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้สแตนลีย์พาร์ก[79] ภายหลังจากการซื้อสโมสรโดยจอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 สนามกีฬาดังกล่าวได้รับการออกแบบใหม่ โดยได้รับการอนุมัติจากสภาเมืองในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 กำหนดเปิดในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 สนามแห่งใหม่ถูกออกแบบให้มีความจุ 60,000 คน มีบริษัท เอชเคเอส เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง[80] การก่อสร้างหยุดชั่วคราวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 หลังยิลเลตต์และฮิกส์ ประสบปัญหาในการหาเงินมาลงทุน จำนวน 300 ล้านปอนด์[81] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 บีบีซีสปอร์ต รายงานว่า เฟนเวย์สปอร์ตกรุป เจ้าของใหม่ของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ได้ตัดสินใจปรับปรุงสนามแอนฟีลด์แทนการสร้างสนามใหม่ในสแตนลีย์พาร์ก โดยการปรับปรุงแอนฟีลด์จะทำให้เพิ่มความจุจาก 45,276 คนเป็นประมาณ 60,000 คน มีค่าใช้จ่ายประมาณ 150 ล้านปอนด์[82] เมื่อการก่อสร้างเมนสแตนด์ของแอนฟีลด์เสร็จ จะทำให้ความจุเพิ่มเป็น 54,074 คน การสร้างส่วนต่อขยายชั้นสามของอัฒจันทร์ซึ่งใช้เงิน 100 ล้านปอนด์ เป็นส่วนหนึ่งโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบแอนฟีลด์ รวมมูลค่า 260 ล้านปอนด์ เยือร์เกิน คล็อพ ผู้จัดการทีมในเวลานั้นกล่าวถึงอัฒจันทร์ว่า "น่าประทับใจ"[83]
การสนับสนุน
ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งสโมสรที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในโลก[84][85] ลิเวอร์พูลแถลงว่ามีฐานผู้สนับสนุนทั่วโลก โดยมีผู้สนับสนุนสโมสรได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการมากกว่า 200 แห่งในอย่างน้อย 50 ประเทศ กลุ่มที่มีชื่อเสียง เช่น สปิริตออฟแชงคลี[86] สโมสรจะใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้ผ่านการทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก[87] ซึ่งรวมถึงการลงเล่นต่อหน้าผู้ชมจำนวน 101,000 คนที่มิชิแกนในสหรัฐ และผู้ชมจำนวน 95,000 คนที่เมลเบิร์นในออสเตรเลีย[88][89] ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลมักเรียกตัวเองว่าเป็น คอปิตส์ ซึ่งอ้างอิงถึงผู้สนับสนุนที่เคยยืนและนั่งบนอัฒจันทร์เดอะค็อปที่แอนฟีลด์[90] ใน ค.ศ. 2008 ผู้สนับสนุนของลิเวอร์พูลได้ก่อตั้งสโมสรชื่อว่า เอเอฟซี ลิเวอร์พูล ซึ่งลงเล่นในเกมการแข่งขันให้สำหรับผู้สนับสนุนที่ไม่มีเงินดูฟุตบอลพรีเมียร์ลีก[91]
เพลง "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน" แต่เดิมนั้นมาจากละครเพลงของรอดเจอร์สและแฮมเมอร์สไตน์ ชื่อว่า แคเรอแซล ซึ่งต่อมาเจอร์รีแอนด์เดอะพีชเมเกอร์สได้บันทึกเสียงใหม่จนกลายเป็นเพลงสรรเสริญของสโมสรที่ผู้ชมในแอนฟิลด์ร้องตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960[92] ซึ่งต่อมาก็ได้รับความนิยมในหมู่ผู้สนับสนุนของของสโมสรอื่นทั่วโลก[93] ชื่อของเพลงถูกนำไปประดับบนประตูแชงคลี ซึ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1982 เพื่อรำลึกถึงอดีตผู้จัดการทีม บิล แชงคลี คำว่า "You'll Never Walk Alone" บนประตูแชงคลี ถูกนำไปใส่ไว้ด้านบนของตราสโมสร[94]
ผู้สนับสนุนของสโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ ภัยพิบัติสนามกีฬาเฮย์เซลเมื่อ ค.ศ. 1985 ทำให้ผู้สนับสนุนยูเวนตุสเสียชีวิต 39 คน พวกเขาถูกขังอยู่ที่มุมหนึ่งโดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลที่พุ่งเข้ามาหาพวกเขา น้ำหนักของผู้สนับสนุนที่อยู่มุมนั้นทำให้กำแพงพังลงมา ยูฟ่ากล่าวโทษเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นความผิดของผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลแต่เพียงผู้เดียว[95] และระงับสิทธิ์สโมสรอังกฤษทั้งหมดจากการแข่งขันรายการฟุตบอลยุโรปเป็นเวลาห้าปี ลิเวอร์พูลได้รับโทษแบนเพิ่มเติมจนไม่สามารถเข้าร่วมยูโรเปียนคัพฤดูกาล 1990–91 แม้ว่าจะชนะเลิศลีกสูงสุดใน ค.ศ. 1990 ก็ตาม[96] ผู้สนับสนุนยี่สิบเจ็ดคนถูกจับในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนาและถูกส่งตัวไปยังเบลเยียมเพื่อเข้าร่วมการพิจารณาคดีเมื่อ ค.ศ. 1987[97] ใน ค.ศ. 1989 หลังการพิจารณาคดีห้าเดือนในเบลเยียม ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 14 คนได้รับโทษจำคุก 3 ปีจากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไม่เจตนา[98] โทษจำคุกกึ่งหนึ่งให้รอลงอาญา[99]
