พระราชวังโปตาลา
པོ་ཏ་ལ་ཕོ་བྲང พระราชวังโปตาลา | |
---|---|
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาพุทธแบบทิเบต |
หน่วยงานกำกับดูแล | ทะไลลามะที่ 14 |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ลาซ่า ทิเบต |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 29°39′28″N 91°07′01″E / 29.65778°N 91.11694°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้ก่อตั้ง | ซงแจ็นกัมโป |
เริ่มก่อตั้ง | 1649 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | หมู่โบราณสถานพระราชวังโปตาลา ลาซา |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, iv, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1994 (18th session) |
เลขอ้างอิง | 707 |
ภูมิภาค | เอเชียแปซิฟิก |
เพิ่มเติม | 2000; 2001 |
พระราชวังโปตาลา ((ทิเบต: པོ་ཏ་ལ།, ไวลี: Po ta la, พินอินทิเบต: bodala) เป็นป้อมปราการแบบซง ในลาซา ทิเบต พระราชัวงโปตาลาใช้งานเป็นที่ประทับฤดูหนาวของทาไลลามะมาตั้งแต่ปี 1649 ถึง 1959 หลังจากนั้นได้ถูกแปรสภาพมาเป็นพิพิธภัณฑ์ พระราชวังโปตาลาได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกในปี 1994
ชื่อโปตาลานั้นตั้งตามเขาโปตาละกะ วิมานของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรตามตำนาน[1] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นโดยทาไลลามะที่ห้า ในปี 1645[2] หลังที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณส่วนพระองค์คนหนึ่ง Konchog Chophel (?-1646) ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะสมแก่การเป็นที่ทำการรัฐ และตั้งอยู่ระหว่างอารามเทรปุง กับอารามเซรา และ เมืองเก่าลาซา[3] เป็นไปได้ว่าวังนี้สร้างขึ้นบนซากของป้อมปราการเก่าที่มีชื่อว่าวังขาว หรือวังแดง[4] ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าซงแจ็นกัมโป ในปี 637[5]
อาคารมีขนาด 400 เมตร (1,300 ฟุต) ตามแนวตะวันออก-ตะวันตด และ 350 เมตร (1,150 ฟุต) ตามแนวเหนือ-ใต้, ผนังหินขนาดหนาราว 3 เมตร (9.8 ฟุต) และที่ฐานหนาถึง 5 เมตร (16 ฟุต) ในฐส่วนฐานของวังยังมีการเททองแดงผสมลงไปเพื่อช่วยป้องกันอาคารจากแผ่นดินไหว[6] อาคารมีความสูง 13 ชั้น ประกอบด้วยห้องหับกว่า 1,000 ห้อง, ศาลเจ้าต่าง ๆ 10,000 ศาล และรูปปั้นรวมกว่า 200,000 รูป ตัวอาคารมีความสูง 117 เมตร (384 ฟุต) บนยอดของเขาแดง (Marpo Ri) และมีความสูงรวมเขาถึงพื้นราว 300 เมตร (980 ฟุต)[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stein, R. A. Tibetan Civilization (1962). Translated into English with minor revisions by the author. 1st English edition by Faber & Faber, London (1972). Reprint: Stanford University Press (1972), p. 84
- ↑ Laird, Thomas. (2006). The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama, pp. 175. Grove Press, New York. ISBN 978-0-8021-1827-1.
- ↑ Karmay, Samten C. (2005). "The Great Fifth", p. 1. Downloaded as a pdf file on 16 December 2007 from: [1] เก็บถาวร 15 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ W. D. Shakabpa, One hundred thousand moons, translated with an introduction by Derek F. Maher, Vol.1, BRILL, 2010 p. 48
- ↑ Michael Dillon, China : a cultural and historical dictionary, Routledge, 1998, p. 184.
- ↑ Booz, Elisabeth B. (1986). Tibet, pp. 62–63. Passport Books, Hong Kong.
- ↑ Buckley, Michael and Strausss, Robert. Tibet: a travel survival kit, p. 131. Lonely Planet. South Yarra, Vic., Australia. ISBN 0-908086-88-1.