องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ International Criminal Police Organization Organisation internationale de police criminelle | |
---|---|
![]() | |
ชื่อทางการ | Interpol |
อักษรย่อ | ICPO-INTERPOL |
คำขวัญ | Connecting police for a safer world |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | กันยายน 1923 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
เจ้าหน้าที่ | 1,050 (2019) |
งบประมาณรายปี | 142 ล้านยูโร (2019) |
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
หน่วยงานระหว่างประเทศ | |
ประเทศ | 194 ชาติสมาชิก |
![]() | |
แผนที่เขตอำนาจของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ | |
บัญญัติตราสาร | |
สำนักงานใหญ่ | ลียง ประเทศฝรั่งเศส |
Multinational agency | |
Nationalities of personnel | 114 (2019) |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
สิ่งอำนวยความสะดวก | |
สำนักงานกลางแห่งชาติ | 194 |
เว็บไซต์ | |
www | |
องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Criminal Police Organization; ย่อ: INTERPOL) หรือเรียก ตำรวจสากล เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่อำนวยความสะดวกในการร่วมมือกับตำรวจทั่วโลกและการควบคุมอาชญากรรม สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในลียงมีสำนักงานประจำภูมิภาค 7 แห่งทั่วโลกและสำนักงานกลางแห่งชาติในรัฐสมาชิกทั้งหมด 194 ประเทศทำให้เป็นองค์กรตำรวจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันสำนักงานใหญ่ของอินเตอร์โปล ตั้งอยู่ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส
INTERPOL เกิดขึ้นพร้อมกับการประชุมตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2457 ซึ่งนำเจ้าหน้าที่จาก 24 ประเทศมาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2466 ในฐานะคณะกรรมการตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICPC) โดยมีหน้าที่หลายประการในปัจจุบันตลอดช่วงทศวรรษที่ 1930 หลังจากอยู่ภายใต้การควบคุมของนาซีในปีพ. ศ. 2481 หน่วยงานได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปีพ. ศ. 2499 ICPC ได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และชื่อ INTERPOL ซึ่งได้มาจากที่อยู่ทางโทรเลขdearใช้ตั้งแต่ปีพ. ศ. 2489
ประวัติ[แก้]
องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ หรือ "อินเตอร์โปล" ก่อตั้งขึ้นมาในปี ค.ศ.1923 เพื่อเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือทุกองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจในการป้องกันหรือว่าปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเวียนนาเมืองหลวงของออสเตรีย
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออสเตรียถูกนาซีเยอรมนีบุกยึดครอง เมื่อออสเตรียกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน "อินเตอร์โปล" ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศออสเตรียจึงกลายเป็นหน่วยข้อมูลข่าวสารของตำรวจลับเกสตาโพ
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และฝ่ายนาซีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงได้มีความคิดที่จะก่อตั้ง "อินเตอร์โปล" ขึ้นมาอีกครั้งภายใต้ความร่วมมือกันของ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม และประเทศแถบสแกนดิเนเวีย "อินเตอร์โปล" จึงถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งปรับเลี่ยนโครงสร้างและการดำเนินงานใหม่ รวมถึงการย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่เมืองแซงต์ โคลด์ ประเทศฝรั่งเศส แต่ต่อมาได้มีการย้ายไปที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส จนถึงปัจจุบัน
องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากองค์การสหประชาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 187 ประเทศทั่วโลก ดำเนินการโดยใช้เงินสมทบประจำปีจากชาติสมาชิก รวมแล้วประมาณ 30 ล้านยูโร หรือประมาณ 1,466 ล้านบาท
บทบาทหน้าที่[แก้]
หน้าที่หลัก ของ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ คือ การประสานงานเพื่อความปลอดภัยของประชาชนและป้องกันการก่อการร้าย ขัดขวางและปราบปรามองค์กรอาชญากรรม การลักลอบผลิตและค้ายา การค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ การฟอกเงิน การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก รวมถึงอาชญากรรมทางการเงิน และการทุจริต
แต่เนื่องจาก องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ ต้องรักษาสถานะความเป็นกลางทางการเมือง จึงไม่ได้มีหน้าที่และบทบาทในการเข้าไปสืบสวนและสอบสวนเรื่องต่างๆ ในประเทศสมาชิกนั้นๆ เอง กล่าวคือไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างแท้จริง บทบาทหลักๆ เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางตำรวจให้กันและกันในระหว่างประเทศสมาชิกมากกว่า อีกทั้งไม่สามารถเข้าไปข้องเกี่ยวกับคดีใดๆ ที่ไม่ใช่คดีที่มีความเกี่ยวพันกันในหลายประเทศ รวมทั้ง คดีอาชญากรรมการเมือง การทหาร การศาสนา หรือเชื้อชาติด้วย
โครงสร้างขององค์กร[แก้]
- สมัชชาใหญ่ (General Assembly) เป็นหน่วยงานปกครองสูงสุด มีหน้าที่จัดการการประชุมตัวแทนประเทศสมาชิก เพื่อกำหนดบทบาท นโยบาย ทรัพยากร วิธีการทำงาน การเงิน กิจกรรมและโครงการต่างๆ ขององค์กร
- คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) ประกอบด้วยสมาชิก 13 คน ได้รับเลือกตั้งโดยสมัชชาใหญ่ และประกอบด้วยประธาน 1 คน รองประธาน 3 คน และสมาชิกอีก 9 คนที่เหลือเป็นตัวแทนที่ครอบคลุม 4 ภูมิภาคต่างๆ ของโลก
- สำนักเลขาธิการใหญ่ (General Secretariat) บริหารงานโดยเลขาธิการใหญ่ มีสำนักงานย่อยระดับภูมิภาค 6 แห่งอยู่ในอาร์เจนตินา โกตดิวัวร์ เอลซัลวาดอร์ เคนยา ไทย และซิมบับเว และมีสำนักงานเพื่อการประสานงานอยู่ที่สหประชาชาติในนครนิวยอร์กของสหรัฐอเมริกา
- สำนักงานกลางแห่งชาติ (National Central Bureaus - NCB) ประเทศสมาชิกของอินเตอร์โปลแต่ละประเทศมีสำนักงานกลางแห่งชาตินี้ ที่มีผู้ปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายของชาตินั้นๆ หน่วยงานสำนักงานกลางแห่งชาตินี้มุ่งหมายให้เป็นจุดติดต่อประสานงานสำหรับสำนักเลขาธิการใหญ่ สำนักงานระดับภูมิภาค และประเทศสมาชิกต่างๆ อื่นๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการสอบสวนและการชี้เบาะแสและการจับกุมผู้กระทำผิดที่กำลังหลบหนีอยู่ในระหว่างประเทศ
- ที่ปรึกษา (Advisers) เป็นบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ที่มีความสามารถหรือว่าศักยภาพในการให้คำแนะนำต่างๆ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่ปรึกษาเหล่านี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารและได้รับการรับรองโดยสมัชชาใหญ่