ภัยพิบัติครั้งที่สองเกิดขึ้นในเอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ระหว่างลิเวอร์พูลกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ที่สนามกีฬาฮิลส์โบโรในเชฟฟิลด์ เมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1989 ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล 96 คน เสียชีวิตจากการที่ผู้ชมเข้ามาในอัฒจันทร์ฝั่งแลปปิงส์เลนเอ็น ซึ่งกลายเป็นที่รู้จักในชื่อภัยพิบัติฮิลส์โบโร วันต่อมา หนังสือพิมพ์ เดอะซัน ได้ตีพิมพ์บทความ "เดอะทรูธ" ซึ่งอ้างว่าแฟนลิเวอร์พูลได้ปล้นคนที่เสียชีวิตกับโจมตีและปัสสาวะใส่ตำรวจ[100] จากการสอบสวน ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริง นำไปสู่การคว่ำบาตรหนังสือพิมพ์ โดยผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลทั่วเมืองและที่อื่น ๆ หลายคนยังปฏิเสธที่จะซื้อ เดอะซัน แม้เวลาจะผ่านมาแล้ว 30 ปี[101] องค์กรสนับสนุนหลายแห่งได้ก่อตั้งขึ้นหลังเกิดภัยพิบัติ เช่น การรณรงค์เพื่อความยุติธรรมของฮิลส์โบโร ซึ่งเป็นตัวแทนของครอบครัวผู้สูญเสีย ผู้รอดชีวิตและผู้สนับสนุนในความพยายามที่จะรักษาความยุติธรรม[102]
คู่แข่ง
คู่แข่งของลิเวอร์พูลที่แข่งขันด้วยกันยาวนานที่สุดก็คือเอฟเวอร์ตัน โดยเรียกการแข่งขันนี้ว่าเมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บี จุดเริ่มต้นของการเป็นคู่แข่งนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อตั้งของลิเวอร์พูลและข้อพิพาทระหว่างคณะกรรมการของเอฟเวอร์ตันกับเจ้าของแอนฟีลด์[103] เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีเป็นหนึ่งในดาร์บีท้องถิ่นที่ไม่มีการบังคับแบ่งแยกผู้สนับสนุนทั้งสองฝ่าย จึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "ดาร์บีมิตรภาพ"[104] ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 การแข่งขันเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งในสนามและนอกสนาม โดยเฉพาะตั้งแต่ก่อตั้งพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 1992 เมอร์ซีย์ไซด์ดาร์บีเป็นการแข่งขันที่มีผู้เล่นได้รับใบแดงและถูกไล่ออกจากสนามมากกว่านัดการแข่งขันอื่น ๆ เรียกได้ว่าเป็น "การแข่งขันที่ไร้กติกาและเดือดที่สุดในพรีเมียร์ลีก"[105] ในแง่ของการสนับสนุนภายในเมือง จำนวนของผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลนั้นมีมากกว่าเอฟเวอร์ตันในอัตราส่วน 2:1[106]
ความเป็นคู่แข่งของลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเกิดขึ้นมาตั้งแต่การแข่งขันของทั้งสองเมืองในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19[107] ทั้งสองเมืองเชื่อมถึงกันด้วยทางรถไฟระหว่างเมืองแห่งแรกของโลกและทางถนน ลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์นั้นห่างกันไปตามถนนอีสแลงซ์สประมาณ 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร)[108] นิตยสาร ฟรานซ์ฟุตบอล จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสองสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ ทั้งสองสโมสรเป็นทีมจากอังกฤษที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และก็มีผู้สนับสนุนทั่วโลก[109][110] การแข่งขันนี้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในคู่แข่งขันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกฟุตบอลและเป็นการแข่งขันที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลอังกฤษ[111][112][113] ทั้งสองสโมสรผลัดกันชนะเลิศระหว่าง ค.ศ. 1964 ถึง 1967[114] และแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกลายเป็นทีมจากอังกฤษทีมแรกที่ชนะเลิศยูโรเปียนคัพใน ค.ศ. 1968 ก่อนที่ลิเวอร์พูลจะชนะเลิศในรายการยูโรเปียนคัพ 4 สมัยในเวลาต่อมา[115] เมื่อรวมกันแล้วทั้งสองสโมสรชนะเลิศลีกสูงสุด 39 สมัยและยูโรเปียนคัพ 9 สมัย[114] ทั้งสองสโมสรนั้นประสบความสำเร็จต่างช่วงเวลา ลิเวอร์พูลชนะเลิศลีกสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่ชนะเลิศลีกสูงสุดยาวนาน 26 ปี และความสำเร็จของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในยุคพรีเมียร์ลีก เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ลิเวอร์พูลไม่ชนะเลิศลีกสูงสุดยาวนาน 30 ปี[116] และทั้งสองสโมสรจบฤดูกาลเป็นที่หนึ่งกับที่สองในลีกด้วยกันแค่ห้าครั้งเท่านั้น[114] ด้วยความเป็นคู่แข่ง ทำให้ทั้งสองสโมสรทำการซื้อขายผู้เล่นระหว่างกันน้อยมาก ผู้เล่นคนสุดท้ายที่ย้ายระหว่างสองสโมสรคือ ฟิล ชิสนอลล์ ที่ย้ายจากลิเวอร์พูลไปแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเมื่อ ค.ศ. 1964[117]
ความเป็นเจ้าของและฐานะทางการเงิน
จอห์น โฮลดิง เป็นประธานคนแรกของสโมสร ในฐานะที่เป็นเจ้าของแอนฟีลด์และผู้ก่อตั้งของลิเวอร์พูล เขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1892 จนถึง ค.ศ. 1904 ต่อมา จอห์น แมกเคนนา เข้ามารับตำแหน่งเป็นประธานสโมสรหลังจากที่โฮลดิงออกไป[118] และได้กลายเป็นประธานของฟุตบอลลีก[119] มีการผลัดเปลี่ยนตำแหน่งประธานสโมสรอยู่หลายคน ก่อนที่จอห์น สมิธ ซึ่งพ่อของเขาเป็นผู้ถือหุ้นของสโมสร เข้ามารับตำแหน่งใน ค.ศ. 1973 เขาเป็นประธานสโมสรในช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของลิเวอร์พูล ก่อนที่เขาจะก้าวลงจากตำแหน่งใน ค.ศ. 1990[120] โนเอล ไวต์ เข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรในปีเดียวกัน[121] เดวิด มัวร์ส ซึ่งครอบครัวของเขาเป็นเจ้าของสโมสรยาวนานกว่า 50 ปี เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรใน ค.ศ. 1991 ลุงของเขา จอห์น มัวร์ส เคยเป็นผู้ถือหุ้นของลิเวอร์พูลและเคยเป็นประธานของเอฟเวอร์ตัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1961 ถึง 1973 มัวร์สเป็นเจ้าของสโมสรร้อยละ 51 และใน ค.ศ. 2004 เขาแสดงความเต็มใจที่จะพิจารณาการเสนอราคาสำหรับหุ้นของเขาในลิเวอร์พูล[122]
ท้ายที่สุด มัวร์สขายสโมสรให้กับนักธุรกิจชาวอเมริกัน จอร์จ ยิลเลตต์ และทอม ฮิกส์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 โดยที่ข้อตกลงมีมูลค่าสโมสรและหนี้คงค้างที่ 218.9 ล้านปอนด์ ทั้งสองคนจ่าย 5,000 ปอนด์ต่อหุ้น หรือ 174.1 ล้านปอนด์สำหรับการถือหุ้นทั้งหมดและ 44.8 ล้านปอนด์เพื่อชำระหนี้สินของสโมสร[123] ความขัดแย้งระหว่างยิลเลตต์กับฮิกส์และการที่ผู้สนับสนุนไม่สนับสนุนพวกเขา ทำให้ทั้งสองคนต้องการขายสโมสร[124] มาร์ติน บรอตัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสโมสรเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2010 เพื่อดูแลการขายสโมสร[125] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010 มีบัญชีที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทโฮลดิงของสโมสรมีหนี้ 350 ล้านปอนด์ (เนื่องจากการซื้อสโมสรที่ใช้เงินจากการยืม) พร้อมกับขาดทุน 55 ล้านปอนด์ ทำให้ผู้สอบบัญชีอย่างเคพีเอ็มจีมีคุณสมบัติเป็นผู้ทำรายงานตรวจสอบบัญชี[126] กลุ่มของเจ้าหนี้รวมไปถึงรอยัลแบงก์ออฟสกอตแลนด์นำตัวยิลเลตต์กับฮิกส์ขึ้นศาล และบังคับให้พวกเขาอนุญาตให้คณะกรรมการดำเนินการขายสโมสรและสินทรัพย์หลักของบริษัทโฮลดิง คริสโตเฟอร์ ฟลอยด์ ผู้พิพากษาศาลสูง ตัดสินให้เจ้าหนี้ชนะคดีและปูทางให้เกิดการขายสโมสรให้กับเฟนเวย์สปอร์ตกรุป (อดีต นิวอิงแลนด์สปอร์ตเวนเจอร์ส) ถึงแม้ว่ายิลเลตต์กับฮิกส์ยังคงมีตัวเลือกในการอุทธรณ์[127] ยิลเลตต์กับฮิกส์ขายลิเวอร์พูลให้กับเฟนเวย์สปอร์ตกรุปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นจำนวนเงิน 300 ล้านปอนด์[128]
ลิเวอร์พูลได้รับการขนานนามว่าเป็นตราสินค้าระดับโลก จากรายงานเมื่อ ค.ศ. 2010 เครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องของสโมสรถูกประเมินมูลค่าไว้ที่ 141 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 5 ล้านปอนด์ ลิเวอร์พูลได้รับการจัดอันดับเรตติงของแบรนด์ให้อยู่ในระดับ AA (แข็งแกร่งมาก)[129] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 นิตยสารธุรกิจ ฟอบส์ จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลอยู่ในอันดับที่ 6 ของทีมฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก รองจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, เรอัลมาดริด, อาร์เซนอล, บาร์เซโลนา และไบเอิร์นมิวนิก โดยประเมินมูลค่าของลิเวอร์พูลไว้ที่ 822 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (532 ล้านปอนด์) ไม่รวมหนี้[130] นักบัญชีจากดีลอยต์จัดอันดับให้ลิเวอร์พูลอยู่ในอันดับที่ 8 ในดีลอยต์ฟุตบอลมันนีลีก ซึ่งเป็นการจัดอันดับสโมสรฟุตบอลในโลกในแง่ของรายได้ รายได้ของลิเวอร์พูลในฤดูกาล 2009–10 อยู่ที่ 225.3 ล้านยูโร[131] รายงานของดีลอยต์เมื่อ ค.ศ. 2018 ระบุว่า ในปีก่อนหน้า สโมสรมีรายได้ประจำปีอยู่ที่ 424.2 ล้านยูโร[132] และ ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 1.944 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[133] ต่อมาใน ค.ศ. 2018 รายได้ประจำปีเพิ่มขึ้นเป็น 513.7 ล้านยูโร[134] และ ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 2.183 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[135] และใน ค.ศ. 2019 ดีลอยต์รายงานว่า รายได้ประจำปีเพิ่มขึ้นเป็น 604 ล้านยูโร (533 ล้านปอนด์) ทำให้สโมสรทำเงินเกินห้าร้อยล้านปอนด์[136]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 ผู้สนับสนุนและสื่อต่าง ๆ แสดงความไม่พอใจต่อเจ้าของสโมสร หลังตัดสินใจจะพักงานลูกจ้างที่ไม่ใช่นักเตะในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19[137] ทำให้สโมสรกลับคำและขอโทษสำหรับการตัดสินใจในตอนแรกของพวกเขา[138] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ฟอบส์ ประเมินมูลค่าสโมสรไว้ที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสองปีนั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 88 ทำให้ลิเวอร์พูลกลายเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากที่สุดอันดับที่ห้าของโลก[139]
ลิเวอร์พูลในสื่อ
ลิเวอร์พูลปรากฏในรายการ แมตช์ออฟเดอะเดย์ ของบีบีซี ซึ่งออกอากาศไฮไลต์การแข่งขันระหว่างพวกเขากับอาร์เซนอลที่แอนฟีลด์ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1964 การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกที่ออกอากาศเป็นภาพสีทางโทรทัศน์คือ นัดการแข่งระหว่างลิเวอร์พูลกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด ถ่ายทอดสดในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1967[140] ผู้สนับสนุนลิเวอร์พูลปรากฏในเพลงของพิงก์ฟลอยด์ชื่อว่า "เฟียร์เลสส์" โดยพวกเขาร้องเพลงที่ตัดตอนมาจากเพลง "ยูลล์เนฟเวอร์วอล์กอะโลน"[141] ลิเวอร์พูลปล่อยเพลง "แอนฟีลด์แรป" โดยมีจอห์น บาร์นส์ และสมาชิกคนอื่น ๆ ในทีมร่วมร้องเพลงนี้ เพื่อเป็นที่จดจำของสโมสรที่เข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพเมื่อ ค.ศ. 1988 [142]
ละครสารคดีเกี่ยวกับภัยพิบัติฮิลส์โบโร เขียนบทโดยจิมมี แมกโกฟเวิร์น ออกอากาศเมื่อ ค.ศ. 1996 แสดงนำโดยคริสโตเฟอร์ เอกเกิลสตัน เป็นเทรเวอร์ ฮิกส์ ผู้สูญเสียลูกสาววัยรุ่นสองคนในภัยพิบัติ และเป็นผู้รณรงค์เพื่อการออกแบบสนามกีฬาที่ปลอดภัยและช่วยก่อตั้งกลุ่มสนับสนุนครอบครัวฮิลส์โบโร[143] ลิเวอร์พูลปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง คู่บรรลัย ใส่เกียร์ลุย (อังกฤษ: The 51st State) โดยตัวละครอดีตนักฆ่า เฟลิกซ์ เดอซูซา (รอเบิร์ต คาร์ไลล์) เป็นผู้สนับสนุนของทีมและฉากสุดท้ายเกิดขึ้นในเกมการแข่งขันระหว่างลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[144] สโมสรปรากฏในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก สกัลลี ซึ่งเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่พยายามเข้ามาทดสอบฝีเท้ากับลิเวอร์พูล[145]
ผู้เล่น
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ทีมสำรองและศูนย์เยาวชน
อดีตผู้เล่น
สถิติผู้เล่น
กัปตันทีม
ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรใน ค.ศ. 1892 มีผู้เล่น 45 คนที่ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล[154] แอนดรูว์ ฮานนาห์ เป็นกัปตันทีมคนแรกหลังจากที่ลิเวอร์พูลก่อตั้งสโมสรโดยแยกตัวจากเอฟเวอร์ตัน อเล็กซ์ เรสเบค เป็นกัปตันทีมระหว่าง ค.ศ. 1899–1909 และเป็นผู้เล่นที่ทำหน้าที่กัปตันทีมยาวนานที่สุด ก่อนที่สตีเวน เจอร์ราด ซึ่งอยู่กับลิเวอร์พูลยาวนานถึง 12 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2003–04 จะทำลายสถิติ[154] กัปตันทีมคนปัจจุบันคือ เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ ทำหน้าที่แทน จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ในฤดูกาล 2023–24 หลังเฮนเดอร์สันย้ายไป อัลอิตติฟาก
|
|
|
ผู้เล่นแห่งฤดูกาล
บุคลากร
เฟนเวย์สปอร์ตส์กรุปแอนด์เอฟเอสจีอินเทอร์เนชันนัล
สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
|
ผู้ฝึกสอนและทีมแพทย์
|
เกียรติประวัติ
ถ้วยรางวัลแรกของลิเวอร์พูลคือแลงคาเชอร์ลีก ซึ่งชนะเลิศในฤดูกาลแรกของสโมสร[4] ต่อมาใน ค.ศ. 1901 สโมสรชนะเลิศลีกสมัยแรก ในขณะที่สมัยที่ 19 หรือสมัยล่าสุดเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2020 ความสำเร็จแรกในเอฟเอคัพเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1965 ช่วงที่ลิเวอร์พูลชนะถ้วยรางวัลมากที่สุดคือทศวรรษ 1980 ซึ่งสโมสรชนะเลิศลีก 6 สมัย เอฟเอคัพ 2 สมัย ลีกคัพ 4 สมัย ฟุตบอลลีกซูเปอร์คัพ 1 สมัย แชริตีชีลด์ 5 สมัย (ร่วมกับสโมสรอื่น 1 สมัย) และยูโรเปียนคัพ 2 สมัย
สโมสรมีจำนวนนัดที่ชนะและคะแนนบนลีกสูงสุดมากกว่าทีมอื่นในอังกฤษ[163] ลิเวอร์พูลยังมีอันดับในลีกโดยเฉลี่ยสูงสุด (3.3) ในช่วง 50 ปีนับถึง ค.ศ. 2015[164] และมีอันดับลีกเฉลี่ยสูงเป็นอันดับที่สอง (8.7) ในช่วง ค.ศ. 1900–1999 รองจากอาร์เซนอล[165]
ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรบริติชที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับนานาชาติที่ 14 สมัย โดยชนะเลิศยูโรเปียนคัพหรือยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับสโมสรสูงสุดของยูฟ่า 6 สมัย นับเป็นสถิติสูงสุดของทีมอังกฤษ และเป็นรองเพียงเรอัลมาดริดและเอซี มิลาน การชนะเลิศยูโรเปียนคัพสมัยที่ 5 ของลิเวอร์พูลใน ค.ศ. 2005 ทำให้สโมสรได้รับถ้วยรางวัลถาวรและยังได้รับตราผู้ชนะหลายสมัยด้วย[166][167] ลิเวอร์พูลยังถือสถิติเป็นทีมจากอังกฤษที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพ การแข่งขันระดับที่สองของสโมสรยุโรป มากที่สุดที่ 3 สมัย[168] ใน ค.ศ. 2019 สโมสรชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกเป็นสมัยแรก ทำให้เป็นสโมสรแรกจากอังกฤษที่ชนะเลิศสามรายการระดับทวีป ได้แก่ สโมสรโลก แชมเปียนส์ลีก และยูฟ่าซูเปอร์คัพ[169][170]
ระดับ | การแข่งขัน | ชนะเลิศ | ฤดูกาล |
---|---|---|---|
ประเทศ | เฟิสต์ดิวิชัน/พรีเมียร์ลีก[note 1] | 19 | 1900–01, 1905–06, 1921–22, 1922–23, 1946–47, 1963–64, 1965–66, 1972–73, 1975–76, 1976–77, 1978–79, 1979–80, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1985–86, 1987–88, 1989–90, 2019–20 |
เซคันด์ดิวิชัน[note 1] | 4 | 1893–94, 1895–96, 1904–05, 1961–62 | |
เอฟเอคัพ | 8 | 1964–65, 1973–74, 1985–86, 1988–89, 1991–92, 2000–01, 2005–06, 2021–22 | |
ฟุตบอลลีกคัพ/อีเอฟแอลคัพ | 10 | 1980–81, 1981–82, 1982–83, 1983–84, 1994–95, 2000–01, 2002–03, 2011–12, 2021–22, 2023-24 | |
เอฟเอแชริตีชีลด์/เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ | 16 | 1964*, 1965*, 1966, 1974, 1976, 1977*, 1979, 1980, 1982, 1986*, 1988, 1989, 1990*, 2001, 2006, 2022 (* ร่วม) | |
ฟุตบอลลีกซูเปอร์คัพ | 1 | 1985–86 | |
ทวีป | ยูโรเปียนคัพ/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 6 | 1976–77, 1977–78, 1980–81, 1983–84, 2004–05, 2018–19 |
ยูฟ่าคัพ/ยูฟ่ายูโรปาลีก | 3 | 1972–73, 1975–76, 2000–01 | |
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ | 4 | 1977, 2001, 2005, 2019 | |
โลก | ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ | 1 | 2019 |
ระดับรอง
- แลงคาเชอร์ลีก
- ชนะเลิศ (1) : 1892–93
- เชอริฟฟ์ออฟลอนดอนชาริตีชีลด์
- ชนะเลิศ (1) : 1906
ดับเบิลแชมป์และทริปเปิลแชมป์
ดูเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 พรีเมียร์ลีก ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1992 กลายเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ จากนั้นฟุตบอลลีกเฟิสต์และเซคันด์ดิวิชัน ได้กลายเป็นลีกระดับที่สองและสาม ตามลำดับ และตั้งแต่ ค.ศ. 2004 เฟิสต์ดิวิชันกลายเป็นแชมเปียนชิปและเซคันด์ดิวิชันกลายเป็นลีกวัน
- ↑ 2.0 2.1 ดับเบิลที่เป็นส่วนหนึ่งของทริปเปิลแชมป์ อาทิ เอฟเอคัพและลีกคัพใน ค.ศ. 2001 จะไม่นับรวมในดับเบิลแชมป์
อ้างอิง
- ↑ "Happy birthday LFC? Not quite yet..." Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014.
Liverpool F.C. was born on 3 June 1892. It was at John Houlding's house in Anfield Road that he and his closest friends left from Everton FC, formed a new club.
- ↑ 2.0 2.1 "Liverpool Football Club is formed". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ Graham 1985, p. 14.
- ↑ 4.0 4.1 Kelly 1988, p. 15.
- ↑ Graham 1985, pp. 16–18.
- ↑ Graham 1985, p. 20.
- ↑ Liversedge 1991, p. 14.
- ↑ Kelly 1988, pp. 50–51.
- ↑ Kelly 1988, p. 57.
- ↑ "1965/66: Stan the man for Dortmund". Union of European Football Associations (UEFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2014.
- ↑ Kelly 1999, p. 86.
- ↑ Pead 1986, p. 414.
- ↑ Kelly 1988, p. 157.
- ↑ Kelly 1988, p. 158.
- ↑ Cox, Russell & Vamplew 2002, p. 90.
- ↑ "On This Day – 29 May 1985: Fans die in Heysel rioting". BBC. 29 May 1985. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2018. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
- ↑ Kelly 1988, p. 172.
- ↑ "On This Day – 15 April 1989: Soccer fans crushed at Hillsborough". BBC. 15 April 1989. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2021. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
- ↑ Pithers, Malcolm (22 December 1993). "Hillsborough victim died 'accidentally': Coroner says withdrawal of treatment not to blame". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 28 August 2010.
- ↑ "Hillsborough: Fan injured in stadium disaster dies 32 years later". BBC News. BBC. 29 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2021.
- ↑ "A hard lesson to learn". BBC. 15 April 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
- ↑ Cowley, Jason (29 March 2009). "The night Football was reborn". The Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ Liversedge 1991, pp. 104–105.
- ↑ Scully, Mark (22 February 2012). "LFC in the League Cup final: 1995 – McManaman masterclass wins praise from wing wizard Matthews". Liverpool Echo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2012. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ Kelly 1999, p. 227.
- ↑ "Houllier acclaims Euro triumph". BBC Sport. 16 May 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 24 March 2007.
- ↑ "Houllier 'satisfactory' after surgery". BBC Sport. 15 October 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 13 March 2007.
- ↑ "Liverpool lift Worthington Cup". BBC Sport. 2 March 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2014. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ "English Premier League 2003–2004: Table". Statto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "AC Milan 3–3 Liverpool (aet)". BBC Sport. 25 May 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 15 April 2007.