- คณะกรรมาธิการสำหรับการควบคุมข้อมูลของอินเตอร์โปล (The Commission for the Control of INTERPOL’s Files) เป็นหน่วยงานอิสระที่มีอำนาจหน้าที่ ในการประกันว่าการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นไปสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ของอินเตอร์โปล ให้คำแนะนำอินเตอร์โปลเกี่ยวกับโครงการ ปฏิบัติการ กฎเกณฑ์ หรือว่าเรื่องอื่นๆ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และมีหน้าที่ประมวลพิจารณาคำร้องขอเกี่ยวกับข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ข้อมูลของอินเตอร์โปล
สมาชิกองค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ[แก้]
การเป็นสมาชิก ณ เดือนมีนาคม 2018 โดยมีวันที่ยอมรับ และหน่วยงานตัวแทนที่เกี่ยวข้องของประเทศมีดังนี้:
กรีเนดา - ตุลาคม 2529
เกาหลีใต้ - กันยายน 2507
เคนยา - ตุลาคม 2511
เคปเวิร์ด - พฤศจิกายน 2532
เซเชลส์ - กันยายน 2520
เซเนกัล - กันยายน 2504
เซนต์คิตส์และเนวิส - พฤศจิกายน 2530
เซนต์ลูเซีย - ตุลาคม 2526
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ - ตุลาคม 2528
เซอร์เบีย - กันยายน 2499
เซาตูแมอีปริงซีป - พฤศจิกายน 2531
เซียร์ราลีโอน - กันยายน 2505
เดนมาร์ก - มิถุนายน 2499
เติร์กเมนิสถาน - กันยายน 2548
เนเธอร์แลนด์ - มิถุนายน 2499
เนปาล - กันยายน 2510
เบนิน - กันยายน 2505
เบลเยี่ยม - มิถุนายน 2499
เบลารุส - กันยายน 2536
เบลีซ - พฤศจิกายน 2530
เปรู - กันยายน 2505
เม็กซิโก - มิถุนายน 2499
เมียนมาร์ - มิถุนายน 2499
เยเมน - ตุลาคม 2519
เยอรมนี - มิถุนายน 2499
เลโซโท - กันยายน 2514
เลบานอน - มิถุนายน 2499
เวเนซุเอลา - มิถุนายน 2499
เวียดนาม - พฤศจิกายน 2534
เอกวาดอร์ - กันยายน 2505
เอธิโอเปีย - กันยายน 2501
เอริเทรีย - พฤศจิกายน 2542
เอลซัลวาดอร์ - ธันวาคม 2502
เอสโตเนีย - พฤศจิกายน 2535
เอสวาตินี - ตุลาคม 2518
เฮติ - มิถุนายน 2500
แกมเบีย - ตุลาคม 2529
แคเมอรูน - กันยายน 2504
แคนาดา - มิถุนายน 2499
แซมเบีย - สิงหาคม 2509
แทนซาเนีย - กันยายน 2505
แองโกลา - ตุลาคม 2525
แอนทีกาและบาร์บิวดา - ตุลาคม 2529
แอฟริกาใต้ - กันยายน 2536
แอลเบเนีย - พฤศจิกายน 2534
แอลจีเรีย - สิงหาคม 2506
โกตดิวัวร์ - กันยายน 2504
โครเอเชีย - พฤศจิกายน 2535
โคลอมเบีย - มิถุนายน 2499
โซมาเลีย - ตุลาคม 2518
โดมินิกา - พฤศจิกายน 2524
โตโก - ตุลาคม 2503
โบลิเวีย - สิงหาคม 2506
โปแลนด์ - กันยายน 1990
โปรตุเกส - มิถุนายน 2499
โมซัมบิก - พฤศจิกายน 2532
โมนาโก - มิถุนายน 2499
โมร็อกโก - มิถุนายน 2500
โรมาเนีย - ตุลาคม 2516
โอมาน - กันยายน 2515
ไซปรัส - กันยายน 2505
ไนเจอร์ - กันยายน 2507
ไนจีเรีย - ตุลาคม 2503
ไลบีเรีย - มิถุนายน 2499
ไอซ์แลนด์ - กันยายน 2514
ไอร์แลนด์ - มิถุนายน 2499
กรีซ - มิถุนายน 2499
กัมพูชา - มิถุนายน 2499
กัวเตมาลา - มิถุนายน 2499
กาตาร์ - กันยายน 2517
กานา - กันยายน 2501
กาบอง - กันยายน 2504
กายอานา - ตุลาคม 2511
กินี - กันยายน 2504
กินี - บิสเซา - พฤศจิกายน 2535
คอโมโรส - ตุลาคม 2541
คอสตาริกา - มิถุนายน 2499
คาซัคสถาน - พฤศจิกายน 2535
คิริบาส - พฤศจิกายน 2018
คิวบา - มิถุนายน 2499
คีร์กีซสถาน - ตุลาคม 2539
คูเวต - มิถุนายน 2508
คูราเซา - ตุลาคม 2554
จอร์เจีย - กันยายน 2536
จอร์แดน - มิถุนายน 2499
จาเมกา - สิงหาคม 2506
จิบูตี - พฤศจิกายน 2523
จีน - กันยายน 2504
ชาด - กันยายน 2505
ชิลี - มิถุนายน 2499
ซานมาริโน - กันยายน 2549
ซามัว - ตุลาคม 2552
ซาอุดีอาระเบีย - มิถุนายน 2499
ซินต์มาร์เท่น - ตุลาคม 2554
ซิมบับเว - พฤศจิกายน 2523
ซีเรีย - มิถุนายน 2499
ซูดาน - มิถุนายน 2499
ซูดานใต้ - ตุลาคม 2554
ซูรินาม - มิถุนายน 2499