- ↑ "Liverpool 3–3 West Ham (aet)". BBC Sport. 13 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2007. สืบค้นเมื่อ 26 August 2010.
- ↑ "US pair agree Liverpool takeover". BBC Sport. 6 February 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 2 March 2007.
- ↑ McNulty, Phil (23 May 2007). "AC Milan 2–1 Liverpool". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2007. สืบค้นเมื่อ 23 May 2007.
- ↑ "Liverpool's top-flight record". LFC History. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2019. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
- ↑ "Rafael Benitez leaves Liverpool: club statement". The Daily Telegraph. 3 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-06. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
- ↑ "Liverpool appoint Hodgson". Liverpool F.C. 1 July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
- ↑ Gibson, Owen (15 October 2010). "Liverpool FC finally has a new owner after 'win on penalties'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
- ↑ "Roy Hodgson exits and Kenny Dalglish takes over". BBC Sport. 8 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
- ↑ Bensch, Bob; Panja, Tariq (16 May 2012). "Liverpool Fires Dalglish After Worst League Finish in 18 Years". Bloomberg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2012.
- ↑ Ingham, Mike (16 May 2012). "Kenny Dalglish sacked as Liverpool manager". BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
- ↑ "Liverpool manager Brendan Rodgers to 'fight for his life'". BBC. 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
- ↑ Ornstein, David (12 May 2014). "Liverpool: Premier League near-miss offers hope for the future". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
- ↑ "Goals". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2012.
- ↑ "Brendan Rodgers: Liverpool boss sacked after Merseyside derby". BBC Sport. 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
- ↑ Smith, Ben (8 October 2015). "Liverpool: Jurgen Klopp confirmed as manager on £15m Anfield deal". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
- ↑ "Liverpool 1–3 Sevilla". BBC. 18 May 2016.
- ↑ "Premier League: The numbers behind remarkable title battle" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
- ↑ "Liverpool beat Spurs to become champions of Europe for sixth time". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
- ↑ "Real Madrid 3-1 Liverpool" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
- ↑ "Firmino winner seals Club World Cup win". BBC. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
- ↑ "Liverpool win Premier League: Reds' 30-year wait for top-flight title ends". BBC. สืบค้นเมื่อ 25 June 2020.
- ↑ Sport, Telegraph (2020-07-22). "Liverpool lift the Premier League trophy tonight - these are the records they've broken on the way". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.
- ↑ "Champions Liverpool beat Newcastle to finish on 99 points". BBC. 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
- ↑ "Jurgen Klopp: Liverpool manager to leave Anfield at end of season". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-30.
- ↑ "Arne Slot to become Liverpool FC's new head coach" (ภาษาอังกฤษ). Liverpool F.C. 20 May 2024. สืบค้นเมื่อ 22 May 2024.
- ↑ 56.0 56.1 "Historical LFC Kits". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2010. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
- ↑ St. John, Ian (9 October 2005). "Shankly: the hero who let me down". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2020. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
- ↑ "LFC and Warrior announcement". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2012. สืบค้นเมื่อ 18 January 2012.
- ↑ Badenhausen, Kurt (4 February 2015). "New Balance Challenges Nike And Adidas With Entry into Global Soccer Market". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
- ↑ Crilly 2007, p. 28.
- ↑ "LFC announces multi-year partnership with Nike as official kit supplier from 2020–21". Liverpool F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2021. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
- ↑ Dart, James; Tinklin, Mark (6 July 2005). "Has a streaker ever scored?". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2009. สืบค้นเมื่อ 16 August 2007.
- ↑ Weeks, Jim (28 January 2016). "The Unlikely Pioneers of Shirt Sponsorship in English Football". Vice. Vice Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2023. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
- ↑ Espinoza, Javier (8 May 2009). "Carlsberg and Liverpool might part ways". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 23 July 2008.
- ↑ "Liverpool and Standard Chartered announce sponsorship deal". Standard Chartered Bank. 14 September 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2011. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
- ↑ Phillips, David Llewelyn (Spring 2015). "Badges and 'Crests': The Twentieth-Century Relationship Between Football and Heraldry" (PDF). The Coat of Arms. XI Part I (229): 40,41,46. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2021. สืบค้นเมื่อ 31 January 2022.
- ↑ "Hillsborough". Liverpool F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 12 August 2010.
- ↑ "Liverpool kit launch sparks anger among Hillsborough families". BBC Sport. BBC. 11 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 17 May 2012.
- ↑ Liversedge 1991, p. 112.
- ↑ Kelly 1988, p. 187.
- ↑ Moynihan 2009, p. 24.
- ↑ Liversedge 1991, p. 113.
- ↑ Kelly 1988, p. 188.
- ↑ Pearce, James (23 August 2006). "How Kop tuned into glory days". Liverpool Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2009. สืบค้นเมื่อ 6 December 2008.
- ↑ "Club Directory" (PDF). Premier League Handbook Season 2010/11. Premier League. 2010. p. 35. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 December 2010. สืบค้นเมื่อ 17 August 2010.
- ↑ "Anfield". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 15 August 2010.
- ↑ "Liverpool unveil new stadium". BBC Sport. 17 May 2002. สืบค้นเมื่อ 17 March 2007.
- ↑ Hornby, Mike (31 July 2004). "Reds stadium gets go-ahead". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
- ↑ "Liverpool get go-ahead on stadium". BBC Sport. 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 8 March 2007.
- ↑ "Liverpool's stadium move granted". BBC. 6 November 2007. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
- ↑ "Liverpool stadium 'will be built'". BBC Sport. 17 September 2009. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
- ↑ Smith, Ben (15 October 2012). "Liverpool to redevelop Anfield instead of building on Stanley Park". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 16 August 2014.
- ↑ "Liverpool's new Main Stand boosts Anfield capacity to 54,000". BBC News. BBC. 9 September 2016. สืบค้นเมื่อ 27 September 2019.
- ↑ "How Liverpool's worldwide fanbase will be tuning into events at Manchester United". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ Rice, Simon (6 November 2009). "Manchester United top of the 25 best supported clubs in Europe". The Independent. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
- ↑ "LFC Official Supporters Clubs". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
- ↑ "Asia Tour 2011". Liverpool F.C. 27 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2015. สืบค้นเมื่อ 2 September 2014.
- ↑ "Steven Gerrard delights the MCG crowd as Liverpool beats Melbourne Victory 2–0". ABC. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ "Man Utd 1–4 Liverpool: Xherdan Shaqiri scores stunning overhead kick". BBC. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ "Anfield giants never walk alone". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 11 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 September 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2008.
- ↑ George, Ricky (18 March 2008). "Liverpool fans form a club in their price range". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 18 March 2008.
- ↑ Hart, Simon (25 October 2013). "Anfield's 50 years of never walking alone". The Independent. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
- ↑ "Liverpool". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "LFC Crests". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ McKie, David (31 May 1985). "Thatcher set to demand FA ban on games in Europe". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
- ↑ "The Heysel disaster". BBC. 29 May 2000. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
- ↑ "1987: Liverpool fans to stand trial in Belgium". BBC. 9 September 1987. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
- ↑ Jackson, Jamie (4 April 2005). "The witnesses". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 May 2006.
- ↑ "Liverpool remembers Heysel". BBC. 29 May 2000. สืบค้นเมื่อ 24 May 2006.
- ↑ Smith, David (11 July 2004). "The city that eclipsed the Sun". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 December 2008.
- ↑ Burrell, Ian (8 July 2004). "An own goal? Rooney caught in crossfire between 'The Sun' and an unforgiving city". The Independent. สืบค้นเมื่อ 22 December 2008.
- ↑ "Hillsbrough Family Support Group". Liverpool F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2012. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Classic: Everton-Liverpool". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 11 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2009. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
- ↑ Smith, Rory (24 January 2009). "Liverpool and Everton no longer play the 'friendly derby' as fans become more vitriolic". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 26 August 2010.
- ↑ Smith, Rory (7 February 2010). "Liverpool 1 Everton 0: match report". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011.
- ↑ "Everton's research confirms Liverpool fans vastly outweigh them in the city". MSN. 20 February 2020.
- ↑ Rohrer, Finlo (21 August 2007). "Scouse v Manc". BBC. สืบค้นเมื่อ 3 April 2008.
- ↑ "Red rivalry on England's north-west". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 July 2020.
- ↑ Bray, Joe (12 February 2019). "Manchester United ranked as the biggest football club in England ahead of Liverpool FC". Manchester Evening News. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ Taylor, Daniel (21 October 2019). "Manchester United v Liverpool: the battle for Asia". The Athletic. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
- ↑ "Manchester United v Liverpool: The biggest game in football". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ "The 20 biggest rivalries in world football ranked – Liverpool vs Manchester Utd". The Telegraph. 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
- ↑ "The 7 Greatest Rivalries in Club Football: From Boca to the Bernabeu". The Bleacher Report. 26 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 November 2015.
- ↑ 114.0 114.1 114.2 Cox, Michael (12 December 2014). "Man Utd vs. Liverpool is close to a classic rivalry, but lacks major drama". ESPN FC.
- ↑ "Liverpool VS Manchester United: Red rivalry on England's north-west". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-03. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
- ↑ Jolly, Richard (13 December 2014). "Manchester United – Liverpool remains English football's No.1 rivalry". Goal.com.
- ↑ Ingle, Sean; Murray, Scott (10 May 2000). "Knowledge Unlimited". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 February 2008.
- ↑ Liversedge 1991, p. 108.
- ↑ Liversedge 1991, p. 109.
- ↑ Liversedge 1991, p. 110.
- ↑ Reade 2009, p. 206.
- ↑ Narayana, Nagesh (5 March 2008). "Factbox Soccer who owns Liverpool Football Club". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 22 August 2010.
- ↑ Wilson, Bill (6 February 2007). "US business duo at Liverpool helm". BBC. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
- ↑ McNulty, Phil (20 January 2008). "Liverpool braced for takeover bid". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
- ↑ Bandini, Paolo (16 April 2010). "Liverpool appoint Martin Broughton as chairman to oversee sale of club". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 April 2010.
- ↑ Conn, David (7 May 2010). "Auditors cast doubt on future of Liverpool after losses". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 May 2010.
- ↑ "Liverpool takeover to go ahead as owners lose case". ESPN. 13 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-16. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
- ↑ "Liverpool takeover completed by US company NESV". BBC Sport. 15 October 2010. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
- ↑ "Top 25 Football Club Brands" (PDF). Brand Finance. สืบค้นเมื่อ 7 August 2011.
- ↑ "Liverpool". Forbes. 21 April 2010. สืบค้นเมื่อ 8 August 2010.
- ↑ Wilson, Bill (10 February 2011). "Real Madrid top football rich list for sixth year". BBC. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Deloitte Football Money League 2018". Deloitte. 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
- ↑ Ozanian, Mike. "The World's Most Valuable Soccer Teams 2018". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2018-06-12.
- ↑ "Deloitte Football Money League 2018". Deloitte. 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
- ↑ Ozanian, Mike. "The Business Of Soccer". Forbes. สืบค้นเมื่อ 17 August 2019.
- ↑ "Liverpool's ranking in world's richest teams revealed as Reds generate £533m revenue". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
- ↑ Hunter, Andy (2020-04-04). "Liverpool under fire for furloughs while PFA points to pay-cut tax trap". The Observer (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ "Liverpool: Premier League leaders reverse furlough decision & apologise to fans". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-07.
- ↑ Ozanian, Mike. "The World's Most Valuable Soccer Teams: Barcelona Edges Real Madrid To Land At No. 1 For First Time". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-12.
- ↑ Kelly 1988, p. 192.
- ↑ "The Hillsborough Tragedy". BBC. 16 June 2000. สืบค้นเมื่อ 23 December 2008.
- ↑ "Footballer Barnes for rap return". BBC. 3 March 2006. สืบค้นเมื่อ 2 December 2008.
- ↑ "Hillsborough's Sad Legacy". BBC. 14 April 1999. สืบค้นเมื่อ 23 December 2008.
- ↑ Ebert, Roger (18 October 2002). "Formula 51". Chicago Sun-Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-08. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
- ↑ "Scully". BBC. 20 August 2009. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
- ↑ 146.0 146.1 "Mens". Liverpool F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2023. สืบค้นเมื่อ 23 July 2023.
- ↑ "Virgil van Dijk named new Liverpool captain, Trent Alexander-Arnold vice-captain". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 23 August 2024.
- ↑ "Calvin Ramsay agrees Wigan Athletic loan move". Liverpool FC. 5 June 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2024. สืบค้นเมื่อ 20 June 2024.
- ↑ "Stefan Bajcetic joins Red Bull Salzburg on loan for rest of 2024-25". Liverpool FC. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 30 August 2024.
- ↑ "Marcelo Pitaluga seals loan switch to Livingston". Liverpool FC. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 30 August 2024.
- ↑ "Rhys Williams seals loan move to Morecambe". Liverpool FC. 20 August 2024. สืบค้นเมื่อ 20 August 2024.
- ↑ "Nat Phillips joins Derby on loan for remainder of season". Liverpool FC. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 30 August 2024.
- ↑ "Ben Doak joins Middlesbrough on season-long loan". Liverpool FC. 30 August 2024. สืบค้นเมื่อ 30 August 2024.
- ↑ 154.0 154.1 "Captains for Liverpool FC since 1892". Liverpool F.C. 29 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2009. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
- ↑ "Michael Owen becomes LFC international ambassador". Liverpool F.C. 21 April 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ 156.0 156.1 Pearce, James. "Liverpool 2.0: Who does what in FSG's new-look structure?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
- ↑ Pearce, James. "Julian Ward returns to Liverpool as FSG technical director". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 3 July 2024.
- ↑ "Kenny Dalglish returns to Liverpool on board of directors". BBC. 4 October 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
- ↑ "LFC appoints director of communications". Liverpool F.C. 18 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2013.
- ↑ Pearce, James (2 July 2015). "Liverpool FC's transfer committee – who did what to bring new signings to Anfield". Liverpool Echo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 January 2020.
- ↑ "The Liverpool Football Club & Athletic Grounds Limited". Premier League. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2022. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ Lynch, David (12 November 2018). "Liverpool get one up over title rivals Manchester City as physio Lee Nobes takes Anfield role". London Evening Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 October 2019.
- ↑ Pietarinen, Heikki (15 July 2011). "England – First Level All-Time Tables 1888/89-2009/10". Rec. Sport. Soccer Statistics Foundation (RSSSF). สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Liverpool lead Manchester United, Arsenal, Everton and Tottenham in Ultimate League". Sky Sports. สืบค้นเมื่อ 8 September 2015.
- ↑ Hodgson, Guy (17 December 1999). "How consistency and caution made Arsenal England's greatest team of the 20th century". The Independent. สืบค้นเมื่อ 23 October 2009.
- ↑ Keogh, Frank (26 May 2005). "Why it was the greatest cup final". BBC. สืบค้นเมื่อ 8 July 2011.
- ↑ "Regulations of the UEFA Champions League" (PDF). Union of European Football Associations. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 March 2007. สืบค้นเมื่อ 19 June 2008.
- ↑ "New format provides fresh impetus". Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
- ↑ Ladson, Matt (22 December 2019). "What does Liverpool's Club World Cup victory mean for the rest of their season?". fourfourtwo.com. FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 8 March 2020.
- ↑ "Roberto Firmino scores extra-time winner as Liverpool beat Flamengo to lift Club World Cup". Metro. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
- ↑ Rice, Simon (20 May 2010). "Treble treble: The teams that won the treble". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2012. สืบค้นเมื่อ 14 July 2010.
บรรณานุกรม
- Cox, Richard; Russell, Dave; Vamplew, Wray (2002). Encyclopedia of British football. Routledge. ISBN 0-7146-5249-0.
- Crilly, Peter (2007). Tops of the Kops: The Complete Guide to Liverpool's Kits. Trinity Mirror Sport Media. ISBN 978-1-905266-22-7.
- Graham, Matthew (1985). Liverpool. Hamlyn Publishing Group. ISBN 0-600-50254-6.
- Kelly, Stephen F. (1999). The Boot Room Boys: Inside the Anfield Boot Room. HarperCollins. ISBN 0-00-218907-0.
- Kelly, Stephen F. (1988). You'll Never Walk Alone. Queen Anne Press. ISBN 0-356-19594-5.
- Liversedge, Stan (1991). Liverpool:The Official Centenary History. Hamlyn Publishing Group. ISBN 0-600-57308-7.
- Moynihan, Leo (2009). The Pocket Book of Liverpool. Turnaround Publisher Services. ISBN 9781905326624.
- Pead, Brian (1986). Liverpool A Complete Record. Breedon Books. ISBN 0-907969-15-1.
- Reade, Brian (2009). 44 Years with the Same Bird. Pan. ISBN 978-1-74329-366-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
- บทความคัดสรร
- สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
- สโมสรฟุตบอลในประเทศอังกฤษ
- สโมสรในพรีเมียร์ลีก
- สโมสรฟุตบอลที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2435
- สโมสรฟุตบอลในลิเวอร์พูล
- ผู้ชนะเลิศในเอฟเอคัพ
- ผู้ชนะเลิศในอีเอฟแอลคัพ
- สโมสรที่ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- สโมสรที่ชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก
- สโมสรที่ชนะเลิศยูฟ่าซูเปอร์คัพ
- สโมสรที่ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
- สโมสรฟุตบอลในอิงกลิชฟุตบอลลีก