ญี่ปุ่น - มิถุนายน 2499
ตรินิแดดและโตเบโก - กันยายน 2507
ตองกา - กันยายน 2522
ติมอร์ตะวันออก - ตุลาคม 2545
ตุรกี - มิถุนายน 2499
ตูนิเซีย - มิถุนายน 2500
ทาจิกิสถาน - ตุลาคม 2547
นครวาติกัน - ตุลาคม 2551
นอร์เวย์ - มิถุนายน 2499
นามิเบีย - พฤศจิกายน 2535
นาอูรู - กันยายน 2514
นิการากัว - มิถุนายน 2508
นิวซีแลนด์ - มิถุนายน 2499
บราซิล - ตุลาคม 2529
บรูไน - กันยายน 2527
บอตสวานา - พฤศจิกายน 2523
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา - พฤศจิกายน 2535
บังกลาเทศ - ตุลาคม 2519
บัลแกเรีย - พฤศจิกายน 2532
บาร์เบโดส - พฤศจิกายน 2524
บาห์เรน - กันยายน 2515
บาฮามาส - ตุลาคม 2516
บุรุนดี - ตุลาคม 2513
บูร์กินาฟาโซ - กันยายน 2504
ประเทศไทย - มิถุนายน 2499
ปาเลสไตน์ - กันยายน 2017
ปากีสถาน - มิถุนายน 2499
ปานามา - กันยายน 2501
ปาปัวนิวกินี - ตุลาคม 2519
ปารากวัย - กันยายน 2520
ฝรั่งเศส - มิถุนายน 2499
ฟีจี - กันยายน 2514
ฟินแลนด์ - มิถุนายน 2499
ฟิลิปปินส์ - มิถุนายน 2499
ภูฏาน - กันยายน 2548
มองโกเลีย - พฤศจิกายน 2534
มอนเตเนโกร - กันยายน 2549
มอริเชียส - ตุลาคม 2512
มอริเตเนีย - กันยายน 2505
มอลตา - กันยายน 2515
มัลดีฟส์ - กันยายน 2527
มาเลเซีย - กันยายน 2504
มาซิโดเนียเหนือ - กันยายน 2536
มาดากัสการ์ - กันยายน 2504
มาลาวี - สิงหาคม 2509
มาลี - ตุลาคม 2512
ยูเครน - พฤศจิกายน 2535
ยูกันดา - สิงหาคม 2509
รวันดา - กันยายน 2517
รัสเซีย - กันยายน 2533
ลักเซมเบิร์ก - มิถุนายน 2499
ลัตเวีย - พฤศจิกายน 2535
ลาว - มิถุนายน 2500
ลิเบีย - มิถุนายน 2499
ลีชเทินชไตน์ - ตุลาคม 2503
ลิทัวเนีย - พฤศจิกายน 2534
วานูวาตู - พฤศจิกายน 2018
ศรีลังกา - มิถุนายน 2499
สเปน - มิถุนายน 2499
สโลวาเกีย - กันยายน 2536
สโลวีเนีย - พฤศจิกายน 2535
สวิตเซอร์แลนด์ - มิถุนายน 2499
สวีเดน - มิถุนายน 2499
สหรัฐอเมริกา - มิถุนายน 2499
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - ตุลาคม 2516
สหราชอาณาจักร - มิถุนายน 2499
สาธารณรัฐเช็ก - กันยายน 2536
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง - มิถุนายน 2508
สาธารณรัฐโดมินิกัน - มิถุนายน 2499
สาธารณรัฐคองโก - กันยายน 2504
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก - สิงหาคม 2506
สาธารณรัฐมอลโดวา - กันยายน 2537
สิงคโปร์ - ตุลาคม 2511
หมู่เกาะโซโลมอน - กันยายน 2017
หมู่เกาะมาร์แชลล์ - กันยายน 2533
ออสเตรเลีย - มิถุนายน 2499
ออสเตรีย - มิถุนายน 2499
อันดอร์รา - พฤศจิกายน 2530
อัฟกานิสถาน - ตุลาคม 2545
อาเซอร์ไบจาน - พฤศจิกายน 2535
อาร์เจนตินา - มิถุนายน 2499
อาร์เมเนีย - พฤศจิกายน 2535
อารูบา - พฤศจิกายน 2530
อิเควทอเรียลกินี - พฤศจิกายน 2523
อิตาลี - มิถุนายน 2499
อินเดีย - มิถุนายน 2499 ประสานงานอย่างเป็นทางการโดย CBI
อินโดนีเซีย - มิถุนายน 2499
อิรัก - กันยายน 2510
อิสราเอล - มิถุนายน 2499
อิหร่าน - มิถุนายน 2499
อียิปต์ - มิถุนายน 2499
อุซเบกิสถาน - กันยายน 2537
อุรุกวัย - มิถุนายน 2499
ฮอนดูรัส - กันยายน 2517
ฮังการี - พฤศจิกายน 2524
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อConstitution2008
- ↑ "General Regulations of the International Criminal Police Organization" (PDF). Interpol, Office of Legal Affairs. 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.
![]() |
บทความเกี่ยวกับหน่วยงานหรือองค์กรนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |